ผู้จัดการรายวัน - กมธ.ต่างประเทศ วุฒิสภา เตรียมร้องคณะกรรมการมรดกโลก-บัวแก้ว ค้านกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ระบุจะส่งผลให้ไทยเสียอำนาจการต่อรอง ด้านคณาจารย์ ข้าราชการ และนักศึกษานิด้า สุดทน ออกแถลงการณ์ ค้านการกระทำของรัฐบาล จวกปิดกั้นการรับรู้ของส่วนร่วม เสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน-อธิปไตยของชาติ ชี้"นพดล"และรัฐบาลไทยไม่โปร่งใส จงใจหมกมีผลประโยชน์ ประกาศเคลื่อนพลังนักศึกษาและคณาจารย์บุกทำเนียบฯ สมทบพันธมิตรวันนี้ ปธ.มรดกโลกไทยเดือด ลั่นต้องแก้สัญญา โถฝ่ายกองทัพเพิ่งตื่นแถลงด่วน หลังประเมินกระแสต่อต้านลุกลาม
หลังจากที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคัดค้านกรณี นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ได้ลงนามในบันทึกแสดงความยินยอมให้กัมพูชา ยื่นจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกต่อยูเนสโก แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องพื้นที่ทับซ้อน สุ่มเสี่ยงที่ไทยจะต้องเสียอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณดังกล่าว
เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ (19 มิ.ย.) ที่รัฐสภา ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การต่างประเทศ วุฒิสภา ซึ่งมีนางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก เป็นประธาน โดยที่ประชุมพิจารณาปัญหาแผนที่เขาพระวิหารฉบับใหม่ ที่กัมพูชานำเสนอต่อฝ่ายไทย ภายหลังการประชุม นางพิกุลแก้ว แถลงว่า รัฐบาลไม่ได้ทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จากการไม่ได้นำแถลงการณ์ร่วมเข้าสู่รัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ เนื่องจากน่าจะเข้าเป็นมาตรานี้ จึงเรียกร้องให้มีการเปิดเผยเอกสารดังกล่าวต่อสาธารณชน
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังห่วงใยพื้นที่นอกปราสาทพระวิหาร โดยถ้ามีการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารแล้ว อาจมีปัญหาเรื่องการปักปันเขตแดนของ 2 ฝ่ายได้ในอนาคต อีกทั้งเห็นว่าการดำเนินการเรื่องนี้ของ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ มีความเร่งรัด เร่งรีบ และไม่โปรงใส่ ซึ่งอาจมีเหตุผลอื่นแอบแฝง ที่ทำให้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว
ด้าน ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า กมธ.การต่างประเทศ มีมติจะเร่งทำคำร้อง เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกโดยผ่านองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) เพื่อขอให้ชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และควรยื่นขอขึ้นทะเบียนร่วมกัน ระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งต้องรวมองค์ประกอบทางฝ่ายไทยร่วมด้วย ทั้งสระตราว สถูปคู่ และภาพสลักนูน ต่ำผามออีแดง
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะทำหนังสือ เพื่อยื่นต่อกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อคัดค้านการสนับสนุนให้กัมพูชา ขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว เพราะการกระทำดังกล่าว กัมพูชาจะได้รับสิทธิประโยชน์และความได้เปรียบฝ่ายเดียว ขณะที่ไทยจะไม่สามารถได้สิทธิในการจดทะเบียนมรดกโลกในภายหลัง และไม่มีหลักประกันว่า ไทยจะได้สิทธิเทียบเท่ากับกัมพูชาในการบริหารพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหาร อีกทั้งจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการต่อรอง เพื่อย้ายชุมชนชาวกัมพูชาออกจากพื้นที่ของไทย รวมถึงจะกระทบอำนาจต่อรองของไทยในการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน และการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
คณาจารย์นิด้าจวกหมกเม็ดสัญญา
วานนี้ (19 มิ.ย.) เวลา 16.00 น. ที่หอประชุมใหญ่ ชั้น 9 อาคารวิทยบริการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) บรรดาคณาจารย์ ข้าราชการและนักศึกษานิด้า ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณี "ปราสาทพระวิหาร" โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
ในฐานะที่เราอยู่ในสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาประเทศ เรามีมุมมองต่อประเด็นปัญหาของสังคมในขณะนี้ โดยเฉพาะการที่ฝ่ายการเมืองไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร โดยปิดกั้นหรือหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมของสังคมไม่ให้รับรู้รายละเอียด เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน และอธิปไตยต่อประเทศ ประกอบกับรัฐบาลแสดงท่าที และมีเจตนาปิดกั้นการอภิปรายในรูปแบบใดๆ ในรัฐสภา ทำให้ประเด็นนี้ไม่สามารถได้รับการพิจารณาร่วมกันในระหว่างฝ่ายต่างๆได้
ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้สังคมทุกภาคส่วน ร่วมกันปฏิเสธการดำเนินการใดๆ ที่รัฐบาลทำกับประเทศกัมพูชา เราขอให้สถาบันการศึกษา สถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ออกมาปฏิเสธการดำเนินการครั้งนี้ของรัฐบาลอย่างกว้างขวาง และพร้อมเพรียงกัน
ทั้งนี้ ในการแถลงข่าวดังกล่าว คณาจารย์ และบุคลากรนิด้า ได้ลงนามร่วมกันคัดค้านการทำความร่วมมือของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาไว้ด้วย
อนึ่งนอกจากจะมีแถลงการณ์คัดค้านรัฐบาลแล้ว ในวันนี้ (20 มิ.ย.) นักศึกษาและคณาจารย์จำนวนหนึ่งจะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอคำชี้แจงจากคณะรัฐมนตรี และสมทบกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย (อ่านรายละเอียด...คณาจารย์-นศ.นิด้าจวก รบ.งุบงิบเขาพระวิหาร หน้า 14)
ปธ.มรดกโลกไทยลั่นต้องแก้สัญญา
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยว่าจากกรณีที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปลงนามสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า การกระทำเช่นนี้ แทบจะเป็นการปิดประตูลั่นดาลประเทศไทย ให้สูญเสียอธิปไตยบริเวณเขตพื้นที่อนุรักษ์รอบเขาพระวิหาร เพราะรัฐมนตรีต่างประเทศไปลงนามกับทูตกัมพูชาก็คือเป็นการตกลงระหว่างประเทศ ก็คือเป็นการลงนามของประเทศไทย และครม.รับรอง นั่นแปลว่าประเทศไทยยอมรับไปแล้ว (อ่านรายละเอียด ปธ.มรดกโลกไทยเดือดยกเขาพระวิหารให้เขมร ลั่นต้องแก้สัญญาหน้า 14)
"หมัก"คันปาก อยากด่าคนค้าน
ด้าน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในระหว่างการประชุม กอ.รมน. ถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน การที่ไทยยินยอมให้กัมพูชานำเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ว่า กรณีเขาพระวิหาร เป็นกรณีปิดปาก คือด่ากัน ถ้าตนจะออกไปด่าสักคำ เอาให้แสบเลยก็ได้ แต่พรรคพวกก็ติงไว้ว่า อย่าเพิ่ง งานที่ทำเรียบร้อย ตรวจสอบดูหมด นายทหารระดับสูง กรมการแผนที่ทหาร เป็นคนรับรอง เจ้าหน้าที่ดูแลหมด อธิบายให้ฟังชัดเจน ถ้าใครมีใจเป็นธรรม ก็จะเห็นเป็นอย่างนี้
"อย่างนี้ต้องย้อนให้ฟังเลยว่า ไอ้ที่เสียมาทั้งหมดนี้เป็นใคร ไม่ใช่ไอ้คณะที่ด่ากันอยู่ทุกวันนี้หรือ ไม่คิดถึงประวัติศาสตร์ ไอ้ที่เขาบอกว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง นักปราชญ์ได้รู้พลั้งแล้ว ก็เสียหาย เพราะคิดว่าตัวคิดถูก แล้วบอกว่าผิดจึงเสียแผ่นดินตรงนี้ไป โอ้โห 40 กว่าปี ก็ลืมกัน แต่นี่เราทำเรียบร้อย เพราะทางโน้นจะทำของเขา ที่จะขีดเส้น เราก็บอกว่า มีการทับซ้อน ก็ขอเอาออก แล้วไปเจรจากันที่ปารีส ขีดจนเหลือแต่บริเวณตรงนี้ เพื่อขอให้เอาขึ้นทะเบียน ให้ทำงานสำเร็จ เพราะจะเลือกตั้งก็เรื่องของเขา ที่ของเขา ที่ยกตัวอย่างให้ดู เพราะผมเองจะรับผิดชอบเรื่องนี้ แต่เขาก็ยับยั้งว่าอย่าเพิ่ง หาคนมาอธิบายให้เข้าใจ แต่อดรนทนไมได้ เพราะถ้าอะไรทำแล้วอยู่ในความดูแลของผม ผมอยู่แถวหน้า เป็นคนอธิบาย ผมเป็นคนอธิบายเรื่อง และอธิบายให้คนเข้าใจง่าย ผมรับผิดชอบตลอดมา"นายสมัคร กล่าว
ผบ.ทบ.ไม่เอาอะไรสักอย่าง
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า หลังจากปีพ.ศ. 2505 ตัวปราสาทเขาพระวิหาร เป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา จากการตัดสินของศาลโลก ขณะนี้ทางกัมพูชาขอนำเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของยูเนสโก ไม่ทราบว่าจะนำไปสู่การเสียดินแดนได้อย่างไร หรือไม่ แต่การขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารในขณะนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศ ได้พูดคุยกับกัมพูชาและได้ข้อยุติว่า ทางกัมพูชาจะนำเฉพาะตัวปราสาท ซึ่ง ติดกับขอบปราสาทเลย ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเท่านั้น
"ที่ว่านี้ ไม่ได้เข้าไปใกล้เส้นเขตแดนที่เรายึดถืออยู่ ผมเน้นว่า ที่เรายึดถืออยู่นั้น ไม่ได้เข้าไปใกล้เลย ฉะนั้นผมจึงไม่ทราบว่า จะไม่พึงพอใจในเรื่องใด อันนี้ก็พูดกันอย่างเปิดเผยว่า ถ้าเราจะขึ้นทะเบียนมรดกโลกของเราซักอย่าง ต้องให้ประเทศเพื่อนบ้านพอใจหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ เพราะเขาขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวเขาพระวิหารเท่านั้น ไม่เข้าไปใกล้เส้นเขตแดนที่เราถืออยู่ด้วย ส่วนที่ถามว่า จะมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนหรือไม่นั้น ผมไม่มีความรู้จริงๆว่าจะไปแลกเปลี่ยนเรื่องอะไร อย่างไร ผมไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะไม่ทราบ" ผบ.ทบ. กล่าว
เมื่อถามว่า ทำไมทางการถึงได้ปล่อยให้มีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถาวรในพื้นที่ทับซ้อน พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ยังไม่ถาวร แต่เป็นชั่วคราวโดยพื้นฐานที่เรายึดถือมา คือถ้าเราเป็นคนไทย และพูดถึงดินแดนตรงนี้ เราก็จะยกแผนที่เราขึ้นมาโดยมติ ครม. 2505 ที่ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ตรงอื่นเราถือแนวหน้าผาเป็นหลัก มองภาพกลับไปว่า ถ้ามองจากฝั่งกัมพูชาเขาก็จะยึดแผนที่ของเขา ซึ่งไม่ตรงกัน จุดที่ไม่ตรงกัน จึงเป็นพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมา ตรงนี้มีมานานแล้ว ไม่สามารถรื้อฟื้นขึ้นมาได้
ประเด็นที่มีราษฎรเขาเข้ามาเพราะว่านโยบายเดิมของรัฐบาลไทย ไม่ต้องการการเผชิญหน้า เราก็ใช้นโยบายละมุนละม่อมกับประเทศเพื่อนบ้านมาตลอด อย่างไรก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลสองฝ่ายในการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งข้อตกลงต้องเป็นผลประโยชน์ร่วมของสองฝ่าย คงไม่สามารถบอกว่าเราเสียดินแดน หรือเขาเสียดินแดน เพราะเราถือตามเส้นเรา เขาถือตามเส้นเขา คงต้องมีวิธี การที่ต้องบริหารจัดการกันในอนาคต
กองทัพแถลงด่วนไม่เสียดินแดน
เมื่อเวลา 17.00 น.วานนี้ พล.อ.ทรงกิตติ จักกบาตร์ เสธ.ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ได้เปิดแถลงข่าวด่วนถึงเรื่องนี้ว่า กองทัพขอยืนยันว่าแผนที่ดังกล่าวไม่ได้รุกล้ำอาณาเขต และบรูณภาพแห่งดินแดน ทางกรมแผนที่ทหาร เพื่อยืนยันความถูกต้องจำนวน 26 จุด เมื่อวันที่ 9-11 มิ.ย. 51 และได้ข้อสรุปยืนยันว่า แผนผังที่ฝ่ายกัมพูชาจะนำเขาพระวิหารไปเสนอเป็นมรดกโลกนั้น ไม่ได้กระทบหรือล่วงล้ำเข้ามาในดินแดน อธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดนของไทย
"ผลการสำรวจและยืนยันทั้งภาพภาคพื้นแนวดิ่ง และภาพถ่ายทางอากาศ ยืนยันได้ว่า การเสนอบริเวณปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดก มิได้มีผลกระทบและเกี่ยวพันต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน และราชอาณาจักรไทย เรายืนยันในส่วนของกองทัพว่า ไม่มีส่วนใดที่กัมพูชาจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ กองทัพไทยคงไม่ยินยอมให้ประเทศหนึ่งประเทศใด ใช้ดินแดนของเรา"
พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า การแถลงข่าวครั้งนี้ ทางกองทัพไม่ได้ปกป้องใคร หรือได้รับใบสั่งจาก รมว.ต่างประเทศ แต่อย่างใด แต่ที่ออกมาแถลงข่าวเนื่องจาก ขณะนี้มีภาพความสับสนของประชาชน เราจึงอยากจะยืนยันให้ประชาชนไม่สับสนในเรื่องนี้ ซึ่งตลอดทั้งวันตนได้รับโทรศัพท์สอบถามในเรื่องนี้ จึงได้ขออนุญาต ผบ.ทหารสูงสุด เพื่อมาแถลงข่าวทำความเข้าใจ
รับไม่มีการเคลียร์เรื่องคนเขมรบุกรุก
ด้านนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญายอมรับว่า ไม่ได้มีการตกลงกับกัมพูชา ในการเคลียร์พื้นที่ทับซ้อน ที่ฝ่ายกัมพูชาเข้าปลูกสิ่งปลูกสร้างว่า จะเคลียร์เสร็จเมื่อใด หรือต้องก่อนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแถลงข่าวครั้งนี้ ได้เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน โดยได้โทรศัพท์มาแจ้งผู้สื่อข่าวเมื่อเวลา 15.00 น. เพื่อแถลงข่าวใน เวลา 17.00 น. ซึ่งผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่าจะขอเลื่อนการแถลงข่าว ออกไปเป็นวันนี้ (20มิ.ย.) ได้หรือไม่ ซึ่งได้รับการปฏิเสธว่า ไม่สามารถเลื่อนได้ เพราะได้เตรียมการ และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมแถลงข่าวแล้ว และในการแถลงข่าวครั้งนี้มีนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญา และกฎหมายระหว่างประเทศ พล.ท.แดน มีชูอรรถ เจ้ากรมแผนที่ทหาร อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า การแถลงข่าวครั้งนี้มีความเร่งด่วน น่าจะมีใบสั่งมาจากทางรัฐบาลเพื่อให้ช่วยลดกระแสการมาชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรในวันนี้
"อลงกรณ์"เอาตำแหน่งเดิมพัน"นพดล"
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงจากกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ตนพร้อมรับคำท้าเดิมพันตำแหน่งกับ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ เพราะเชื่อมั่นว่า ได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องในฐานะส.ส. ที่คัดค้านการดำเนินการของ นายนพดล ที่ไปสนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ ได้กระทำการผิดพลาดฉกาจฉกรรจ์ ที่มีมติเห็นชอบแผนที่ของฝ่ายกัมพูชา ตามที่นายนพดลเสนอ เพราะมติครม.ดังกล่าว เท่ากับเป็นการสละสิทธิในอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารของไทยตลอดไป ทั้งที่ประเทศไทยได้สงวนสิทธิ์ ที่จะดำเนินการทางกฎหมายในการเรียกร้องอธิปไตยเหนือปราสาท พระวิหารกลับคืนมาในอนาคต ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2505 สิทธินี้ไม่มีอายุความ ไม่เกี่ยวกับการอุทธรณ์คดีศาลโลกใดๆ ทั้งสิ้น
"หากนายนพดล ยึดหลักอธิปไตยของชาติไทยไม่ใช่ชาติเขมรเป็นหลักในการดำเนินการ เรื่องนี้ก็คงไม่เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศของเรา ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต และคงไม่เสียค่าโง่ให้กับกัมพูชา" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว และจะเปิดแถลงข่าวเวลา 14.00 น.ในวันอาทิตย์ ที่จะถึงนี้ หลังจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย
ธรรมยาตราฯใกล้ถึงเขาพระวิหาร
ผู้สื่อข่าวรายางานความคืบหน้า กรณีองค์กรเครือข่าย และประชาชนชาวศรีสะเกษ นำโดย ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ขบวนศาสนาเพื่อมนุษยชาติ และคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ (คปศ.) ได้รวมตัวเดินเท้า "ธรรมยาตรา กอบกู้รักษาแผ่นดินไทย ในกรณีเขาพระวิหาร มณฑลบูรบา" จากหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหาร รวมระยะทาง 100 กม. เพื่อปักหลักชุมนุมใหญ่ ทวงคืนเขาพระวิหาร และขับไล่ชาวกัมพูชากว่า 500 คน ที่รุกล้ำเขตแดนไทยเข้ามาตั้งชุมชนสร้างบ้านเรือน ร้านค้า และวัด อยู่ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร
ล่าสุดช่วงเช้าวานนี้ (19 มิ.ย.) ขบวนธรรมยาตราฯ ได้เดินทางถึง บริเวณหลัก กม.ที่ 30 ถนนสายศรีสะเกษ-กันทรลักษ์ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งขบวนเดินเท้าธรรมยาตราฯ ได้เคลื่อนไปตามท้องถนนมุ่ง หน้าสู่เขาพระวิหารท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนจัด ด้วยความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งร่วมกันสวดมนต์ระหว่างเดินทางไปด้วย ขณะเดียวกันได้มีประชาชนชาวศรีสะเกษตาม 2 ข้างทางได้นำเอาข้าวปลาอาหาร น้ำดื่ม มามอบให้และได้เข้าร่วมขบวนเดินเพื่อแสดงพลังอย่างคึกคัก และคาดว่าจะสามารถเดินทางถึงเขาพระวิหาร ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเดินเท้าของขบวนธรรมยาตราฯครั้งนี้ ปรากฏว่าได้มีผู้มีอำนาจใน จ.ศรีสะเกษ ได้สั่งการให้เรียกนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (ผญบ.) ทุกคนในเขต อ.กันทรลักษ์ เข้าร่วมประชุมด่วน (19 มิ.ย. ) เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาเขาพระวิหาร และ คาดว่าจะมีการพยายามสกัดกั้นไม่ให้ชาว อ.กันทรลักษ์ เข้าร่วมเดินขบวน และชุมนุมที่เขาพระวิหาร ในครั้งนี้ด้วย แต่เชื่อว่าชาว อ.กันทรลักษ์ ส่วนมากไม่เห็นด้วย และจะพากันลุกฮือเข้าร่วมการเดินเท้า ไปปักหลักชุมนุมที่เขาพระวิหารกันเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน
หลังจากที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความคัดค้านกรณี นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ได้ลงนามในบันทึกแสดงความยินยอมให้กัมพูชา ยื่นจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกต่อยูเนสโก แต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆ ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องพื้นที่ทับซ้อน สุ่มเสี่ยงที่ไทยจะต้องเสียอธิปไตยเหนือดินแดนในบริเวณดังกล่าว
เมื่อเวลา 13.00 น.วานนี้ (19 มิ.ย.) ที่รัฐสภา ได้มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.) การต่างประเทศ วุฒิสภา ซึ่งมีนางพิกุลแก้ว ไกรฤกษ์ ส.ว.พิษณุโลก เป็นประธาน โดยที่ประชุมพิจารณาปัญหาแผนที่เขาพระวิหารฉบับใหม่ ที่กัมพูชานำเสนอต่อฝ่ายไทย ภายหลังการประชุม นางพิกุลแก้ว แถลงว่า รัฐบาลไม่ได้ทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จากการไม่ได้นำแถลงการณ์ร่วมเข้าสู่รัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ เนื่องจากน่าจะเข้าเป็นมาตรานี้ จึงเรียกร้องให้มีการเปิดเผยเอกสารดังกล่าวต่อสาธารณชน
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังห่วงใยพื้นที่นอกปราสาทพระวิหาร โดยถ้ามีการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารแล้ว อาจมีปัญหาเรื่องการปักปันเขตแดนของ 2 ฝ่ายได้ในอนาคต อีกทั้งเห็นว่าการดำเนินการเรื่องนี้ของ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ มีความเร่งรัด เร่งรีบ และไม่โปรงใส่ ซึ่งอาจมีเหตุผลอื่นแอบแฝง ที่ทำให้มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว
ด้าน ม.ร.ว.ปรียนันทนา รังสิต ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า กมธ.การต่างประเทศ มีมติจะเร่งทำคำร้อง เพื่อยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกโดยผ่านองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) เพื่อขอให้ชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และควรยื่นขอขึ้นทะเบียนร่วมกัน ระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งต้องรวมองค์ประกอบทางฝ่ายไทยร่วมด้วย ทั้งสระตราว สถูปคู่ และภาพสลักนูน ต่ำผามออีแดง
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ จะทำหนังสือ เพื่อยื่นต่อกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อคัดค้านการสนับสนุนให้กัมพูชา ขอจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว เพราะการกระทำดังกล่าว กัมพูชาจะได้รับสิทธิประโยชน์และความได้เปรียบฝ่ายเดียว ขณะที่ไทยจะไม่สามารถได้สิทธิในการจดทะเบียนมรดกโลกในภายหลัง และไม่มีหลักประกันว่า ไทยจะได้สิทธิเทียบเท่ากับกัมพูชาในการบริหารพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหาร อีกทั้งจะส่งผลกระทบต่ออำนาจในการต่อรอง เพื่อย้ายชุมชนชาวกัมพูชาออกจากพื้นที่ของไทย รวมถึงจะกระทบอำนาจต่อรองของไทยในการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน และการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
คณาจารย์นิด้าจวกหมกเม็ดสัญญา
วานนี้ (19 มิ.ย.) เวลา 16.00 น. ที่หอประชุมใหญ่ ชั้น 9 อาคารวิทยบริการ สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) บรรดาคณาจารย์ ข้าราชการและนักศึกษานิด้า ได้ออกแถลงการณ์ต่อกรณี "ปราสาทพระวิหาร" โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้
ในฐานะที่เราอยู่ในสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐมีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนาประเทศ เรามีมุมมองต่อประเด็นปัญหาของสังคมในขณะนี้ โดยเฉพาะการที่ฝ่ายการเมืองไปทำข้อตกลงเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร โดยปิดกั้นหรือหลีกเลี่ยงการมีส่วนร่วมของสังคมไม่ให้รับรู้รายละเอียด เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน และอธิปไตยต่อประเทศ ประกอบกับรัฐบาลแสดงท่าที และมีเจตนาปิดกั้นการอภิปรายในรูปแบบใดๆ ในรัฐสภา ทำให้ประเด็นนี้ไม่สามารถได้รับการพิจารณาร่วมกันในระหว่างฝ่ายต่างๆได้
ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้สังคมทุกภาคส่วน ร่วมกันปฏิเสธการดำเนินการใดๆ ที่รัฐบาลทำกับประเทศกัมพูชา เราขอให้สถาบันการศึกษา สถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ ออกมาปฏิเสธการดำเนินการครั้งนี้ของรัฐบาลอย่างกว้างขวาง และพร้อมเพรียงกัน
ทั้งนี้ ในการแถลงข่าวดังกล่าว คณาจารย์ และบุคลากรนิด้า ได้ลงนามร่วมกันคัดค้านการทำความร่วมมือของรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาไว้ด้วย
อนึ่งนอกจากจะมีแถลงการณ์คัดค้านรัฐบาลแล้ว ในวันนี้ (20 มิ.ย.) นักศึกษาและคณาจารย์จำนวนหนึ่งจะเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอคำชี้แจงจากคณะรัฐมนตรี และสมทบกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยด้วย (อ่านรายละเอียด...คณาจารย์-นศ.นิด้าจวก รบ.งุบงิบเขาพระวิหาร หน้า 14)
ปธ.มรดกโลกไทยลั่นต้องแก้สัญญา
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ประธานคณะกรรมการมรดกโลก เปิดเผยว่าจากกรณีที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปลงนามสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า การกระทำเช่นนี้ แทบจะเป็นการปิดประตูลั่นดาลประเทศไทย ให้สูญเสียอธิปไตยบริเวณเขตพื้นที่อนุรักษ์รอบเขาพระวิหาร เพราะรัฐมนตรีต่างประเทศไปลงนามกับทูตกัมพูชาก็คือเป็นการตกลงระหว่างประเทศ ก็คือเป็นการลงนามของประเทศไทย และครม.รับรอง นั่นแปลว่าประเทศไทยยอมรับไปแล้ว (อ่านรายละเอียด ปธ.มรดกโลกไทยเดือดยกเขาพระวิหารให้เขมร ลั่นต้องแก้สัญญาหน้า 14)
"หมัก"คันปาก อยากด่าคนค้าน
ด้าน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม กล่าวในระหว่างการประชุม กอ.รมน. ถึงกรณีที่หลายฝ่ายออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน การที่ไทยยินยอมให้กัมพูชานำเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ว่า กรณีเขาพระวิหาร เป็นกรณีปิดปาก คือด่ากัน ถ้าตนจะออกไปด่าสักคำ เอาให้แสบเลยก็ได้ แต่พรรคพวกก็ติงไว้ว่า อย่าเพิ่ง งานที่ทำเรียบร้อย ตรวจสอบดูหมด นายทหารระดับสูง กรมการแผนที่ทหาร เป็นคนรับรอง เจ้าหน้าที่ดูแลหมด อธิบายให้ฟังชัดเจน ถ้าใครมีใจเป็นธรรม ก็จะเห็นเป็นอย่างนี้
"อย่างนี้ต้องย้อนให้ฟังเลยว่า ไอ้ที่เสียมาทั้งหมดนี้เป็นใคร ไม่ใช่ไอ้คณะที่ด่ากันอยู่ทุกวันนี้หรือ ไม่คิดถึงประวัติศาสตร์ ไอ้ที่เขาบอกว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง นักปราชญ์ได้รู้พลั้งแล้ว ก็เสียหาย เพราะคิดว่าตัวคิดถูก แล้วบอกว่าผิดจึงเสียแผ่นดินตรงนี้ไป โอ้โห 40 กว่าปี ก็ลืมกัน แต่นี่เราทำเรียบร้อย เพราะทางโน้นจะทำของเขา ที่จะขีดเส้น เราก็บอกว่า มีการทับซ้อน ก็ขอเอาออก แล้วไปเจรจากันที่ปารีส ขีดจนเหลือแต่บริเวณตรงนี้ เพื่อขอให้เอาขึ้นทะเบียน ให้ทำงานสำเร็จ เพราะจะเลือกตั้งก็เรื่องของเขา ที่ของเขา ที่ยกตัวอย่างให้ดู เพราะผมเองจะรับผิดชอบเรื่องนี้ แต่เขาก็ยับยั้งว่าอย่าเพิ่ง หาคนมาอธิบายให้เข้าใจ แต่อดรนทนไมได้ เพราะถ้าอะไรทำแล้วอยู่ในความดูแลของผม ผมอยู่แถวหน้า เป็นคนอธิบาย ผมเป็นคนอธิบายเรื่อง และอธิบายให้คนเข้าใจง่าย ผมรับผิดชอบตลอดมา"นายสมัคร กล่าว
ผบ.ทบ.ไม่เอาอะไรสักอย่าง
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวว่า ต้องยอมรับว่า หลังจากปีพ.ศ. 2505 ตัวปราสาทเขาพระวิหาร เป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชา จากการตัดสินของศาลโลก ขณะนี้ทางกัมพูชาขอนำเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของยูเนสโก ไม่ทราบว่าจะนำไปสู่การเสียดินแดนได้อย่างไร หรือไม่ แต่การขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารในขณะนี้ ทางกระทรวงการต่างประเทศ ได้พูดคุยกับกัมพูชาและได้ข้อยุติว่า ทางกัมพูชาจะนำเฉพาะตัวปราสาท ซึ่ง ติดกับขอบปราสาทเลย ที่ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเท่านั้น
"ที่ว่านี้ ไม่ได้เข้าไปใกล้เส้นเขตแดนที่เรายึดถืออยู่ ผมเน้นว่า ที่เรายึดถืออยู่นั้น ไม่ได้เข้าไปใกล้เลย ฉะนั้นผมจึงไม่ทราบว่า จะไม่พึงพอใจในเรื่องใด อันนี้ก็พูดกันอย่างเปิดเผยว่า ถ้าเราจะขึ้นทะเบียนมรดกโลกของเราซักอย่าง ต้องให้ประเทศเพื่อนบ้านพอใจหรือไม่ ผมไม่แน่ใจ เพราะเขาขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวเขาพระวิหารเท่านั้น ไม่เข้าไปใกล้เส้นเขตแดนที่เราถืออยู่ด้วย ส่วนที่ถามว่า จะมีผลประโยชน์เข้าไปเกี่ยวข้องแลกเปลี่ยนหรือไม่นั้น ผมไม่มีความรู้จริงๆว่าจะไปแลกเปลี่ยนเรื่องอะไร อย่างไร ผมไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เพราะไม่ทราบ" ผบ.ทบ. กล่าว
เมื่อถามว่า ทำไมทางการถึงได้ปล่อยให้มีการปลูกสร้างที่อยู่อาศัยอย่างถาวรในพื้นที่ทับซ้อน พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ยังไม่ถาวร แต่เป็นชั่วคราวโดยพื้นฐานที่เรายึดถือมา คือถ้าเราเป็นคนไทย และพูดถึงดินแดนตรงนี้ เราก็จะยกแผนที่เราขึ้นมาโดยมติ ครม. 2505 ที่ตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา ตรงอื่นเราถือแนวหน้าผาเป็นหลัก มองภาพกลับไปว่า ถ้ามองจากฝั่งกัมพูชาเขาก็จะยึดแผนที่ของเขา ซึ่งไม่ตรงกัน จุดที่ไม่ตรงกัน จึงเป็นพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมา ตรงนี้มีมานานแล้ว ไม่สามารถรื้อฟื้นขึ้นมาได้
ประเด็นที่มีราษฎรเขาเข้ามาเพราะว่านโยบายเดิมของรัฐบาลไทย ไม่ต้องการการเผชิญหน้า เราก็ใช้นโยบายละมุนละม่อมกับประเทศเพื่อนบ้านมาตลอด อย่างไรก็ตาม ก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลสองฝ่ายในการแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งข้อตกลงต้องเป็นผลประโยชน์ร่วมของสองฝ่าย คงไม่สามารถบอกว่าเราเสียดินแดน หรือเขาเสียดินแดน เพราะเราถือตามเส้นเรา เขาถือตามเส้นเขา คงต้องมีวิธี การที่ต้องบริหารจัดการกันในอนาคต
กองทัพแถลงด่วนไม่เสียดินแดน
เมื่อเวลา 17.00 น.วานนี้ พล.อ.ทรงกิตติ จักกบาตร์ เสธ.ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย ได้เปิดแถลงข่าวด่วนถึงเรื่องนี้ว่า กองทัพขอยืนยันว่าแผนที่ดังกล่าวไม่ได้รุกล้ำอาณาเขต และบรูณภาพแห่งดินแดน ทางกรมแผนที่ทหาร เพื่อยืนยันความถูกต้องจำนวน 26 จุด เมื่อวันที่ 9-11 มิ.ย. 51 และได้ข้อสรุปยืนยันว่า แผนผังที่ฝ่ายกัมพูชาจะนำเขาพระวิหารไปเสนอเป็นมรดกโลกนั้น ไม่ได้กระทบหรือล่วงล้ำเข้ามาในดินแดน อธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดนของไทย
"ผลการสำรวจและยืนยันทั้งภาพภาคพื้นแนวดิ่ง และภาพถ่ายทางอากาศ ยืนยันได้ว่า การเสนอบริเวณปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดก มิได้มีผลกระทบและเกี่ยวพันต่ออธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน และราชอาณาจักรไทย เรายืนยันในส่วนของกองทัพว่า ไม่มีส่วนใดที่กัมพูชาจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ กองทัพไทยคงไม่ยินยอมให้ประเทศหนึ่งประเทศใด ใช้ดินแดนของเรา"
พล.อ.ทรงกิตติ กล่าวว่า การแถลงข่าวครั้งนี้ ทางกองทัพไม่ได้ปกป้องใคร หรือได้รับใบสั่งจาก รมว.ต่างประเทศ แต่อย่างใด แต่ที่ออกมาแถลงข่าวเนื่องจาก ขณะนี้มีภาพความสับสนของประชาชน เราจึงอยากจะยืนยันให้ประชาชนไม่สับสนในเรื่องนี้ ซึ่งตลอดทั้งวันตนได้รับโทรศัพท์สอบถามในเรื่องนี้ จึงได้ขออนุญาต ผบ.ทหารสูงสุด เพื่อมาแถลงข่าวทำความเข้าใจ
รับไม่มีการเคลียร์เรื่องคนเขมรบุกรุก
ด้านนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญายอมรับว่า ไม่ได้มีการตกลงกับกัมพูชา ในการเคลียร์พื้นที่ทับซ้อน ที่ฝ่ายกัมพูชาเข้าปลูกสิ่งปลูกสร้างว่า จะเคลียร์เสร็จเมื่อใด หรือต้องก่อนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การแถลงข่าวครั้งนี้ ได้เกิดขึ้นอย่างกระทันหัน โดยได้โทรศัพท์มาแจ้งผู้สื่อข่าวเมื่อเวลา 15.00 น. เพื่อแถลงข่าวใน เวลา 17.00 น. ซึ่งผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่าจะขอเลื่อนการแถลงข่าว ออกไปเป็นวันนี้ (20มิ.ย.) ได้หรือไม่ ซึ่งได้รับการปฏิเสธว่า ไม่สามารถเลื่อนได้ เพราะได้เตรียมการ และเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมแถลงข่าวแล้ว และในการแถลงข่าวครั้งนี้มีนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมสนธิสัญญา และกฎหมายระหว่างประเทศ พล.ท.แดน มีชูอรรถ เจ้ากรมแผนที่ทหาร อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสังเกตว่า การแถลงข่าวครั้งนี้มีความเร่งด่วน น่าจะมีใบสั่งมาจากทางรัฐบาลเพื่อให้ช่วยลดกระแสการมาชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรในวันนี้
"อลงกรณ์"เอาตำแหน่งเดิมพัน"นพดล"
นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้แจงจากกรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนว่า ตนพร้อมรับคำท้าเดิมพันตำแหน่งกับ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ เพราะเชื่อมั่นว่า ได้ทำหน้าที่อย่างถูกต้องในฐานะส.ส. ที่คัดค้านการดำเนินการของ นายนพดล ที่ไปสนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯ ได้กระทำการผิดพลาดฉกาจฉกรรจ์ ที่มีมติเห็นชอบแผนที่ของฝ่ายกัมพูชา ตามที่นายนพดลเสนอ เพราะมติครม.ดังกล่าว เท่ากับเป็นการสละสิทธิในอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารของไทยตลอดไป ทั้งที่ประเทศไทยได้สงวนสิทธิ์ ที่จะดำเนินการทางกฎหมายในการเรียกร้องอธิปไตยเหนือปราสาท พระวิหารกลับคืนมาในอนาคต ตั้งแต่วันที่ 13 ก.ค. 2505 สิทธินี้ไม่มีอายุความ ไม่เกี่ยวกับการอุทธรณ์คดีศาลโลกใดๆ ทั้งสิ้น
"หากนายนพดล ยึดหลักอธิปไตยของชาติไทยไม่ใช่ชาติเขมรเป็นหลักในการดำเนินการ เรื่องนี้ก็คงไม่เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศของเรา ทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต และคงไม่เสียค่าโง่ให้กับกัมพูชา" รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว และจะเปิดแถลงข่าวเวลา 14.00 น.ในวันอาทิตย์ ที่จะถึงนี้ หลังจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย
ธรรมยาตราฯใกล้ถึงเขาพระวิหาร
ผู้สื่อข่าวรายางานความคืบหน้า กรณีองค์กรเครือข่าย และประชาชนชาวศรีสะเกษ นำโดย ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ ขบวนศาสนาเพื่อมนุษยชาติ และคณะกรรมการประสานงานเพื่อพัฒนาจังหวัดศรีสะเกษ (คปศ.) ได้รวมตัวเดินเท้า "ธรรมยาตรา กอบกู้รักษาแผ่นดินไทย ในกรณีเขาพระวิหาร มณฑลบูรบา" จากหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมืองศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. มุ่งหน้าสู่เขาพระวิหาร รวมระยะทาง 100 กม. เพื่อปักหลักชุมนุมใหญ่ ทวงคืนเขาพระวิหาร และขับไล่ชาวกัมพูชากว่า 500 คน ที่รุกล้ำเขตแดนไทยเข้ามาตั้งชุมชนสร้างบ้านเรือน ร้านค้า และวัด อยู่ที่บริเวณเชิงเขาพระวิหาร
ล่าสุดช่วงเช้าวานนี้ (19 มิ.ย.) ขบวนธรรมยาตราฯ ได้เดินทางถึง บริเวณหลัก กม.ที่ 30 ถนนสายศรีสะเกษ-กันทรลักษ์ อ.ศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งขบวนเดินเท้าธรรมยาตราฯ ได้เคลื่อนไปตามท้องถนนมุ่ง หน้าสู่เขาพระวิหารท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนจัด ด้วยความสงบเรียบร้อย พร้อมทั้งร่วมกันสวดมนต์ระหว่างเดินทางไปด้วย ขณะเดียวกันได้มีประชาชนชาวศรีสะเกษตาม 2 ข้างทางได้นำเอาข้าวปลาอาหาร น้ำดื่ม มามอบให้และได้เข้าร่วมขบวนเดินเพื่อแสดงพลังอย่างคึกคัก และคาดว่าจะสามารถเดินทางถึงเขาพระวิหาร ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเดินเท้าของขบวนธรรมยาตราฯครั้งนี้ ปรากฏว่าได้มีผู้มีอำนาจใน จ.ศรีสะเกษ ได้สั่งการให้เรียกนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน (ผญบ.) ทุกคนในเขต อ.กันทรลักษ์ เข้าร่วมประชุมด่วน (19 มิ.ย. ) เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาเขาพระวิหาร และ คาดว่าจะมีการพยายามสกัดกั้นไม่ให้ชาว อ.กันทรลักษ์ เข้าร่วมเดินขบวน และชุมนุมที่เขาพระวิหาร ในครั้งนี้ด้วย แต่เชื่อว่าชาว อ.กันทรลักษ์ ส่วนมากไม่เห็นด้วย และจะพากันลุกฮือเข้าร่วมการเดินเท้า ไปปักหลักชุมนุมที่เขาพระวิหารกันเป็นจำนวนมากอย่างแน่นอน