ผู้จัดการรายวัน – ศาลรัฐธรรมนูญไฟเขียวศาลฎีกาฯ เดินหน้าเอาผิดทักษิณและพวก ลงมติเอกฉันท์ 9 เสียง ชี้ขาดประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 แต่งตั้ง คตส. รวมทั้งการต่ออายุไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
วานนี้ ( 30 มิ.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ซึ่งมี นายชัช ชลวร เป็นประธาน ได้ประชุมพิจารณาคดีเป็นครั้งแรกในคำร้อง ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย. พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของคตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมฯมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะ คปค. เป็นผู้มีอำนาจ รัฐาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงมีอำนาจ ที่จะออกกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การแต่งตั้งคตส. ก็เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้คตส. สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ได้ แต่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด
ทั้งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาประกาศ และคำสั่งของ คปค. หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะคปค.ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 ก.ย. 49 จนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือ ตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญก็ได้รองรับไว้
ส่วนประเด็นการออก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย. พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของ คตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2551 ก็มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะกระทำเพื่อให้เกิดการต่อเนื่อง ในการปฏิบัติหน้าที่ของ คตส. ให้การทำงานของคตส.ไม่สะดุดหยุดลง เป็นการดำเนินการที่อยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของ คตส.ที่มีอยู่แต่เดิม ไม่ได้เป็นการเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคตส.แต่อย่างใด ทั้งไม่ได้เป็นการจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญมาตรา 309 แล้ว ซึ่งทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะได้ส่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไปยังศาลฎีกาฯในวันนี้ ( 1 ก.ค. )
อนึ่ง การวินิจฉัยสถานะของ คตส. และการต่ออายุของ คตส. ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 หรือไม่ข้างต้น สืบเนื่องมาจากการฟ้องคดีหวยบนดิน ที่ คตส.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก รวม 47 คน ต่อศาลฎีกาฯ แต่ทางจำเลย 31 – 47 แย้งว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ที่แต่งตั้ง คตส. รวมทั้งการต่ออายุ คตส. ของสนช. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาฯ จึงส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า 1. ประกาศ คปค.ฉับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่แต่งตั้ง คตส. ขึ้นมานั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หรือไม่ และข้อ 2. พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย.49 - 50 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของ คตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.51 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยแล้ว องค์คณะผู้พิพากษาจะได้วินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้อง คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่ 1 และ คำร้องของจำเลยที่ 31-47 ต่อไป
วานนี้ ( 30 มิ.ย.) คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ซึ่งมี นายชัช ชลวร เป็นประธาน ได้ประชุมพิจารณาคดีเป็นครั้งแรกในคำร้อง ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองส่งคำโต้แย้งของจำเลยเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าประกาศคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบ การกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (ที่ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.) และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย. พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของคตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงหลังการประชุมว่า ที่ประชุมฯมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส.ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะ คปค. เป็นผู้มีอำนาจ รัฐาธิปัตย์ในขณะนั้น จึงมีอำนาจ ที่จะออกกฎหมายใช้บังคับเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ การแต่งตั้งคตส. ก็เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้คตส. สามารถใช้อำนาจของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ได้ แต่ไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาด
ทั้งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว 2549 มาตรา 36 ที่บัญญัติไว้ว่า บรรดาประกาศ และคำสั่งของ คปค. หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะคปค.ที่ได้ประกาศหรือสั่งในระหว่างวันที่ 19 ก.ย. 49 จนถึงประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นในรูปใด และไม่ว่าจะประกาศ หรือสั่งให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ บริหารหรือ ตุลาการ ให้มีผลใช้บังคับต่อไป และให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่ง ตลอดจนการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งนั้น ไม่ว่าการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่ง จะกระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นประกาศหรือคำสั่ง หรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 309 ในรัฐธรรมนูญก็ได้รองรับไว้
ส่วนประเด็นการออก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง การตรวจสอบกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย. พ.ศ. 2549 พ.ศ. 2550 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของ คตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย. 2551 ก็มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นว่า ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะกระทำเพื่อให้เกิดการต่อเนื่อง ในการปฏิบัติหน้าที่ของ คตส. ให้การทำงานของคตส.ไม่สะดุดหยุดลง เป็นการดำเนินการที่อยู่ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ของ คตส.ที่มีอยู่แต่เดิม ไม่ได้เป็นการเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคตส.แต่อย่างใด ทั้งไม่ได้เป็นการจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ และได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญมาตรา 309 แล้ว ซึ่งทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะได้ส่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไปยังศาลฎีกาฯในวันนี้ ( 1 ก.ค. )
อนึ่ง การวินิจฉัยสถานะของ คตส. และการต่ออายุของ คตส. ว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 หรือไม่ข้างต้น สืบเนื่องมาจากการฟ้องคดีหวยบนดิน ที่ คตส.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพวก รวม 47 คน ต่อศาลฎีกาฯ แต่ทางจำเลย 31 – 47 แย้งว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ที่แต่งตั้ง คตส. รวมทั้งการต่ออายุ คตส. ของสนช. ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกาฯ จึงส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า 1. ประกาศ คปค.ฉับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่แต่งตั้ง คตส. ขึ้นมานั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หรือไม่ และข้อ 2. พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ลงวันที่ 30 ก.ย.49 - 50 ที่ต่ออายุการปฏิบัติหน้าที่ของ คตส. ออกไปถึงวันที่ 30 มิ.ย.51 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หรือไม่
ทั้งนี้ เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยแล้ว องค์คณะผู้พิพากษาจะได้วินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้อง คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องครั้งที่ 1 และ คำร้องของจำเลยที่ 31-47 ต่อไป