ในการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 เมื่อวานนี้ (2 ก.ค.) มีนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะรองประธานกรรมาธิการเป็นประธานการประชุม ยังคงพิจารณางบประมาณกระทรวงการคลัง กรมสรรพากร ของบประมาณ 7,713,603,400 บาท โดยนายศานิตย์ ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร ชี้แจงว่า 8 เดือนที่ผ่านมา เก็บภาษีได้ 8.2 แสนล้านบาท สูงกว่าที่ประมาณการ 4.4 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ส่วนที่เก็บได้เกินเป้าคือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม และปิโตรเลียม ส่วนที่ต่ำกว่าเป้าคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งเป็นไปตามมาตรการภาษีของรัฐบาล
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการฯ ได้ซักถามถึง การเก็บภาษีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรม คุณหญิง พจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีการระบุว่า เก็บไม่ได้เพราะขาดอายุความ จึงขอข้อมูลกรมสรรพากรไป แต่กรมสรรพากร ตอบมาว่าให้ไม่ได้ ต้องทำหนังสือถึงรัฐมนตรีตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ จึงขอให้กรมฯ นำข้อมูลมาแสดง เพราะเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากรัฐเสียรายได้มหาศาล
นายศานิตย์ ชี้แจงว่ากรณีนายบรรณพจน์ ที่เก็บภาษีไม่ได้ ไม่ใช่เพราะหมดอายุความ แต่เป็นการยกการประเมิน ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจอิสระตามประมวลรัษฎากรได้วินิจฉัยไว้ และในอดีตหากคณะกรรมการชุดดังกล่าววินิจฉัยมาแบบนี้ กรมฯก็ไม่เคยไปฟ้องศาลภาษี เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ยกเว้นว่าคณะกรรมการฯ เห็นด้วยกับกรมฯ ว่าประเมินถูกแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียภาษีสามารถฟ้องศาลภาษี
ส่วนเรื่องที่ขอข้อมูลมา ต้องดำเนินการตามขั้นตอน โดยให้กรรมาธิการพิจารณาอุทธรณ์ ทำหนังสือมายังกรมสรรพากร เพราะถือว่าคณะกรรมการฯ และกรมสรรพากร เป็นคนละส่วนกัน
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กรรมาธิการฯ จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากประเมินไม่ถูกต้องทำให้เก็บภาษีไม่ได้ ก็ต้องชี้แจงสาธารณะ เพราะตอนนี้คนทั้งเมืองเข้าใจว่า คดีขาดอายุความ ส่วนข้อมูลที่ขอ หากไม่ให้ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ เมื่อประเมินผิดพลาด เคยศึกษาหรือไม่ว่าประมวลรัษฎากรตรงไหนมีช่องโหว่ หรือเจ้าหน้าที่บกพร่อง มีการตั้งกรรมการขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ เพราะรัฐเสียหายมาก ส่วนการขอเอกสาร ทางกรมสรรพากร จะปฏิเสธไม่ได้ว่าคณะกรรมารฯ ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร เพราะการทำสิ่งใดของคณะกรรการฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน
นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กรรมาธิการฯ กล่าวว่ายังติดใจกรณีเก็บภาษีนายบรรณพจน์ ไม่ได้ว่า เมื่อประเมินผิดแล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตัดสิน ประเพณีปฏิบัติกรมฯ จะไม่ฟ้องศาลภาษี จึงสงสัยว่า มีหลายกรณีหรือไม่ที่เป็นแบบนี้ นอกจากนี้เรื่องหุ้นแอมเพิลริช การอุทธรณ์ของผู้ถูกเรียก ต้องวางเงินมัดจำ แต่ตนตรวจเดือนเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา กรมสรรพากรยังไม่ได้เก็บเงินมัดจำจากนายพานทองแท้ ชินวัตร
ช่วงนี้ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ พยายามตัดบทว่า เรื่องคดีความภาษี ขอให้ทำหนังสือขอมา ตนจะให้ทุกอย่างตามที่กฎหมายข้อมูลข่าวสารกำหนด เรื่องนี้ยังพูดได้ในการประชุมสภา วาระ 2 และ 3 และยังหารือได้ในกรรมาธิการการเงิน การคลัง ของสภา ตนยืนยันในสภาแล้วว่า ถ้าเชิญมาก็ยินดีจะมาตอบ แต่ตอนนี้ขอให้พิจารณางบประมาณก่อน เพราะเกรงว่าจะไม่จบ
นายศานิตย์ ชี้แจงอีกครั้งว่า เรื่องหุ้นแอมเพิลริชฯ มีการเข้าใจว่า เหตุใดจึงไม่มีการเรียกเก็บภาษีจากทรัพย์สินที่ คตส.อายัดไว้ ซึ่งเราเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง เนื่องจากภาษีที่กรมสรรพากรยึดได้ ต้องปลอดภาระ ในส่วนสรรพากรได้ยึดในส่วนที่ปลอดภาระไปกว่าพันล้านบาทแล้ว และได้มีการอายัดซ้อนกับทางคตส. อายัดไว้ นอกจากนี้ หากมีหน่วยงานอื่นที่อายัดทรัพย์ไว้ เราก็จะอายัดซ้อนไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็คุ้มกับภาษี 12,00 ล้านบาท ส่วนกรณีธรรมาภิบาลของกรมสรรพากรนั้น เรายืนยันว่า เราปฏิบัติตามข้อกฎหมายทุกอย่าง แต่อาจจะมีช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่ไม่เคลียร์ ก็จะนำไปปรับปรุงเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป อย่างไรก็ตามทางกรมสรรพากรก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกจากราชการ แต่ขณะนี้ก็ได้มีการฟ้องร้องศาลปกครองอยู่ เราก็ต้องรอการพิจารณาคดี เพราะแม้แต่การพิจารณาของ ก.พ.ก็ยังมีการลดโทษ
นายศานิตย์ กล่าวต่อว่า ที่มีการนำเอกสารภายในกรมสรรพากร เรื่องการเรียกเก็บภาษีของครอบครัวชินวัตร มาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นั้น ขอยืนยันว่า ไม่ได้ออกมาจากกรมสรรพากร เพราะเรื่องนี้เราระมัดระวังกันมากอยู่แล้ว เพราะกรมสรรพากรมีคดีฟ้องร้องอยู่ตลอดเวลา เราโดนทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งป.ป.ช.และ คตส. รวมถึงอีกฝ่ายด้วย ซึ่งก็ต้องระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ตนอยากเกษียณอายุแบบสบายๆ และจะเกษียณอายุในเดือน ก.ย.นี้แล้ว
นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ในฐานะโฆษกกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 แถลงว่า ที่ประชุมกรรมาธิการฯได้พิจารณางบประมาณกระทรวงการคลัง เป็นกระทรวงแรกในการประชุมวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา และได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณค่าครุภัณฑ์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ในโครงการระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเลกทรอนิกส์ ที่เดิมดำเนินการโดยสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาโอนมายังกระทรวงการคลัง เป็นโครงการที่ใช้เงินจำนวนมากประมาณ 1.4 พันล้านบาท แต่พอเริ่มดำเนินการ กลับมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกปีละ500-600 ล้านบาท ทำให้คณะกรรมาธิการเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษี จึงเห็นควรให้พิจารณาในชั้นอนุกรรมาธิการอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยได้ขอให้ส่งเอกสารสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียค่าโง่ แต่ถ้าดูสัญญาแล้วพบว่าไม่มีความชัดเจน กรรมาธิการก็จะไม่อนุมัติงบในส่วนนี้ให้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมกรรมาธิการฯ เมื่อวันที่ 1 ก.ค.นั้น ในการพิจารณางบประมาณกระทรวงการคลังในภาพรวม กรรมาธิการห่วงเรื่องดุลงบประมาณที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น และการสำรองเงินคลัง ที่มีจำนวนลดลงและการประมาณการรายรับ อาจไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ เนื่องจากวิกฤตน้ำมันแพง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงหนี้สาธารณะปี 52 ที่คงค้างต่อจีดีพี ร้อยละ 39.18 ซึ่งเพิ่มขึ้นตามแผนการกู้ยืมชดใช้เงินคงคลัง และการทำเมกะโปรเจกต์ จึงขอให้กระทรวงการคลังหาแนวทางในการลดภาระหนี้สาธารณะในอนาคต นอกจากนี้ กรรมาธิการยังขอให้สำนักงานสลากกินแบ่งฯ หามาตรการแก้ปัญหาการจำหน่ายสลากฯให้ทั่วถึงมากกว่าการใช้ระบบโควตา ที่ทำให้มีการขายสลากเกินราคา และขอให้กระทรวงการคลังประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทย หาแนวทางที่เหมาะสมต่ออัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ทั้งนี้ งบประมาณในส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง 1,097,878,900 บาท กรมธนารักษ์ 3,159,931,700 บาท กรมบัญชีกลาง 1,152,253,500 บาท และงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 27,540,177,500 บาท คณะกรรมาธิการไม่ได้ปรับลด
อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการฯ ได้ซักถามถึง การเก็บภาษีนายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ พี่ชายบุญธรรม คุณหญิง พจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีการระบุว่า เก็บไม่ได้เพราะขาดอายุความ จึงขอข้อมูลกรมสรรพากรไป แต่กรมสรรพากร ตอบมาว่าให้ไม่ได้ ต้องทำหนังสือถึงรัฐมนตรีตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ จึงขอให้กรมฯ นำข้อมูลมาแสดง เพราะเป็นเรื่องสำคัญเนื่องจากรัฐเสียรายได้มหาศาล
นายศานิตย์ ชี้แจงว่ากรณีนายบรรณพจน์ ที่เก็บภาษีไม่ได้ ไม่ใช่เพราะหมดอายุความ แต่เป็นการยกการประเมิน ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่มีอำนาจอิสระตามประมวลรัษฎากรได้วินิจฉัยไว้ และในอดีตหากคณะกรรมการชุดดังกล่าววินิจฉัยมาแบบนี้ กรมฯก็ไม่เคยไปฟ้องศาลภาษี เพราะเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ยกเว้นว่าคณะกรรมการฯ เห็นด้วยกับกรมฯ ว่าประเมินถูกแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียภาษีสามารถฟ้องศาลภาษี
ส่วนเรื่องที่ขอข้อมูลมา ต้องดำเนินการตามขั้นตอน โดยให้กรรมาธิการพิจารณาอุทธรณ์ ทำหนังสือมายังกรมสรรพากร เพราะถือว่าคณะกรรมการฯ และกรมสรรพากร เป็นคนละส่วนกัน
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค กรรมาธิการฯ จากพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากประเมินไม่ถูกต้องทำให้เก็บภาษีไม่ได้ ก็ต้องชี้แจงสาธารณะ เพราะตอนนี้คนทั้งเมืองเข้าใจว่า คดีขาดอายุความ ส่วนข้อมูลที่ขอ หากไม่ให้ ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ เมื่อประเมินผิดพลาด เคยศึกษาหรือไม่ว่าประมวลรัษฎากรตรงไหนมีช่องโหว่ หรือเจ้าหน้าที่บกพร่อง มีการตั้งกรรมการขึ้นมาปรับปรุงแก้ไขหรือไม่ เพราะรัฐเสียหายมาก ส่วนการขอเอกสาร ทางกรมสรรพากร จะปฏิเสธไม่ได้ว่าคณะกรรมารฯ ไม่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร เพราะการทำสิ่งใดของคณะกรรการฯ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน
นายกรณ์ จาติกวนิช ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ กรรมาธิการฯ กล่าวว่ายังติดใจกรณีเก็บภาษีนายบรรณพจน์ ไม่ได้ว่า เมื่อประเมินผิดแล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตัดสิน ประเพณีปฏิบัติกรมฯ จะไม่ฟ้องศาลภาษี จึงสงสัยว่า มีหลายกรณีหรือไม่ที่เป็นแบบนี้ นอกจากนี้เรื่องหุ้นแอมเพิลริช การอุทธรณ์ของผู้ถูกเรียก ต้องวางเงินมัดจำ แต่ตนตรวจเดือนเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา กรมสรรพากรยังไม่ได้เก็บเงินมัดจำจากนายพานทองแท้ ชินวัตร
ช่วงนี้ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ พยายามตัดบทว่า เรื่องคดีความภาษี ขอให้ทำหนังสือขอมา ตนจะให้ทุกอย่างตามที่กฎหมายข้อมูลข่าวสารกำหนด เรื่องนี้ยังพูดได้ในการประชุมสภา วาระ 2 และ 3 และยังหารือได้ในกรรมาธิการการเงิน การคลัง ของสภา ตนยืนยันในสภาแล้วว่า ถ้าเชิญมาก็ยินดีจะมาตอบ แต่ตอนนี้ขอให้พิจารณางบประมาณก่อน เพราะเกรงว่าจะไม่จบ
นายศานิตย์ ชี้แจงอีกครั้งว่า เรื่องหุ้นแอมเพิลริชฯ มีการเข้าใจว่า เหตุใดจึงไม่มีการเรียกเก็บภาษีจากทรัพย์สินที่ คตส.อายัดไว้ ซึ่งเราเห็นว่ามันไม่ถูกต้อง เนื่องจากภาษีที่กรมสรรพากรยึดได้ ต้องปลอดภาระ ในส่วนสรรพากรได้ยึดในส่วนที่ปลอดภาระไปกว่าพันล้านบาทแล้ว และได้มีการอายัดซ้อนกับทางคตส. อายัดไว้ นอกจากนี้ หากมีหน่วยงานอื่นที่อายัดทรัพย์ไว้ เราก็จะอายัดซ้อนไว้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็คุ้มกับภาษี 12,00 ล้านบาท ส่วนกรณีธรรมาภิบาลของกรมสรรพากรนั้น เรายืนยันว่า เราปฏิบัติตามข้อกฎหมายทุกอย่าง แต่อาจจะมีช่องโหว่ทางกฎหมาย ที่ไม่เคลียร์ ก็จะนำไปปรับปรุงเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป อย่างไรก็ตามทางกรมสรรพากรก็ได้ให้เจ้าหน้าที่ออกจากราชการ แต่ขณะนี้ก็ได้มีการฟ้องร้องศาลปกครองอยู่ เราก็ต้องรอการพิจารณาคดี เพราะแม้แต่การพิจารณาของ ก.พ.ก็ยังมีการลดโทษ
นายศานิตย์ กล่าวต่อว่า ที่มีการนำเอกสารภายในกรมสรรพากร เรื่องการเรียกเก็บภาษีของครอบครัวชินวัตร มาเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์นั้น ขอยืนยันว่า ไม่ได้ออกมาจากกรมสรรพากร เพราะเรื่องนี้เราระมัดระวังกันมากอยู่แล้ว เพราะกรมสรรพากรมีคดีฟ้องร้องอยู่ตลอดเวลา เราโดนทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งป.ป.ช.และ คตส. รวมถึงอีกฝ่ายด้วย ซึ่งก็ต้องระมัดระวังตัวมากยิ่งขึ้น ตนอยากเกษียณอายุแบบสบายๆ และจะเกษียณอายุในเดือน ก.ย.นี้แล้ว
นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก ในฐานะโฆษกกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 แถลงว่า ที่ประชุมกรรมาธิการฯได้พิจารณางบประมาณกระทรวงการคลัง เป็นกระทรวงแรกในการประชุมวันที่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา และได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับงบประมาณค่าครุภัณฑ์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ในโครงการระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเลกทรอนิกส์ ที่เดิมดำเนินการโดยสำนักนายกรัฐมนตรี แต่ต่อมาโอนมายังกระทรวงการคลัง เป็นโครงการที่ใช้เงินจำนวนมากประมาณ 1.4 พันล้านบาท แต่พอเริ่มดำเนินการ กลับมีค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกปีละ500-600 ล้านบาท ทำให้คณะกรรมาธิการเห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้เสียภาษี จึงเห็นควรให้พิจารณาในชั้นอนุกรรมาธิการอีกชั้นหนึ่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยได้ขอให้ส่งเอกสารสัญญาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียค่าโง่ แต่ถ้าดูสัญญาแล้วพบว่าไม่มีความชัดเจน กรรมาธิการก็จะไม่อนุมัติงบในส่วนนี้ให้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมกรรมาธิการฯ เมื่อวันที่ 1 ก.ค.นั้น ในการพิจารณางบประมาณกระทรวงการคลังในภาพรวม กรรมาธิการห่วงเรื่องดุลงบประมาณที่ขาดดุลเพิ่มขึ้น และการสำรองเงินคลัง ที่มีจำนวนลดลงและการประมาณการรายรับ อาจไม่เป็นไปตามที่ตั้งไว้ เนื่องจากวิกฤตน้ำมันแพง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ รวมถึงหนี้สาธารณะปี 52 ที่คงค้างต่อจีดีพี ร้อยละ 39.18 ซึ่งเพิ่มขึ้นตามแผนการกู้ยืมชดใช้เงินคงคลัง และการทำเมกะโปรเจกต์ จึงขอให้กระทรวงการคลังหาแนวทางในการลดภาระหนี้สาธารณะในอนาคต นอกจากนี้ กรรมาธิการยังขอให้สำนักงานสลากกินแบ่งฯ หามาตรการแก้ปัญหาการจำหน่ายสลากฯให้ทั่วถึงมากกว่าการใช้ระบบโควตา ที่ทำให้มีการขายสลากเกินราคา และขอให้กระทรวงการคลังประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทย หาแนวทางที่เหมาะสมต่ออัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
ทั้งนี้ งบประมาณในส่วนสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง 1,097,878,900 บาท กรมธนารักษ์ 3,159,931,700 บาท กรมบัญชีกลาง 1,152,253,500 บาท และงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 27,540,177,500 บาท คณะกรรมาธิการไม่ได้ปรับลด