ผู้จัดการรายวัน-ผ่า 4 ปมร้อนวิกฤตกระทบต่อวงการอสังหาฯในไทย น้ำมันแพง ราคาอาหารปั่นป่วน ปัญหาการเมือง และวิกฤติภาคใต้ หวั่นมีการเทขายทรัพย์สินเพื่อนำเงินสดมาใช้หนี้ อาจกระทบต่อมูลค่าทรัพย์ที่ตกต่ำลงได้อีก
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ ศูนย์ข้อมูล วิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) เปิดเผยว่า ปัญหาที่อ่อนไหวสำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นเรื่องวิกฤติทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตกต่ำของตลาดในอนาคตได้ โดยวิกฤติสำคัญในขณะนี้มี 4 กรณีสำคัญ แบ่งเป็นวิกฤติระดับโลก ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ วิกฤติน้ำมัน ซึ่งราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และวิกฤติอาหารซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนของสังคมในหลายประเทศ และวิกฤติภายในประเทศ ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 กรณีคือ วิกฤติทางการเมือง และวิกฤติภาคใต้
ทั้งนี้ วิกฤติน้ำมันเป็นปัญหาที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี้ ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว ส่งผลให้เกิดการประหยัดอย่างสุดกำลัง ทำให้สินค้าอสังหาฯราคาแพงหดหายไปอย่างมากมาตั้งแต่ปี 2548 ราคาเฉลี่ยของสินค้าอสังหาฯที่เปิดตัวใหม่จึงแข่งกันลดราคาลงทุกปี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พึงเข้าใจก็คือ ที่ลดราคาลงนั้น ไม่ใช่ว่าค่าก่อสร้างถูกลง แต่หมายถึงการที่ผู้ประกอบการต้องลดขนาด ลดคุณภาพ หรือตั้งในทำเลที่ราคาที่ดินถูกลง เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
สำหรับวิกฤติอาหารนั้น สำหรับประเทศไทยที่เป็น "อู่ข้าวอู่น้ำ" ยังอาจได้รับผลกระทบจากวิกฤติอาหารน้อยกว่าประเทศอื่น แต่วิกฤติอาหารก็ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้ออย่างมากมายในรอบหลายปีที่ผ่านมาในไทย
สำหรับในระดับประเทศ วิกฤติการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ยังคงยากที่จะหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ขณะที่วิกฤติที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ จะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไมได้
ซึ่งในภาวะขณะนี้ สินค้าต่าง ๆ พากันขึ้นราคา ทำให้การครองชีพของประชาชนลำบากยิ่งขึ้น และในภาวะที่ยากลำบากนี้ การซื้ออสังหาฯจึงจะเกิดน้อยลง (ยกเว้นสามารถช้อนซื้อได้ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด) ส่งผลให้การลงทุนก่อสร้างอสังหาฯใหม่ ๆ จะมีจำนวนลดน้อยลงไปด้วย (ยกเว้นระดับราคาปานกลางถึงปานกลางค่อนข้างถูก) ในทางตรงกันข้าม อาจมีความพยายามขายทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อนำเงินสดมาใช้ (ชำระหนี้) ทำให้ราคาทรัพย์สินตกต่ำลงได้ กระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชน เนื่องจากประชาชนทุกระดับล้วนถือครองอสังหาฯ
" ในท่ามกลางวิกฤติที่อาจทำให้ราคาอสังหาฯตกต่ำได้ คงทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องปรับตัวพอสมควร เช่น ผู้ซื้อบ้านก็คงต้องคาดการณ์รายได้และความสามารถในการซื้อให้ชัดเจนก่อนการลงทุน นักพัฒนาที่ดินต้องวางแผนให้รอบคอบก่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ ในภาวะที่ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นมาก"
นายโสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการ ศูนย์ข้อมูล วิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) เปิดเผยว่า ปัญหาที่อ่อนไหวสำหรับวงการอสังหาริมทรัพย์ในปัจจุบัน คงหนีไม่พ้นเรื่องวิกฤติทั้งในระดับโลกและระดับประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อการตกต่ำของตลาดในอนาคตได้ โดยวิกฤติสำคัญในขณะนี้มี 4 กรณีสำคัญ แบ่งเป็นวิกฤติระดับโลก ซึ่งยังแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ วิกฤติน้ำมัน ซึ่งราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และวิกฤติอาหารซึ่งทำให้เกิดความปั่นป่วนของสังคมในหลายประเทศ และวิกฤติภายในประเทศ ซึ่งยังแบ่งเป็น 2 กรณีคือ วิกฤติทางการเมือง และวิกฤติภาคใต้
ทั้งนี้ วิกฤติน้ำมันเป็นปัญหาที่ร้อนแรงที่สุดในขณะนี้ ราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว ส่งผลให้เกิดการประหยัดอย่างสุดกำลัง ทำให้สินค้าอสังหาฯราคาแพงหดหายไปอย่างมากมาตั้งแต่ปี 2548 ราคาเฉลี่ยของสินค้าอสังหาฯที่เปิดตัวใหม่จึงแข่งกันลดราคาลงทุกปี อย่างไรก็ตาม สิ่งที่พึงเข้าใจก็คือ ที่ลดราคาลงนั้น ไม่ใช่ว่าค่าก่อสร้างถูกลง แต่หมายถึงการที่ผู้ประกอบการต้องลดขนาด ลดคุณภาพ หรือตั้งในทำเลที่ราคาที่ดินถูกลง เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้
สำหรับวิกฤติอาหารนั้น สำหรับประเทศไทยที่เป็น "อู่ข้าวอู่น้ำ" ยังอาจได้รับผลกระทบจากวิกฤติอาหารน้อยกว่าประเทศอื่น แต่วิกฤติอาหารก็ส่งผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้ออย่างมากมายในรอบหลายปีที่ผ่านมาในไทย
สำหรับในระดับประเทศ วิกฤติการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ยังคงยากที่จะหาทางออกที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ขณะที่วิกฤติที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ จะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติอย่างหลีกเลี่ยงไมได้
ซึ่งในภาวะขณะนี้ สินค้าต่าง ๆ พากันขึ้นราคา ทำให้การครองชีพของประชาชนลำบากยิ่งขึ้น และในภาวะที่ยากลำบากนี้ การซื้ออสังหาฯจึงจะเกิดน้อยลง (ยกเว้นสามารถช้อนซื้อได้ในราคาต่ำกว่าท้องตลาด) ส่งผลให้การลงทุนก่อสร้างอสังหาฯใหม่ ๆ จะมีจำนวนลดน้อยลงไปด้วย (ยกเว้นระดับราคาปานกลางถึงปานกลางค่อนข้างถูก) ในทางตรงกันข้าม อาจมีความพยายามขายทรัพย์สินที่มีอยู่เพื่อนำเงินสดมาใช้ (ชำระหนี้) ทำให้ราคาทรัพย์สินตกต่ำลงได้ กระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชน เนื่องจากประชาชนทุกระดับล้วนถือครองอสังหาฯ
" ในท่ามกลางวิกฤติที่อาจทำให้ราคาอสังหาฯตกต่ำได้ คงทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต้องปรับตัวพอสมควร เช่น ผู้ซื้อบ้านก็คงต้องคาดการณ์รายได้และความสามารถในการซื้อให้ชัดเจนก่อนการลงทุน นักพัฒนาที่ดินต้องวางแผนให้รอบคอบก่อนการเปิดตัวโครงการใหม่ ในภาวะที่ราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มสูงขึ้นมาก"