รอยเตอร์ - อเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป อิงค์ (เอไอจี) เครือบริษัทประกันภัยใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศเมื่อวันอาทิตย์(15)ที่ผ่านมา แต่งตั้งซีอีโอคนใหม่แทนคนเดิม หลังจากที่ขาดทุนมโหฬารติดต่อกันมาสองไตรมาส จากการลงทุนในตราสารสินเชื่อที่อยู่อาศัยความเสี่ยงสูง รวมทั้งการที่ราคาหุ้นของบริษัทลดฮวบลงมากว่าครึ่งหนึ่งในรอบปีที่ผ่านมา
มาร์ติน ซัลลิแวน ผู้พ้นจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอไอจีคราวนี้ นับเป็นบิ๊กบอสวอลล์สตรีทรายล่าสุด ที่ต้องสูญเสียเก้าอี้จากการขาดทุนมหาศาล เพราะการลงทุนทำนองเดียวกัน โดยก่อนหน้านี้ ก็มีอาทิ ชาร์ลส์ พรินซ์ ซึ่งกระเด็นจากตำแหน่งซีอีโอของซิตี้กรุ๊ป และ สแตน โอนีล ที่ต้องอำลาเก้าอี้ซีอีโอของเมอร์ริลล์ลินช์
ก่อนหน้าการประกาศหลายสัปดาห์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอไอจีต่างก็ผลักดันให้ปลดซัลลิแวนออกจากตำแหน่ง เพราะความไม่พอใจที่บริษัทต้องขาดทุนสูงเป็นประวัติการณ์สองไตรมาสติดกัน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการลดมูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารซับไพรม์ลงตามราคาตลาดมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์
สำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอแทนซัลลิแวนก็คือ โรเบิร์ต วิลลัมสตัด ที่ดำรงตำแหน่งประธานของเอไอจีอยู่ก่อนแล้ว การแต่งตั้งเขาเป็นซีอีโอมีผลทันทีนับจากประกาศ
เมื่อได้รับการแต่งตั้ง วิลลัมสตัดกล่าวว่าเขาจะประกาศแผนการฟื้นเอไอจีในต้นเดือนกันยายน
นอกจากนั้น วิลลัมสตัดยังแจกแจงว่า สิ่งแรกที่เขาจะทำก็คือไปพบกับบรรดาหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกัน, บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งบรรดาผู้จัดการกองทุนลงทุนให้ทรัพย์สินชั้นนำทั่วโลกในช่วงสามเดือนจากนี้ไป อีกทั้งเขายังจะรีบหาประธานฝ่ายการเงินคนใหม่เข้ามาแทนสตีเวน เบนซิงเกอร์ที่ลาออกไปเมื่อไตรมาสที่แล้ว โดยตอนนี้บริษัทก็กำลังพิจารณาคนนอกที่มีประสบการณ์ด้านการเงินอยู่
บรรดากรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทอย่างเช่น จอร์จ ไมลส์ ประธานคณะกรรมการเสนอชื่อและธรรมาภิบาลของเอไอจี ต่างออกมาบอกว่าการแต่งตั้งวิลเลมสตัดเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะเขามีความชำนาญในเรื่องการเงินอย่างยิ่ง และตอนนี้บริษัทก็กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการเงินร้ายแรง
เมื่อเดือนที่แล้ว เอไอจีประกาศผลขาดทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์รอบ 89 ปีของบริษัท ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือทางการเงินในบางด้านของบริษัทถูกลดอันดับลงมา อีกทั้งบังคับให้เอไอจีต้องระดมเพิ่มทุนราว 20,000 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ ซัลลิแวนถูกกล่าวโทษว่าต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ แม้จะมีนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งเห็นว่าเขาเป็นแค่แพะรับบาปเพราะว่าการลงทุนในตราสารซับไพรม์จำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นในสมัยของ มัวรีซ “แฮงก์” กรีนเบิร์ก ซีอีโอคนก่อนหน้าเขา ซึ่งครองอำนาจอยู่ในเอไอจียาวนานหลายสิบปี รวมทั้งเวลานี้ก็ยังมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่ง
นักวิเคราะห์เห็นกันว่า วิลลัมสตัด ซีอีโอคนใหม่ซึ่งมีอายุ 62 ปี ก็จะต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก โดยเขาจะต้องทำให้ราคาหุ้นของเอไอจีที่ตกฮวบไปกลับขึ้นมาอีก รวมทั้งจะต้องให้ข้อมูลอย่างแน่ชัดว่าบริษัทสูญเสียเงินสดไปมากเท่าไรในการตัดมูลค่าสินทรัพย์อันเนื่องมาจากการลงทุนในตราสารซัลไพรม์หลายครั้ง
ในขณะเดียวกัน เอไอจีก็กำลังถูกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (เอสอีซี) สอบสวน เนื่องจากบริษัทต้องสงสัยว่าอาจจะบันทึกมูลค่าตราสารอนุพันธ์ที่ไปลงทุนไว้สูงเกินกว่าราคาจริง จนเป็นเหตุให้ในที่สุดต้องลดมูลค่าลงมามาก
ซัลลิแวน ซึ่งปัจจุบันอายุ 53 ปี และเป็นลูกหม้อทำงานกับเอไอจีตั้งแต่วัย 17 ในตำแหน่งเสมียนที่สาขาของบริษัทในกรุงลอนดอน เข้ารับตำแหน่งซีอีโอต่อจากกรีนเบิร์กในปี 2005 ภายหลังจากอัยการมลรัฐนิวยอร์ก และเอสอีซี กล่าวหากรีนเบิร์กและบริษัทว่า มีการประพฤติมิชอบทางการเงิน
ก่อนหน้าที่จะเกิดการขาดดุลจำนวนมหาศาลขึ้น ซัลลิแวนนั้นได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นเป็นอย่างดี เพราะเขาได้นำเอไอจีผ่านกระบวนการต่อรองอันยากลำบากกับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหลาย จนทำให้ได้ข้อสรุปว่าเอไอจีจะจ่ายเงิน 1,640 ล้านดอลลาร์เพื่อการประนีประนอมยอมความไม่ต้องถูกฟ้องศาลในข้อหา มีพฤติกรรมฉ้อโกง, ทำบัญชีแบบไม่เหมาะสม รวมทั้งฮั้วประมูล นับเป็นการจ่ายเงินประนอมยอมความในคดีด้านระเบียบกฎหมายที่มีวงเงินสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
เมื่อวันศุกร์ราคาปิดของเอไอจีนั้นอยู่ที่ 34.18 ดอลลาร์ต่อหุ้น ทั้ง ๆที่เมื่อ 1 ปีก่อนราคาอยู่ที่ 72.91 ดอลลาร์ต่อหุ้น
มาร์ติน ซัลลิแวน ผู้พ้นจากตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของเอไอจีคราวนี้ นับเป็นบิ๊กบอสวอลล์สตรีทรายล่าสุด ที่ต้องสูญเสียเก้าอี้จากการขาดทุนมหาศาล เพราะการลงทุนทำนองเดียวกัน โดยก่อนหน้านี้ ก็มีอาทิ ชาร์ลส์ พรินซ์ ซึ่งกระเด็นจากตำแหน่งซีอีโอของซิตี้กรุ๊ป และ สแตน โอนีล ที่ต้องอำลาเก้าอี้ซีอีโอของเมอร์ริลล์ลินช์
ก่อนหน้าการประกาศหลายสัปดาห์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ของเอไอจีต่างก็ผลักดันให้ปลดซัลลิแวนออกจากตำแหน่ง เพราะความไม่พอใจที่บริษัทต้องขาดทุนสูงเป็นประวัติการณ์สองไตรมาสติดกัน ซึ่งเกิดขึ้นมาจากการลดมูลค่าทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารซับไพรม์ลงตามราคาตลาดมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์
สำหรับผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอแทนซัลลิแวนก็คือ โรเบิร์ต วิลลัมสตัด ที่ดำรงตำแหน่งประธานของเอไอจีอยู่ก่อนแล้ว การแต่งตั้งเขาเป็นซีอีโอมีผลทันทีนับจากประกาศ
เมื่อได้รับการแต่งตั้ง วิลลัมสตัดกล่าวว่าเขาจะประกาศแผนการฟื้นเอไอจีในต้นเดือนกันยายน
นอกจากนั้น วิลลัมสตัดยังแจกแจงว่า สิ่งแรกที่เขาจะทำก็คือไปพบกับบรรดาหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกัน, บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ รวมทั้งบรรดาผู้จัดการกองทุนลงทุนให้ทรัพย์สินชั้นนำทั่วโลกในช่วงสามเดือนจากนี้ไป อีกทั้งเขายังจะรีบหาประธานฝ่ายการเงินคนใหม่เข้ามาแทนสตีเวน เบนซิงเกอร์ที่ลาออกไปเมื่อไตรมาสที่แล้ว โดยตอนนี้บริษัทก็กำลังพิจารณาคนนอกที่มีประสบการณ์ด้านการเงินอยู่
บรรดากรรมการบริหารและผู้บริหารระดับสูงของบริษัทอย่างเช่น จอร์จ ไมลส์ ประธานคณะกรรมการเสนอชื่อและธรรมาภิบาลของเอไอจี ต่างออกมาบอกว่าการแต่งตั้งวิลเลมสตัดเป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะเขามีความชำนาญในเรื่องการเงินอย่างยิ่ง และตอนนี้บริษัทก็กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาการเงินร้ายแรง
เมื่อเดือนที่แล้ว เอไอจีประกาศผลขาดทุนสูงสุดในประวัติศาสตร์รอบ 89 ปีของบริษัท ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือทางการเงินในบางด้านของบริษัทถูกลดอันดับลงมา อีกทั้งบังคับให้เอไอจีต้องระดมเพิ่มทุนราว 20,000 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ ซัลลิแวนถูกกล่าวโทษว่าต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ แม้จะมีนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งเห็นว่าเขาเป็นแค่แพะรับบาปเพราะว่าการลงทุนในตราสารซับไพรม์จำนวนไม่น้อยเกิดขึ้นในสมัยของ มัวรีซ “แฮงก์” กรีนเบิร์ก ซีอีโอคนก่อนหน้าเขา ซึ่งครองอำนาจอยู่ในเอไอจียาวนานหลายสิบปี รวมทั้งเวลานี้ก็ยังมีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่รายหนึ่ง
นักวิเคราะห์เห็นกันว่า วิลลัมสตัด ซีอีโอคนใหม่ซึ่งมีอายุ 62 ปี ก็จะต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างหนัก โดยเขาจะต้องทำให้ราคาหุ้นของเอไอจีที่ตกฮวบไปกลับขึ้นมาอีก รวมทั้งจะต้องให้ข้อมูลอย่างแน่ชัดว่าบริษัทสูญเสียเงินสดไปมากเท่าไรในการตัดมูลค่าสินทรัพย์อันเนื่องมาจากการลงทุนในตราสารซัลไพรม์หลายครั้ง
ในขณะเดียวกัน เอไอจีก็กำลังถูกคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (เอสอีซี) สอบสวน เนื่องจากบริษัทต้องสงสัยว่าอาจจะบันทึกมูลค่าตราสารอนุพันธ์ที่ไปลงทุนไว้สูงเกินกว่าราคาจริง จนเป็นเหตุให้ในที่สุดต้องลดมูลค่าลงมามาก
ซัลลิแวน ซึ่งปัจจุบันอายุ 53 ปี และเป็นลูกหม้อทำงานกับเอไอจีตั้งแต่วัย 17 ในตำแหน่งเสมียนที่สาขาของบริษัทในกรุงลอนดอน เข้ารับตำแหน่งซีอีโอต่อจากกรีนเบิร์กในปี 2005 ภายหลังจากอัยการมลรัฐนิวยอร์ก และเอสอีซี กล่าวหากรีนเบิร์กและบริษัทว่า มีการประพฤติมิชอบทางการเงิน
ก่อนหน้าที่จะเกิดการขาดดุลจำนวนมหาศาลขึ้น ซัลลิแวนนั้นได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นเป็นอย่างดี เพราะเขาได้นำเอไอจีผ่านกระบวนการต่อรองอันยากลำบากกับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหลาย จนทำให้ได้ข้อสรุปว่าเอไอจีจะจ่ายเงิน 1,640 ล้านดอลลาร์เพื่อการประนีประนอมยอมความไม่ต้องถูกฟ้องศาลในข้อหา มีพฤติกรรมฉ้อโกง, ทำบัญชีแบบไม่เหมาะสม รวมทั้งฮั้วประมูล นับเป็นการจ่ายเงินประนอมยอมความในคดีด้านระเบียบกฎหมายที่มีวงเงินสูงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ
เมื่อวันศุกร์ราคาปิดของเอไอจีนั้นอยู่ที่ 34.18 ดอลลาร์ต่อหุ้น ทั้ง ๆที่เมื่อ 1 ปีก่อนราคาอยู่ที่ 72.91 ดอลลาร์ต่อหุ้น