เอเอฟพี - กองทัพโคลอมเบียสร้างผลงานเยี่ยม ด้วยปฏิบัติการช่วยตัวประกันพ้นเงื้อมมือกบฏมาร์กซิสต์กลุ่ม"ฟาร์ก"ได้สำเร็จแบบห้าวหาญทว่าไม่ต้องยิงปืนสักนัดเมื่อวันพุธ (2) ส่งผลให้อิงกริด เบตันกูรต์ นักการเมืองสัญชาติโคลอมเบีย-ฝรั่งเศส รวมทั้งชาวสหรัฐฯ 3 คน และทหารโคลอมเบียอีก 11 คน ซึ่งถูกกลุ่มกบฏจับกุมไปกักขังนานหลายปีได้รับอิสรภาพ ท่ามกลางเสียงชื่นชมจากนานาชาติ
ปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกันครั้งนี้สำเร็จลุล่วงโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด โดยหน่วยทหารโคลอมเบียซึ่งแฝงตัวเข้าไปอยู่กับกลุ่มกบฏได้วางแผนช่วยเหลือตัวประกันทั้ง 15 คนออกมาโดยทางเฮลิคอปเตอร์
"ขอขอบคุณชาวโคลอมเบียทุกคน และชาวฝรั่งเศสทุกคนที่อยู่ข้างเรา สำหรับการช่วยเหลือให้เราได้กลับออกมาสู่โลกภายนอก และช่วยให้เรารอดชีวิตมาได้ และให้โลกได้รับรู้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น" เบทันกูรต์กล่าวขอบคุณภายหลังจากได้รับความช่วยเหลือออกจากป่า
"เราสามารถที่จะฝัน เราสามารถที่จะหวังต่อไป เพราะเราได้ยินเสียงเรียกของคนที่เรารัก" เธอบอก
เบทันกูรต์นั้นถูกกลุ่มกบฏจับกุมตัวไปเมื่อปี 2002 ในระหว่างการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอเล่าว่าเหล่าตัวประกันไม่รู้เลยว่าพวกที่มารับตัวพวกเธอออกจากที่คุมขังเมื่อวันพุธ เป็นทหารโคลอมเบียปลอมตัวมา โดยมีบางคนสวมเสื้อยืดที่มีรูปนักปฏิวัติ เออร์เนสโต "เช" กูวารา ด้วย
จากนั้นทหารปลอมตัวกลุ่มนี้ได้บังคับตัวประกันทั้งหมดให้ขึ้นไปบนเฮลิคอปเตอร์สีขาวลำหนึ่ง ตัวประกันทุกคนถูกมัดมือและรู้แต่เพียงว่าจะถูกย้ายไปยังที่หลบซ่อนอีกแห่งหนึ่ง
จนกระทั่งเมื่อเฮลิคอปเตอร์ขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้ว "หัวหน้าชุดปฏิบัติการจึงบอกว่า 'เราเป็นทหารของโคลอมเบียมาช่วยพวกคุณทั้งหมดให้เป็นอิสระ' แล้วหลังจากนั้นเฮลิคอปเตอร์ก็เกือบจะตกเพราะพวกเรากระโดดโลดเต้นกันด้วยความดีใจ เรากรีดร้องและสวมกอดกันและกัน เราแทบไม่เชื่อเรื่องที่เกิดขึ้น" เบทันกูรต์เล่าถึงปฏิบัติการช่วยตัวประกัน เมื่อเธอเดินทางมาถึงสนามบินทหารในกรุงโบโกตา
ฮวน มานูเอล ซานโตส รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโคลอมเบียกล่าวว่าปฏิบัติการดังกล่าว "จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย"
"นี่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ... ในอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยมีปฏิบัติการสมบูรณ์แบบเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน" เบทันกูรต์กล่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และเธอใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและสเปน
ตัวประกันชาวอเมริกันอีกสามคนที่ได้รับการช่วยเหลือคือ มาร์ก กอนซัลเวส, ทอมัส โฮเวส และคีธ สแตนเซล พวกเขาขึ้นเครื่องบินทหารไปยังเมืองซานอันโตนิโอ มลรัฐเทกซัส ในตอนเช้าของวันพฤหัสบดี จากนั้นก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์แพทย์ทหารของสหรัฐฯ ทันที
ทั้งสามเป็นพนักงานบริษัทนอร์ธรอป กรัมแมน ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจมูลค่ามหาศาลกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และถูกกลุ่มกบฏฟาร์กจับกุมตัวไปเมื่อปี 2003 หลังจากเครื่องบินที่พวกเขานั่งมาซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดของสหรัฐฯ ได้ตกห่างจากเมืองซานโฮเซ เดล กัวเวียรา ราว 70 กิโลเมตร
ประธานาธิบดีอัลวาโร อูริเบ ของโคลอมเบีย กล่าวชื่นชมชุดปฏิบัติการช่วยเหลือว่า "มีผลงานยอดเยี่ยม" และเปรียบเทียบว่าเป็น "วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ"
ขณะเดียวกัน บรรดาผู้นำโลกต่างแสดงความยินดีกับข่าวการช่วยเหลือตัวประกันครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีจอร์จ บุชของสหรัฐฯ ที่กล่าวชมประธานาธิบดีอูริเบว่า "เป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง" หรือประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศสก็กล่าวขอบคุณอูริเบเช่นกัน อีกทั้งเรียกร้องให้กลุ่มกบฏฟาร์กยุติการต่อสู้ที่ "เหลวไหล" เสียที
ทางด้านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำโคลอมเบีย วิลเลียม บราวน์ฟิลด์ ได้บอกกับโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นว่า วอชิงตันทราบมาก่อนแล้วเกี่ยวกับปฏิบัติการคราวนี้ และได้จัดหา "ความสนับสนุนทางเทคนิค" ให้ด้วย แต่เขายืนยันว่าปฏิบัติการครั้งนี้โดยส่วนสำคัญแล้วเป็น "การปฏิบัติการของโคลอมเบีย"
ส่วนชาวโคลอมเบียนั้นต่างพากันออกมาเฉลิมฉลองตามท้องถนนและโห่ร้องยินดีกับปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการนำแสงสว่างมาสู่ประเทศหลังจากเสื่อมเสียชื่อเสียงจากเรื่องการลักพาตัวมานานนับทศวรรษ ทั้งนี้ กลุ่มกบฏดังกล่าวมีชื่อติดในบัญชีองค์การก่อการร้ายของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปด้วย
ปฏิบัติการช่วยเหลือตัวประกันครั้งนี้สำเร็จลุล่วงโดยไม่มีการเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด โดยหน่วยทหารโคลอมเบียซึ่งแฝงตัวเข้าไปอยู่กับกลุ่มกบฏได้วางแผนช่วยเหลือตัวประกันทั้ง 15 คนออกมาโดยทางเฮลิคอปเตอร์
"ขอขอบคุณชาวโคลอมเบียทุกคน และชาวฝรั่งเศสทุกคนที่อยู่ข้างเรา สำหรับการช่วยเหลือให้เราได้กลับออกมาสู่โลกภายนอก และช่วยให้เรารอดชีวิตมาได้ และให้โลกได้รับรู้ถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น" เบทันกูรต์กล่าวขอบคุณภายหลังจากได้รับความช่วยเหลือออกจากป่า
"เราสามารถที่จะฝัน เราสามารถที่จะหวังต่อไป เพราะเราได้ยินเสียงเรียกของคนที่เรารัก" เธอบอก
เบทันกูรต์นั้นถูกกลุ่มกบฏจับกุมตัวไปเมื่อปี 2002 ในระหว่างการหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดี เธอเล่าว่าเหล่าตัวประกันไม่รู้เลยว่าพวกที่มารับตัวพวกเธอออกจากที่คุมขังเมื่อวันพุธ เป็นทหารโคลอมเบียปลอมตัวมา โดยมีบางคนสวมเสื้อยืดที่มีรูปนักปฏิวัติ เออร์เนสโต "เช" กูวารา ด้วย
จากนั้นทหารปลอมตัวกลุ่มนี้ได้บังคับตัวประกันทั้งหมดให้ขึ้นไปบนเฮลิคอปเตอร์สีขาวลำหนึ่ง ตัวประกันทุกคนถูกมัดมือและรู้แต่เพียงว่าจะถูกย้ายไปยังที่หลบซ่อนอีกแห่งหนึ่ง
จนกระทั่งเมื่อเฮลิคอปเตอร์ขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้ว "หัวหน้าชุดปฏิบัติการจึงบอกว่า 'เราเป็นทหารของโคลอมเบียมาช่วยพวกคุณทั้งหมดให้เป็นอิสระ' แล้วหลังจากนั้นเฮลิคอปเตอร์ก็เกือบจะตกเพราะพวกเรากระโดดโลดเต้นกันด้วยความดีใจ เรากรีดร้องและสวมกอดกันและกัน เราแทบไม่เชื่อเรื่องที่เกิดขึ้น" เบทันกูรต์เล่าถึงปฏิบัติการช่วยตัวประกัน เมื่อเธอเดินทางมาถึงสนามบินทหารในกรุงโบโกตา
ฮวน มานูเอล ซานโตส รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมโคลอมเบียกล่าวว่าปฏิบัติการดังกล่าว "จะถูกจารึกไว้ในประวัติศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย"
"นี่เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น ... ในอดีตที่ผ่านมายังไม่เคยมีปฏิบัติการสมบูรณ์แบบเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน" เบทันกูรต์กล่าวด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม และเธอใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและสเปน
ตัวประกันชาวอเมริกันอีกสามคนที่ได้รับการช่วยเหลือคือ มาร์ก กอนซัลเวส, ทอมัส โฮเวส และคีธ สแตนเซล พวกเขาขึ้นเครื่องบินทหารไปยังเมืองซานอันโตนิโอ มลรัฐเทกซัส ในตอนเช้าของวันพฤหัสบดี จากนั้นก็ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังศูนย์แพทย์ทหารของสหรัฐฯ ทันที
ทั้งสามเป็นพนักงานบริษัทนอร์ธรอป กรัมแมน ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจมูลค่ามหาศาลกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ และถูกกลุ่มกบฏฟาร์กจับกุมตัวไปเมื่อปี 2003 หลังจากเครื่องบินที่พวกเขานั่งมาซึ่งอยู่ในระหว่างปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติดของสหรัฐฯ ได้ตกห่างจากเมืองซานโฮเซ เดล กัวเวียรา ราว 70 กิโลเมตร
ประธานาธิบดีอัลวาโร อูริเบ ของโคลอมเบีย กล่าวชื่นชมชุดปฏิบัติการช่วยเหลือว่า "มีผลงานยอดเยี่ยม" และเปรียบเทียบว่าเป็น "วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ"
ขณะเดียวกัน บรรดาผู้นำโลกต่างแสดงความยินดีกับข่าวการช่วยเหลือตัวประกันครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดีจอร์จ บุชของสหรัฐฯ ที่กล่าวชมประธานาธิบดีอูริเบว่า "เป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง" หรือประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศสก็กล่าวขอบคุณอูริเบเช่นกัน อีกทั้งเรียกร้องให้กลุ่มกบฏฟาร์กยุติการต่อสู้ที่ "เหลวไหล" เสียที
ทางด้านเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำโคลอมเบีย วิลเลียม บราวน์ฟิลด์ ได้บอกกับโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็นว่า วอชิงตันทราบมาก่อนแล้วเกี่ยวกับปฏิบัติการคราวนี้ และได้จัดหา "ความสนับสนุนทางเทคนิค" ให้ด้วย แต่เขายืนยันว่าปฏิบัติการครั้งนี้โดยส่วนสำคัญแล้วเป็น "การปฏิบัติการของโคลอมเบีย"
ส่วนชาวโคลอมเบียนั้นต่างพากันออกมาเฉลิมฉลองตามท้องถนนและโห่ร้องยินดีกับปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นการนำแสงสว่างมาสู่ประเทศหลังจากเสื่อมเสียชื่อเสียงจากเรื่องการลักพาตัวมานานนับทศวรรษ ทั้งนี้ กลุ่มกบฏดังกล่าวมีชื่อติดในบัญชีองค์การก่อการร้ายของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปด้วย