ผู้จัดการรายวัน – บล.ฟิลลิป คาดวอลุ่มตลาดหุ้นไทยหด 5-10 % ช่วง 2-3 เดือนนี้ เหตุรายย่อยชะลอเทรดหุ้นจาก ตลท.บังคับใช้วางเงินสด100% ซื้อหุ้นเทิร์นโอเวอร์ลิตส์สูง 1 ก.ค.นี้ -วางมาร์จิ้นเพิ่มเป็น 15% จากเดิม 10% และจากการไม่ต้องวางเงินสดสูง ส่งผลนักลงทุนรายใหญ่ดันหุ้นยาก ทิสโก้-สินเอเซีย เผยไม่ได้รับผลจากเกณฑ์ที่ออก ขณะดัชนีหุ้นไทยวานนี้ปิดต่ำสุดรอบ 5 เดือน โดยปิดที่ 784.23 จุด โบรกฯ ชี้ผลจากภาวะเงินเฟ้อและดอกเบี้ย รวมทั้งราคาน้ำมัน
นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มูลค่าการซื้อขาย(วอลุ่ม)ตลาดรวมจะปรับตัวลดลง 5-10% ในช่วงเดือนกรกฎาคมและต่อเนื่องไปอีก 2 เดือน เนื่องจาก การที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้บังคับใช้ให้นักลงทุนมีการวางเงินสดล่วงหน้ากับบริษัทหลักทรัพย์เต็มจำนวนที่จะซื้อหลักทรัพย์ก่อนการซื้อหลักทรัพย์ (บัญชี แคลช บลาลานซ์) ในกรณีที่หุ้นนั้นเข้าข่ายเป็นหุ้นที่มีอัตราการวื้อขายหมุนเวียนสูงอิงตามเกณฑ์(เทิร์นโอเวอร์ลิสต์)ของก.ล.ต.ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ 1 กรกฎาคมนี้
รวมถึงการที่ให้บล.มีการเรียกให้ลูกค้ามีการวางสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ก่อนการซื้อขายไม่ต่ำกว่า 15% จากเดิมไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยวอลุ่มที่ลดลงนั้นเกิดจากนักลงทุนรายย่อยชะลอการลงทุน เพราะไม่ต้องการที่จะวางเงินสดสูง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของการที่มีการออกเกณฑ์ใหม่ๆ โดยจากนี้ไป จะทำให้นักลงทุนรายใหญ่ดันราคาหุ้นลำบากมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่นักลงทุนรายย่อยไม่เข้าไปซื้อหุ้นตามในหุ้นที่มีเทิร์นโอเวอร์ลิสต์สูง
"นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่จะลงทุนในหุ้นเก็งกำไร หากหุ้นดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวหวือหวา และจากที่เริ่มให้มีการวางเงินสด100% ลงทุนในหุ้นเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ นั้น จะทำให้นักลงทุนรายย่อยชะลอลงทุนในหุ้นดังกล่าว ทำให้วอลุ่มลดลง 5-10% ช่วงไตรมาส 3 ซึ่งถือว่าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 หากไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา คาดว่าวอลุ่มจะลดลงในช่วง 2-3 เดือน หลังจาทกนั้นตลาดหุ้นและวอลุ่มก็น่าจะฟื้นตัว" นายสุชาย กล่าว
ทั้งนี้ในช่วงที่มีข่าวการบังคับขายหุ้น(ฟลอสเซลล์)ทำให้ราคาหุ้นหลายบริษัทปรับตัวลดลงมามาก เป็นผลจากนักลงทุนรายใหญ่มีการปรับพอร์ตการลงทุน ในหุ้นที่เข้าข่ายติดเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ออกมา เพราะกังวลว่าหากถือไว้แล้ว เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ บังคับใช้เกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์ แล้วจะทำให้ขายหุ้นออกมาลำบาก จึงเป็นเหตุให้ต้องขายหุ้นออกมาก่อน
นายสุชาย กล่าวว่า บริษัทมีฐานนักลงทุนรายย่อยในสัดส่วนที่สูง จะได้รับผลกระทบจากวอลุ่มตลาดรวมลดลง ทำให้วอลุ่มการซื้อขายของบล.ฟิลลิป ลดลงเช่นกัน 10-15% จากขณะนี้ที่มีมูลค่าการซื้อขายต่อวันที่ 800-1,000 ล้านบาท และการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จิ้นโลน)ของบริษัทจะลดลงเหลือ 15-20% จากเดิมอยู่ที่ 20-30%
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทไม่ได้บังคับขายหุ้น แต่จะเป็นการเรียกมาร์จิ้นเพิ่มเท่านั้น ซึ่งมีลูกค้าประมาณ 7-8 ราย มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 3-10 ล้านบาท ที่ยอมขายหุ้นออกมาโดยที่ไม่นำเงินมาวางเพิ่มขึ้น ซึ่งมากที่สุดที่นักลงทุนขายออกมาคือ บริษัท ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ TUCC มูลค่า 10 ล้านบาท ซึ่งการปล่อยมาร์จิ้นของบริษัทจะเป็นการให้ระยะสั้น หากลูกค้าไม่มีการขายหุ้นออกมาบริษัทก็จะเตือน และหากไม่ขายมาอีกก็จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย หรือเพิ่มค่าคอมมิชชั่นเพื่อที่จะทำให้ลูกค้ามีการขายหุ้นออกมา
สำหรับ ขณะนี้บริษัทเตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อที่จะเพิ่มพอร์ตการลงทุนในหุ้น อีก 100 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มลงทุนใน 1-2 เดือนนี้ จากเดิมที่มีการเทรดอนุพันธ์ อยู่ 200 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าสิ้นปีนี้พอร์ตการลงทุนรวมบริษัทจะเพิ่มเป็น 300 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทจะขยับไปอยู่ที่ 3% ได้
**ทิสโก้-สินเอเซีย ไม่ได้รับผลเกณฑ์ใหม่
นายไพบูลย์ นรินทรางกูล กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ นำหลักเกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์ (Turnover List) มาใช้ในวันที่ 1 ก.ค. 51 เนื่องจากสัดส่วนลูกค้าของบริษัทเป็นนักลงทุนสถาบันถึง 60% และนักลงทุนรายย่อย 40% ซึ่งในสัดส่วนนักลงทุนรายย่อย 40% นั้น ก็จะเลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐาน และไม่ลงทุนในหุ้นเก็งกำไร ทำให้บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้
ขณะที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนำหลักเกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์มาใช้ กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องให้ลูกค้าวางเงินสดไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนที่จะซื้อหลักทรัพย์นั้น (บัญชี Cash Balance) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 รอบการประกาศรายชื่อ สำหรับหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศว่าเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่านับเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการควบคุมหุ้นที่เข้าข่ายมีคนเก็งกำไร และเป็นการปกป้องนักลงทุนรายย่อย ด้วยการเตือนว่าหุ้นในรายชื่อที่ประกาศออกมามีความผิดปกติ ขณะเดียวกันนักลงทุนที่จะเข้าไปซื้อก็ต้องใช้
เงินมากขึ้น ไม่ให้นักลงทุนรายย่อยลงทุนเกินตัว ซึ่งน่าจะลดความเสี่ยงของนักลงทุนรายย่อยได้ และช่วยให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนน้อยลง
นายวิบูลย์ เพิ่มอารยวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บล.สินเอเซีย กล่าวว่า บริษัทเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้หลักเกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทไม่ได้เล่นหุ้นเก็งกำไร ส่วนการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้จะได้ผลหรือไม่ ต้องติดตามต่อไป แต่นับเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะปกป้องนักลงทุน
**ดัชนีหุ้นไทยปิดต่ำสุดรอบ 5เดือน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ปิดต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน นับจาก 31 ม.ค. 51 โดยปิดที่ระดับ 784.23 จุด ส่วนมูลค่าการซื้อขายต่ำสุดเพียง 11,790.03 ล้านบาท นับจาก 1 เม.ย. 51 โดยภาวะการลงทุนตลาดหุ้นไทยวานนี้ (17 มิ.ย.) ดัชนีปิดที่ 777.17 จุด ปรับตัวลดลง 10.42 จุด คิดเป็น 1.32% โดยระหว่างวันทำจุดสูงสุดที่ 786.62 จุด และมีจุดต่ำสุดที่ 775.06 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 11,989.75 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,424.72 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 514.64 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,910.08 ล้านบาท
นางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงอีกครั้ง หลังจากวันจันทร์ดีดกลับได้เล็กน้อย โดยสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง คือ ความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่ชัดดเจน เป็นประเด็นที่คาใจนักลงทุนอยู่ รวมถึงความกังวลว่าจะมีบทสรุปเป็นอย่างไร ซึ่งทั้งหมดยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นช่วงนี้
ขณะที่มีประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนเพิ่มเข้ามา หลังจากมหาวิทยาลัยเหรินหมิน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน ได้ออกมากล่าวว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจีนช่วงครึ่งปีหลังจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน ถ่านหินลดลง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการปรับฐานของสินค้าโภคภัณฑ์ และในช่วงครึ่งปีหลังราคาอาจจะอ่อนตัวลง ส่งผลให้มีแรงขายในหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา จากโครงสร้างตลาดหุ้นไทยที่กลุ่มพลังงานมีน้ำหนักมาก ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงมากกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นภูมิภาค
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ เชื่อว่าตลาดมีลักษณะ Sideway Down หากรีบาวน์กลับได้ก็จะเป็นไปอย่างจำกัด โดยประเมินแนวรับที่ 760-770 จุด แนวต้านแรกที่ 780 จุด ถ้าผ่านไปได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 800 จุด โดยประเด็นที่ต้องติดตาม คือ ราคาน้ำมันดิบ ตลาดหุ้นต่างประเทศ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ข้อมูลเศรษฐกิจแต่ละประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสดเป็นส่วนใหญ่ หากจำเป็นต้องเทรดให้เลือกเล่นหุ้นดีเฟนซีฟ
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง และความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ หลังราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากเหตุเพลิงไหม้ที่แท่นขุดเจาะน้ำมันก๊าซโอเซเบิร์กในทะเลเหนือ จนขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 139 เหรียญ/บาร์เรลล์ ก่อนจะมีแรงขายออกมา เนื่องจากซาอุดิอาระเบียจะปรับเพิ่ม
โดยปริมาณผลิตน้ำมันดิบ 5.5 แสนบาร์เรลล์ต่อวันสู่ 9.7 ล้านบาร์เรลล์ ตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นไป เมื่อรวมกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ของอังกฤษที่ 3.3% ซึ่งนับเป็นจุดสูงสุดในรอบ 11 ปี นับจากพ.ค.1997 เป็นต้นมา ทำให้เกิดความกังวลว่าธนาคารกลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของประธานธนาคารกลางยุโรปที่ออกมากล่าวก่อนหน้านี้ว่าอาจจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ซึ่งหากทั้งธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางอังกฤษปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยจะกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ คาดว่าทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้อาจจะรีบาวน์กลับได้เล็กน้อย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ราคาน้ำมันดิบ และทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยประเมินแนวรับที่ 764-770 จุด แนวต้านที่ 780-787 จุด โดยประเด็นที่ต้องติดตามนอกเหนือจากที่กล่าวมาคือ ตัวเลขเศรษฐกิจแต่ละประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสด รอตลาดนิ่ง เช่นเดียวกับผู้ที่มีหุ้นอยู่ แนะนำถือต่อ รอดูสถานการณ์ก่อน
นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มูลค่าการซื้อขาย(วอลุ่ม)ตลาดรวมจะปรับตัวลดลง 5-10% ในช่วงเดือนกรกฎาคมและต่อเนื่องไปอีก 2 เดือน เนื่องจาก การที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้บังคับใช้ให้นักลงทุนมีการวางเงินสดล่วงหน้ากับบริษัทหลักทรัพย์เต็มจำนวนที่จะซื้อหลักทรัพย์ก่อนการซื้อหลักทรัพย์ (บัญชี แคลช บลาลานซ์) ในกรณีที่หุ้นนั้นเข้าข่ายเป็นหุ้นที่มีอัตราการวื้อขายหมุนเวียนสูงอิงตามเกณฑ์(เทิร์นโอเวอร์ลิสต์)ของก.ล.ต.ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้ 1 กรกฎาคมนี้
รวมถึงการที่ให้บล.มีการเรียกให้ลูกค้ามีการวางสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ก่อนการซื้อขายไม่ต่ำกว่า 15% จากเดิมไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยวอลุ่มที่ลดลงนั้นเกิดจากนักลงทุนรายย่อยชะลอการลงทุน เพราะไม่ต้องการที่จะวางเงินสดสูง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของการที่มีการออกเกณฑ์ใหม่ๆ โดยจากนี้ไป จะทำให้นักลงทุนรายใหญ่ดันราคาหุ้นลำบากมากขึ้น อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากการที่นักลงทุนรายย่อยไม่เข้าไปซื้อหุ้นตามในหุ้นที่มีเทิร์นโอเวอร์ลิสต์สูง
"นักลงทุนรายย่อยส่วนใหญ่จะลงทุนในหุ้นเก็งกำไร หากหุ้นดังกล่าวมีการเคลื่อนไหวหวือหวา และจากที่เริ่มให้มีการวางเงินสด100% ลงทุนในหุ้นเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ นั้น จะทำให้นักลงทุนรายย่อยชะลอลงทุนในหุ้นดังกล่าว ทำให้วอลุ่มลดลง 5-10% ช่วงไตรมาส 3 ซึ่งถือว่าปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 หากไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามา คาดว่าวอลุ่มจะลดลงในช่วง 2-3 เดือน หลังจาทกนั้นตลาดหุ้นและวอลุ่มก็น่าจะฟื้นตัว" นายสุชาย กล่าว
ทั้งนี้ในช่วงที่มีข่าวการบังคับขายหุ้น(ฟลอสเซลล์)ทำให้ราคาหุ้นหลายบริษัทปรับตัวลดลงมามาก เป็นผลจากนักลงทุนรายใหญ่มีการปรับพอร์ตการลงทุน ในหุ้นที่เข้าข่ายติดเทิร์นโอเวอร์ลิสต์ออกมา เพราะกังวลว่าหากถือไว้แล้ว เมื่อตลาดหลักทรัพย์ฯ บังคับใช้เกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์ แล้วจะทำให้ขายหุ้นออกมาลำบาก จึงเป็นเหตุให้ต้องขายหุ้นออกมาก่อน
นายสุชาย กล่าวว่า บริษัทมีฐานนักลงทุนรายย่อยในสัดส่วนที่สูง จะได้รับผลกระทบจากวอลุ่มตลาดรวมลดลง ทำให้วอลุ่มการซื้อขายของบล.ฟิลลิป ลดลงเช่นกัน 10-15% จากขณะนี้ที่มีมูลค่าการซื้อขายต่อวันที่ 800-1,000 ล้านบาท และการปล่อยสินเชื่อเพื่อซื้อหุ้น(มาร์จิ้นโลน)ของบริษัทจะลดลงเหลือ 15-20% จากเดิมอยู่ที่ 20-30%
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทไม่ได้บังคับขายหุ้น แต่จะเป็นการเรียกมาร์จิ้นเพิ่มเท่านั้น ซึ่งมีลูกค้าประมาณ 7-8 ราย มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 3-10 ล้านบาท ที่ยอมขายหุ้นออกมาโดยที่ไม่นำเงินมาวางเพิ่มขึ้น ซึ่งมากที่สุดที่นักลงทุนขายออกมาคือ บริษัท ไทยยูนีคคอยล์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)หรือ TUCC มูลค่า 10 ล้านบาท ซึ่งการปล่อยมาร์จิ้นของบริษัทจะเป็นการให้ระยะสั้น หากลูกค้าไม่มีการขายหุ้นออกมาบริษัทก็จะเตือน และหากไม่ขายมาอีกก็จะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ย หรือเพิ่มค่าคอมมิชชั่นเพื่อที่จะทำให้ลูกค้ามีการขายหุ้นออกมา
สำหรับ ขณะนี้บริษัทเตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อที่จะเพิ่มพอร์ตการลงทุนในหุ้น อีก 100 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มลงทุนใน 1-2 เดือนนี้ จากเดิมที่มีการเทรดอนุพันธ์ อยู่ 200 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าสิ้นปีนี้พอร์ตการลงทุนรวมบริษัทจะเพิ่มเป็น 300 ล้านบาท และคาดว่าสิ้นปีส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทจะขยับไปอยู่ที่ 3% ได้
**ทิสโก้-สินเอเซีย ไม่ได้รับผลเกณฑ์ใหม่
นายไพบูลย์ นรินทรางกูล กรรมการผู้จัดการ บล.ทิสโก้ กล่าวว่า บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากการที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ นำหลักเกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์ (Turnover List) มาใช้ในวันที่ 1 ก.ค. 51 เนื่องจากสัดส่วนลูกค้าของบริษัทเป็นนักลงทุนสถาบันถึง 60% และนักลงทุนรายย่อย 40% ซึ่งในสัดส่วนนักลงทุนรายย่อย 40% นั้น ก็จะเลือกลงทุนในหุ้นพื้นฐาน และไม่ลงทุนในหุ้นเก็งกำไร ทำให้บริษัทจะไม่ได้รับผลกระทบจากการนำเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้
ขณะที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการนำหลักเกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์มาใช้ กรณีที่บริษัทหลักทรัพย์ต้องให้ลูกค้าวางเงินสดไว้ล่วงหน้าเต็มจำนวนก่อนที่จะซื้อหลักทรัพย์นั้น (บัญชี Cash Balance) เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 รอบการประกาศรายชื่อ สำหรับหลักทรัพย์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศว่าเข้าหลักเกณฑ์ดังกล่าวว่านับเป็นเรื่องที่ดีที่จะมีการควบคุมหุ้นที่เข้าข่ายมีคนเก็งกำไร และเป็นการปกป้องนักลงทุนรายย่อย ด้วยการเตือนว่าหุ้นในรายชื่อที่ประกาศออกมามีความผิดปกติ ขณะเดียวกันนักลงทุนที่จะเข้าไปซื้อก็ต้องใช้
เงินมากขึ้น ไม่ให้นักลงทุนรายย่อยลงทุนเกินตัว ซึ่งน่าจะลดความเสี่ยงของนักลงทุนรายย่อยได้ และช่วยให้ตลาดหุ้นมีความผันผวนน้อยลง
นายวิบูลย์ เพิ่มอารยวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บล.สินเอเซีย กล่าวว่า บริษัทเชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้หลักเกณฑ์เทิร์นโอเวอร์ลิสต์ในวันที่ 1 ก.ค.นี้ เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทไม่ได้เล่นหุ้นเก็งกำไร ส่วนการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้จะได้ผลหรือไม่ ต้องติดตามต่อไป แต่นับเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่จะปกป้องนักลงทุน
**ดัชนีหุ้นไทยปิดต่ำสุดรอบ 5เดือน
ดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ปิดต่ำสุดในรอบเกือบ 5 เดือน นับจาก 31 ม.ค. 51 โดยปิดที่ระดับ 784.23 จุด ส่วนมูลค่าการซื้อขายต่ำสุดเพียง 11,790.03 ล้านบาท นับจาก 1 เม.ย. 51 โดยภาวะการลงทุนตลาดหุ้นไทยวานนี้ (17 มิ.ย.) ดัชนีปิดที่ 777.17 จุด ปรับตัวลดลง 10.42 จุด คิดเป็น 1.32% โดยระหว่างวันทำจุดสูงสุดที่ 786.62 จุด และมีจุดต่ำสุดที่ 775.06 จุด มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 11,989.75 ล้านบาท ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 2,424.72 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 514.64 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 1,910.08 ล้านบาท
นางสาวอาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ บล.ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวานนี้ปรับตัวลดลงอีกครั้ง หลังจากวันจันทร์ดีดกลับได้เล็กน้อย โดยสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลง คือ ความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ประกอบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศที่ไม่ชัดดเจน เป็นประเด็นที่คาใจนักลงทุนอยู่ รวมถึงความกังวลว่าจะมีบทสรุปเป็นอย่างไร ซึ่งทั้งหมดยังเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นช่วงนี้
ขณะที่มีประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจจีนเพิ่มเข้ามา หลังจากมหาวิทยาลัยเหรินหมิน ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน ได้ออกมากล่าวว่าแนวโน้มเศรษฐกิจจีนช่วงครึ่งปีหลังจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ซึ่งจะส่งผลให้อุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมัน ถ่านหินลดลง ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการปรับฐานของสินค้าโภคภัณฑ์ และในช่วงครึ่งปีหลังราคาอาจจะอ่อนตัวลง ส่งผลให้มีแรงขายในหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา จากโครงสร้างตลาดหุ้นไทยที่กลุ่มพลังงานมีน้ำหนักมาก ทำให้ตลาดหุ้นไทยปรับลดลงมากกว่าเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นภูมิภาค
สำหรับทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ เชื่อว่าตลาดมีลักษณะ Sideway Down หากรีบาวน์กลับได้ก็จะเป็นไปอย่างจำกัด โดยประเมินแนวรับที่ 760-770 จุด แนวต้านแรกที่ 780 จุด ถ้าผ่านไปได้จะมีแนวต้านถัดไปที่ 800 จุด โดยประเด็นที่ต้องติดตาม คือ ราคาน้ำมันดิบ ตลาดหุ้นต่างประเทศ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ข้อมูลเศรษฐกิจแต่ละประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสดเป็นส่วนใหญ่ หากจำเป็นต้องเทรดให้เลือกเล่นหุ้นดีเฟนซีฟ
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยยังถูกกดดันจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่ออกมาอย่างต่อเนื่อง และความกังวลเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อ หลังราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากเหตุเพลิงไหม้ที่แท่นขุดเจาะน้ำมันก๊าซโอเซเบิร์กในทะเลเหนือ จนขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 139 เหรียญ/บาร์เรลล์ ก่อนจะมีแรงขายออกมา เนื่องจากซาอุดิอาระเบียจะปรับเพิ่ม
โดยปริมาณผลิตน้ำมันดิบ 5.5 แสนบาร์เรลล์ต่อวันสู่ 9.7 ล้านบาร์เรลล์ ตั้งแต่เดือน ก.ค. เป็นต้นไป เมื่อรวมกับตัวเลขอัตราเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ของอังกฤษที่ 3.3% ซึ่งนับเป็นจุดสูงสุดในรอบ 11 ปี นับจากพ.ค.1997 เป็นต้นมา ทำให้เกิดความกังวลว่าธนาคารกลางอังกฤษจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆ นี้ ซึ่งสอดคล้องกับคำกล่าวของประธานธนาคารกลางยุโรปที่ออกมากล่าวก่อนหน้านี้ว่าอาจจะพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ซึ่งหากทั้งธนาคารกลางยุโรปและธนาคารกลางอังกฤษปรับขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยจะกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมปลายเดือนนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ คาดว่าทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้อาจจะรีบาวน์กลับได้เล็กน้อย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทิศทางการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ราคาน้ำมันดิบ และทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยประเมินแนวรับที่ 764-770 จุด แนวต้านที่ 780-787 จุด โดยประเด็นที่ต้องติดตามนอกเหนือจากที่กล่าวมาคือ ตัวเลขเศรษฐกิจแต่ละประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนกลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือเงินสด รอตลาดนิ่ง เช่นเดียวกับผู้ที่มีหุ้นอยู่ แนะนำถือต่อ รอดูสถานการณ์ก่อน