บลจ.ยูไนเต็ด ประเดิมเปิดให้บริการแล้ว หลังก.ล.ต.ไฟเขียวให้เริ่มดำเนินการ ขั้นแรกรุกกองทุนส่วนบุคคลจับกลุ่ม ลูกค้าทั้งไทยและญี่ปุ่น ส่วนกองทุนรวมขอเวลาเป็นปีหน้า ขณะที่ผลประกอบการไตรมาส 1 บล.ยูไนเต็ดพลิกจากขาดทุนกลับมาเป็นกำไร จากค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และรายได้จากดอกเบี้ย - เงินปันผลที่สูงขึ้น
นางสาวทิพย์ปราณี ฉัตรมานพ กรรมการบริหาร – สนับสนุนธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บลจ.) ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่บริษัทได้ได้ร่วมลงทุนกับ นายวีระเจตน์ ว่องกุศลกิจ และครอบครัว เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามรายละเอียดในหนังสือที่อ้างถึงนั้น บริษัทได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เริ่มเปิดดำเนินการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูไนเต็ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2551ที่ผ่านมาแล้ว
นายเจเรมี เหลียว กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูไนเต็ต จำกัด (มหาชน) (US) ในเครือ เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป (Apf Group) กล่าวว่า แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงเริ่มให้บริการนั้น บริษัทวางแผนที่จะดำเนินธุรกิจในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) เป็นธุรกรรมหลัก หรือเน้นดำเนินธุรกรรมดังกล่าวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมองว่าลูกค้าระดับที่สามารถนำเงินมาลงทุนโดยจัดตั้งเป็นกองทุนส่วนบุคคลนั้นยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่สัดส่วนลูกค้านี้จะมีทั้งนักลงทุนชาวไทย และนักลงทุนญี่ปุ่นในสัดส่วน 50:50 และกลุ่มลูกค้าประเภทนี้มีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลโดยเฉพาะอยู่หลายราย
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนมีที่จะจัดตั้งกองทุนรวม (Mutual Fund) ทั่วไปออกเสนอขายนักลงทุนเช่นกัน แต่ไม่สามารถจัดทำโปรดักต์ดังกล่าวออกมาได้ในภายในปีนี้ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นโปรดักต์ประเภทกองทุนรวมของบริษัทได้ในช่วงปี 2552
สำหรับ ลูกค้าที่จะมาใช้บริการของบลจ.ยูไนเต็ดนั้น จะไม่ใช่ลูกค้าจาก บล.ยูไนเต็ดเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของบล.ยูไนเต็ดส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่นิยมและมีความสนใจเข้าลงทุนในหลักทรัพย์มากกว่า ดังนั้นกลุ่มนักลงทุนที่จะเข้ามาเป็นลูกค้าของบริษัทนั้นส่วนหนึ่งจะเป็นลูกค้าใหม่ที่มีความสนใจลงทุนผ่านกองทุนโดยตรง
โดย บลจ.ยูไนเต็ด เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างบล.ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) (US) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มเอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และกลุ่มว่องกุศลกิจ ซึ่งเป็นอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ของบล.ยูไนเต็ด ด้วยโครงสร้างการถือหุ้นในสัดส่วน 51% และ 49%ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งตัวแทนเข้ามาบริหารงานบริษัทแห่งใหม่ร่วมกัน
บลจ.ยูไนเต็ด มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ด้วยทุนจดทะเบียน 25,000,000 บาท แบ่งเป็น 250,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท โดยมีทุนชำระแล้วซึ่งเรียกชำระครั้งแรก 25% และจะชำระเต็มมูลค่าเมื่อได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง โดยจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวได้แจ้งแก่ตลท. แล้วเมื่อวันนี้19 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ไม่เกิน 12.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของสินทรัพย์รวมของUS ณ วันที่ 30 กันยายน 2550
ด้าน นายโยธิน วิริเยนะวัตร์ กรรมการบริหาร-การตลาดหลักทรัพย์ไทย บล.ยูไนเต็ด กล่าวว่าผลการดำเนินงาน สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2551 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งได้ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีและคณะกรรมการตรวจสอบแล้วว่าบริษัทฯมีกำไรสุทธิ 8.06 ล้านบาท โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินกว่า20% เมื่อเทียบกับที่ขาดทุน 15.69 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปี 2550
ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 52.48 ล้านบาท จาก28.99 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 81.04 เนื่องจากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยทั้งตลาดต่อวันที่เพิ่มขึ้น เป็น 19,248 ล้านบาท จาก 12,003 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.36 และส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.81 เป็นร้อยละ 0.88
นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.14 จาก 5.50 ล้านบาท เป็น 7.15 ล้านบาท และดอกเบี้ยการปล่อยกู้มาร์จินเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.38 จาก 9.19 ล้านบาท เป็น 13.18 ล้านบาท
ขณะที่ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมไตรมาสที่ 1 ปี 2551 บริษัทสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ 59.47 ล้านบาท
นางสาวทิพย์ปราณี ฉัตรมานพ กรรมการบริหาร – สนับสนุนธุรกิจ บริษัทหลักทรัพย์ (บลจ.) ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตามที่บริษัทได้ได้ร่วมลงทุนกับ นายวีระเจตน์ ว่องกุศลกิจ และครอบครัว เพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ตามรายละเอียดในหนังสือที่อ้างถึงนั้น บริษัทได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยให้เริ่มเปิดดำเนินการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ยูไนเต็ด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท และอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2551ที่ผ่านมาแล้ว
นายเจเรมี เหลียว กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูไนเต็ต จำกัด (มหาชน) (US) ในเครือ เอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป (Apf Group) กล่าวว่า แผนการดำเนินธุรกิจในช่วงเริ่มให้บริการนั้น บริษัทวางแผนที่จะดำเนินธุรกิจในส่วนของกองทุนส่วนบุคคล (Private Fund) เป็นธุรกรรมหลัก หรือเน้นดำเนินธุรกรรมดังกล่าวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมองว่าลูกค้าระดับที่สามารถนำเงินมาลงทุนโดยจัดตั้งเป็นกองทุนส่วนบุคคลนั้นยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ขณะที่สัดส่วนลูกค้านี้จะมีทั้งนักลงทุนชาวไทย และนักลงทุนญี่ปุ่นในสัดส่วน 50:50 และกลุ่มลูกค้าประเภทนี้มีความสนใจที่จะจัดตั้งกองทุนส่วนบุคคลโดยเฉพาะอยู่หลายราย
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีแผนมีที่จะจัดตั้งกองทุนรวม (Mutual Fund) ทั่วไปออกเสนอขายนักลงทุนเช่นกัน แต่ไม่สามารถจัดทำโปรดักต์ดังกล่าวออกมาได้ในภายในปีนี้ โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นโปรดักต์ประเภทกองทุนรวมของบริษัทได้ในช่วงปี 2552
สำหรับ ลูกค้าที่จะมาใช้บริการของบลจ.ยูไนเต็ดนั้น จะไม่ใช่ลูกค้าจาก บล.ยูไนเต็ดเพียงอย่างเดียว เนื่องจากกลุ่มลูกค้าของบล.ยูไนเต็ดส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนที่นิยมและมีความสนใจเข้าลงทุนในหลักทรัพย์มากกว่า ดังนั้นกลุ่มนักลงทุนที่จะเข้ามาเป็นลูกค้าของบริษัทนั้นส่วนหนึ่งจะเป็นลูกค้าใหม่ที่มีความสนใจลงทุนผ่านกองทุนโดยตรง
โดย บลจ.ยูไนเต็ด เป็นการร่วมลงทุนกันระหว่างบล.ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน) (US) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกลุ่มเอเชียพาร์ทเนอร์ชิพ ฟันด์ กรุ๊ป และกลุ่มว่องกุศลกิจ ซึ่งเป็นอดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ของบล.ยูไนเต็ด ด้วยโครงสร้างการถือหุ้นในสัดส่วน 51% และ 49%ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งตัวแทนเข้ามาบริหารงานบริษัทแห่งใหม่ร่วมกัน
บลจ.ยูไนเต็ด มีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ด้วยทุนจดทะเบียน 25,000,000 บาท แบ่งเป็น 250,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท โดยมีทุนชำระแล้วซึ่งเรียกชำระครั้งแรก 25% และจะชำระเต็มมูลค่าเมื่อได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง โดยจำนวนเงินลงทุนดังกล่าวได้แจ้งแก่ตลท. แล้วเมื่อวันนี้19 ธันวาคม 2550 ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ไม่เกิน 12.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.8% ของสินทรัพย์รวมของUS ณ วันที่ 30 กันยายน 2550
ด้าน นายโยธิน วิริเยนะวัตร์ กรรมการบริหาร-การตลาดหลักทรัพย์ไทย บล.ยูไนเต็ด กล่าวว่าผลการดำเนินงาน สำหรับไตรมาสที่ 1 ปี 2551 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2551 ซึ่งได้ผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีและคณะกรรมการตรวจสอบแล้วว่าบริษัทฯมีกำไรสุทธิ 8.06 ล้านบาท โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกินกว่า20% เมื่อเทียบกับที่ขาดทุน 15.69 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปี 2550
ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทมีรายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2551 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 52.48 ล้านบาท จาก28.99 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 81.04 เนื่องจากปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยทั้งตลาดต่อวันที่เพิ่มขึ้น เป็น 19,248 ล้านบาท จาก 12,003 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60.36 และส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.81 เป็นร้อยละ 0.88
นอกจากนี้ บริษัทยังมีรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30.14 จาก 5.50 ล้านบาท เป็น 7.15 ล้านบาท และดอกเบี้ยการปล่อยกู้มาร์จินเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.38 จาก 9.19 ล้านบาท เป็น 13.18 ล้านบาท
ขณะที่ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมไตรมาสที่ 1 ปี 2551 บริษัทสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาที่ 59.47 ล้านบาท