ผู้จัดการรายวัน – ศาลปกครองไต่สวนฉุกเฉินกรณีปราสาทพระวิหารมาราธอน อธิบดีกรมสนธิสัญญาไปน้ำขุ่นๆ ต้องมีมติครม.แก้ไขคำว่า “แผนที่” เป็นแผนผัง เพราะแปลผิด สารภาพตลอด 46 ปีไทยไม่เคยทำข้อตกลงใดที่ยอมรับว่าเป็นของเขมร นักกฎหมาย-อดีตทูตถล่ม “นพดล” ชี้ชัดแถลงการณ์ร่วมทำไทยเสียอธิปไตย แถมเป็นเล่ห์เพื่อไม่ต้องผ่านสภา ขณะที่ยอดลงชื่อชะลอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทะลุ 2.5 หมื่น ลูก “คึกฤทธิ์” ร่วมลงนามด้วย ด้านสมัชชาประชาชนฯศรีสะเกษเคลื่อนพลชุมนุมใหญ่ทวงคืนเขาพระวิหาร-ขับไล่ชุมชนชาวกัมพูชาออกจากเขตแดนไทย 27 มิ.ย.นี้
วานนี้ (26 มิ.ย.) คณะตุลาการศาลปกครองได้เปิดการไต่สวนฉุกเฉินกรณีที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ กับพวกรวม 9 คน ยื่นฟ้องรมว.ต่างประเทศ กับพวกรวม 2 ราย และขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการกระทำของรมว.ต่างประเทศที่เสนอเรื่องต่อครม. และการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย-กัมพูชาที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นอันสิ้นผลชั่วคราว และให้ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ ซึ่งการไต่สวนครั้งนี้ศาลฯได้อนุญาตให้ประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เข้ารับฟังตามที่ฝ่ายนายสุวัตรร้องขอ
ทั้งนี้การไต่สวนได้ใช้เวลาตลอดทั้งวัน โดยช่วงเช้าเป็นการไต่สวนพยานฝ่ายผู้ฟ้อง ซึ่งนายสุวัตร และนายนิติธร ล้ำเหลือ เป็นผู้ชี้แจงพร้อมกับนำเสนอเอกสารหลักฐานจำนวนมาก ที่เกี่ยวข้องกับทางประวัติศาสตร์ของปราสาทพระวิหาร ซึ่งประกอบไปด้วยแผนที่ระบุแนวเขตชายแดน และแผนที่ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน รวมถึงข้อโต้แย้งทางสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และวีซีดีรายละเอียดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านที่มีคำถอดความอย่างละเอียดโดยยืนยันเนื้อหาในแถลงการณ์ถือเป็นสนธิสัญญาต่อศาล
พร้อมกับยืนยันว่า แถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย –กัมพูชา เกิดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นตัวแทนของรัฐ อันมีผลต่อกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ การกระทำของผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ขัดต่อหลักบริหารราชการแผ่นดิน และที่ต้องขอให้ศาลฯมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพราะจะมีการเสนอคำแถลงการณ์ร่วมฯต่อยูเนสโกช่วงวันที่ 2-10 ก.ค. หากเสนอไปแล้วจะมีการแก้ไขใด ๆ ลำบาก
กต.แจงเฉยต้องแก้มติครม.เพราะแปลผิด
ขณะที่ในช่วงบ่ายเป็นการไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกฟ้องรวม 3 ปากที่ได้รับมอบจากนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศประกอบด้วยนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย นายเชิดชู รักตะบุตร อัครราชทูต ณ กรุงปารีส ปฏิบัติราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
ทั้งนี้ คณะตุลาการฯ และพยานฝ่ายผู้ฟ้องได้มีการซักถามอย่างหนักในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เหตุผลการมีมติครม.เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. แก้ไขคำว่า “ แผนที่” ที่ระบุอยู่ในมติครม.วันที่ 17 มิ.ย.เป็น “แผนผัง” และมีการแก้ไขถ้อยคำดังกล่าวที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษในแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 18 มิ.ย..หรือไม่ รวมทั้งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวแผนที่ ๆได้มีการรับรองไปพร้อมกับแถลงการณ์แล้วด้วยหรือไม่ รวมทั้งเหตุผลที่ศาลโลกมีคำพิพากษาให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา การดำเนินการขอสงวนสิทธิในการโต้แย้งคำพิพากษาศาลโลก และสิทธิในการเรียกคืนปราสาทเขาพระวิหาร ที่นายถนัด คอมันตร์ รมว.ต่างประเทศขณะนั้น ยื่นต่อศาลโลก สหประชาชาติ ระยะเวลาของการสงวนสิทธินั้นมีมากน้อยเพียงไร รวมถึงแนวเขตในแผนที่แนบท้ายที่ระบุไว้เป็น N1 N2 N3 และถ้าศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจะมีผลกระทบต่อการบริหารงานของรัฐหรือไม่อย่างไร
โดยนายกฤตใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง ชี้แจงว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร แต่แผนที่ ๆ จะยื่นกลับพบว่ามีการนำพื้นที่ทับซ้อนที่ไทยก็อ้างสิทธิเป็นเจ้าของไปเสนอด้วย ทำให้ไทยต้องขอเจรจา จึงเป็น ที่มาของแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย-กัมพูชา โดยระบุว่าพื้นที่เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารที่กัมพูชาจะขอขึ้นเป็นมรดกโลก ส่วนมติครม.ที่มีการแก้ไขคำว่า “แผนที่” เป็น “แผนผัง”นั้นก็เพราะมีการแปลผิดในตอนแรกหลังแก้ไขแล้วจึงไม่ได้มีการดำเนินการยื่นขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขแถลงการณ์ร่วมฯที่ได้มีการลงนามไปแต่อย่างใด เพราะก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวแผนที่ ๆ รับรองไปก่อนหน้านั้นด้วย รวมทั้งก็ไม่ได้มีการแก้ไขถ้อยคำภาษาอังกฤษของคำว่า “MAP” ที่แปลว่า แผนที่ในแถลงการณ์ร่วมเป็น คำว่า “LAYOUT” ที่แปลว่าแผนผัง เพราะคำว่า “MAP” นั้นก็สามารถแปลว่า แผนผังได้เช่นกัน
ทั้งนี้ การทำแถลงการณ์ร่วมฯ ไม่ใช่เป็นการยอมรับการสละสิทธิการโต้แย้งและการทวงคืนปราสาทฯที่นายถนัดได้ดำเนินการไว้ เนื่องจากตามข้อเท็จจริงแล้ว ธรรมนูญศาลโลกที่ใช้ตัดสินคดีก็ระบุไว้ในข้อ 6 ว่า คำพิพากษาศาลโลกถือเป็นที่สุด การจะโต้แย้งต้องมีข้อเท็จจริงใหม่ และกระทำได้ภายในเวลา 6 เดือน-10 ปีนับแต่ศาลมีคำพิพากษา
สารภาพตลอด 46 ปี ไทยไม่เคยเซ็นยอมรับ
อย่างไรก็ตามยอมรับว่านับแต่ปี 2505 จนถึงก่อนมีแถลงการณ์ร่วมฯ ไทยไม่เคยมีการทำข้อตกลงใด ๆ ที่เป็นการยอมรับว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ถ้าหากว่าไทยไม่ยอมลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ ก็จะทำให้ทางกัมพูชานำแผนที่ปราสาทเขาพระวิหาร ที่จัดทำขึ้นเองและมีการรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย- กัมพูชา ไปขึ้นทะเบียนฯ และถ้ายูเนสโกรับรอง ก็จะเท่ากับว่าไทยยอมรับว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าว รวมทั้งถ้าจะให้เนื้อหาของแถลงการณ์มีเฉพาะข้อ 1 ที่ระบุเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทอย่างเดียวก็เห็นว่า จะทำให้ไทยเสียประโยชน์เกี่ยวกับการบริหารพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเป็นปัญหาอยู่ และสิทธิในการร่วมดูแลปราสาทเขาพระวิหารที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งมีการทำเป็นข้อตกลงร่วมกันอยู่ในแถลงการณ์ร่วมฯ ดังนั้นถ้าศาลปกครองมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่ออำนาจอธิปไตยของไทยในพื้นที่ๆ เราอ้างสิทธิทับซ้อนอยู่ โดยจะกระทบอย่างยิ่งเพราะรัฐบาลไปเจรจาเพื่อรักษาอธิปไตยเหนือดินแดนไว้
ภายหลังการชี้แจงนายสุวัตร แสดงความมั่นใจในการสู้คดีอย่างมากเพราะได้เอกสารเป็นแผนที่ N1 N2 และN3 ที่เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกมาในทางลับจากคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งไม่ทราบว่าเหตุใดผู้เกี่ยวข้องต้องปกปิด ไม่ให้สาธารณชนรับรู้
แถลงการณ์ร่วมทำไทยเสียดินแดน
วานนี้ (26 มิ.ย.) ที่คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์(มธ.) จัดสัมมนาเรื่อง “ความเห็นทางกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร” โดย ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะออกมาชี้แจงว่าแผนที่ที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไม่ได้ล้ำเข้ามาในไทย แต่สิ่งที่เป็นคำถาม และกำลังถกเถียงกันอยู่ขณะนี้คือ คำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 นั้น เป็นผลให้ข้อโต้แย้งของไทยในด้านข้อเท็จจริงและในแง่กฎหมายสิ้นสุดไปแล้วหรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบกันมาตลอด แม้ไทยจะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกแต่เป็นการยอมรับในเรื่องของกฎหมายปิดปาก ไม่ได้ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและได้สงวนสิทธิ์ไว้มาตลอด เหตุใดรัฐบาลไทยจึงไม่ขอขึ้นจดทะเบียนเขาพระวิหารร่วมกับกัมพูชามาก่อนหน้านี้ ทั้งที่ทางขึ้นหลักอยู่ฝั่งไทย
“แถลงการณ์ร่วมที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ไปลงนามกับกัมพูชานั้น มีความหมายและนัยที่สร้างความสับสนเรื่องเขตทับซ้อน จึงไม่แน่ใจว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลโลก และได้สร้างผลผูกพันกับทั้ง 2 ประเทศหรือไม่” ดร.คนึงนิจ กล่าว
ผลประโยชน์เกาะกงจุดชนวน ปชช.
นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต กล่าวว่า เมืองไทยโชคดีมากที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำอะไรทิ้งไว้ก็จะกลายเป็นประเด็นและจะให้เป็นข้อคิดของสังคมตลอด ทำให้คนไทยรู้จักเปรียบเทียบว่าระบอบทักษิณมีผลกระทบอย่างไร ถ้าหากไม่มีประเด็นที่นำไปสู่ผลประโยชน์ในเกาะกง คนไทยเองก็คงไม่สนใจในเรื่องนี้มากนัก
ส่วนการแถลงการณ์ร่วมเป็นวิธีการที่รัฐบาลไทยนำมาใช้เพื่อไม่ต้องผ่านรัฐสภา เพราะรัฐบาลที่แล้วได้อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศเจรจาเรื่องนี้ถึง 4 ครั้ง แต่ฝ่ายกัมพูชาบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด เป็นการตอกย้ำความระแวงให้เกิดกับประชาชน ทั้งๆ ที่แถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลชุดนี้เป็นเอกสารสาธารณะที่ต้องเปิดเผย แต่เรากลับไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้ทราบมาก่อน ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาเมื่อได้แถลงการณ์ไปก็ทำการเผยแพร่ไปทั่วโลก กัมพูชาจึงมีเจตนาที่จะล็อกรัฐบาลไทยไม่ให้เบี้ยวต่อแถลงการณ์ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของเราดำเนินการหักหลังประชาชน
ที่สำคัญคือการยอมให้กัมพูชาจดทะเบียนฝ่ายเดียว เท่ากับเรายอมรับว่าล้มเลิกข้อสงวนเมื่อปี 2505 และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องคลั่งชาติ เมื่อเห็นว่าประเทศชาติเสียเปรียบก็ต้องออกมาพูด
ชี้แถลงการณ์ร่วมเป็นสนธิสัญญา
ด้าน รศ.นพนิธิ สุริยะ คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ผู้ที่จะตอบได้ว่าแถลงการณ์ร่วมเป็นสนธิสัญญาหรือไม่นั้นคือศาลรัฐธรรมนูญ โดยสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม คือ กฎหมายในมาตรา 190 ที่มี 13 ประเภทของสนธิสัญญา หากสิ่งที่รัฐบาลทำนั้นเข้าไปอยู่ 1 ใน 13 รัฐบาลก็ต้องทำตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ แต่เมื่อดูแถลงการณ์ร่วมและเทียบกับเกณฑ์สนธิสัญญากรุงเวียนนา จะเห็นว่าถ้อยคำมีเจตนาที่ก่อให้เกิดพันธะหรือข้อผูกพัน และเมื่อพิจารณาทีละข้อ จะเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสนธิสัญญา เพราะคำว่า agreed แปลว่า ตกลง ดังนั้น เมื่อตกลงก็ต้องมาทำ ไม่ทำจะตกลงกันทำไม
"อภิสิทธิ์" แฉแผนที่ L7017 พิสูจน์ชัด "นพดล" โกหก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงต่างประเทศได้ไปซื้อพื้นที่โฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อชี้แจงกรณีปราสาทพระวิหาร แต่คำชี้แจงของกระทรวงต่างประเทศยังไม่ตรงประเด็นกับทางพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้มีการอภิปรายไว้ และได้สอบถามรมว.มาโดยตลอดในเรื่องพื้นที่ตามมติครม. 2505 โดยยึดตามคำพิพากษาของศาลโลกที่ยกอธิปไตยให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารไม่เกี่ยวกับพื้นที่ แต่รัฐมนตรีกลับทำให้เกิดความสับสน เข้าใจผิดหรือจงใจไม่บอกความจริง โดยมีการเสนอแผนที่ L7017 เข้าสู่ที่ประชุมครม. เพื่อขอให้ที่ประชุมอนุมัติแผนที่ให้เป็นเขตกำหนดเพื่อปฏิบัติตามของคำพิพากษาของศาลโลก ตามข้อเสนอของกัมพูชาซึ่งรวมถึงพื้นที่รอบตัวปราสาท โดยรมว.อ้างว่าเป็นแผนที่ของกรมแผนที่ทหาร
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูล ตามแผนที่ L7017 มีการระบุข้อความใต้แผนที่ไว้อย่างชัดเจนว่า แนวพรมแดนระหว่างประเทศในแผนที่ระวางนี้ต้องไม่ถือกำหนดเป็นทางการ และแนวแบ่งเขตการปกครองภายในประเทศในแผนที่ระวางนี้ แสดงโดยประมาณ ดังนั้น รัฐมนตรีจะมาอ้างแผนที่ดังกล่าวว่าเป็นเขตปักปันไม่ได้ และท่าทีของรมว.ต่างประเทศเป็นการอ้างแผนที่เพื่อให้โทษกับประเทศไทย
ที่สำคัญคือ การที่ครม.มีมติอนุมัติให้ไปลงนามในแถลงการณ์นั้น จะทำให้ประเทศไทยเสียพื้นที่เพิ่มเติมจากคำตัดสินของศาลโลก เพราะขณะนี้เรื่องแผนที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้นส.ส.รัฐบาลต้องยกมือไม่ไว้วางใจ เพราะจะเกิดปัญหาในอนาคตต่อไป การลงนามดังกล่าวอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะนี้พรรคอยู่ในระหว่างยกร่างคำร้องเพื่อยื่นให้ศาลวินิจฉัยต่อไป โดยคาดว่าจะส่งได้ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้
“พรรคประชาธิปัตย์จะไม่หยุดเพียงแค่การอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาเท่านั้น แต่จะนำไปสู่การถอดถอนรัฐมนตรีต่อไป”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส.ว.ชื่อส่งศาล รธน.ตีความ
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ขณะนี้ส.ว.ได้ร่วมลงชื่อเพื่อขอยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีที่รัฐบาลลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะเห็นว่าสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง คณะรัฐมนตรีจะต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
ทั้งนี้ เนื่องจากส.ว.หลายคนสงสัยว่าแถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลเป็นหนังสือหรือสนธิสัญญาที่จะต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ขณะที่รัฐบาลกลับมองว่าไม่ใช่สนธิสัญญาจึงไม่ต้องเสนอให้รัฐสภา ดังนั้นจึงต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ยอดลงชื่อค้านทะลุ 2.5 หมื่น
ส่วนบรรยากาศบริเวณหน้าสถาบันไทยคดีศึกษา ชั้น 9 ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ท่าพระจันทร์ ซึ่งจัดเป็นที่ลงนามขอให้ยูเนสโกชะลอการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามการเสนอของประเทศกัมพูชาเป็นวันสุดท้าย มีประชาชนมาลงนามอย่างคึกคัก
ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษา มธ. แกนนำการล่ารายชื่อในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ได้ติดต่อยูเนสโกไทย เพื่อไปยื่นหนังสือฯ และรายชื่อประชาชนไทย ในวันนี้ (27 มิ.ย.)เวลาประมาณ 10.00 น.ปรากฏว่า ทางยูเนสโกไทยได้ตอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์กลับมาว่า กรณีดังกล่าวต้องส่งรายชื่อทั้งหมดไปยังยูเนสโกสำนักงานใหญ่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสเอง
อย่างไรก็ตาม แม้ยูเนสโกไทยจะให้คำตอบเช่นนี้ ก็ยังคงจะเดินทางไปยื่นหนังสือที่ยูเนสโกไทยตามกำหนดการเดิม เพราะหากจะส่งไปถึงสำนักงานปารีสก็อาจจะไม่ทันการณ์ แต่จะนำรายชื่อทั้งหมดสแกนและส่งเป็นไฟล์ไปยังยูเนสโกสำนักงานปารีสด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยอดผู้ลงนามที่สถาบันไทยคดีศึกษา มธ.รวม 2 วันประมาณ 25,000 คน
แนะ“ปองพล”ประท้วงคกก.มรดกโลก
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ กล่าวภายหลังลงนามว่า หากการขับเคลื่อนของภาคประชาชนในครั้งนี้ไม่ได้ผล และส่งผลให้วาระการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 2 ก.ค.นี้จริง ทีมกรรมการมรดกโลกไทยก็ยังมีพอทางแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง โดยนายปองพล อดิเรกสาร ในฐานะประธานกรรมการมรดกโลกพร้อมด้วยทีมอีก 19 คน ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ สามารถแทรกแซงชันเรื่องนี้ได้ โดยอาจบอยคอตที่ประชุม ประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก เพราะการเป็นสมาชิกเราต้องจ่ายเงิน ผมเชื่อว่าถ้านายปองพลบอยคอตด้วยการประกาศลาออก ภาคีสมาชิกประเทศอื่นๆ จะต้องชะลอวาระนี้ไว้อย่างแน่นอน
ลูกคึกฤทธิ์ร่วมลงนามด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงนามต่อกรณีเขาพระวิหารได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก อาทิ นางสุเพ็ญ และ นายขจร พู่พันธ์ เจ้าของกิจการส่วนตัวมาลงนามในชุด “เสื้อทีม” สกรีนด้านหน้าว่า “We love the King. We love Thailand” และที่ด้านหลังสกรีนว่า “ยืนด้วยใจใช่ถูกบังคับ” โดยหลังการลงชื่อ ทั้งคู่ได้เดินทางไปชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่นางสมศรี แซ่เจี่ย วัย 70 ปี ชาวบางบอน ,คุณยายมาลัย ปรีชานิลชัยศรี อายุ 74 ปี นายชนะวัตร เพชรบำรุงจิต ผู้ขับขี่อมอเตอร์ไซต์รับจ้างวัย 64 ปี ซึ่งขับมอเตอร์ไซต์มาจากวินสาธุประดิษฐ์ โดยทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องการรักษาปราสาทพระวิหารไว้เป็นของไทย
นอกจากนี้ มล.วิสุมิตรา ปราโมช บุตรสาว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้โทรศัพท์แจ้งความจำนงแก่เจ้าหน้าที่ขอร่วมลงชื่อด้วย
คนศรีสะเกษหนุนปิดทางขึ้นยาว
วานนี้ (26 มิ.ย.) นายอรุณศักดิ์ โอชารส ประธานสมัชชาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า การที่ประเทศกัมพูชาสั่งปิดด่านผ่านแดนประตูทางขึ้นเขาพระวิหารว่ารัฐบาลไทยและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่ควรที่จะไปเจรจาเรียกร้องให้เปิดประตูเขาพระวิหารเพื่อเพิ่มความสำคัญให้ฝ่ายกัมพูชามากจนเกินไป เหมือนกับพฤติกรรมของนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศที่ทำตัวเสมือนเป็นทนายความแก้ต่างให้กับกัมพูชาอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ พวกเราเห็นว่าควรที่จะให้ประเทศกัมพูชาปิดประตูทางขึ้นเขาพระวิหารตลอดไป
"การที่กัมพูชาปิดประตูเขาพระวิหารแม้จะทำให้แม่ค้าชาวไทยเสียรายได้บ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวมและคนไทยทุกคนในระยะยาว" นายอรุณศักดิ์ กล่าว
เคลื่อนพลขับไล่พ้นเขตแดนไทยวันนี้
นายอรุณศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ (27 มิ.ย.) สมัชชาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ และองค์กรเครือข่ายพันธมิตรฯรวมทั้งประชาชนชาวศรีสะเกษได้มีมติแล้วว่าจะร่วมกันเดินทางไปชุมนุมใหญ่ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหารชายแดนไทย-กัมพูชา อ.กันทรลักษณ์ เพื่อทวงคืนเขาพระวิหารและขับไล่ชาวกัมพูชาที่รุกล้ำเขตแดนไทยออกไปจากเชิงเขาพระวิหาร พร้อมจะทำการยื่นหนังสือประท้วงและเรียกร้อง เป็นภาษากัมพูชาให้กับรัฐบาลกัมพูชาและประชาชนชาวกัมพูชาได้รับทราบด้วย
ขณะที่นายวิวัฒน์ อรรคบุตร ผู้ประสานงานเครือข่ายอีสานกู้ชาติ เปิดเผยว่า วันนี้ (27 มิ.ย.) เวลา 09.30 น. ชาวศรีสะเกษในนามเครือข่ายอีสานกู้ชาติ (กู้แผ่นดิน) นำโดยนายเศวต ทินกูล ผู้ประสานงานเครือข่ายอีสานกู้ชาติจะเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวนที่ สภ.บึงมะลู ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษณ์ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อให้ดำเนินคดีกับชาวต่างชาติ ที่บุกรุก ลักลอบเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย บริเวณเชิงเขาพระวิหาร
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากชาวกัมพูชาประมาณ 500 คน ได้บุกรุกลักลอบเข้ามาตั้งชุมนุม สร้างบ้านเรือน ร้านค้า วัดและถนน อยู่ในเขตแดนไทยมาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการเข้าจับกุมดำเนินคดี แล้วส่งตัวให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองผลักดันออกนอกประเทศต่อไป.
ล่าสุดหลังการไต่สวนฉุกเฉินกรณีเขาพระวิหารมาราธอน 12 ชั่วโมง หรือเสร็จสิ้นในเวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 26 มิ.ย. คณะตุลาการฯ ได้แจ้งต่อคู่ความว่า ศาลฯ จะมีคำสั่งคุ้มครองหรือไม่ จะแจ้งคู่ความทราบทางโทรสาร ในวันนี้ (27 มิ.ย.)
วานนี้ (26 มิ.ย.) คณะตุลาการศาลปกครองได้เปิดการไต่สวนฉุกเฉินกรณีที่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ กับพวกรวม 9 คน ยื่นฟ้องรมว.ต่างประเทศ กับพวกรวม 2 ราย และขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการกระทำของรมว.ต่างประเทศที่เสนอเรื่องต่อครม. และการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย-กัมพูชาที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นอันสิ้นผลชั่วคราว และให้ยุติความผูกพันตามคำแถลงการณ์ ซึ่งการไต่สวนครั้งนี้ศาลฯได้อนุญาตให้ประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เข้ารับฟังตามที่ฝ่ายนายสุวัตรร้องขอ
ทั้งนี้การไต่สวนได้ใช้เวลาตลอดทั้งวัน โดยช่วงเช้าเป็นการไต่สวนพยานฝ่ายผู้ฟ้อง ซึ่งนายสุวัตร และนายนิติธร ล้ำเหลือ เป็นผู้ชี้แจงพร้อมกับนำเสนอเอกสารหลักฐานจำนวนมาก ที่เกี่ยวข้องกับทางประวัติศาสตร์ของปราสาทพระวิหาร ซึ่งประกอบไปด้วยแผนที่ระบุแนวเขตชายแดน และแผนที่ที่เป็นพื้นที่ทับซ้อน รวมถึงข้อโต้แย้งทางสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และวีซีดีรายละเอียดในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของฝ่ายค้านที่มีคำถอดความอย่างละเอียดโดยยืนยันเนื้อหาในแถลงการณ์ถือเป็นสนธิสัญญาต่อศาล
พร้อมกับยืนยันว่า แถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย –กัมพูชา เกิดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศที่เป็นตัวแทนของรัฐ อันมีผลต่อกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยของประเทศ การกระทำของผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 ขัดต่อหลักบริหารราชการแผ่นดิน และที่ต้องขอให้ศาลฯมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพราะจะมีการเสนอคำแถลงการณ์ร่วมฯต่อยูเนสโกช่วงวันที่ 2-10 ก.ค. หากเสนอไปแล้วจะมีการแก้ไขใด ๆ ลำบาก
กต.แจงเฉยต้องแก้มติครม.เพราะแปลผิด
ขณะที่ในช่วงบ่ายเป็นการไต่สวนพยานฝ่ายผู้ถูกฟ้องรวม 3 ปากที่ได้รับมอบจากนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศประกอบด้วยนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย นายเชิดชู รักตะบุตร อัครราชทูต ณ กรุงปารีส ปฏิบัติราชการกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย
ทั้งนี้ คณะตุลาการฯ และพยานฝ่ายผู้ฟ้องได้มีการซักถามอย่างหนักในประเด็นเกี่ยวกับที่มาของแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เหตุผลการมีมติครม.เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. แก้ไขคำว่า “ แผนที่” ที่ระบุอยู่ในมติครม.วันที่ 17 มิ.ย.เป็น “แผนผัง” และมีการแก้ไขถ้อยคำดังกล่าวที่เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษในแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 18 มิ.ย..หรือไม่ รวมทั้งมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตัวแผนที่ ๆได้มีการรับรองไปพร้อมกับแถลงการณ์แล้วด้วยหรือไม่ รวมทั้งเหตุผลที่ศาลโลกมีคำพิพากษาให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา การดำเนินการขอสงวนสิทธิในการโต้แย้งคำพิพากษาศาลโลก และสิทธิในการเรียกคืนปราสาทเขาพระวิหาร ที่นายถนัด คอมันตร์ รมว.ต่างประเทศขณะนั้น ยื่นต่อศาลโลก สหประชาชาติ ระยะเวลาของการสงวนสิทธินั้นมีมากน้อยเพียงไร รวมถึงแนวเขตในแผนที่แนบท้ายที่ระบุไว้เป็น N1 N2 N3 และถ้าศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาจะมีผลกระทบต่อการบริหารงานของรัฐหรือไม่อย่างไร
โดยนายกฤตใช้เวลากว่า 6 ชั่วโมง ชี้แจงว่า เนื่องจากก่อนหน้านี้กัมพูชาจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร แต่แผนที่ ๆ จะยื่นกลับพบว่ามีการนำพื้นที่ทับซ้อนที่ไทยก็อ้างสิทธิเป็นเจ้าของไปเสนอด้วย ทำให้ไทยต้องขอเจรจา จึงเป็น ที่มาของแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทย-กัมพูชา โดยระบุว่าพื้นที่เฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารที่กัมพูชาจะขอขึ้นเป็นมรดกโลก ส่วนมติครม.ที่มีการแก้ไขคำว่า “แผนที่” เป็น “แผนผัง”นั้นก็เพราะมีการแปลผิดในตอนแรกหลังแก้ไขแล้วจึงไม่ได้มีการดำเนินการยื่นขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขแถลงการณ์ร่วมฯที่ได้มีการลงนามไปแต่อย่างใด เพราะก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงตัวแผนที่ ๆ รับรองไปก่อนหน้านั้นด้วย รวมทั้งก็ไม่ได้มีการแก้ไขถ้อยคำภาษาอังกฤษของคำว่า “MAP” ที่แปลว่า แผนที่ในแถลงการณ์ร่วมเป็น คำว่า “LAYOUT” ที่แปลว่าแผนผัง เพราะคำว่า “MAP” นั้นก็สามารถแปลว่า แผนผังได้เช่นกัน
ทั้งนี้ การทำแถลงการณ์ร่วมฯ ไม่ใช่เป็นการยอมรับการสละสิทธิการโต้แย้งและการทวงคืนปราสาทฯที่นายถนัดได้ดำเนินการไว้ เนื่องจากตามข้อเท็จจริงแล้ว ธรรมนูญศาลโลกที่ใช้ตัดสินคดีก็ระบุไว้ในข้อ 6 ว่า คำพิพากษาศาลโลกถือเป็นที่สุด การจะโต้แย้งต้องมีข้อเท็จจริงใหม่ และกระทำได้ภายในเวลา 6 เดือน-10 ปีนับแต่ศาลมีคำพิพากษา
สารภาพตลอด 46 ปี ไทยไม่เคยเซ็นยอมรับ
อย่างไรก็ตามยอมรับว่านับแต่ปี 2505 จนถึงก่อนมีแถลงการณ์ร่วมฯ ไทยไม่เคยมีการทำข้อตกลงใด ๆ ที่เป็นการยอมรับว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่ถ้าหากว่าไทยไม่ยอมลงนามในแถลงการณ์ร่วมฯ ก็จะทำให้ทางกัมพูชานำแผนที่ปราสาทเขาพระวิหาร ที่จัดทำขึ้นเองและมีการรุกล้ำพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย- กัมพูชา ไปขึ้นทะเบียนฯ และถ้ายูเนสโกรับรอง ก็จะเท่ากับว่าไทยยอมรับว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าว รวมทั้งถ้าจะให้เนื้อหาของแถลงการณ์มีเฉพาะข้อ 1 ที่ระบุเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนตัวปราสาทอย่างเดียวก็เห็นว่า จะทำให้ไทยเสียประโยชน์เกี่ยวกับการบริหารพื้นที่ทับซ้อนที่ยังเป็นปัญหาอยู่ และสิทธิในการร่วมดูแลปราสาทเขาพระวิหารที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งมีการทำเป็นข้อตกลงร่วมกันอยู่ในแถลงการณ์ร่วมฯ ดังนั้นถ้าศาลปกครองมีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา ก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่ออำนาจอธิปไตยของไทยในพื้นที่ๆ เราอ้างสิทธิทับซ้อนอยู่ โดยจะกระทบอย่างยิ่งเพราะรัฐบาลไปเจรจาเพื่อรักษาอธิปไตยเหนือดินแดนไว้
ภายหลังการชี้แจงนายสุวัตร แสดงความมั่นใจในการสู้คดีอย่างมากเพราะได้เอกสารเป็นแผนที่ N1 N2 และN3 ที่เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกมาในทางลับจากคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งไม่ทราบว่าเหตุใดผู้เกี่ยวข้องต้องปกปิด ไม่ให้สาธารณชนรับรู้
แถลงการณ์ร่วมทำไทยเสียดินแดน
วานนี้ (26 มิ.ย.) ที่คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์(มธ.) จัดสัมมนาเรื่อง “ความเห็นทางกฎหมายและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร” โดย ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แม้รัฐบาลจะออกมาชี้แจงว่าแผนที่ที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารไม่ได้ล้ำเข้ามาในไทย แต่สิ่งที่เป็นคำถาม และกำลังถกเถียงกันอยู่ขณะนี้คือ คำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 นั้น เป็นผลให้ข้อโต้แย้งของไทยในด้านข้อเท็จจริงและในแง่กฎหมายสิ้นสุดไปแล้วหรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบกันมาตลอด แม้ไทยจะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกแต่เป็นการยอมรับในเรื่องของกฎหมายปิดปาก ไม่ได้ยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและได้สงวนสิทธิ์ไว้มาตลอด เหตุใดรัฐบาลไทยจึงไม่ขอขึ้นจดทะเบียนเขาพระวิหารร่วมกับกัมพูชามาก่อนหน้านี้ ทั้งที่ทางขึ้นหลักอยู่ฝั่งไทย
“แถลงการณ์ร่วมที่นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ไปลงนามกับกัมพูชานั้น มีความหมายและนัยที่สร้างความสับสนเรื่องเขตทับซ้อน จึงไม่แน่ใจว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวมีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลโลก และได้สร้างผลผูกพันกับทั้ง 2 ประเทศหรือไม่” ดร.คนึงนิจ กล่าว
ผลประโยชน์เกาะกงจุดชนวน ปชช.
นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต กล่าวว่า เมืองไทยโชคดีมากที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทำอะไรทิ้งไว้ก็จะกลายเป็นประเด็นและจะให้เป็นข้อคิดของสังคมตลอด ทำให้คนไทยรู้จักเปรียบเทียบว่าระบอบทักษิณมีผลกระทบอย่างไร ถ้าหากไม่มีประเด็นที่นำไปสู่ผลประโยชน์ในเกาะกง คนไทยเองก็คงไม่สนใจในเรื่องนี้มากนัก
ส่วนการแถลงการณ์ร่วมเป็นวิธีการที่รัฐบาลไทยนำมาใช้เพื่อไม่ต้องผ่านรัฐสภา เพราะรัฐบาลที่แล้วได้อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศเจรจาเรื่องนี้ถึง 4 ครั้ง แต่ฝ่ายกัมพูชาบ่ายเบี่ยงมาโดยตลอด เป็นการตอกย้ำความระแวงให้เกิดกับประชาชน ทั้งๆ ที่แถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลชุดนี้เป็นเอกสารสาธารณะที่ต้องเปิดเผย แต่เรากลับไม่มีการเปิดเผยข้อมูลให้ทราบมาก่อน ขณะที่ฝ่ายกัมพูชาเมื่อได้แถลงการณ์ไปก็ทำการเผยแพร่ไปทั่วโลก กัมพูชาจึงมีเจตนาที่จะล็อกรัฐบาลไทยไม่ให้เบี้ยวต่อแถลงการณ์ ชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลของเราดำเนินการหักหลังประชาชน
ที่สำคัญคือการยอมให้กัมพูชาจดทะเบียนฝ่ายเดียว เท่ากับเรายอมรับว่าล้มเลิกข้อสงวนเมื่อปี 2505 และเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เรื่องคลั่งชาติ เมื่อเห็นว่าประเทศชาติเสียเปรียบก็ต้องออกมาพูด
ชี้แถลงการณ์ร่วมเป็นสนธิสัญญา
ด้าน รศ.นพนิธิ สุริยะ คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ผู้ที่จะตอบได้ว่าแถลงการณ์ร่วมเป็นสนธิสัญญาหรือไม่นั้นคือศาลรัฐธรรมนูญ โดยสิ่งที่ต้องปฏิบัติตาม คือ กฎหมายในมาตรา 190 ที่มี 13 ประเภทของสนธิสัญญา หากสิ่งที่รัฐบาลทำนั้นเข้าไปอยู่ 1 ใน 13 รัฐบาลก็ต้องทำตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ แต่เมื่อดูแถลงการณ์ร่วมและเทียบกับเกณฑ์สนธิสัญญากรุงเวียนนา จะเห็นว่าถ้อยคำมีเจตนาที่ก่อให้เกิดพันธะหรือข้อผูกพัน และเมื่อพิจารณาทีละข้อ จะเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นสนธิสัญญา เพราะคำว่า agreed แปลว่า ตกลง ดังนั้น เมื่อตกลงก็ต้องมาทำ ไม่ทำจะตกลงกันทำไม
"อภิสิทธิ์" แฉแผนที่ L7017 พิสูจน์ชัด "นพดล" โกหก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงต่างประเทศได้ไปซื้อพื้นที่โฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อชี้แจงกรณีปราสาทพระวิหาร แต่คำชี้แจงของกระทรวงต่างประเทศยังไม่ตรงประเด็นกับทางพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้มีการอภิปรายไว้ และได้สอบถามรมว.มาโดยตลอดในเรื่องพื้นที่ตามมติครม. 2505 โดยยึดตามคำพิพากษาของศาลโลกที่ยกอธิปไตยให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารไม่เกี่ยวกับพื้นที่ แต่รัฐมนตรีกลับทำให้เกิดความสับสน เข้าใจผิดหรือจงใจไม่บอกความจริง โดยมีการเสนอแผนที่ L7017 เข้าสู่ที่ประชุมครม. เพื่อขอให้ที่ประชุมอนุมัติแผนที่ให้เป็นเขตกำหนดเพื่อปฏิบัติตามของคำพิพากษาของศาลโลก ตามข้อเสนอของกัมพูชาซึ่งรวมถึงพื้นที่รอบตัวปราสาท โดยรมว.อ้างว่าเป็นแผนที่ของกรมแผนที่ทหาร
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูล ตามแผนที่ L7017 มีการระบุข้อความใต้แผนที่ไว้อย่างชัดเจนว่า แนวพรมแดนระหว่างประเทศในแผนที่ระวางนี้ต้องไม่ถือกำหนดเป็นทางการ และแนวแบ่งเขตการปกครองภายในประเทศในแผนที่ระวางนี้ แสดงโดยประมาณ ดังนั้น รัฐมนตรีจะมาอ้างแผนที่ดังกล่าวว่าเป็นเขตปักปันไม่ได้ และท่าทีของรมว.ต่างประเทศเป็นการอ้างแผนที่เพื่อให้โทษกับประเทศไทย
ที่สำคัญคือ การที่ครม.มีมติอนุมัติให้ไปลงนามในแถลงการณ์นั้น จะทำให้ประเทศไทยเสียพื้นที่เพิ่มเติมจากคำตัดสินของศาลโลก เพราะขณะนี้เรื่องแผนที่ยังไม่ได้ข้อยุติ ดังนั้นส.ส.รัฐบาลต้องยกมือไม่ไว้วางใจ เพราะจะเกิดปัญหาในอนาคตต่อไป การลงนามดังกล่าวอาจไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ขณะนี้พรรคอยู่ในระหว่างยกร่างคำร้องเพื่อยื่นให้ศาลวินิจฉัยต่อไป โดยคาดว่าจะส่งได้ในวันที่ 30 มิ.ย.นี้
“พรรคประชาธิปัตย์จะไม่หยุดเพียงแค่การอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาเท่านั้น แต่จะนำไปสู่การถอดถอนรัฐมนตรีต่อไป”นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ส.ว.ชื่อส่งศาล รธน.ตีความ
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่า ขณะนี้ส.ว.ได้ร่วมลงชื่อเพื่อขอยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภา ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีที่รัฐบาลลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สนับสนุนให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เพราะเห็นว่าสนธิสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างรัฐต่อรัฐ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคง คณะรัฐมนตรีจะต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ
ทั้งนี้ เนื่องจากส.ว.หลายคนสงสัยว่าแถลงการณ์ร่วมของรัฐบาลเป็นหนังสือหรือสนธิสัญญาที่จะต้องให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ ขณะที่รัฐบาลกลับมองว่าไม่ใช่สนธิสัญญาจึงไม่ต้องเสนอให้รัฐสภา ดังนั้นจึงต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ยอดลงชื่อค้านทะลุ 2.5 หมื่น
ส่วนบรรยากาศบริเวณหน้าสถาบันไทยคดีศึกษา ชั้น 9 ตึกเอนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) ท่าพระจันทร์ ซึ่งจัดเป็นที่ลงนามขอให้ยูเนสโกชะลอการพิจารณาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามการเสนอของประเทศกัมพูชาเป็นวันสุดท้าย มีประชาชนมาลงนามอย่างคึกคัก
ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัยสถาบันไทยคดีศึกษา มธ. แกนนำการล่ารายชื่อในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ได้ติดต่อยูเนสโกไทย เพื่อไปยื่นหนังสือฯ และรายชื่อประชาชนไทย ในวันนี้ (27 มิ.ย.)เวลาประมาณ 10.00 น.ปรากฏว่า ทางยูเนสโกไทยได้ตอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์กลับมาว่า กรณีดังกล่าวต้องส่งรายชื่อทั้งหมดไปยังยูเนสโกสำนักงานใหญ่ที่ปารีส ประเทศฝรั่งเศสเอง
อย่างไรก็ตาม แม้ยูเนสโกไทยจะให้คำตอบเช่นนี้ ก็ยังคงจะเดินทางไปยื่นหนังสือที่ยูเนสโกไทยตามกำหนดการเดิม เพราะหากจะส่งไปถึงสำนักงานปารีสก็อาจจะไม่ทันการณ์ แต่จะนำรายชื่อทั้งหมดสแกนและส่งเป็นไฟล์ไปยังยูเนสโกสำนักงานปารีสด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยอดผู้ลงนามที่สถาบันไทยคดีศึกษา มธ.รวม 2 วันประมาณ 25,000 คน
แนะ“ปองพล”ประท้วงคกก.มรดกโลก
นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการอิสระ กล่าวภายหลังลงนามว่า หากการขับเคลื่อนของภาคประชาชนในครั้งนี้ไม่ได้ผล และส่งผลให้วาระการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 2 ก.ค.นี้จริง ทีมกรรมการมรดกโลกไทยก็ยังมีพอทางแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง โดยนายปองพล อดิเรกสาร ในฐานะประธานกรรมการมรดกโลกพร้อมด้วยทีมอีก 19 คน ซึ่งเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ สามารถแทรกแซงชันเรื่องนี้ได้ โดยอาจบอยคอตที่ประชุม ประกาศลาออกจากการเป็นสมาชิกภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก เพราะการเป็นสมาชิกเราต้องจ่ายเงิน ผมเชื่อว่าถ้านายปองพลบอยคอตด้วยการประกาศลาออก ภาคีสมาชิกประเทศอื่นๆ จะต้องชะลอวาระนี้ไว้อย่างแน่นอน
ลูกคึกฤทธิ์ร่วมลงนามด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงนามต่อกรณีเขาพระวิหารได้รับความสนใจจากประชาชนจำนวนมาก อาทิ นางสุเพ็ญ และ นายขจร พู่พันธ์ เจ้าของกิจการส่วนตัวมาลงนามในชุด “เสื้อทีม” สกรีนด้านหน้าว่า “We love the King. We love Thailand” และที่ด้านหลังสกรีนว่า “ยืนด้วยใจใช่ถูกบังคับ” โดยหลังการลงชื่อ ทั้งคู่ได้เดินทางไปชุมนุมร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่หน้าทำเนียบรัฐบาล
ขณะที่นางสมศรี แซ่เจี่ย วัย 70 ปี ชาวบางบอน ,คุณยายมาลัย ปรีชานิลชัยศรี อายุ 74 ปี นายชนะวัตร เพชรบำรุงจิต ผู้ขับขี่อมอเตอร์ไซต์รับจ้างวัย 64 ปี ซึ่งขับมอเตอร์ไซต์มาจากวินสาธุประดิษฐ์ โดยทุกคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ต้องการรักษาปราสาทพระวิหารไว้เป็นของไทย
นอกจากนี้ มล.วิสุมิตรา ปราโมช บุตรสาว ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้โทรศัพท์แจ้งความจำนงแก่เจ้าหน้าที่ขอร่วมลงชื่อด้วย
คนศรีสะเกษหนุนปิดทางขึ้นยาว
วานนี้ (26 มิ.ย.) นายอรุณศักดิ์ โอชารส ประธานสมัชชาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า การที่ประเทศกัมพูชาสั่งปิดด่านผ่านแดนประตูทางขึ้นเขาพระวิหารว่ารัฐบาลไทยและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องไม่ควรที่จะไปเจรจาเรียกร้องให้เปิดประตูเขาพระวิหารเพื่อเพิ่มความสำคัญให้ฝ่ายกัมพูชามากจนเกินไป เหมือนกับพฤติกรรมของนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศที่ทำตัวเสมือนเป็นทนายความแก้ต่างให้กับกัมพูชาอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ พวกเราเห็นว่าควรที่จะให้ประเทศกัมพูชาปิดประตูทางขึ้นเขาพระวิหารตลอดไป
"การที่กัมพูชาปิดประตูเขาพระวิหารแม้จะทำให้แม่ค้าชาวไทยเสียรายได้บ้าง แต่ก็เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติส่วนรวมและคนไทยทุกคนในระยะยาว" นายอรุณศักดิ์ กล่าว
เคลื่อนพลขับไล่พ้นเขตแดนไทยวันนี้
นายอรุณศักดิ์ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ (27 มิ.ย.) สมัชชาประชาชนจังหวัดศรีสะเกษ และองค์กรเครือข่ายพันธมิตรฯรวมทั้งประชาชนชาวศรีสะเกษได้มีมติแล้วว่าจะร่วมกันเดินทางไปชุมนุมใหญ่ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหารชายแดนไทย-กัมพูชา อ.กันทรลักษณ์ เพื่อทวงคืนเขาพระวิหารและขับไล่ชาวกัมพูชาที่รุกล้ำเขตแดนไทยออกไปจากเชิงเขาพระวิหาร พร้อมจะทำการยื่นหนังสือประท้วงและเรียกร้อง เป็นภาษากัมพูชาให้กับรัฐบาลกัมพูชาและประชาชนชาวกัมพูชาได้รับทราบด้วย
ขณะที่นายวิวัฒน์ อรรคบุตร ผู้ประสานงานเครือข่ายอีสานกู้ชาติ เปิดเผยว่า วันนี้ (27 มิ.ย.) เวลา 09.30 น. ชาวศรีสะเกษในนามเครือข่ายอีสานกู้ชาติ (กู้แผ่นดิน) นำโดยนายเศวต ทินกูล ผู้ประสานงานเครือข่ายอีสานกู้ชาติจะเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวนที่ สภ.บึงมะลู ต.บึงมะลู อ.กันทรลักษณ์ท้องที่เกิดเหตุ เพื่อให้ดำเนินคดีกับชาวต่างชาติ ที่บุกรุก ลักลอบเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย บริเวณเชิงเขาพระวิหาร
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากชาวกัมพูชาประมาณ 500 คน ได้บุกรุกลักลอบเข้ามาตั้งชุมนุม สร้างบ้านเรือน ร้านค้า วัดและถนน อยู่ในเขตแดนไทยมาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการเข้าจับกุมดำเนินคดี แล้วส่งตัวให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองผลักดันออกนอกประเทศต่อไป.
ล่าสุดหลังการไต่สวนฉุกเฉินกรณีเขาพระวิหารมาราธอน 12 ชั่วโมง หรือเสร็จสิ้นในเวลา 23.00 น. ของคืนวันที่ 26 มิ.ย. คณะตุลาการฯ ได้แจ้งต่อคู่ความว่า ศาลฯ จะมีคำสั่งคุ้มครองหรือไม่ จะแจ้งคู่ความทราบทางโทรสาร ในวันนี้ (27 มิ.ย.)