ศาลนัดพร้อม คดี “หญิงอ้อ-บรรณพจน์-กาญจนาภา” เลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ 546 ล้านบาท วันนี้ คาดศาลนัดวันฟังคำพิพากษาทันที หลังศาล รธน.ชี้ชัด คตส.มีอำนาจสืบสวนคดี
วันนี้ (4 ก.ค.) เวลา 09.00 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 901 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดพร้อมคู่ความในคดีหมายเลขดำที่ อ.1149/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ อดีตประธานกรรมการบริหารชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมานเป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐาน ร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 546 ล้านบาท จากหุ้นจำนวน 4.5 ล้านหุ้นซึ่งมีหุ้นมูลค่า 546 ล้านบาท โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยใช้กลอุบาย อันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) (2) และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91 เพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องอำนาจการสืบสวนคดีของ คตส.ประกาศ ตาม คปค.ฉบับที่ 30
คดีนี้ ศาลสืบพยานจำเลยปากสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เป็นบทบัญญัติและปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอาญา จะต้องนำมาพิจารณาและใช้บังคับในคดีนี้ด้วย ดังนั้น จึงมีคำสั่งให้นัดพร้อมคู่ความเพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่า คตส.มีอำนาจสืบสวนตามกฎหมาย จึงคาดว่าศาลจะมีการกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาคดีดังกล่าวทันที
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะคปค.เป็นผู้มีอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงมีอำนาจที่จะออกกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การแต่งตั้ง คตส. ก็เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้ คตส.สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ แต่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด
ทั้งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาประกาศ และคำสั่งของ คปค.หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะ คปค.ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 ก.ย.49 จนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป
และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญก็ได้รองรับไว้
วันนี้ (4 ก.ค.) เวลา 09.00 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 901 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดพร้อมคู่ความในคดีหมายเลขดำที่ อ.1149/2550 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ อดีตประธานกรรมการบริหารชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) พี่ชายบุญธรรมคุณหญิงพจมาน, คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนางกาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวคุณหญิงพจมานเป็นจำเลยที่ 1-3 ในความผิดฐาน ร่วมกันจงใจหลีกเลี่ยงการชำระภาษีอากรหุ้นบริษัทชินวัตรคอมพิวเตอร์ แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จำนวน 546 ล้านบาท จากหุ้นจำนวน 4.5 ล้านหุ้นซึ่งมีหุ้นมูลค่า 546 ล้านบาท โดยความเท็จ โดยฉ้อโกง โดยใช้กลอุบาย อันเป็นความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 37 (1) (2) และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91 เพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องอำนาจการสืบสวนคดีของ คตส.ประกาศ ตาม คปค.ฉบับที่ 30
คดีนี้ ศาลสืบพยานจำเลยปากสุดท้ายไปเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เป็นบทบัญญัติและปัญหาข้อกฎหมายที่ศาลอาญา จะต้องนำมาพิจารณาและใช้บังคับในคดีนี้ด้วย ดังนั้น จึงมีคำสั่งให้นัดพร้อมคู่ความเพื่อฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติว่า คตส.มีอำนาจสืบสวนตามกฎหมาย จึงคาดว่าศาลจะมีการกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาคดีดังกล่าวทันที
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะคปค.เป็นผู้มีอำนาจ รัฏฐาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงมีอำนาจที่จะออกกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การแต่งตั้ง คตส. ก็เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้ คตส.สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้ แต่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด
ทั้งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาประกาศ และคำสั่งของ คปค.หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะ คปค.ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 ก.ย.49 จนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศหรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป
และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญก็ได้รองรับไว้