ผู้จัดการรายวัน - ทหารไทยได้ราคาพอใจ ขายหุ้นเอ็มเอฟซี 11.63% ให้บล.แอ๊ดคินซันหุ้นละ 14.50 บาท ฟันกำไรเหนาะๆ กว่า 202.34 ล้าน "ASL" เผยราคาขยับลงจนน่าสน แถมผลการดำเนินงานในอนาคตยังมีโอกาสเติบโตสูง จ่ายปันผลที่ดี ขยับสัดส่วนถือหุ้นเป็น 16.48% ด้าน "พิชิต" ชี้ความร่วมมือทางธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง พร้อมระบุที่ผ่านมาสถาบันการเงินทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน สนใจเป็นพาร์ทเนอร์
นายศิริพงษ์ สมบัติศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ธนาคารได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC จำนวน 13,954,900 หุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) หรือ ASL โดยคิดเป็นสัดส่วน 11.63% ของทุนจดทะเบียนที่จำหน่ายได้แล้ว ซึ่งการขายหุ้นดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการกำกับแบบ รวมกลุ่มของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ มูลค่าของหุ้น MFC ที่ขายออกมาดังกล่าว อยู่ที่ราคา 14.50 บาท/หุ้น ซึ่งคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 202,346,050 บาท โดยเกณฑ์ที่ใช้กำหนดราคา เป็นการกำหนดโดยใช้ราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง ประกอบกับการใช้การประมาณราคาตามวิธีเงินปันผลคิดลด (DDM) อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E) อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตาม บัญชี (P/BV) ซึ่งได้ทำรายการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา
ด้านนายสดาวุธ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญของ บลจ.เอ็มเอฟซี จำนวน 13,954,900 หุ้น โดยคิดเป็น 11.63% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของบริษัทดังกล่าว รวมมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 202,346,050 บาท โดยการซื้อหุ้นสามัญดังกล่าวเป็นการซื้อจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน13,954,900 หุ้น ในราคาหุ้นละ 14.50 บาท
ทั้งนี้ รายการที่เกิดขึ้นมีขนาดเท่ากับ 5.15% ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (NTA) ของบริษัทฯ จึงไม่เข้าข่ายตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยเกี่ยวกับการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และรายการที่เกี่ยวโยงกัน
นายสดาวุธกล่าวว่า จากซื้อหุ้นของ MFC ในสัดส่วน 11.63% มูลค่ารวม 202.34 ล้านบาท ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไร เนื่องจากการเข้าไปซื้อหุ้นดังกล่าว เพราะเห็นว่าราคาหุ้นปรับลดลงมามากแล้ว ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ขณะเดียวกันผลการดำเนินงานในอนาคตยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้เงินปันผลที่ดี โดยในช่วงที่ผ่านมา MFC จ่ายเงินปันผลถึง 5% ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน
"เดิม ASL ถือหุ้น MFC อยู่แล้ว 4% กว่าๆ ก็เห็นว่าราคาหุ้นมันลงมามากแล้ว เมื่อ TMB เขาจะขายหุ้นก็ตัดสินใจเข้าไปซื้อในกระดานเพิ่มมาอีก 11.63% แต่ในอนาคตยังบอกไม่ได้ว่าจะเข้าไปซื้อหุ้น MFC เพิ่มไหม เพราะต้องรอดูก่อนส่วนหุ้นตัวอื่นๆ คงไม่เข้าไปซื้อเพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นไม่ดีเท่าไหร่"นายสดาวุธกล่าว
ส่วนเงินลงทุนที่ใช้สำหรับการเข้าไปซื้อหุ้นของ MFC มาจากกระแสเงินสดในการดำเนินงาน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องการที่จะลงทุนในหุ้น MFC ระยะยาว เพราะมีโอกาสเติบโตในทิศทางที่ดี
ทั้งนี้ จากการลงทุนเพิ่มดังกล่าว ส่งผลให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นของบลจ.เอ็มเอฟซี เปลี่ยนแปลงเป็นดังนี้ ธนาคารออมสิน 24.5% กระทรวงการคลัง 16.67% บล.แอ๊ดคินซัน 16.48% บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย 10.52% ซิตี้แบงก์ นอมินีส์ สิงคโปร์ 4.91% และภาคเอกชน 18.9%
นายพิชิต อัตราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า การขายหุ้นดังกล่าว น่าจะเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้นเอง โดยเฉพาะเรื่องของราคาที่ถือว่าถูกกว่าราคาในตลาดปัจจุบัน แต่ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนไปจากนี้ เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นเท่านั้น ซึ่งบล.แอ๊ดคินซัน เอง ก็เป็นผู้ถือหุ้นเดิมอยู่แล้วในสัดส่วนประมาณ 4% นอกจากนั้น บลจ.เอ็มเอฟซียังมีความร่วมมือในทางธุรกิจระหว่างกันมาโดยตลอด ในการเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนให้กับบลจ.เอ็มเอฟซีด้วย ส่วนการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในครั้งนี้ ในแง่ของความร่วมมือคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงสำคัญ เพราะเป็นการลงทุนเพิ่มเท่านั้น
ขณะเดียวกัน การขายหุ้นของธนาคารทหารไทยในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่ต้องการขายหุ้นของบริษัทออกมาอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันธนาคารทหารไทยมีบลจ. ในเครืออยู่แล้ว 2 บริษัท นั่นคือ บลจ.ทหารไทย และบลจ.ไอเอ็นจี อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่าธนาคารออมสินจะเข้าไปซื้อหุ้นในสัดส่วนที่ทหารไทยถืออยู่ แต่ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ ขณะเดียวกัน หากออมสินซื้อหุ้นเอ็มเอฟซีเข้ามาเพิ่ม จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังสูงเกินกว่า 50% เพราะคลังถือหุ้นออมสินอยู่ 100% และทำให้บลจ.เอ็มเอฟซี กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกระทรวงการคลังเอง ยังอยากให้บลจ.เอ็มเอฟซี เป็นเอกชนอยู่
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีสถาบันการเงินจากต่างประเทศ ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมทั้งจีน แสดงความสนใจเป็นพาร์เนอร์กับเรามาอย่างต่อเนื่อง แต่การเจรจาดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงความจำนงผ่านทางกระทรวงการคลังมาเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาเจรจากับ บลจ.เอ็มเอฟซีโดยตรง แต่สุดท้ายจะเป็นอย่างไรนั้น กระทรวงการคลังยังมีส่วนค่อนข้างมากในการตัดสินใจเรื่องนี้
นายศิริพงษ์ สมบัติศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดใหญ่และวาณิชธนกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB เปิดเผยว่า ธนาคารได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นสามัญของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC จำนวน 13,954,900 หุ้นให้กับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) หรือ ASL โดยคิดเป็นสัดส่วน 11.63% ของทุนจดทะเบียนที่จำหน่ายได้แล้ว ซึ่งการขายหุ้นดังกล่าว เป็นไปตามนโยบายการกำกับแบบ รวมกลุ่มของธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ มูลค่าของหุ้น MFC ที่ขายออกมาดังกล่าว อยู่ที่ราคา 14.50 บาท/หุ้น ซึ่งคิดเป็นเงินทั้งสิ้น 202,346,050 บาท โดยเกณฑ์ที่ใช้กำหนดราคา เป็นการกำหนดโดยใช้ราคาตลาดเฉลี่ยย้อนหลัง ประกอบกับการใช้การประมาณราคาตามวิธีเงินปันผลคิดลด (DDM) อัตราส่วนราคาหุ้นต่อกำไรสุทธิ (P/E) อัตราส่วนราคาหุ้นต่อมูลค่าตาม บัญชี (P/BV) ซึ่งได้ทำรายการซื้อขายผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 19 มิถุนายนที่ผ่านมา
ด้านนายสดาวุธ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทหลักทรัพย์ แอ๊ดคินซัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทได้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญของ บลจ.เอ็มเอฟซี จำนวน 13,954,900 หุ้น โดยคิดเป็น 11.63% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วของบริษัทดังกล่าว รวมมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 202,346,050 บาท โดยการซื้อหุ้นสามัญดังกล่าวเป็นการซื้อจากธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน13,954,900 หุ้น ในราคาหุ้นละ 14.50 บาท
ทั้งนี้ รายการที่เกิดขึ้นมีขนาดเท่ากับ 5.15% ของมูลค่าสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิ (NTA) ของบริษัทฯ จึงไม่เข้าข่ายตามประกาศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และการเปิดเผยเกี่ยวกับการได้มาและจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียน และรายการที่เกี่ยวโยงกัน
นายสดาวุธกล่าวว่า จากซื้อหุ้นของ MFC ในสัดส่วน 11.63% มูลค่ารวม 202.34 ล้านบาท ไม่ได้มีนัยสำคัญอะไร เนื่องจากการเข้าไปซื้อหุ้นดังกล่าว เพราะเห็นว่าราคาหุ้นปรับลดลงมามากแล้ว ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก ขณะเดียวกันผลการดำเนินงานในอนาคตยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้เงินปันผลที่ดี โดยในช่วงที่ผ่านมา MFC จ่ายเงินปันผลถึง 5% ซึ่งถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน
"เดิม ASL ถือหุ้น MFC อยู่แล้ว 4% กว่าๆ ก็เห็นว่าราคาหุ้นมันลงมามากแล้ว เมื่อ TMB เขาจะขายหุ้นก็ตัดสินใจเข้าไปซื้อในกระดานเพิ่มมาอีก 11.63% แต่ในอนาคตยังบอกไม่ได้ว่าจะเข้าไปซื้อหุ้น MFC เพิ่มไหม เพราะต้องรอดูก่อนส่วนหุ้นตัวอื่นๆ คงไม่เข้าไปซื้อเพราะช่วงนี้ตลาดหุ้นไม่ดีเท่าไหร่"นายสดาวุธกล่าว
ส่วนเงินลงทุนที่ใช้สำหรับการเข้าไปซื้อหุ้นของ MFC มาจากกระแสเงินสดในการดำเนินงาน ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม บริษัทต้องการที่จะลงทุนในหุ้น MFC ระยะยาว เพราะมีโอกาสเติบโตในทิศทางที่ดี
ทั้งนี้ จากการลงทุนเพิ่มดังกล่าว ส่งผลให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นของบลจ.เอ็มเอฟซี เปลี่ยนแปลงเป็นดังนี้ ธนาคารออมสิน 24.5% กระทรวงการคลัง 16.67% บล.แอ๊ดคินซัน 16.48% บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย 10.52% ซิตี้แบงก์ นอมินีส์ สิงคโปร์ 4.91% และภาคเอกชน 18.9%
นายพิชิต อัตราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี กล่าวว่า การขายหุ้นดังกล่าว น่าจะเป็นการตกลงร่วมกันระหว่างผู้ถือหุ้นเอง โดยเฉพาะเรื่องของราคาที่ถือว่าถูกกว่าราคาในตลาดปัจจุบัน แต่ดูแล้วไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนไปจากนี้ เพราะเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นเท่านั้น ซึ่งบล.แอ๊ดคินซัน เอง ก็เป็นผู้ถือหุ้นเดิมอยู่แล้วในสัดส่วนประมาณ 4% นอกจากนั้น บลจ.เอ็มเอฟซียังมีความร่วมมือในทางธุรกิจระหว่างกันมาโดยตลอด ในการเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนให้กับบลจ.เอ็มเอฟซีด้วย ส่วนการเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในครั้งนี้ ในแง่ของความร่วมมือคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงสำคัญ เพราะเป็นการลงทุนเพิ่มเท่านั้น
ขณะเดียวกัน การขายหุ้นของธนาคารทหารไทยในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของผู้ถือหุ้นรายใหม่ที่ต้องการขายหุ้นของบริษัทออกมาอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันธนาคารทหารไทยมีบลจ. ในเครืออยู่แล้ว 2 บริษัท นั่นคือ บลจ.ทหารไทย และบลจ.ไอเอ็นจี อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ มีกระแสข่าวว่าธนาคารออมสินจะเข้าไปซื้อหุ้นในสัดส่วนที่ทหารไทยถืออยู่ แต่ตกลงเรื่องราคากันไม่ได้ ขณะเดียวกัน หากออมสินซื้อหุ้นเอ็มเอฟซีเข้ามาเพิ่ม จะทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังสูงเกินกว่า 50% เพราะคลังถือหุ้นออมสินอยู่ 100% และทำให้บลจ.เอ็มเอฟซี กลายเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกระทรวงการคลังเอง ยังอยากให้บลจ.เอ็มเอฟซี เป็นเอกชนอยู่
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมามีสถาบันการเงินจากต่างประเทศ ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมทั้งจีน แสดงความสนใจเป็นพาร์เนอร์กับเรามาอย่างต่อเนื่อง แต่การเจรจาดังกล่าวเป็นเพียงการแสดงความจำนงผ่านทางกระทรวงการคลังมาเท่านั้น ไม่ได้เข้ามาเจรจากับ บลจ.เอ็มเอฟซีโดยตรง แต่สุดท้ายจะเป็นอย่างไรนั้น กระทรวงการคลังยังมีส่วนค่อนข้างมากในการตัดสินใจเรื่องนี้