“สมัคร” ยึดอำนาจ “มิ่งขวัญ” เบ็ดเสร็จ ฉีกหน้าซ้ำอีก ตัด“พาณิชย์”พ้นดูแลข้าว ไม่ให้รับผิดชอบทั้งรับจำนำ สีแปร และระบาย รวมไปถึงข้าวในสต๊อกที่มีอยู่ทั้งหมด เอาไปให้ธ.ก.ส.และสำนักนายกรัฐมนตรีดูแลแทน ฉีกมติครม.วันที่ 10 มิ.ย. ที่อนุมัติไว้อีกอย่าง จับตาหาความสำราญค่าคอมมิชชั่นขายข้าวในสต๊อกรัฐบาลให้ดี หลังไร้ก้างขวางคอ
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการข้าวควบวงจร โดยนายสมัคร เป็นประธาน นายสุรพงษ์ สีบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นรองประธาน โดยมีรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นกรรมการ 19 ราย
ขณะเดียวกัน ยังได้ตั้งคณะกรรมการอีก 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดแรก คณะกรรมการรับจำนำ โดยนายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธ.ก.ส. เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากธ.ก.ส. กรมบัญชีกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชุดสอง คณะกรรมการแปรสภาพและจัดเก็บข้าว มีนายสุทัศน์ สุทันกิตระ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง ธ.ก.ส. องค์การคลังสินค้า ระดับซี 9 และซี 5 ชุดที่สาม คณะกรรมการจัดจำหน่ายและระบายข้าว มีนายนัที เปรมรัศมี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ธ.ก.ส. กรมบัญชีกลาง ตัวแทนกระทรวงพาณิชย์ระดับซี 8
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าว เท่ากับงานดูแลข้าวและบริหารจัดการข้าว พ้นอำนาจและความรับชอบของกระทรวงพาณิชย์ทันที ทั้งๆ ที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ชุดแรก คณะทำงานพิจารณาและจัดการรับจำนำข้าว มีผู้จัดการธ.ก.ส. เป็นประธาน ชุดที่สอง คณะทำงานพิจารณาสีแปรสภาพข้าวเปลือก มีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน และชุดที่สาม คณะทำงานพิจารณาจำหน่ายข้าวสาร มีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน
“คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นการตัดกระทรวงพาณิชย์ออกจากวงจรรับจำนำข้าว และไม่ให้ดูแลข้าวอีกต่อไป เพราะกรรมการที่ตั้งมาใหม่ เรื่องจำนำให้ธ.ก.ส.ดูแล การสีแปร และการระบาย ให้สำนักนายกรัฐมนตรีดูแล ทั้งๆ ที่อดีตที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์ดูแล”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนมติครม.วันที่ 10 มิ.ย.อย่างชัดเจน แต่ไม่รู้ว่าทำไมนายสมัครถึงได้ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงมติครม.ด้วยตนเอง
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในวงการค้าข้าวกำลังจับตามองและมีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการดูแลข้าวในแต่ละส่วนว่าอาจมีอะไรที่แอบแฝงทางการเมืองหรือไม่ และต้องการกดดันนายมิ่งขวัญทางการเมืองหรือเปล่า เพราะการยึดอำนาจไปดูแลทั้งหมด ตั้งแต่การรับจำนำ การสีแปร และการระบาย ต้องการจะทำอะไร จะหาประโยชน์จากข้าวในสต๊อกรัฐบาลหรือไม่
ประเด็นที่น่าสงสัย โดยเฉพาะการระบายข้าว ได้ระบุอำนาจหน้าที่ไว้ว่าต้องจัดจำหน่ายข้าวที่รับจำนำของธ.ก.ส. และข้าวที่อยู่ในสต๊อกอื่นๆ ของรัฐบาล พร้อมติดต่อเจรจาผู้ซื้อข้าวทั้งภายในและต่างประเทศ โดยประสานกับคณะกรรมการปฎิบัติการตามพ.ร.บ.การค้าข้าว พ.ศ. 2498 สามารถแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฎิบัติงานได้ หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินการต้องเสนอนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการ
เท่ากับว่าคณะกรรมการชุดนี้จะได้ดูแลข้าวตามเป้าหมายรับจำนำนาปรังที่เริ่มในวันที่ 15 มิ.ย. จำนวน 2.5 ล้านตัน และข้าวในสต๊อกอีก 2.1 ล้านตัน ทั้งๆ ที่ตามเดิม นายมิ่งขวัญ เสนอครม.เก็บเป็นเซฟตี้สต๊อกเพื่อความมั่นคงของประเทศและนำบางส่วนมาบรรจุถุงขายแต่ต้องดำรงสต๊อกเท่าเดิม
แหล่งข่าว กล่าวว่า การยึดอำนาจในการระบายข้าว จะทำให้สามารถหาผลประโยชน์จากการนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลไปขายได้อย่างชอบธรรม ถือเป็นความพยายามในการนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลไปหาผลประโยชน์อีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้ พยายามที่จะยึดอำนาจการขายข้าวในรูปรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ แต่เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการออกมาในรูปแบบนี้ เท่ากับว่า จะขายให้ใคร จะขายยังไง จะเจรจาค่าคอมมิชชั่นกันยังไงก็ได้ กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถเข้าไปรับรู้ได้อีกต่อไป
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการข้าวควบวงจร โดยนายสมัคร เป็นประธาน นายสุรพงษ์ สีบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง กับนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ เป็นรองประธาน โดยมีรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นกรรมการ 19 ราย
ขณะเดียวกัน ยังได้ตั้งคณะกรรมการอีก 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดแรก คณะกรรมการรับจำนำ โดยนายธีรพงษ์ ตั้งธีระสุนันท์ ผู้จัดการธ.ก.ส. เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยตัวแทนจากธ.ก.ส. กรมบัญชีกลาง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชุดสอง คณะกรรมการแปรสภาพและจัดเก็บข้าว มีนายสุทัศน์ สุทันกิตระ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง ธ.ก.ส. องค์การคลังสินค้า ระดับซี 9 และซี 5 ชุดที่สาม คณะกรรมการจัดจำหน่ายและระบายข้าว มีนายนัที เปรมรัศมี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน กรรมการประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ธ.ก.ส. กรมบัญชีกลาง ตัวแทนกระทรวงพาณิชย์ระดับซี 8
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า คำสั่งดังกล่าว เท่ากับงานดูแลข้าวและบริหารจัดการข้าว พ้นอำนาจและความรับชอบของกระทรวงพาณิชย์ทันที ทั้งๆ ที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มิ.ย.ได้มีมติแต่งตั้งคณะทำงาน 3 ชุด ชุดแรก คณะทำงานพิจารณาและจัดการรับจำนำข้าว มีผู้จัดการธ.ก.ส. เป็นประธาน ชุดที่สอง คณะทำงานพิจารณาสีแปรสภาพข้าวเปลือก มีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน และชุดที่สาม คณะทำงานพิจารณาจำหน่ายข้าวสาร มีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน
“คำสั่งนายกรัฐมนตรีดังกล่าว เป็นการตัดกระทรวงพาณิชย์ออกจากวงจรรับจำนำข้าว และไม่ให้ดูแลข้าวอีกต่อไป เพราะกรรมการที่ตั้งมาใหม่ เรื่องจำนำให้ธ.ก.ส.ดูแล การสีแปร และการระบาย ให้สำนักนายกรัฐมนตรีดูแล ทั้งๆ ที่อดีตที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่กระทรวงพาณิชย์ดูแล”แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า คำสั่งดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนมติครม.วันที่ 10 มิ.ย.อย่างชัดเจน แต่ไม่รู้ว่าทำไมนายสมัครถึงได้ออกคำสั่งเปลี่ยนแปลงมติครม.ด้วยตนเอง
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ในวงการค้าข้าวกำลังจับตามองและมีความกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการดูแลข้าวในแต่ละส่วนว่าอาจมีอะไรที่แอบแฝงทางการเมืองหรือไม่ และต้องการกดดันนายมิ่งขวัญทางการเมืองหรือเปล่า เพราะการยึดอำนาจไปดูแลทั้งหมด ตั้งแต่การรับจำนำ การสีแปร และการระบาย ต้องการจะทำอะไร จะหาประโยชน์จากข้าวในสต๊อกรัฐบาลหรือไม่
ประเด็นที่น่าสงสัย โดยเฉพาะการระบายข้าว ได้ระบุอำนาจหน้าที่ไว้ว่าต้องจัดจำหน่ายข้าวที่รับจำนำของธ.ก.ส. และข้าวที่อยู่ในสต๊อกอื่นๆ ของรัฐบาล พร้อมติดต่อเจรจาผู้ซื้อข้าวทั้งภายในและต่างประเทศ โดยประสานกับคณะกรรมการปฎิบัติการตามพ.ร.บ.การค้าข้าว พ.ศ. 2498 สามารถแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฎิบัติงานได้ หากมีปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินการต้องเสนอนายกรัฐมนตรีวินิจฉัยหรือสั่งการ
เท่ากับว่าคณะกรรมการชุดนี้จะได้ดูแลข้าวตามเป้าหมายรับจำนำนาปรังที่เริ่มในวันที่ 15 มิ.ย. จำนวน 2.5 ล้านตัน และข้าวในสต๊อกอีก 2.1 ล้านตัน ทั้งๆ ที่ตามเดิม นายมิ่งขวัญ เสนอครม.เก็บเป็นเซฟตี้สต๊อกเพื่อความมั่นคงของประเทศและนำบางส่วนมาบรรจุถุงขายแต่ต้องดำรงสต๊อกเท่าเดิม
แหล่งข่าว กล่าวว่า การยึดอำนาจในการระบายข้าว จะทำให้สามารถหาผลประโยชน์จากการนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลไปขายได้อย่างชอบธรรม ถือเป็นความพยายามในการนำข้าวในสต๊อกรัฐบาลไปหาผลประโยชน์อีกครั้ง จากที่ก่อนหน้านี้ พยายามที่จะยึดอำนาจการขายข้าวในรูปรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ไม่สำเร็จ แต่เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการออกมาในรูปแบบนี้ เท่ากับว่า จะขายให้ใคร จะขายยังไง จะเจรจาค่าคอมมิชชั่นกันยังไงก็ได้ กระทรวงพาณิชย์ไม่สามารถเข้าไปรับรู้ได้อีกต่อไป