เอเอฟพี - มาร์ติน ซัลลิแวน อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร(ซีอีโอ) ของ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) น่าจะได้รับเงินชดเชยที่ถูกให้ออกจากตำแหน่งเป็นเงินถึง 68 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตามรายงานเมื่อวันอังคาร(17) ของกลุ่มเฝ้าจับตามองภาคบรรษัทในสหรัฐฯ
กลุ่มคอร์ปอเรต ไลบรารี ซึ่งคอยจับตาตรวจสอบบริษัทต่างๆ ในด้านธรรมาภิบาลและผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่พนักงานของบริษัท ประเมินว่าซัลลิแวนน่าจะได้รับเงินชดเชยจำนวนดังกล่าว โดยใช้ระเบียบเรื่องเงินชดเชยการถูกให้ออกจากตำแหน่งของบรรดาผู้บริหารของเอไอจี รวมทั้งหนังสือชี้แจงที่เอไอจีส่งให้แก่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ(เอสอีซี) ซึ่งมีรายละเอียดค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัท มาเป็นพื้นฐานในการคำนวณ
ซัลลิแวนถูกปลดออกจากตำแหน่งซีอีโอเมื่อวันอาทิตย์(15)ที่ผ่านมา หลังจากเอไอจีรายงานผลขาดทุนไตรมาสแรกปีนี้ 7,810 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ และบีบให้เอไอจีจำต้องระดมเม็ดเงินเพิ่มอีก 20,000 ล้านดอลลาร์เพื่อนำมาประคับประคองฐานะงบดุลของบริษัท
จากข้อมูลของคอร์ปอเรต ไลบรารี เงินที่ซัลลิแวนจะได้ ประกอบด้วยโบนัสที่เป็นเงินสด 26.6 ล้านดอลลาร์, เงินรางวัลที่เป็นหุ้นอีก 21.9 ล้านดอลลาร์ และอีก 14 ล้านดอลลาร์จากแผนการชดเชยการออกจากงานของบริษัท ซึ่งจะรวมเอาเงินสะสมสำหรับเกษียณ,รายได้, และผลตอบแทนจากการทำประกันเอาไว้
ทางด้านโฆษกกลุ่มเอไอจี ปฎิเสธที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ โดยกล่าวเพียงแต่ว่าเงินชดเชยการออกจากงานของซัลลิแวนอยู่ภายใต้สัญญาที่เซ็นตอนเข้ารับตำแหน่งซีอีโอ
แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับกรณีดังกล่าวให้ความคิดเห็นว่า ตัวเลข 68 ล้านดอลลาร์ น่าจะสูงเกินความจริง ที่ซัลลิแวนได้รับน่าจะอยู่ราว ๆ 35-50 ล้านดอลลาร์มากกว่า แต่ตัวเลขสุดท้ายชัดๆ นั้นยังไม่ได้มีการคำนวณออกมากัน
อย่างไรก็ตาม หากว่าซัลลิแวนได้รับเงินชดเชยจำนวนนี้จริง ก็จะยังคงเป็นซีอีโอที่ออกจากตำแหน่งรายล่าสุดที่ได้รับเงินชดเชยเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มผู้ถือหุ้นที่เป็นนักเคลื่อนไหวตรวจสอบความโปร่งใสของบริษัท รวมทั้งจากบรรดาสมาชิกรัฐสภา และอีกหลายๆ ฝ่าย
กลุ่มคอร์ปอเรต ไลบรารีกล่าวเงินชดเชยของซัลลิแวน “เป็นเงาสะท้อนการลาออกหรือถูกปลดออกจากตำแหน่งของซีอีโอคนอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการขาดทุนในตราสารซับไพรม์ เช่น ชาร์ลส์ ปรินซ์ ของซิติกรุ๊ปก็ได้ไปเงินดชดชเยถึง 40 ล้านดอลลาร์ที่ออกจากตำแหน่งไปเพราะบริษัทต้องประกาศผลขาดทุนกว่า24,000 ล้านดอลลาร์ หรือ สแตนลีย์ โอ’นีล แห่งเมอร์ริลลินช์ ที่ได้เงินชดเชยไปถึงกว่า 160 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่บริษัทต้องตัดยอดขาดทุนไป 23,000 ล้านดอลลาร์”
เมื่อปี 2007 บ๊อบ นาร์เดลลี่ ก็จาก โฮม ดีโป้ ไปพร้อมกับเงินชดเชยสูงถึง 210 ล้านดอลลาร์ ส่วน เอดเวิร์ด วิทเอเคอร์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของเอทีแอนด์ที ได้รับเงิน 158.5 ล้านดอลลาร์ไปใช้หลังเกษียณ และในปี 2003 ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นครั้งใหญ่เมื่อจ่ายเงินให้แก่ดิ๊ก กราสโซ่ อดีตซีอีโอที่เกษียณอายุไปเป็นเงินถึง 140 ล้านดอลลาร์
ในช่วงที่ซัลลิแวนเข้ามารับหน้าที่เป็นซีอีโออยู่ 3 ปีนั้น นับเป็นห้วงเวลาสาหัสสำหรับเอไอจี เพราะว่าต้องบันทึกผลขาดทุนสูงสุดและราคาหุ้นก็ร่วงลงอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเผชิญกับการสอบสวนของทางการสหรัฐฯเรื่องความไม่โปร่งใสด้วย ผลการขาดทุนหนักหน่วงได้ทำให้คณะกรรมการบริหารบริษัทต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ และหลังจากประชุมลับก็มีประกาศออกมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาให้ซัลลิแวนออกจากตำแหน่ง แต่งตั้งโรเบิร์ต วิลลัมสตัด วัย 62 เข้ามาแทนเขา
วิลลัมสตัดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทของเอไอจีมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2006 และก็ให้คำมั่นวาเขาจะควบคุมดูแลบริษัทอย่างเข้มงวดมากขึ้นเพราะตอนนี้เอไอจีต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อฟื้นฟูบริษัทให้กลับสู่สถานะเดิม
ซัลลิแวนนั้นถือเป็นลูกหม้อของเอไอจี เขาเข้าทำงานที่บริษัทนี้ตั้งแต่อายุ 17 ปีและเข้ารับตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายบริหารในปี 2005 เมื่อแฮงค์ กรีนเบิร์ก ซีอีโอคนก่อนหน้าลาออกในระหว่างที่บริษัทกำลังเผชิญหน้ากับการตรวจสอบเรื่องความโปร่งใสของการทำบัญชีจากทางการสหรัฐฯ
กลุ่มคอร์ปอเรต ไลบรารี ซึ่งคอยจับตาตรวจสอบบริษัทต่างๆ ในด้านธรรมาภิบาลและผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่พนักงานของบริษัท ประเมินว่าซัลลิแวนน่าจะได้รับเงินชดเชยจำนวนดังกล่าว โดยใช้ระเบียบเรื่องเงินชดเชยการถูกให้ออกจากตำแหน่งของบรรดาผู้บริหารของเอไอจี รวมทั้งหนังสือชี้แจงที่เอไอจีส่งให้แก่คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ(เอสอีซี) ซึ่งมีรายละเอียดค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัท มาเป็นพื้นฐานในการคำนวณ
ซัลลิแวนถูกปลดออกจากตำแหน่งซีอีโอเมื่อวันอาทิตย์(15)ที่ผ่านมา หลังจากเอไอจีรายงานผลขาดทุนไตรมาสแรกปีนี้ 7,810 ล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทประกันภัยรายใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ และบีบให้เอไอจีจำต้องระดมเม็ดเงินเพิ่มอีก 20,000 ล้านดอลลาร์เพื่อนำมาประคับประคองฐานะงบดุลของบริษัท
จากข้อมูลของคอร์ปอเรต ไลบรารี เงินที่ซัลลิแวนจะได้ ประกอบด้วยโบนัสที่เป็นเงินสด 26.6 ล้านดอลลาร์, เงินรางวัลที่เป็นหุ้นอีก 21.9 ล้านดอลลาร์ และอีก 14 ล้านดอลลาร์จากแผนการชดเชยการออกจากงานของบริษัท ซึ่งจะรวมเอาเงินสะสมสำหรับเกษียณ,รายได้, และผลตอบแทนจากการทำประกันเอาไว้
ทางด้านโฆษกกลุ่มเอไอจี ปฎิเสธที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ โดยกล่าวเพียงแต่ว่าเงินชดเชยการออกจากงานของซัลลิแวนอยู่ภายใต้สัญญาที่เซ็นตอนเข้ารับตำแหน่งซีอีโอ
แหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับกรณีดังกล่าวให้ความคิดเห็นว่า ตัวเลข 68 ล้านดอลลาร์ น่าจะสูงเกินความจริง ที่ซัลลิแวนได้รับน่าจะอยู่ราว ๆ 35-50 ล้านดอลลาร์มากกว่า แต่ตัวเลขสุดท้ายชัดๆ นั้นยังไม่ได้มีการคำนวณออกมากัน
อย่างไรก็ตาม หากว่าซัลลิแวนได้รับเงินชดเชยจำนวนนี้จริง ก็จะยังคงเป็นซีอีโอที่ออกจากตำแหน่งรายล่าสุดที่ได้รับเงินชดเชยเป็นจำนวนมหาศาล ซึ่งทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มผู้ถือหุ้นที่เป็นนักเคลื่อนไหวตรวจสอบความโปร่งใสของบริษัท รวมทั้งจากบรรดาสมาชิกรัฐสภา และอีกหลายๆ ฝ่าย
กลุ่มคอร์ปอเรต ไลบรารีกล่าวเงินชดเชยของซัลลิแวน “เป็นเงาสะท้อนการลาออกหรือถูกปลดออกจากตำแหน่งของซีอีโอคนอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการขาดทุนในตราสารซับไพรม์ เช่น ชาร์ลส์ ปรินซ์ ของซิติกรุ๊ปก็ได้ไปเงินดชดชเยถึง 40 ล้านดอลลาร์ที่ออกจากตำแหน่งไปเพราะบริษัทต้องประกาศผลขาดทุนกว่า24,000 ล้านดอลลาร์ หรือ สแตนลีย์ โอ’นีล แห่งเมอร์ริลลินช์ ที่ได้เงินชดเชยไปถึงกว่า 160 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่บริษัทต้องตัดยอดขาดทุนไป 23,000 ล้านดอลลาร์”
เมื่อปี 2007 บ๊อบ นาร์เดลลี่ ก็จาก โฮม ดีโป้ ไปพร้อมกับเงินชดเชยสูงถึง 210 ล้านดอลลาร์ ส่วน เอดเวิร์ด วิทเอเคอร์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของเอทีแอนด์ที ได้รับเงิน 158.5 ล้านดอลลาร์ไปใช้หลังเกษียณ และในปี 2003 ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กก็ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ขึ้นครั้งใหญ่เมื่อจ่ายเงินให้แก่ดิ๊ก กราสโซ่ อดีตซีอีโอที่เกษียณอายุไปเป็นเงินถึง 140 ล้านดอลลาร์
ในช่วงที่ซัลลิแวนเข้ามารับหน้าที่เป็นซีอีโออยู่ 3 ปีนั้น นับเป็นห้วงเวลาสาหัสสำหรับเอไอจี เพราะว่าต้องบันทึกผลขาดทุนสูงสุดและราคาหุ้นก็ร่วงลงอย่างต่อเนื่องรวมทั้งเผชิญกับการสอบสวนของทางการสหรัฐฯเรื่องความไม่โปร่งใสด้วย ผลการขาดทุนหนักหน่วงได้ทำให้คณะกรรมการบริหารบริษัทต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ และหลังจากประชุมลับก็มีประกาศออกมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาให้ซัลลิแวนออกจากตำแหน่ง แต่งตั้งโรเบิร์ต วิลลัมสตัด วัย 62 เข้ามาแทนเขา
วิลลัมสตัดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทของเอไอจีมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2006 และก็ให้คำมั่นวาเขาจะควบคุมดูแลบริษัทอย่างเข้มงวดมากขึ้นเพราะตอนนี้เอไอจีต้องทุ่มเททุกอย่างเพื่อฟื้นฟูบริษัทให้กลับสู่สถานะเดิม
ซัลลิแวนนั้นถือเป็นลูกหม้อของเอไอจี เขาเข้าทำงานที่บริษัทนี้ตั้งแต่อายุ 17 ปีและเข้ารับตำแหน่งสูงสุดในฝ่ายบริหารในปี 2005 เมื่อแฮงค์ กรีนเบิร์ก ซีอีโอคนก่อนหน้าลาออกในระหว่างที่บริษัทกำลังเผชิญหน้ากับการตรวจสอบเรื่องความโปร่งใสของการทำบัญชีจากทางการสหรัฐฯ