รอยเตอร์ – ทั้งธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด), ธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี) และธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (บีโออี) ต่างพากันออกมาเคลื่อนไหวเมื่อวานนี้(17) เพื่อลดทอนกระแสความคาดหมายอย่างแรงกล้าในตลาดการเงินที่ว่า จะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยกันอย่างดุดันเพื่อต่อสู้ต้านทานอัตราเงินเฟ้อซึ่งกำลังพุ่งลิ่ว ปรากฏว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ทำให้นักลงทุนพากันโล่งอก และส่งผลให้ราคาหุ้นและพันธบัตรขยับสูงขึ้น
ความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนแรกสุดนั้นมาจากพวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของเฟด ซึ่งได้แยกกันเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ธุรกิจระหว่างประเทศอันทรงอิทธิพล 2 ฉบับว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯไม่น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ถึงแม้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อกำลังเลวร้ายลงก็ตามที
รายงานข่าวเรื่องนี้ ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ฉบับวานนี้ ทั้งของไฟแนนเชียลไทมส์ และ วอลล์สตรีทเจอร์นัล โดยต่างก็อ้าง “พวกเจ้าหน้าที่เฟด” เป็นแหล่งข่าว รวมทั้งบอกด้วยว่า การที่ตลาดการเงินคาดเก็งกันว่า เฟดอาจจะขยับขึ้นดอกเบี้ยกันหลายๆ รอบทีเดียวในปีนี้นั้น น่าจะเป็นเรื่องที่คาดกันเกินเลยความจริงไปมาก
“พวกเขา (พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของเฟด) ไม่ได้โต้แย้งในเรื่องที่ว่า ความเคลื่อนไหวต่อไปในอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯนั้นน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดว่าจะเป็นการขยับขึ้น แต่พวกเขารู้สึกว่าตลาดอาจจะไปให้ราคากับการเข้มงวดมากขึ้นดังกล่าวนี้ เอาไว้มากเกินไปแล้วและรวดเร็วเกินไปด้วย” รายงานข่าวของไฟแนนเชียลไทมส์บอก
ส่วนข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัลกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) คราวต่อไปที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า “ไม่น่าที่จะไปไกลมากถึงขั้นเป็นการยืนยันความคาดหมายต่างๆ ในตลาดในเรื่องที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยกันตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้แล้ว”
ทั้งนี้ในตลาดการเงินมีการวางเดิมพันกันมาก อย่างน้อยก็จนกระทั่งถึงเมื่อวันจันทร์(16) ว่าเฟดจะขึ้นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต จากระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 2.0% ไปอีก 0.25% ในเดือนสิงหาคม แล้วขยับเพิ่มอีกสลึงหนึ่งในเดือนตุลาคม
ข่าวของหนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลทั้งสองฉบับวานนี้ ส่งผลให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเพิ่มขึ้น (และผลตอบแทน-yield ของพันธบัตรซึ่งย่อมต้องเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม ก็ลดต่ำลงมา) ตลอดจนทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงด้วย
แต่เงินดอลลาร์ก็อ่อนลงได้เพียงจำกัดเท่านั้น เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่อาวุโสหลายคนของธนาคารกลางยุโรป ออกมาแสดงความเห็นแบบ “พิราบ” ทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของอีซีบี
โดยสื่ออิตาเลียนรายงานคำพูดของ ลอเรนโซ บินิ สมาจี สมาชิกบอร์ดบริหารคนหนึ่งของอีซีบี ที่กล่าวว่า ธนาคารกลางยุโรปขึ้นดอกเบี้ยไปสัก 0.25% ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของแถบยูโรโซน ถอยกลับลงไปต่ำกว่าระดับ 2% ในช่วง 18-24 เดือนข้างหน้า
พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่า คำพูดของ บินิ สมาจี คราวนี้ ซึ่งเปลี่ยนไปจากน้ำเสียงของพวกเจ้าหน้าที่อาวุโสอีซีบีตอนต้นเดือนนี้ ที่เตือนว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายกันแน่ๆ ในเดือนกรกฎาคม น่าจะเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า อีซีบีก็เช่นเดียวกับธนาคารกลางแห่งอื่นๆ ที่กำลังประสบความลำบากในการตัดสินใจว่าจะรับมืออย่างไรจึงจะเหมาะสม ในเมื่อเศรษฐกิจมหภาคมีทั้งสัญญาณเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่อัตราเติบโตก็ชะลอตัวลงด้วย
ทางด้านอังกฤษก็เช่นกัน ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมจะอยู่ที่ระดับ 3.3% ซึ่งสูงกว่าที่คาดหมายกัน อีกทั้งสูงเกินเป้าหมาย 2.0% ที่ทางธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะรู้สึกสบายใจ ทว่าเมื่อวานนี้ ได้มีการเปิดเผยจดหมายที่ เมอร์วิน คิง ผู้ว่าการบีโออี เขียนถึงรัฐบาล ซึ่งระบุว่า แม้กระทั่งเงินเฟ้อปีนี้พุ่งเกิน 4% เพราะราคาน้ำมันและอาหารพุ่งลิ่ว แต่บีโออีก็ตั้งเป้าที่จะทำให้เงินเฟ้อค่อยๆ กลับคืนสู่เป้าหมายไม่เกิน 2% กันในช่วงเวลา 2 ปี
ความเคลื่อนไหวที่ชัดเจนแรกสุดนั้นมาจากพวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของเฟด ซึ่งได้แยกกันเปิดเผยกับหนังสือพิมพ์ธุรกิจระหว่างประเทศอันทรงอิทธิพล 2 ฉบับว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯไม่น่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้า ถึงแม้ทิศทางของอัตราเงินเฟ้อกำลังเลวร้ายลงก็ตามที
รายงานข่าวเรื่องนี้ ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ฉบับวานนี้ ทั้งของไฟแนนเชียลไทมส์ และ วอลล์สตรีทเจอร์นัล โดยต่างก็อ้าง “พวกเจ้าหน้าที่เฟด” เป็นแหล่งข่าว รวมทั้งบอกด้วยว่า การที่ตลาดการเงินคาดเก็งกันว่า เฟดอาจจะขยับขึ้นดอกเบี้ยกันหลายๆ รอบทีเดียวในปีนี้นั้น น่าจะเป็นเรื่องที่คาดกันเกินเลยความจริงไปมาก
“พวกเขา (พวกเจ้าหน้าที่อาวุโสของเฟด) ไม่ได้โต้แย้งในเรื่องที่ว่า ความเคลื่อนไหวต่อไปในอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯนั้นน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดว่าจะเป็นการขยับขึ้น แต่พวกเขารู้สึกว่าตลาดอาจจะไปให้ราคากับการเข้มงวดมากขึ้นดังกล่าวนี้ เอาไว้มากเกินไปแล้วและรวดเร็วเกินไปด้วย” รายงานข่าวของไฟแนนเชียลไทมส์บอก
ส่วนข่าวของวอลล์สตรีทเจอร์นัลกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟด (เอฟโอเอ็มซี) คราวต่อไปที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า “ไม่น่าที่จะไปไกลมากถึงขั้นเป็นการยืนยันความคาดหมายต่างๆ ในตลาดในเรื่องที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยกันตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้แล้ว”
ทั้งนี้ในตลาดการเงินมีการวางเดิมพันกันมาก อย่างน้อยก็จนกระทั่งถึงเมื่อวันจันทร์(16) ว่าเฟดจะขึ้นเป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เฟดฟันด์เรต จากระดับปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 2.0% ไปอีก 0.25% ในเดือนสิงหาคม แล้วขยับเพิ่มอีกสลึงหนึ่งในเดือนตุลาคม
ข่าวของหนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลทั้งสองฉบับวานนี้ ส่งผลให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯเพิ่มขึ้น (และผลตอบแทน-yield ของพันธบัตรซึ่งย่อมต้องเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้าม ก็ลดต่ำลงมา) ตลอดจนทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงด้วย
แต่เงินดอลลาร์ก็อ่อนลงได้เพียงจำกัดเท่านั้น เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่อาวุโสหลายคนของธนาคารกลางยุโรป ออกมาแสดงความเห็นแบบ “พิราบ” ทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของอีซีบี
โดยสื่ออิตาเลียนรายงานคำพูดของ ลอเรนโซ บินิ สมาจี สมาชิกบอร์ดบริหารคนหนึ่งของอีซีบี ที่กล่าวว่า ธนาคารกลางยุโรปขึ้นดอกเบี้ยไปสัก 0.25% ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ที่จะทำให้อัตราเงินเฟ้อของแถบยูโรโซน ถอยกลับลงไปต่ำกว่าระดับ 2% ในช่วง 18-24 เดือนข้างหน้า
พวกนักเศรษฐศาสตร์มองว่า คำพูดของ บินิ สมาจี คราวนี้ ซึ่งเปลี่ยนไปจากน้ำเสียงของพวกเจ้าหน้าที่อาวุโสอีซีบีตอนต้นเดือนนี้ ที่เตือนว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายกันแน่ๆ ในเดือนกรกฎาคม น่าจะเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่า อีซีบีก็เช่นเดียวกับธนาคารกลางแห่งอื่นๆ ที่กำลังประสบความลำบากในการตัดสินใจว่าจะรับมืออย่างไรจึงจะเหมาะสม ในเมื่อเศรษฐกิจมหภาคมีทั้งสัญญาณเงินเฟ้อสูงขึ้น แต่อัตราเติบโตก็ชะลอตัวลงด้วย
ทางด้านอังกฤษก็เช่นกัน ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อในเดือนพฤษภาคมจะอยู่ที่ระดับ 3.3% ซึ่งสูงกว่าที่คาดหมายกัน อีกทั้งสูงเกินเป้าหมาย 2.0% ที่ทางธนาคารแห่งประเทศอังกฤษจะรู้สึกสบายใจ ทว่าเมื่อวานนี้ ได้มีการเปิดเผยจดหมายที่ เมอร์วิน คิง ผู้ว่าการบีโออี เขียนถึงรัฐบาล ซึ่งระบุว่า แม้กระทั่งเงินเฟ้อปีนี้พุ่งเกิน 4% เพราะราคาน้ำมันและอาหารพุ่งลิ่ว แต่บีโออีก็ตั้งเป้าที่จะทำให้เงินเฟ้อค่อยๆ กลับคืนสู่เป้าหมายไม่เกิน 2% กันในช่วงเวลา 2 ปี