ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - จับตารัฐประกาศปี 51-52 เป็นปีแห่งการลงทุนไทย บีโอไอคาดครึ่งปีหลังลงทุนใต้คึกคัก ด้วยมาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเขตอุตสาหกรรมเซาเทิร์นซีบอร์ด ท่ามกลาง 4 ตัวแปรที่สำคัญ ทั้งราคาน้ำมัน ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ และสถานการณ์ความไม่สงบด้วย ชี้ 5 เดือนแรกปีนี้เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนลดลงเพียง 26 โครงการมีเม็ดเงินลงทุนกว่า 7,000 ล้านบาทเท่านั้นลดลงเกือบ 50% ของปีก่อน ขณะที่ 5 จชต.นักลงทุนยังมั่นใจสถานการณ์เลือกลงทุนใน จ.สงขลา เป็นส่วนใหญ่ปีนี้มีเงินลงทุนแล้วกว่า 1,200 ล้านบาทขณะนี้ จ.ยะลาและปัตตานีมีนักลงทุนผุดโรงงานผลิตยางแผ่นรมควันและยางแท่ง เงินลงทุน 467 ล้านบาท
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยถึงแนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 2 ปี 2551 ว่า การลงทุนของภาคใต้ในช่วงกลางปีเป็นต้นไปน่าจะเริ่มมีความคึกคักมากขึ้น สืบเนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีแห่งการลงทุนไทย (Thailand Investment Year 2008-2009) เพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย โดยยังมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) และพื้นที่อื่นที่เหมาะสม เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในภาคใต้ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรที่สำคัญในด้านต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเด่นในภาคใต้ รวมถึงสถานการณ์ความไม่สงบด้วย ซึ่งล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนทั้งสิ้น
ในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2551 หากมีการเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนพบว่า มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 26 โครงการ ลดลงจากปีก่อนที่มี 32 โครงการ หรือร้อยละ 18.75 เงินลงทุน 7,694.80 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 46.74 และการจ้างแรงงานไทย 3,961 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 โดยจังหวัดที่ยังไม่มีโครงการได้รับการอนุมัติได้แก่ พังงา, ชุมพร, ระนอง, พัทลุง, นราธิวาส และสตูล
สำหรับทั้ง 26 โครงการตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนบน 16 โครงการ และภาคใต้ตอนล่าง 10 โครงการ แยกตามประเภทกิจการ ดังนี้ 1.กิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 10 โครงการ เงินลงทุน 3,214.30 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 546 คน ได้แก่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 4 โครงการ, การขนถ่ายสินค้าทั่วไป, เรือเฟอร์รี่/เรือยอชต์ 2 โครงการ, โรงแรม, ธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ และกิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน
2.กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 10 โครงการ เงินลงทุน 4,010.50 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,193 คน ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น 2 โครงการ, ยางแท่ง 4 โครงการ, ยางแผ่นรมควัน, การผลิตเนยขาวและเนยเหลือง, การผลิตไบโอดีเซลและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
3.อุตสาหกรรมเบา จำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 424.60 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 2,166 คน ได้แก่ การผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 2 โครงการ, การผลิตของเล่นจากไม้ และการผลิตเทียนไข
4.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง จำนวน 1 โครงการ เงินลงทุน 14.40 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 13 คน ได้แก่ การผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง
5.อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก จำนวน 1 โครงการ เงินลงทุน 31 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 43 คน ได้แก่ การผลิตขวดพลาสติก
โครงการที่มีขนาดการลงทุนสูงสุด 5 เดือนแรกของปี 2551 คือ โครงการของบริษัท สิริ ภูเก็ต จำกัด เป็นโรงแรมขนาด 107 ห้อง เงินลงทุน 2,584 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 408 คน ถือหุ้นโดยชาวสิงคโปร์ทั้งสิ้น ตั้งอยู่ที่ จ.ภูเก็ต รองลงมาคือโครงการบริษัทโกลบอล ไบโอดีเซล จำกัด ผลิตไบโอดีเซล เงินลงทุน 1,900 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 69 คน ร่วมทุนระหว่างคนไทย-สหรัฐอเมริกา ตั้งโครงการที่ จ.สุราษฎร์ธานี และอันดับ 3 คือ โครงการบริษัทเซาท์แลนด์รีซอร์ซ จำกัด ผลิตยางแท่ง เงินลงทุน 850 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 266 คน ถือหุ้นโดยคนไทยทั้งสิ้น ตั้งที่ จ.สงขลา
ทั้งนี้ หากพิจารณาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่าในรอบปี 2551 (ม.ค.-พ.ค.) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 9 โครงการ เงินลงทุน 1,671 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,270 คน ได้แก่ โครงการที่ตั้งใน จ.สงขลา 7 โครงการ ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น ยางแท่ง (2 โครงการ) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (2 โครงการ) โครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง และการผลิตเทียนไข รวมเงินลงทุน 1,204 ลานบาท จ้างแรงงานไทย 821 คน
ส่วน จ.ยะลา มีโครงการได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ คือการผลิตยางแผ่นรมควัน เงินลงทุน 312 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 397 คน และที่ จ.ปัตตานี มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ คือการผลิตยางแท่ง เงินลงทุน 155 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 52 คน
สำหรับภาพรวมการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2548-2551 (ม.ค.-พ.ค.) มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 59 โครงการ เงินลงทุน 22,650.10 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 11,589 คน โดยโครงการส่วนใหญ่จะมีการลงทุนในจังหวัดสงขลาเป็นหลัก
ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 5 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยถึงแนวโน้มการลงทุนในไตรมาส 2 ปี 2551 ว่า การลงทุนของภาคใต้ในช่วงกลางปีเป็นต้นไปน่าจะเริ่มมีความคึกคักมากขึ้น สืบเนื่องจากรัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2551-2552 เป็นปีแห่งการลงทุนไทย (Thailand Investment Year 2008-2009) เพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย กระตุ้นให้ผู้ประกอบการเดิมปรับตัวเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทย โดยยังมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (Southern Seaboard) และพื้นที่อื่นที่เหมาะสม เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมในอนาคต
อย่างไรก็ตาม การลงทุนในภาคใต้ยังมีปัจจัยที่เป็นตัวแปรที่สำคัญในด้านต่างๆ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารทะเล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเด่นในภาคใต้ รวมถึงสถานการณ์ความไม่สงบด้วย ซึ่งล้วนแล้วเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนทั้งสิ้น
ในรอบ 5 เดือนแรกของปี 2551 หากมีการเปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนพบว่า มีโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 26 โครงการ ลดลงจากปีก่อนที่มี 32 โครงการ หรือร้อยละ 18.75 เงินลงทุน 7,694.80 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 46.74 และการจ้างแรงงานไทย 3,961 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.96 โดยจังหวัดที่ยังไม่มีโครงการได้รับการอนุมัติได้แก่ พังงา, ชุมพร, ระนอง, พัทลุง, นราธิวาส และสตูล
สำหรับทั้ง 26 โครงการตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนบน 16 โครงการ และภาคใต้ตอนล่าง 10 โครงการ แยกตามประเภทกิจการ ดังนี้ 1.กิจการบริการและสาธารณูปโภค จำนวน 10 โครงการ เงินลงทุน 3,214.30 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 546 คน ได้แก่ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 4 โครงการ, การขนถ่ายสินค้าทั่วไป, เรือเฟอร์รี่/เรือยอชต์ 2 โครงการ, โรงแรม, ธุรกิจรับจ้างบริหารระบบธุรกิจ และกิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน
2.กิจการเกษตรกรรมและผลิตผลทางการเกษตร จำนวน 10 โครงการ เงินลงทุน 4,010.50 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,193 คน ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น 2 โครงการ, ยางแท่ง 4 โครงการ, ยางแผ่นรมควัน, การผลิตเนยขาวและเนยเหลือง, การผลิตไบโอดีเซลและน้ำมันเมล็ดในปาล์ม
3.อุตสาหกรรมเบา จำนวน 4 โครงการ เงินลงทุน 424.60 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 2,166 คน ได้แก่ การผลิตเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 2 โครงการ, การผลิตของเล่นจากไม้ และการผลิตเทียนไข
4.อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง จำนวน 1 โครงการ เงินลงทุน 14.40 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 13 คน ได้แก่ การผลิตโครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง
5.อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กระดาษ และพลาสติก จำนวน 1 โครงการ เงินลงทุน 31 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 43 คน ได้แก่ การผลิตขวดพลาสติก
โครงการที่มีขนาดการลงทุนสูงสุด 5 เดือนแรกของปี 2551 คือ โครงการของบริษัท สิริ ภูเก็ต จำกัด เป็นโรงแรมขนาด 107 ห้อง เงินลงทุน 2,584 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 408 คน ถือหุ้นโดยชาวสิงคโปร์ทั้งสิ้น ตั้งอยู่ที่ จ.ภูเก็ต รองลงมาคือโครงการบริษัทโกลบอล ไบโอดีเซล จำกัด ผลิตไบโอดีเซล เงินลงทุน 1,900 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 69 คน ร่วมทุนระหว่างคนไทย-สหรัฐอเมริกา ตั้งโครงการที่ จ.สุราษฎร์ธานี และอันดับ 3 คือ โครงการบริษัทเซาท์แลนด์รีซอร์ซ จำกัด ผลิตยางแท่ง เงินลงทุน 850 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 266 คน ถือหุ้นโดยคนไทยทั้งสิ้น ตั้งที่ จ.สงขลา
ทั้งนี้ หากพิจารณาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ พบว่าในรอบปี 2551 (ม.ค.-พ.ค.) มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 9 โครงการ เงินลงทุน 1,671 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 1,270 คน ได้แก่ โครงการที่ตั้งใน จ.สงขลา 7 โครงการ ได้แก่ การผลิตน้ำยางข้น ยางแท่ง (2 โครงการ) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (2 โครงการ) โครงสร้างโลหะที่ใช้ในการก่อสร้าง และการผลิตเทียนไข รวมเงินลงทุน 1,204 ลานบาท จ้างแรงงานไทย 821 คน
ส่วน จ.ยะลา มีโครงการได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ คือการผลิตยางแผ่นรมควัน เงินลงทุน 312 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 397 คน และที่ จ.ปัตตานี มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน 1 โครงการ คือการผลิตยางแท่ง เงินลงทุน 155 ล้านบาท จ้างแรงงานไทย 52 คน
สำหรับภาพรวมการอนุมัติส่งเสริมการลงทุนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2548-2551 (ม.ค.-พ.ค.) มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 59 โครงการ เงินลงทุน 22,650.10 ล้านบาท การจ้างงานคนไทย 11,589 คน โดยโครงการส่วนใหญ่จะมีการลงทุนในจังหวัดสงขลาเป็นหลัก