ผู้จัดการรายวัน - ตลาดหุ้นไทยยังผันผวนไร้ทิศทาง แม้จะพุ่งแรงถึง 26 จุดเมื่อปลายสัปดาห์ก่อน เหตุนักลงทุนรอดูผลการประชุมเฟด-ราคาน้ำมัน-การเมือง ด้านโบรกเกอร์ ชี้ตลาดแกว่งตัวขึ้นลงแรง เตือนระมัดระวังการลงทุน เลือกถือเงินสดดูสถานการณ์ ขณะที่นักลงทุนระยะยาวเลือกลงทุนหุ้นพื้นฐานราคาถูก ประเมินกรอบดัชนีที่ 750-780 จุด
นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากนักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าขายสุทธิกว่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักๆ จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น บวกกับอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นทำให้นักลงทุนทิ้งหุ้นเพื่อนำเงินไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้แทน
ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวบวกแรง 26.44 จุด ปิดที่ 768.90 จุด หลังจากสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนวิตกกังวลได้คลี่คลายลง เมื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนพลบุกทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงแต่อย่างใด รวมทั้งมีกระแสข่าวเกี่ยวกับการลาออกของนายกรัฐมนตรี และยุบสภาทำให้นักลงทุนคลายความกังวลและเข้ามาลงทุน ทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ กล่าวถึง ปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ว่า ดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ถึง 220 จุด หรือ 1.83% หลุดแนวรับ 12,000 จุด ปิดที่ 11,842 จุด นับเป็นการปิดต่ำสุดในรอบ 3 เดือน โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพรม์)
ทั้งนี้ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ อาทิ มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซกส์ รายงานผลประกอบการไตรมาสสองขาดทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่ซิตี้ กรุ๊ป และเมอร์ริลลินช์ เองอาจต้องตัดหนี้สูญเป็นจำนวนมากในไตรมาสสองนี้ ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่ฟื้นตามที่คาดการณ์กันไว้
จากปัจจัยดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันให้ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง ประกอบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ยังไม่ชัดเจน และราคาน้ำมันดิบที่ผันผวน แม้ว่าช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง แต่คาดว่าจะเป็นเพียงการเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ลงมาแรงก่อนหน้านี้ โดยประเมินแนวรับที่ 745-750 จุด และแนวต้านที่ 770-780 จุด ประเด็นที่ต้องติดตามยังคงเป็นประเด็นเดิมๆ ได้แก่ การเมืองในประเทศ ราคาน้ำมันดิบ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ และตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
สำหรับประเด็นใหม่ที่จะเข้ามากระทบต่อตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ คือ การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ซึ่งต้องติดตามว่าเฟดจะส่งสัญญาณแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างไรในอนาคต และประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นอย่างไร ส่วนกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ นักลงทุนระยะกลางและระยะยาว แนะนำรอตลาดนิ่งกว่านี้ค่อยเข้าไปซื้อ ด้านนักลงทุนระยะสั้น แนะนำขึ้นขาย ลงซื้อ
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับขึ้นได้ต่อ จากวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ปรับตัวบวกถึง 26 จุด แต่คงไม่ร้อนแรงเท่า เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีบทสรุปไปในทิศทางใด แต่เมื่อไม่มีเหตุการณ์รุนแรงจึงช่วยคลายความกังวลได้ในระดับหนึ่ง
ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยลบจากดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวลดลง หลังเกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาซับไพรม์ที่ส่งผลให้สถาบันการเงินสหรัฐฯ หลายแห่งต้องตัดหนี้สูญและอาจจำเป็นต้องเพิ่มทุน ซึ่งจะส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นไทยในการเปิดตลาดสัปดาห์นี้
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ให้น้ำหนักที่สถานการณ์การเมืองในประเทศที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ แล้ว อาจมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศคงให้น้ำหนักการการประชุมเฟดช่วงกลางสัปดาห์นี้ แม้ตลาดคาดการณ์ว่าการประชุมของเฟดครั้งนี้จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.ขยายตัวใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ แต่จะต้องติดตามว่าเฟดจะมีนโยบายออกมาอย่างไร
ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมันดิบยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจะสามารถช่วยคลี่คลายสถานการณ์เรื่องอัตราเงินเฟ้อลดลงได้ระดับหนึ่ง รวมถึงทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่มีการขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าสัปดาห์นี้แรงขายน่าจะเบาลงแล้ว แต่คงยังไม่กลับมาซื้อสุทธิ
ทั้งนี้ ประเมินการเคลื่อนไหวของดัชนีโดยมีแนวรับที่ 750 จุด และแนวต้านที่ 780 จุด หากหลุดแนวรับดังกล่าวจะมีแนวรับถัดไปที่ 730 จุด โดยมองว่าตลาดหุ้นไทยช่วงนี้จะแกว่งตัวผันผวนปรับขึ้นลงแรง ดังนั้นนักลงทุนต้องมีความระมัดระวังในการลงทุน สำหรับกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนระยะกลางและระยะยาว แนะนำเลือกเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับลดลงมาก ส่วนนักลงทุนระยะสั้น ต้องมีความระมัดระวังในการลงทุน เนื่องจากตลาดแกว่งขึ้นลงแรง
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในระยะสั้นตลาดหุ้นไทยยังผูกติดอยู่กับปัจจัยในประเทศ ซึ่งจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง ประเมินแนวรับที่ 760 จุด และแนวต้านที่ 770-780 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสดรอดูสถานการณ์ หรือหากตลาดหุ้นดีดกลับให้หาจังหวะขายทำกำไรออกมาบ้าง เนื่องจากตลาดยังมีความกังวลจากปัจจัยในประเทศและปัจจัยต่างประเทศ
นับตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังจากนักลงทุนต่างประเทศได้ทยอยขายหุ้นออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มูลค่าขายสุทธิกว่ากว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักๆ จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น บวกกับอัตราดอกเบี้ยในช่วงขาขึ้นทำให้นักลงทุนทิ้งหุ้นเพื่อนำเงินไปลงทุนในตลาดตราสารหนี้แทน
ทั้งนี้ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวบวกแรง 26.44 จุด ปิดที่ 768.90 จุด หลังจากสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่นักลงทุนวิตกกังวลได้คลี่คลายลง เมื่อกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเคลื่อนพลบุกทำเนียบรัฐบาล แต่ไม่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงแต่อย่างใด รวมทั้งมีกระแสข่าวเกี่ยวกับการลาออกของนายกรัฐมนตรี และยุบสภาทำให้นักลงทุนคลายความกังวลและเข้ามาลงทุน ทำให้ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ กล่าวถึง ปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ว่า ดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวลดลงเมื่อวันศุกร์ถึง 220 จุด หรือ 1.83% หลุดแนวรับ 12,000 จุด ปิดที่ 11,842 จุด นับเป็นการปิดต่ำสุดในรอบ 3 เดือน โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ (ซับไพรม์)
ทั้งนี้ สถาบันการเงินขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ อาทิ มอร์แกน สแตนเลย์ และโกลด์แมน แซกส์ รายงานผลประกอบการไตรมาสสองขาดทุนเป็นจำนวนมาก ขณะที่ซิตี้ กรุ๊ป และเมอร์ริลลินช์ เองอาจต้องตัดหนี้สูญเป็นจำนวนมากในไตรมาสสองนี้ ส่งผลให้เกิดความกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะไม่ฟื้นตามที่คาดการณ์กันไว้
จากปัจจัยดังกล่าวจะเป็นแรงกดดันให้ตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้ปรับตัวลดลง ประกอบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ยังไม่ชัดเจน และราคาน้ำมันดิบที่ผันผวน แม้ว่าช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีหุ้นไทยจะปรับตัวเพิ่มขึ้นแรง แต่คาดว่าจะเป็นเพียงการเก็งกำไรจากราคาหุ้นที่ลงมาแรงก่อนหน้านี้ โดยประเมินแนวรับที่ 745-750 จุด และแนวต้านที่ 770-780 จุด ประเด็นที่ต้องติดตามยังคงเป็นประเด็นเดิมๆ ได้แก่ การเมืองในประเทศ ราคาน้ำมันดิบ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ และตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
สำหรับประเด็นใหม่ที่จะเข้ามากระทบต่อตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ คือ การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ซึ่งต้องติดตามว่าเฟดจะส่งสัญญาณแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยอย่างไรในอนาคต และประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นอย่างไร ส่วนกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ นักลงทุนระยะกลางและระยะยาว แนะนำรอตลาดนิ่งกว่านี้ค่อยเข้าไปซื้อ ด้านนักลงทุนระยะสั้น แนะนำขึ้นขาย ลงซื้อ
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นมีโอกาสปรับขึ้นได้ต่อ จากวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ปรับตัวบวกถึง 26 จุด แต่คงไม่ร้อนแรงเท่า เนื่องจากสถานการณ์การเมืองในประเทศยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีบทสรุปไปในทิศทางใด แต่เมื่อไม่มีเหตุการณ์รุนแรงจึงช่วยคลายความกังวลได้ในระดับหนึ่ง
ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยลบจากดัชนีดาวโจนส์ที่ปรับตัวลดลง หลังเกิดความกังวลเกี่ยวกับปัญหาซับไพรม์ที่ส่งผลให้สถาบันการเงินสหรัฐฯ หลายแห่งต้องตัดหนี้สูญและอาจจำเป็นต้องเพิ่มทุน ซึ่งจะส่งผลกดดันต่อตลาดหุ้นเอเชียและตลาดหุ้นไทยในการเปิดตลาดสัปดาห์นี้
สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ ให้น้ำหนักที่สถานการณ์การเมืองในประเทศที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด นอกเหนือจากการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ แล้ว อาจมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่ต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศคงให้น้ำหนักการการประชุมเฟดช่วงกลางสัปดาห์นี้ แม้ตลาดคาดการณ์ว่าการประชุมของเฟดครั้งนี้จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเดือน พ.ค.ขยายตัวใกล้เคียงกับที่ตลาดคาดการณ์ แต่จะต้องติดตามว่าเฟดจะมีนโยบายออกมาอย่างไร
ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมันดิบยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม หากราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงจะสามารถช่วยคลี่คลายสถานการณ์เรื่องอัตราเงินเฟ้อลดลงได้ระดับหนึ่ง รวมถึงทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่มีการขายสุทธิออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเชื่อว่าสัปดาห์นี้แรงขายน่าจะเบาลงแล้ว แต่คงยังไม่กลับมาซื้อสุทธิ
ทั้งนี้ ประเมินการเคลื่อนไหวของดัชนีโดยมีแนวรับที่ 750 จุด และแนวต้านที่ 780 จุด หากหลุดแนวรับดังกล่าวจะมีแนวรับถัดไปที่ 730 จุด โดยมองว่าตลาดหุ้นไทยช่วงนี้จะแกว่งตัวผันผวนปรับขึ้นลงแรง ดังนั้นนักลงทุนต้องมีความระมัดระวังในการลงทุน สำหรับกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนระยะกลางและระยะยาว แนะนำเลือกเก็บหุ้นพื้นฐานดีที่ราคาปรับลดลงมาก ส่วนนักลงทุนระยะสั้น ต้องมีความระมัดระวังในการลงทุน เนื่องจากตลาดแกว่งขึ้นลงแรง
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในระยะสั้นตลาดหุ้นไทยยังผูกติดอยู่กับปัจจัยในประเทศ ซึ่งจากสถานการณ์การเมืองที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง ประเมินแนวรับที่ 760 จุด และแนวต้านที่ 770-780 จุด ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสดรอดูสถานการณ์ หรือหากตลาดหุ้นดีดกลับให้หาจังหวะขายทำกำไรออกมาบ้าง เนื่องจากตลาดยังมีความกังวลจากปัจจัยในประเทศและปัจจัยต่างประเทศ