ผู้จัดการรายวัน- ผู้บริหารกระทรวงการคลังจำนน ปล่อยแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยตามต้องการ ขอสั่งเฉพาะแบงก์รัฐ-แบงก์เฉพาะกิจที่ยังแข็งแกร่งช่วยลดส่วนต่างดอกเบี้ยให้แคบลงก็พอ “หมอเลี้ยบ” ยันนโยบายการคลังเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อมากกว่านโยบายการเงิน เพราะสามารถตัดสินใจได้เองโดยทันที ระบุไม่เร่งการเติบโตของเศรษฐกิจมากนักหวั่นเป็นแรงกดดันเงินเฟ้อ
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง เนื่องจากจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้ แต่กระทรวงการคลังก็ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายการดำเนินนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ดูแลได้ ดังนั้นทางออกหนึ่งคือการที่จะเข้าไปหารือกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ เพื่อดูแลส่วนต่าง (สเปรด) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้แคบลงเพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะค่าครองชีพเพิ่มสูง
"ในการหารือของกลุ่มผู้บริหารกระทรวงการคลังเห็นตรงกัน ที่ผ่านมามีการเข้าหารือแล้วกับธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ดูแลผลกระทบประชาชนได้ในขณะนี้ เพราะธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BT และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) SCIB ฐานะทางการเงินก็ไม่แข็งแกร่งหรือบางแห่งมีหนี้เสียจำนวนมาก จึงไม่อาจเข้ามารองรับหรือดูแลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกู้และฝากแคบลงมาได้"
ขณะที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก็ยังมีกลุ่มลูกค้าจำกัดและไม่ครอบคลุมทั่วประเทศไม่สะท้อนถึงตลาดภาพรวม อย่างไรก็ตาม สำหรับธนาคารกรุงไทยค่อนข้างมีเงื่อนไขมากในการดำเนินนโยบายนี้เนื่องจากผู้บริหารเป็นมืออาชีพทำงานเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์การจะดำเนินการใดๆ จะต้องไม่กระทบต่อผู้ถือหุ้นและไม่ขัดกับหลักเกณฑ์บริษัทจดทะเบียนด้วย
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า แต่ละประเทศมีแนวทางในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อที่แตกต่างกันออกไป บางแห่งใช้นโยบายการคลัง บางแห่งใช้อัตราแลกเปลี่ยน หรือนโยบายดอกเบี้ย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้นคิดว่าการแก้ปัญหาเงินเฟ้อนั้นควรใช้นโยบายการคลังจะดีกว่า เพราะรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังสามารถตัดสินใจได้ทันที ในขณะที่นโยบายการเงินนั้นไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ตัดสินใจ ต้องให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจด้านนโยบายการเงินทำ เพราะมีข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่ในการทำงานนั้นทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังต่างทำงานร่วมกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้นำมาพูดในที่สาธารณะ
“ในภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงจากราคาน้ำมันนั้น กระทรวงการคลังจะไม่เน้นกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตมากจนเกินไป เพราะไม่ต้องการไปเร่งอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นไปอีก แต่เป้าหมายการเติบโตที่ 6% ในสิ้นปีนี้นั้น เห็นว่าเป็นการเติบโตในระดับที่สามารถรับมือกับเงินเฟ้อได้ แต่ทั้งนี้ต้องติดตามเรื่องราคาน้ำมันและเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังด้วย เชื่อว่าราคาน้ำมันแม้จะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ความผันผวนคงมีน้อยลง” นพ.สุรพงษ์กล่าว
(อ่าน...ออมสินลดดอกเบี้ยเงินกู้เอาใจเลี้ยบ...นสพ.ผู้จัดการรายวัน หน้า 31)
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยหากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อลดผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง เนื่องจากจะเป็นการซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในขณะนี้ แต่กระทรวงการคลังก็ไม่สามารถเข้าไปก้าวก่ายการดำเนินนโยบายการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ดูแลได้ ดังนั้นทางออกหนึ่งคือการที่จะเข้าไปหารือกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐรวมถึงธนาคารพาณิชย์ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นใหญ่ เพื่อดูแลส่วนต่าง (สเปรด) อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ให้แคบลงเพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะค่าครองชีพเพิ่มสูง
"ในการหารือของกลุ่มผู้บริหารกระทรวงการคลังเห็นตรงกัน ที่ผ่านมามีการเข้าหารือแล้วกับธนาคารออมสินและธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) KTB ดูแลผลกระทบประชาชนได้ในขณะนี้ เพราะธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) BT และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) SCIB ฐานะทางการเงินก็ไม่แข็งแกร่งหรือบางแห่งมีหนี้เสียจำนวนมาก จึงไม่อาจเข้ามารองรับหรือดูแลให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยกู้และฝากแคบลงมาได้"
ขณะที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก็ยังมีกลุ่มลูกค้าจำกัดและไม่ครอบคลุมทั่วประเทศไม่สะท้อนถึงตลาดภาพรวม อย่างไรก็ตาม สำหรับธนาคารกรุงไทยค่อนข้างมีเงื่อนไขมากในการดำเนินนโยบายนี้เนื่องจากผู้บริหารเป็นมืออาชีพทำงานเป็นอิสระ นอกจากนี้ยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์การจะดำเนินการใดๆ จะต้องไม่กระทบต่อผู้ถือหุ้นและไม่ขัดกับหลักเกณฑ์บริษัทจดทะเบียนด้วย
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า แต่ละประเทศมีแนวทางในการดูแลปัญหาเงินเฟ้อที่แตกต่างกันออกไป บางแห่งใช้นโยบายการคลัง บางแห่งใช้อัตราแลกเปลี่ยน หรือนโยบายดอกเบี้ย ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้นคิดว่าการแก้ปัญหาเงินเฟ้อนั้นควรใช้นโยบายการคลังจะดีกว่า เพราะรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังสามารถตัดสินใจได้ทันที ในขณะที่นโยบายการเงินนั้นไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ตัดสินใจ ต้องให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจด้านนโยบายการเงินทำ เพราะมีข้อมูลอย่างเต็มที่ แต่ในการทำงานนั้นทั้งธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังต่างทำงานร่วมกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่ได้นำมาพูดในที่สาธารณะ
“ในภาวะเศรษฐกิจที่มีเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงจากราคาน้ำมันนั้น กระทรวงการคลังจะไม่เน้นกระตุ้นให้เศรษฐกิจเติบโตมากจนเกินไป เพราะไม่ต้องการไปเร่งอัตราเงินเฟ้อให้สูงขึ้นไปอีก แต่เป้าหมายการเติบโตที่ 6% ในสิ้นปีนี้นั้น เห็นว่าเป็นการเติบโตในระดับที่สามารถรับมือกับเงินเฟ้อได้ แต่ทั้งนี้ต้องติดตามเรื่องราคาน้ำมันและเงินเฟ้อในช่วงครึ่งปีหลังด้วย เชื่อว่าราคาน้ำมันแม้จะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง แต่ความผันผวนคงมีน้อยลง” นพ.สุรพงษ์กล่าว
(อ่าน...ออมสินลดดอกเบี้ยเงินกู้เอาใจเลี้ยบ...นสพ.ผู้จัดการรายวัน หน้า 31)