กาฬสินธุ์ - นักวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ พร้อมศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดกาฬสินธุ์ จัดอบรมเกษตรกรเพื่อให้ความรู้ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนรับมือภัยแล้งในการทำนาปี และการรับมือโรคระบาดโดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดในพื้นที่เกษตรเขตชลประทาน 5 อำเภอ
ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ลำพาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ นายธานินทร์ ชัชวัชวิมล นายนพวิชญ์ คำขะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว.จากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่น พร้อม นายเรืองโรจน์ กุลวิทิต หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ นายวิวัฒน์ชัย จงใจภักดิ์ เกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์และคณะ จัดการอบรมเกษตรกรชาวนาจำนวนกว่า 500 รายในตำบลลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเตรียมรับมือปัญหาต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทั้งด้านการขาดแคลนน้ำความแห้งแล้งและโรคระบาดในนาข้าว
นายธานินทร์ ชัชวัชวิมล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว.กล่าวว่า สภาพอากาศที่แห้งแล้งมักจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการระบาดและทำลายนาข้าวของเกษตรกร ซึ่งการป้องกันและทำลายเพลี้ยกระโดดในนาข้าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากการทำนาของเกษตรกร
โดยเฉพาะในปีนี้ที่ราคาข้าวมีราคาที่สูงมากเกษตรกรก็ควรที่จะดูแลข้าวของตนเป็นอย่างดี
ด้าน นายเรืองโรจน์ กุลวิทิต หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์จากการสำรวจความเสียหายถือว่าไม่ถึงขั้นรุนแรง และพบเพียงส่วนน้อยมาก ไม่ถึงกับทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเสียหายมากมายนัก แต่ที่จะเป็นปัญหาในขณะนี้คือภาวการณ์ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
โดยเฉพาะฤดูกาลทำนาปีที่กำลังจะมาถึง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานทั้ง 13 อำเภอ ถือว่าเสี่ยงจากภาวะฝนทิ้งช่วง เนื่องจากการปลูกข้าวในช่วงนี้ที่ถึงแม้ว่าจะมีฝนตกลงมาบ้างแต่ก็เป็นเพียงความแปรปรวนของสภาพอากาศโดยเฉพาะภาวะโลกร้อน จึงขอเตือนเกษตรกรหากจะเสี่ยงทำนาปีในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมต้องคิดให้ดีและน่าจะมาปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่เกษตรเพื่อป้องกันปัญหาข้าวขาดน้ำและตายแล้งที่จะทำให้ขาดทุนได้
ขณะที่ นายวิวัฒน์ชัย จงใจภักดิ์ เกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับรายงานจาก ด.ต.สมคิด นันทสมบูรณ์ นายกอบต.ลำพาน จึงได้ประสานกับนักวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อลงสำรวจความเสียหาย ก่อนที่นักวิชาการศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่น จะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการป้องกันปัญหาการเกิดและการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในครั้งนี้
ผลจากการลงพื้นที่พบการเกิดเพลี้ยกระโดดทำลายเพียงส่วนน้อย ที่จะเกิดในแปลงนาของเกษตรกรเพียงหย่อมๆ พื้นที่รวมไม่เกิน 80 ไร่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ถือว่าเกิดการระบาดรุนแรงอย่างที่มีกระแสข่าวออกมา
ด้าน นายนพวิชญ์ คำขะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว.ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นศัตรูทำลายข้าว ที่มักจะเกิดการระบาดในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น และอาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ หากเกิดการระบาดก่อนที่ข้าวจะถึงอายุเก็บเกี่ยว แต่ถ้ามีการควบคุมได้ในระยะแรก ก็สามารถที่จะป้องกันได้เป็นอย่างดี อาทิ หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต (ยูเรีย) ในช่วงที่ข้าวเป็นต้นกล้า
เพราะสารเคมีในปุ๋ยดังกล่าวจะเป็นตัวทำลายระบบนิเวศในแปลงนา ที่จะทำให้แมลงที่เป็นตัวทำลายหรือเป็นศัตรูของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อย่างแมงมุม แมลงปอ หรือแมลงต่างๆที่อาศัยอยู่ในน้ำ ถูกสารเคมีที่เป็นส่วนผสมในปุ๋ยทำลาย ที่จะเป็นช่องทางให้เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล มีการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ทำลายต้นข้าว
“เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่จะทำลายต้นข้าวในแปลงนา เกษตรกรควรรักษาระบบนิเวศในแปลงนา ไม่ทำลายสัตว์และแมลงที่เป็นศัตรูของเพลี้ยกระโดด และควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี ที่นอกจากจะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นศัตรูของเพลี้ยกระโดดฯแล้ว ยังจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ได้ข้าวที่มีคุณภาพและไม่มีสารพิษตกค้างอีกด้วย” นายนพวิชญ์ กล่าว
ที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ลำพาน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ นายธานินทร์ ชัชวัชวิมล นายนพวิชญ์ คำขะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7 ว.จากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่น พร้อม นายเรืองโรจน์ กุลวิทิต หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ นายวิวัฒน์ชัย จงใจภักดิ์ เกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์และคณะ จัดการอบรมเกษตรกรชาวนาจำนวนกว่า 500 รายในตำบลลำพาน อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ เพื่อเตรียมรับมือปัญหาต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทั้งด้านการขาดแคลนน้ำความแห้งแล้งและโรคระบาดในนาข้าว
นายธานินทร์ ชัชวัชวิมล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว.กล่าวว่า สภาพอากาศที่แห้งแล้งมักจะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลมีการระบาดและทำลายนาข้าวของเกษตรกร ซึ่งการป้องกันและทำลายเพลี้ยกระโดดในนาข้าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการขาดทุนจากการทำนาของเกษตรกร
โดยเฉพาะในปีนี้ที่ราคาข้าวมีราคาที่สูงมากเกษตรกรก็ควรที่จะดูแลข้าวของตนเป็นอย่างดี
ด้าน นายเรืองโรจน์ กุลวิทิต หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ กล่าวว่า การแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์จากการสำรวจความเสียหายถือว่าไม่ถึงขั้นรุนแรง และพบเพียงส่วนน้อยมาก ไม่ถึงกับทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเสียหายมากมายนัก แต่ที่จะเป็นปัญหาในขณะนี้คือภาวการณ์ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร
โดยเฉพาะฤดูกาลทำนาปีที่กำลังจะมาถึง เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานทั้ง 13 อำเภอ ถือว่าเสี่ยงจากภาวะฝนทิ้งช่วง เนื่องจากการปลูกข้าวในช่วงนี้ที่ถึงแม้ว่าจะมีฝนตกลงมาบ้างแต่ก็เป็นเพียงความแปรปรวนของสภาพอากาศโดยเฉพาะภาวะโลกร้อน จึงขอเตือนเกษตรกรหากจะเสี่ยงทำนาปีในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมต้องคิดให้ดีและน่าจะมาปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่เกษตรเพื่อป้องกันปัญหาข้าวขาดน้ำและตายแล้งที่จะทำให้ขาดทุนได้
ขณะที่ นายวิวัฒน์ชัย จงใจภักดิ์ เกษตรอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้รับรายงานจาก ด.ต.สมคิด นันทสมบูรณ์ นายกอบต.ลำพาน จึงได้ประสานกับนักวิชาการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อลงสำรวจความเสียหาย ก่อนที่นักวิชาการศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่น จะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมให้คำแนะนำแก่เกษตรกรในการป้องกันปัญหาการเกิดและการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในครั้งนี้
ผลจากการลงพื้นที่พบการเกิดเพลี้ยกระโดดทำลายเพียงส่วนน้อย ที่จะเกิดในแปลงนาของเกษตรกรเพียงหย่อมๆ พื้นที่รวมไม่เกิน 80 ไร่ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่ถือว่าเกิดการระบาดรุนแรงอย่างที่มีกระแสข่าวออกมา
ด้าน นายนพวิชญ์ คำขะ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 7ว.ศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นศัตรูทำลายข้าว ที่มักจะเกิดการระบาดในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น และอาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ หากเกิดการระบาดก่อนที่ข้าวจะถึงอายุเก็บเกี่ยว แต่ถ้ามีการควบคุมได้ในระยะแรก ก็สามารถที่จะป้องกันได้เป็นอย่างดี อาทิ หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเร่งการเจริญเติบโต (ยูเรีย) ในช่วงที่ข้าวเป็นต้นกล้า
เพราะสารเคมีในปุ๋ยดังกล่าวจะเป็นตัวทำลายระบบนิเวศในแปลงนา ที่จะทำให้แมลงที่เป็นตัวทำลายหรือเป็นศัตรูของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล อย่างแมงมุม แมลงปอ หรือแมลงต่างๆที่อาศัยอยู่ในน้ำ ถูกสารเคมีที่เป็นส่วนผสมในปุ๋ยทำลาย ที่จะเป็นช่องทางให้เพลี้ยกระโดสีน้ำตาล มีการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ทำลายต้นข้าว
“เพื่อเป็นการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ที่จะทำลายต้นข้าวในแปลงนา เกษตรกรควรรักษาระบบนิเวศในแปลงนา ไม่ทำลายสัตว์และแมลงที่เป็นศัตรูของเพลี้ยกระโดด และควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี ที่นอกจากจะไม่เป็นอันตรายต่อแมลงที่เป็นศัตรูของเพลี้ยกระโดดฯแล้ว ยังจะทำให้ลดต้นทุนการผลิต ได้ข้าวที่มีคุณภาพและไม่มีสารพิษตกค้างอีกด้วย” นายนพวิชญ์ กล่าว