“อี้เหอหยวน” หรือที่เรียกกันในภาษาไทยว่า “พระราชวังฤดูร้อน” นั้นเป็นโบราณสถานและแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อแห่งหนึ่งของจีนที่ตั้งอยู่ในกรุงปักกิ่ง จุดโดดเด่นของพระราชวังนี้หากจะดูจากสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ก็อาจจะด้อยกว่าโบราณสถานอีกหลายแห่งในจีน แต่ถ้าว่ากันในแง่ประวัติศาสตร์แล้ว พระราชวังแห่งนี้ไม่ได้ด้อยไปกว่าที่อื่นเลย
กล่าวคือ เป็นพระราชวังที่มีประวัติศาสตร์ผูกพันกับยุคสมัยที่ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) กำลังเสื่อมถอยอย่างลึกซึ้ง เป็นพระราชวังที่นอกจากจะเป็นที่กักขังจักรพรรดิบางพระองค์ที่มีหัวปฏิรูป (ที่หวังจะนำจีนให้พ้นภัย) แล้ว ยังเป็นพระราชวังที่มีทะเลสาบที่เกิดจากฝีมือการขุดของแรงงานมนุษย์แท้ๆ ชนิดที่หากไม่บอกว่าเป็นฝีมือมนุษย์แล้ว หลายคนอาจคิดว่าเป็นทะเลสาบธรรมชาติก็เป็นได้
นอกจากนี้ ริมทะเลสาบผืนเดียวกันนี้ยังเป็นที่ตั้งของเรือหินอ่อนลำขนาดเขื่องอีกด้วย เรือลำนี้สร้างขึ้นจากงบประมาณเดิมที่จักรพรรดิหัวปฏิรูปคิดจะนำไปสร้างกองทัพเรือจีนให้เข้มแข็ง แต่เมื่อการปฏิรูปล้มเหลวและองค์จักรพรรดิถูกกักขังแล้ว งบประมาณก้อนนี้ก็ถูกนำมาสร้างเป็นเรือหินอ่อนเพียงเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชนชั้นนำที่ได้รับชัยชนะจากการขัดขวางการปฏิรูปเท่านั้น
กล่าวสำหรับคนปักกิ่งแล้ว ย่อมรู้ดีว่า พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง คือหากเดินทางด้วยรถจักรยานแล้วก็ใช้เวลาราวๆ 10 นาทีก็ถึง ฉะนั้น ในยุคสมัยที่จีนเพิ่งเปิดประเทศใหม่ๆ ในทศวรรษ 1980 หากใครได้เห็นคนหนุ่มสาวหน้าตาบ่งบอกว่าอยู่ในวัยเรียนเดินเล่นอยู่บริเวณทะเลสาบของพระราชวังแห่งนี้แล้ว ก็อย่าได้แปลกใจ เพราะมันทั้งประหยัด ทั้งใกล้ และทั้งโรแมนติก
เช่นเดียวกับที่เราได้เห็น ยี่ว์หง (ฮ่าวเล่ย) กับ โจวเว่ย (กว๋อเสี่ยวตง) สองนักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่งจะมาเดินพลอดรักอยู่ริมทะเลสาบแห่งนี้ และดูเหมือนว่าพระราชวังฤดูร้อนนี้จะเป็นที่ที่ดีที่สุดสำหรับคนหนุ่มสาวในยุคปฏิรูปที่อะไรหลายๆ อย่างยังไม่เข้ารูปเข้ารอย ซึ่งรวมทั้งความรู้สึกนึกคิดของหนุ่มสาวยุคนั้นอย่าง ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย ด้วย
สิ่งซึ่งยังไม่เข้ารูปเข้ารอยนี้หากกล่าวอย่างสั้นกระชับแล้วก็คือ การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกที่จีนในยุคปฏิรูปเปิดรับเข้ามาใหม่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ปิดประตูที่ชื่อ “สังคมนิยม” ใส่อย่างแรงมานานถึง 30 ปี (ค.ศ.1949-1979) และเพราะกำลังอยู่ในช่วงของการปรับตัว ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย และหนุ่มสาวในยุคสมัยเดียวกับทั้งสองจึงมีชีวิตที่ไม่ค่อยจะลงตัว
กล่าวคือ ในขณะที่สำนึกข้างหนึ่งเตือนอยู่ตลอดเวลาว่าตนอยู่ในโลกสังคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น สำนึกอีกข้างหนึ่งก็เตือนอยู่ตลอดเวลาเช่นกันว่าโลกทุนนิยมเสรีก็มีสิ่งที่น่าเสน่หาอยู่ไม่น้อย ก็เพราะความไม่ลงตัวเช่นนี้ ทั้งสองจึงมีชีวิตที่ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคปฏิรูปที่กำลังเหวี่ยงสังคมจีนไปเต็มแรง สิ่งที่มาจรรโลงชีวิตจึงเป็นเซ็กซ์ การร้องรำทำเพลง การดื่มกินและเที่ยวเตร่กลางคืน ฯลฯ จนบางครั้งบางคราความลุ่มๆ ดอนๆ นั้นก็ทำให้ชีวิตของทั้งสองเพลี่ยงพล้ำเสียที บางครั้งบางคราก็ดูเหลวแหลกไร้แก่นสาร และเมื่อมองภาพใหญ่ของการปฏิรูปออกไป เราก็พบว่าการเมืองจีนเริ่มถูกตั้งคำถามจากหนุ่มสาวจีนอย่าง ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย มากขึ้น
จะว่าไปแล้ว ปีแรกที่ ยี่ว์หง เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยคือปี 1987 ปีนั้นรัฐบาลปักกิ่งเพิ่งจะสยบการเดินขบวนของนักศึกษามหาวิทยาลัยในปักกิ่งไปหมาดๆ และพออีก 2 ปีต่อมา คือปี 1989 ซึ่ง ยี่ว์หง เป็นนักศึกษาปี 3 แล้วนั้น เธอจึงเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยไม่ลังเล แต่ก็อย่างที่ชาวโลกรู้กัน คือ ปีนั้นได้เกิดเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินที่ฝ่ายนักศึกษาถูกปราบปรามอย่างย่อยยับ
ผลก็คือ คนที่เอาชีวิตรอดมาได้หากไม่ปรับตัวใหม่อีกครั้งหนึ่งให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐ ก็ต้องพยายามหาหนทางไปตั้งต้นชีวิตใหม่ยังถิ่นอื่นๆ ในจีนหรือไม่ก็ต่างประเทศ แต่สำหรับ ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย แล้ว เหตุการณ์เทียนอันเหมินได้ทำให้ทั้งสองแยกกันจนแทบจะเด็ดขาด เป็นการแยกกันโดยต่างก็มีบาดแผลฝังใจ เป็นบาดแผลที่เกิดจากการถูกโบยตีของยุคสมัยที่ยังเยาว์วัยไร้เดียงสา และที่ต้องถูกโบยตีก็เพราะสิ่งที่ทั้งสอง (และหนุ่มสาวจีนในยุคนั้น) ถูกประทับตราจาก เติ้งเสี่ยวผิง ว่ามีพฤติกรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยกระฎุมพีเสรีนิยม ที่ยังไงเสียพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่มีวันยอมเด็ดขาด
ข้างต้นนั้นคือเรื่องราวในหนังเรื่อง “อี้เหอหยวน” (Summer Palace) ผลงานของ โหลวเย่ ผู้กำกับรุ่นที่ 6 ของจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อดูจากรุ่นแล้วก็พอเข้าใจทิศทางของหนังได้ เพราะหากรุ่นที่ 5 อย่าง จางอี้โหม่ว เป็นผลิตผลของคนรุ่นปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) ซึ่งหนังในยุคแรกๆ ของผู้กำกับรุ่นนี้ยังสะท้อนกลิ่นอายของบรรยากาศในช่วงนั้นฉันใด ก็ไม่แปลกที่รุ่นที่ 6 จะสะท้อนกลิ่นอายในช่วงปฏิรูปฉันนั้น
และก็ด้วยเหตุนั้น “อี้เหอหยวน” จึงถูกรัฐบาลจีนสั่งแบน พร้อมกับลงโทษห้ามไม่ให้ โหลวเย่ สร้างหนังเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งหากใครได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็ย่อมไม่แปลกใจที่มันจะโดนแบน ด้วยว่าตัวหนังนั้นได้เปิดโปงชีวิตของหนุ่มสาวจีนอย่าง “ล่อนจ้อน” (ใครไม่เชื่อให้ไปดูได้) และเปิดเผยให้เห็นถึงภาพเหตุการณ์เทียนอันเหมินโดยใช้ฟุตเตจเก่าๆ มาตัดต่อกับภาพที่สร้างขึ้นใหม่อย่างชนิดที่ไม่ต้องเกรงอกเกรงใจรัฐบาลจีนกันเลยทีเดียว
อันที่จริงแล้ว โหลวเย่ สร้างหนังเรื่องนี้โดยฝืนกฎของทางการจีนอย่างเต็มใจและหน้าชื่นตาบาน ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้สร้างทุกคนจะต้องเอาบทให้กรรมการเซ็นเซอร์พิจารณาก่อน หากการพิจารณาไม่มีปัญหาก็สร้างได้ แต่หากมีปัญหาก็ต้องมาดูว่าปัญหานั้นหนักเบาแค่ไหน ก็ว่ากันไป
ส่วนบทที่ผ่านการเซ็นเซอร์แล้วนั้นก็อย่าเพิ่งตายใจเป็นอันขาด เพราะเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ยังคงจะต้องให้กรรมการเซ็นเซอร์อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ต่อให้สร้างตามบทอย่างไรก็ตาม แต่ถ้า “ภาษาหนัง” ที่ออกมาถูกตีความ “เป็นอื่น” แล้วละก็ ผู้สร้างก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ให้ดี ด้วยเหตุนี้ จางอี้โหม่ว จึงได้รับการยกนิ้วจากผู้สร้างคนอื่นๆ ในเรื่องความสามารถในการสร้าง “ภาษาหนัง” ด้วยภาษาที่กรรมการเซ็นเซอร์เห็นแล้วพูดไม่ออก โดยเฉพาะในหนังยุคแรกๆ ของเขา
แต่สำหรับ โหลวเย่ แล้วเขาจงใจที่จะไม่ส่งบทให้พิจารณา แต่เลือกนำบทที่เขียนเสร็จแล้วไปสร้างเป็นหนังทันที จากนั้นก็นำหนังไปฉายให้กรรมการเซ็นเซอร์เพื่อวัดดวงเอา แล้วดวงของเขาก็ถูกวัดสมใจเมื่อเขาถูกลงโทษจากความผิดจากที่กล่าวมา แต่กระนั้นก็ยังคงกล่าวได้ว่า โหลวเย่ โชคดีมากที่เขาไม่ได้เกิดมาเป็นผู้สร้างไทย เพราะหาไม่แล้วเขาก็คงไม่เพียงจะไม่มีสิทธิ์นำหนังไปฉายยังต่างประเทศเท่านั้น หากแม้แต่ฟิล์มก็ยังมีสิทธิ์ที่จะไม่ได้รับคืนจากกรรมการเซ็นเซอร์อีกด้วย และเพราะ โหลวเย่ โชคดีในแง่นี้ เราจึงโชคดีที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ไปด้วย
ที่ต้องยกให้เป็นฝีมือของ โหลวเย่ เรื่องหนึ่งก็คือ การรวบรัดเหตุการณ์ต่างๆ ในจีนภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินเคียงคู่ไปกับชีวิตของตัวละครในหนัง ซึ่งถือเป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของหนังเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้โดยหนังได้บอกเล่า (แบบรวบรัด) ว่า ภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินผ่านไป 2 ปี เติ้งเสี่ยวผิง ก็ได้เดินทางล่องใต้เพื่อเยือนเมืองต่างๆ ในปี 1992 การล่องใต้ครั้งนี้ถือเป็นการรณรงค์ให้จีนเร่งปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ และต่อมาก็ทำให้หนุ่มสาวจีนได้มีโอกาสในตำแหน่งงานมากขึ้น และสร้างฐานะให้แก่ตนเองจนมีฐานะดีขึ้น คือดีจนลืมเหตุการณ์เทียนอันเหมินไปในที่สุด
ส่วนเมืองหนึ่งที่ เติ้ง ไปเยือนก็คือ เซินเจิ้น เมืองนี้จึงได้รับการโปรโมตให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้เองที่หนังบอกให้รู้ว่า ยี่ว์หง ก็ไปแสวงหาโชคลาภจากเมืองนี้ด้วยเช่นกัน และพอถึงปี 1997 หนังก็ฉายให้เห็นภาพของ คริส แพทเท่น ผู้ว่าการฮ่องกงคนสุดท้ายก่อนที่เกาะแห่งนี้จะกลับสู่อ้อมอกของจีนในปีนั้น ถึงตอนนี้หนังก็เล่าว่า ยี่ว์หง ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองฉงชิ่ง ซึ่งต่อมาได้หลุดจากการขึ้นต่อมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มาเป็นมหานคร และแน่นอนว่า มหานครนี้ย่อมรับการโปรโมตอีกเช่นกัน
หนังบอกเล่าเรื่องราวของ ยี่ว์หง อย่างเป็นด้านหลัก และบอกให้รู้ว่า บาดแผลจากการปฏิรูปในสมัยแรกยังไม่ได้หายไปจากใจของเธอ ในขณะที่คนอื่นๆ อย่างเช่น โจวเว่ย ซึ่งไปใช้ชีวิตที่เยอรมนีเองก็ยังไม่หายเช่นกัน กว่าที่ทั้งสองจะได้มาเจอกันอีกครั้งหนึ่งก็หลังปี 2001 ไปแล้ว เวลานั้นจีนได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกแล้ว ซึ่งนับเป็นย่างก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของยุคสมัยปฏิรูปของจีน
แต่ทว่าสำหรับทั้งสองแล้ว แม้ชีวิตเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่บาดแผลที่ยุคปฏิรูปได้ทิ้งเอาไว้ให้ก็ยังไม่หายอยู่ดี ซ้ำยังเจ็บลึกเข้าไปอีก ยุคปฏิรูปชักนำให้ทั้งสองมาพบกันก็จริง แต่ยุคปฏิรูปก็ชักดึงให้ทั้งสองต้องแยกห่างจากกันด้วยเช่นกัน
โศกนาฏกรรมทำนองนี้ไม่เพียงเกิดแก่คนหนุ่มสาวจีนเท่านั้น หากกับคนเดือนตุลาคมของไทยเองก็ไม่เว้น
กล่าวคือ เป็นพระราชวังที่มีประวัติศาสตร์ผูกพันกับยุคสมัยที่ราชวงศ์ชิง (ค.ศ.1644-1911) กำลังเสื่อมถอยอย่างลึกซึ้ง เป็นพระราชวังที่นอกจากจะเป็นที่กักขังจักรพรรดิบางพระองค์ที่มีหัวปฏิรูป (ที่หวังจะนำจีนให้พ้นภัย) แล้ว ยังเป็นพระราชวังที่มีทะเลสาบที่เกิดจากฝีมือการขุดของแรงงานมนุษย์แท้ๆ ชนิดที่หากไม่บอกว่าเป็นฝีมือมนุษย์แล้ว หลายคนอาจคิดว่าเป็นทะเลสาบธรรมชาติก็เป็นได้
นอกจากนี้ ริมทะเลสาบผืนเดียวกันนี้ยังเป็นที่ตั้งของเรือหินอ่อนลำขนาดเขื่องอีกด้วย เรือลำนี้สร้างขึ้นจากงบประมาณเดิมที่จักรพรรดิหัวปฏิรูปคิดจะนำไปสร้างกองทัพเรือจีนให้เข้มแข็ง แต่เมื่อการปฏิรูปล้มเหลวและองค์จักรพรรดิถูกกักขังแล้ว งบประมาณก้อนนี้ก็ถูกนำมาสร้างเป็นเรือหินอ่อนเพียงเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของชนชั้นนำที่ได้รับชัยชนะจากการขัดขวางการปฏิรูปเท่านั้น
กล่าวสำหรับคนปักกิ่งแล้ว ย่อมรู้ดีว่า พระราชวังแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง คือหากเดินทางด้วยรถจักรยานแล้วก็ใช้เวลาราวๆ 10 นาทีก็ถึง ฉะนั้น ในยุคสมัยที่จีนเพิ่งเปิดประเทศใหม่ๆ ในทศวรรษ 1980 หากใครได้เห็นคนหนุ่มสาวหน้าตาบ่งบอกว่าอยู่ในวัยเรียนเดินเล่นอยู่บริเวณทะเลสาบของพระราชวังแห่งนี้แล้ว ก็อย่าได้แปลกใจ เพราะมันทั้งประหยัด ทั้งใกล้ และทั้งโรแมนติก
เช่นเดียวกับที่เราได้เห็น ยี่ว์หง (ฮ่าวเล่ย) กับ โจวเว่ย (กว๋อเสี่ยวตง) สองนักศึกษามหาวิทยาลัยปักกิ่งจะมาเดินพลอดรักอยู่ริมทะเลสาบแห่งนี้ และดูเหมือนว่าพระราชวังฤดูร้อนนี้จะเป็นที่ที่ดีที่สุดสำหรับคนหนุ่มสาวในยุคปฏิรูปที่อะไรหลายๆ อย่างยังไม่เข้ารูปเข้ารอย ซึ่งรวมทั้งความรู้สึกนึกคิดของหนุ่มสาวยุคนั้นอย่าง ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย ด้วย
สิ่งซึ่งยังไม่เข้ารูปเข้ารอยนี้หากกล่าวอย่างสั้นกระชับแล้วก็คือ การปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตกที่จีนในยุคปฏิรูปเปิดรับเข้ามาใหม่อีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ปิดประตูที่ชื่อ “สังคมนิยม” ใส่อย่างแรงมานานถึง 30 ปี (ค.ศ.1949-1979) และเพราะกำลังอยู่ในช่วงของการปรับตัว ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย และหนุ่มสาวในยุคสมัยเดียวกับทั้งสองจึงมีชีวิตที่ไม่ค่อยจะลงตัว
กล่าวคือ ในขณะที่สำนึกข้างหนึ่งเตือนอยู่ตลอดเวลาว่าตนอยู่ในโลกสังคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนนั้น สำนึกอีกข้างหนึ่งก็เตือนอยู่ตลอดเวลาเช่นกันว่าโลกทุนนิยมเสรีก็มีสิ่งที่น่าเสน่หาอยู่ไม่น้อย ก็เพราะความไม่ลงตัวเช่นนี้ ทั้งสองจึงมีชีวิตที่ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในยุคปฏิรูปที่กำลังเหวี่ยงสังคมจีนไปเต็มแรง สิ่งที่มาจรรโลงชีวิตจึงเป็นเซ็กซ์ การร้องรำทำเพลง การดื่มกินและเที่ยวเตร่กลางคืน ฯลฯ จนบางครั้งบางคราความลุ่มๆ ดอนๆ นั้นก็ทำให้ชีวิตของทั้งสองเพลี่ยงพล้ำเสียที บางครั้งบางคราก็ดูเหลวแหลกไร้แก่นสาร และเมื่อมองภาพใหญ่ของการปฏิรูปออกไป เราก็พบว่าการเมืองจีนเริ่มถูกตั้งคำถามจากหนุ่มสาวจีนอย่าง ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย มากขึ้น
จะว่าไปแล้ว ปีแรกที่ ยี่ว์หง เข้ามาเรียนมหาวิทยาลัยคือปี 1987 ปีนั้นรัฐบาลปักกิ่งเพิ่งจะสยบการเดินขบวนของนักศึกษามหาวิทยาลัยในปักกิ่งไปหมาดๆ และพออีก 2 ปีต่อมา คือปี 1989 ซึ่ง ยี่ว์หง เป็นนักศึกษาปี 3 แล้วนั้น เธอจึงเข้าร่วมการชุมนุมประท้วงพรรคคอมมิวนิสต์จีนโดยไม่ลังเล แต่ก็อย่างที่ชาวโลกรู้กัน คือ ปีนั้นได้เกิดเหตุการณ์นองเลือดที่จัตุรัสเทียนอันเหมินที่ฝ่ายนักศึกษาถูกปราบปรามอย่างย่อยยับ
ผลก็คือ คนที่เอาชีวิตรอดมาได้หากไม่ปรับตัวใหม่อีกครั้งหนึ่งให้เป็นไปตามความต้องการของรัฐ ก็ต้องพยายามหาหนทางไปตั้งต้นชีวิตใหม่ยังถิ่นอื่นๆ ในจีนหรือไม่ก็ต่างประเทศ แต่สำหรับ ยี่ว์หง กับ โจวเว่ย แล้ว เหตุการณ์เทียนอันเหมินได้ทำให้ทั้งสองแยกกันจนแทบจะเด็ดขาด เป็นการแยกกันโดยต่างก็มีบาดแผลฝังใจ เป็นบาดแผลที่เกิดจากการถูกโบยตีของยุคสมัยที่ยังเยาว์วัยไร้เดียงสา และที่ต้องถูกโบยตีก็เพราะสิ่งที่ทั้งสอง (และหนุ่มสาวจีนในยุคนั้น) ถูกประทับตราจาก เติ้งเสี่ยวผิง ว่ามีพฤติกรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยกระฎุมพีเสรีนิยม ที่ยังไงเสียพรรคคอมมิวนิสต์จีนไม่มีวันยอมเด็ดขาด
ข้างต้นนั้นคือเรื่องราวในหนังเรื่อง “อี้เหอหยวน” (Summer Palace) ผลงานของ โหลวเย่ ผู้กำกับรุ่นที่ 6 ของจีนแผ่นดินใหญ่ เมื่อดูจากรุ่นแล้วก็พอเข้าใจทิศทางของหนังได้ เพราะหากรุ่นที่ 5 อย่าง จางอี้โหม่ว เป็นผลิตผลของคนรุ่นปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) ซึ่งหนังในยุคแรกๆ ของผู้กำกับรุ่นนี้ยังสะท้อนกลิ่นอายของบรรยากาศในช่วงนั้นฉันใด ก็ไม่แปลกที่รุ่นที่ 6 จะสะท้อนกลิ่นอายในช่วงปฏิรูปฉันนั้น
และก็ด้วยเหตุนั้น “อี้เหอหยวน” จึงถูกรัฐบาลจีนสั่งแบน พร้อมกับลงโทษห้ามไม่ให้ โหลวเย่ สร้างหนังเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งหากใครได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็ย่อมไม่แปลกใจที่มันจะโดนแบน ด้วยว่าตัวหนังนั้นได้เปิดโปงชีวิตของหนุ่มสาวจีนอย่าง “ล่อนจ้อน” (ใครไม่เชื่อให้ไปดูได้) และเปิดเผยให้เห็นถึงภาพเหตุการณ์เทียนอันเหมินโดยใช้ฟุตเตจเก่าๆ มาตัดต่อกับภาพที่สร้างขึ้นใหม่อย่างชนิดที่ไม่ต้องเกรงอกเกรงใจรัฐบาลจีนกันเลยทีเดียว
อันที่จริงแล้ว โหลวเย่ สร้างหนังเรื่องนี้โดยฝืนกฎของทางการจีนอย่างเต็มใจและหน้าชื่นตาบาน ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้สร้างทุกคนจะต้องเอาบทให้กรรมการเซ็นเซอร์พิจารณาก่อน หากการพิจารณาไม่มีปัญหาก็สร้างได้ แต่หากมีปัญหาก็ต้องมาดูว่าปัญหานั้นหนักเบาแค่ไหน ก็ว่ากันไป
ส่วนบทที่ผ่านการเซ็นเซอร์แล้วนั้นก็อย่าเพิ่งตายใจเป็นอันขาด เพราะเมื่อสร้างเสร็จแล้วก็ยังคงจะต้องให้กรรมการเซ็นเซอร์อีกครั้งหนึ่ง คราวนี้ต่อให้สร้างตามบทอย่างไรก็ตาม แต่ถ้า “ภาษาหนัง” ที่ออกมาถูกตีความ “เป็นอื่น” แล้วละก็ ผู้สร้างก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจเอาไว้ให้ดี ด้วยเหตุนี้ จางอี้โหม่ว จึงได้รับการยกนิ้วจากผู้สร้างคนอื่นๆ ในเรื่องความสามารถในการสร้าง “ภาษาหนัง” ด้วยภาษาที่กรรมการเซ็นเซอร์เห็นแล้วพูดไม่ออก โดยเฉพาะในหนังยุคแรกๆ ของเขา
แต่สำหรับ โหลวเย่ แล้วเขาจงใจที่จะไม่ส่งบทให้พิจารณา แต่เลือกนำบทที่เขียนเสร็จแล้วไปสร้างเป็นหนังทันที จากนั้นก็นำหนังไปฉายให้กรรมการเซ็นเซอร์เพื่อวัดดวงเอา แล้วดวงของเขาก็ถูกวัดสมใจเมื่อเขาถูกลงโทษจากความผิดจากที่กล่าวมา แต่กระนั้นก็ยังคงกล่าวได้ว่า โหลวเย่ โชคดีมากที่เขาไม่ได้เกิดมาเป็นผู้สร้างไทย เพราะหาไม่แล้วเขาก็คงไม่เพียงจะไม่มีสิทธิ์นำหนังไปฉายยังต่างประเทศเท่านั้น หากแม้แต่ฟิล์มก็ยังมีสิทธิ์ที่จะไม่ได้รับคืนจากกรรมการเซ็นเซอร์อีกด้วย และเพราะ โหลวเย่ โชคดีในแง่นี้ เราจึงโชคดีที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ไปด้วย
ที่ต้องยกให้เป็นฝีมือของ โหลวเย่ เรื่องหนึ่งก็คือ การรวบรัดเหตุการณ์ต่างๆ ในจีนภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินเคียงคู่ไปกับชีวิตของตัวละครในหนัง ซึ่งถือเป็นช่วงสำคัญช่วงหนึ่งของหนังเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้โดยหนังได้บอกเล่า (แบบรวบรัด) ว่า ภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินผ่านไป 2 ปี เติ้งเสี่ยวผิง ก็ได้เดินทางล่องใต้เพื่อเยือนเมืองต่างๆ ในปี 1992 การล่องใต้ครั้งนี้ถือเป็นการรณรงค์ให้จีนเร่งปฏิรูปอย่างขนานใหญ่ และต่อมาก็ทำให้หนุ่มสาวจีนได้มีโอกาสในตำแหน่งงานมากขึ้น และสร้างฐานะให้แก่ตนเองจนมีฐานะดีขึ้น คือดีจนลืมเหตุการณ์เทียนอันเหมินไปในที่สุด
ส่วนเมืองหนึ่งที่ เติ้ง ไปเยือนก็คือ เซินเจิ้น เมืองนี้จึงได้รับการโปรโมตให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ช่วงนี้เองที่หนังบอกให้รู้ว่า ยี่ว์หง ก็ไปแสวงหาโชคลาภจากเมืองนี้ด้วยเช่นกัน และพอถึงปี 1997 หนังก็ฉายให้เห็นภาพของ คริส แพทเท่น ผู้ว่าการฮ่องกงคนสุดท้ายก่อนที่เกาะแห่งนี้จะกลับสู่อ้อมอกของจีนในปีนั้น ถึงตอนนี้หนังก็เล่าว่า ยี่ว์หง ได้ไปใช้ชีวิตอยู่ที่เมืองฉงชิ่ง ซึ่งต่อมาได้หลุดจากการขึ้นต่อมณฑลซื่อชวน (เสฉวน) มาเป็นมหานคร และแน่นอนว่า มหานครนี้ย่อมรับการโปรโมตอีกเช่นกัน
หนังบอกเล่าเรื่องราวของ ยี่ว์หง อย่างเป็นด้านหลัก และบอกให้รู้ว่า บาดแผลจากการปฏิรูปในสมัยแรกยังไม่ได้หายไปจากใจของเธอ ในขณะที่คนอื่นๆ อย่างเช่น โจวเว่ย ซึ่งไปใช้ชีวิตที่เยอรมนีเองก็ยังไม่หายเช่นกัน กว่าที่ทั้งสองจะได้มาเจอกันอีกครั้งหนึ่งก็หลังปี 2001 ไปแล้ว เวลานั้นจีนได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกแล้ว ซึ่งนับเป็นย่างก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่งของยุคสมัยปฏิรูปของจีน
แต่ทว่าสำหรับทั้งสองแล้ว แม้ชีวิตเศรษฐกิจจะดีขึ้น แต่บาดแผลที่ยุคปฏิรูปได้ทิ้งเอาไว้ให้ก็ยังไม่หายอยู่ดี ซ้ำยังเจ็บลึกเข้าไปอีก ยุคปฏิรูปชักนำให้ทั้งสองมาพบกันก็จริง แต่ยุคปฏิรูปก็ชักดึงให้ทั้งสองต้องแยกห่างจากกันด้วยเช่นกัน
โศกนาฏกรรมทำนองนี้ไม่เพียงเกิดแก่คนหนุ่มสาวจีนเท่านั้น หากกับคนเดือนตุลาคมของไทยเองก็ไม่เว้น