หลังจากความล้มเหลวในการกระเหี้ยนกระหือรือที่จะใช้กำลังตำรวจเข้าบดขยี้ประชาชนที่รักชาติรักประชาธิปไตยที่ชุมนุมกันอยู่ที่ถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานมัฆวานฯ รัฐบาลหุ่นนายสมัคร สุนทรเวช ก็ดำเนินนโยบายวางเฉย ไม่รู้ร้อนรู้หนาวต่อการชุมนุมของประชาชนเรือนพันเรือนหมื่น โดยหวังว่าฝนที่กระหน่ำลงมาในหน้านี้ และบางวันที่แดดแผดกล้า จะทำให้ประชาชนที่รักชาติรักประชาธิปไตยอ่อนล้าไปเอง แล้วพวกเขาก็ครองอำนาจรัฐต่อไป แสวงหาผลประโยชน์กันต่อไป
นั่นเป็นเพียงอาการภายนอก ในใจของพวกเขาร้อนรุ่มและทุรนทุราย เพราะแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ความชั่วช้าของพวกเขาก็ถูกเปิดโปงออกมา ไม่แต่ประชาชนที่ชุมนุมกันอยู่บริเวณถนนราชดำเนินเท่านั้นที่รับรู้ หากแต่เป็นประชาชนในขอบเขตปริมณฑลทั่วประเทศ และทั่วโลก
โลกทุกวันนี้การสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ วิทยุ ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว พวกเขาจึงทนไม่ได้ต้องให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกคำสั่งไปยังผู้ว่าราชการฯ ทุกจังหวัดให้จัดการกับเคเบิลทีวีในแต่ละจังหวัด ระงับการแพร่ภาพของ ASTV
แต่เมื่อออกคำสั่งไปแล้ว ก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชนทั่วทั้งประเทศ ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหลายอำเภอหลายจังหวัดไม่กล้าออกคำสั่ง เพียงแต่ขอความร่วมมือซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นส่วนน้อย
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแรกทีเดียวก็แสดงท่าทีเอาจริงเอาจัง ขึงขัง แต่เมื่อได้รับการต่อต้านจากประชาชนก็พลิกลิ้นเสียใหม่ว่า ไม่ได้ห้ามเคเบิลทีวีถ่ายทอด เพียงแต่ให้พิจารณาดูว่า ตรงไหนจะหมิ่นประมาทหรือไม่ ใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือไม่
ปรากฏการณ์นี้นอกจากแสดงให้เห็นถึงการขาดอำนาจสั่งการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แล้ว ปฏิบัติการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ยังเป็นการช่วยเชิญแขกให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ต่างไปจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีหุ่นเคยทำเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้เลย
ทั้งที่ปริมาณของผู้คนที่เข้าร่วมชุมนุมมากน้อยมิใช่ปัญหาใหญ่ของการชุมนุมครั้งนี้ หากอยู่ที่คุณภาพของการมีส่วนร่วมมากกว่า
การที่ประชาชนเรือนแสนเรือนล้านรับทราบข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตบ้าง เอเอสทีวีบ้าง วิทยุกระจายเสียงบ้าง ก็เท่ากับว่าระบอบทักษิณอันสามานย์ และความเป็นรัฐบาลหุ่นของนายสมัคร สุนทรเวช ถูกเปลือยอย่างล่อนจ้อนให้ประชาชนเรือนแสนเรือนล้านได้เห็นนายกรัฐมนตรีในอดีต นักการเมืองในอดีต ยังไม่เคยมีใครต้องตกอยู่ในสภาพทุเรศทุรังเช่นนี้เลย ด้วยเหตุนี้เอง ประชาชนทั้งหลายจึงได้เห็นอาการสติแตกของนายสมัคร สุนทรเวช บ่อยครั้งขึ้น
ประชาชนเริ่มสงสัยแล้วว่า เราปล่อยให้คนป่วยคนนี้บริหารประเทศได้อย่างไร?
ทำไมต้องล้มระบอบทักษิณ?
ประชาชนเริ่มเข้าใจแล้วว่า ปัญหาของประเทศอยู่ที่คนคนเดียวเท่านั้น คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งกำลังถูกตรวจสอบปัญหาการทุจริตโดย คตส.อยู่ขณะนี้ เขาถูกอายัดทรัพย์ (รวมทั้งครอบครัวของเขา) 6 หมื่นกว่าล้านบาท และมีคดีความอยู่ที่ศาลฎีกาแผนกคดีการเมือง (คดีซื้อที่ดินรัชดาฯ) และยังมีอีกหลายคดีที่กำลังจะทยอยขึ้นสู่ศาล
ปากของเขาบอกว่า พร้อมพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในศาล ในขณะที่เขาพยายามทำทุกวิถีทางที่จะไม่ต้องขึ้นศาล (เรื่องอย่างนี้เด็ก ป. 4 ก็รู้แต่อดีตผู้พิพากษาอย่างนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา กลับไม่รู้)
การโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม การโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข การแต่งตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างๆ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการรับใช้ระบอบทักษิณ และการทำให้ระบอบทักษิณยังอยู่ยั้งยืนยงทั้งสิ้น
หากไม่ล้มระบอบทักษิณ ทักษิณก็จะกลับเข้ามามีอำนาจอีก ทำร้ายประเทศชาติและประชาชนต่อไปได้อีก
และไม่มีวันที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้เลย
การชุมนุมของประชาชนที่ถนนราชดำเนิน เป็นการกวักมือเรียกหาการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่?
การรัฐประหารโดยกำลังทหารเป็นเรื่องเก่า เป็นเรื่องเชยไปแล้ว ไม่มีทหารคนใด คณะใดที่จะหาญกล้ามาทำอีก เพราะขืนทำก็ถูกด่า ถูกต่อต้าน เพราะระดับความคิดของประชาชนขึ้นสู่กระแสสูงแล้ว คณะรัฐประหารไม่มีทางที่จะครอบอำนาจ 5 ปี 10 ปี อย่างเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้อีกแล้ว
รสช.ยึดอำนาจเมื่อปี 2533 ก็อยู่ได้เพียงปีเดียว ก็ต้องเร่งร่างรัฐธรรมนูญ เร่งจัดให้มีการเลือกตั้ง การยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ก็เร่งร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้ง
เพราะโลกทุกวันนี้เป็นโลกของประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองต่อจากนี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการเมืองภาคประชาชนเท่านั้น
รัฐสภาแก้ปัญหาได้หรือไม่?
เรามักจะถูกสอนให้เชื่อว่า ประชาธิปไตยต้องเลือกตั้ง ต้องมีสภา ทั้งๆ ที่เราก็เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักเลือกตั้งเข้ามายึดอำนาจรัฐ อาศัยเงิน เอาชนะการเลือกตั้ง แล้วก็ได้อำนาจรัฐ เมื่อได้อำนาจรัฐแล้วก็บริหารประเทศไปตามอำเภอใจ แสวงหาประโยชน์อย่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลอื่นๆ ทำมาแล้ว
อภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯ แม้จะมีหลักฐานหนาแน่นแค่ไหน รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายก็ได้รับความไว้วางใจอยู่ดี เช่น กรณีซีทีเอ็กซ์ 9000 หรือที่ดินรัชดาฯ
หรือเมื่อจะมีการยื่นอภิปราย รัฐบาลที่กุมเสียงข้างมากเอาไว้ก็บอกว่า ไม่มีเวลาเอาไว้อภิปรายทีหลัง หรือจวนตัวจริงๆ ก็ยุบสภาฯ หนีเสียทั้งที่เสียงมากกว่า แต่ไม่อยากให้ใครมาอภิปรายถลกหนังตัวเอง
การเมืองภาคประชาชนที่ถนนราชดำเนิน จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับการเมืองในสภาฯ ทั้งนี้อาจจะต้องดำเนินไปจนกว่าประชาชนทั้งหลายทั้งปวงจะเข้มแข็ง นักการเมืองของเรามีจริยธรรม มีความหน้าบางที่ต้องสำรวจตัวเองว่า มีข้อบกพร่อง มีความเสียหายอันใดหรือไม่
โดยไม่ต้องรอฟังแต่คำพิพากษาอย่างเดียว ตัวนักการเมืองต้องพิพากษาตัวเองได้ ตัวหรือเมียของตัวถือหุ้นมากกว่ากฎหมายกำหนด ก็ไม่ควรรับตำแหน่งรัฐมนตรี ไม่ต้องรอให้ศาลออกคำสั่ง รู้ว่าตัวฮุบที่ดินรถไฟ มีข้อพิพาทถูกฟ้องร้องอยู่ก็ไม่หน้าด้านเป็น ส.ส.เป็นประธานสภาฯ หรือศาลชั้นต้นสั่งจำคุกไม่รอลงอาญา เหลือศาลอุทธรณ์ก็ไม่หน้าด้านรับตำแหน่งทางการเมือง
การเมืองภาคประชาชนจะต้องช่วยกันกวาดนักการเมืองหน้าด้านออกไปจากเวที หมดเมื่อไรนั่นแหละการเมืองระบบรัฐสภาจึงจะเป็นจริงขึ้นมาได้.
นั่นเป็นเพียงอาการภายนอก ในใจของพวกเขาร้อนรุ่มและทุรนทุราย เพราะแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ความชั่วช้าของพวกเขาก็ถูกเปิดโปงออกมา ไม่แต่ประชาชนที่ชุมนุมกันอยู่บริเวณถนนราชดำเนินเท่านั้นที่รับรู้ หากแต่เป็นประชาชนในขอบเขตปริมณฑลทั่วประเทศ และทั่วโลก
โลกทุกวันนี้การสื่อสารด้วยอินเทอร์เน็ต โทรทัศน์ วิทยุ ไม่ใช่เรื่องยากแล้ว พวกเขาจึงทนไม่ได้ต้องให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ออกคำสั่งไปยังผู้ว่าราชการฯ ทุกจังหวัดให้จัดการกับเคเบิลทีวีในแต่ละจังหวัด ระงับการแพร่ภาพของ ASTV
แต่เมื่อออกคำสั่งไปแล้ว ก็ได้รับการต่อต้านจากประชาชนทั่วทั้งประเทศ ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอหลายอำเภอหลายจังหวัดไม่กล้าออกคำสั่ง เพียงแต่ขอความร่วมมือซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นส่วนน้อย
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแรกทีเดียวก็แสดงท่าทีเอาจริงเอาจัง ขึงขัง แต่เมื่อได้รับการต่อต้านจากประชาชนก็พลิกลิ้นเสียใหม่ว่า ไม่ได้ห้ามเคเบิลทีวีถ่ายทอด เพียงแต่ให้พิจารณาดูว่า ตรงไหนจะหมิ่นประมาทหรือไม่ ใช้ถ้อยคำหยาบคายหรือไม่
ปรากฏการณ์นี้นอกจากแสดงให้เห็นถึงการขาดอำนาจสั่งการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แล้ว ปฏิบัติการของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ยังเป็นการช่วยเชิญแขกให้กับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไม่ต่างไปจากที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีหุ่นเคยทำเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้เลย
ทั้งที่ปริมาณของผู้คนที่เข้าร่วมชุมนุมมากน้อยมิใช่ปัญหาใหญ่ของการชุมนุมครั้งนี้ หากอยู่ที่คุณภาพของการมีส่วนร่วมมากกว่า
การที่ประชาชนเรือนแสนเรือนล้านรับทราบข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตบ้าง เอเอสทีวีบ้าง วิทยุกระจายเสียงบ้าง ก็เท่ากับว่าระบอบทักษิณอันสามานย์ และความเป็นรัฐบาลหุ่นของนายสมัคร สุนทรเวช ถูกเปลือยอย่างล่อนจ้อนให้ประชาชนเรือนแสนเรือนล้านได้เห็นนายกรัฐมนตรีในอดีต นักการเมืองในอดีต ยังไม่เคยมีใครต้องตกอยู่ในสภาพทุเรศทุรังเช่นนี้เลย ด้วยเหตุนี้เอง ประชาชนทั้งหลายจึงได้เห็นอาการสติแตกของนายสมัคร สุนทรเวช บ่อยครั้งขึ้น
ประชาชนเริ่มสงสัยแล้วว่า เราปล่อยให้คนป่วยคนนี้บริหารประเทศได้อย่างไร?
ทำไมต้องล้มระบอบทักษิณ?
ประชาชนเริ่มเข้าใจแล้วว่า ปัญหาของประเทศอยู่ที่คนคนเดียวเท่านั้น คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีซึ่งกำลังถูกตรวจสอบปัญหาการทุจริตโดย คตส.อยู่ขณะนี้ เขาถูกอายัดทรัพย์ (รวมทั้งครอบครัวของเขา) 6 หมื่นกว่าล้านบาท และมีคดีความอยู่ที่ศาลฎีกาแผนกคดีการเมือง (คดีซื้อที่ดินรัชดาฯ) และยังมีอีกหลายคดีที่กำลังจะทยอยขึ้นสู่ศาล
ปากของเขาบอกว่า พร้อมพิสูจน์ความบริสุทธิ์ในศาล ในขณะที่เขาพยายามทำทุกวิถีทางที่จะไม่ต้องขึ้นศาล (เรื่องอย่างนี้เด็ก ป. 4 ก็รู้แต่อดีตผู้พิพากษาอย่างนายพงษ์เทพ เทพกาญจนา กลับไม่รู้)
การโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงยุติธรรม การโยกย้ายข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุข การแต่งตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจต่างๆ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการรับใช้ระบอบทักษิณ และการทำให้ระบอบทักษิณยังอยู่ยั้งยืนยงทั้งสิ้น
หากไม่ล้มระบอบทักษิณ ทักษิณก็จะกลับเข้ามามีอำนาจอีก ทำร้ายประเทศชาติและประชาชนต่อไปได้อีก
และไม่มีวันที่ประเทศจะเป็นประชาธิปไตยได้เลย
การชุมนุมของประชาชนที่ถนนราชดำเนิน เป็นการกวักมือเรียกหาการปฏิวัติรัฐประหารหรือไม่?
การรัฐประหารโดยกำลังทหารเป็นเรื่องเก่า เป็นเรื่องเชยไปแล้ว ไม่มีทหารคนใด คณะใดที่จะหาญกล้ามาทำอีก เพราะขืนทำก็ถูกด่า ถูกต่อต้าน เพราะระดับความคิดของประชาชนขึ้นสู่กระแสสูงแล้ว คณะรัฐประหารไม่มีทางที่จะครอบอำนาจ 5 ปี 10 ปี อย่างเผด็จการสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้อีกแล้ว
รสช.ยึดอำนาจเมื่อปี 2533 ก็อยู่ได้เพียงปีเดียว ก็ต้องเร่งร่างรัฐธรรมนูญ เร่งจัดให้มีการเลือกตั้ง การยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ก็เร่งร่างรัฐธรรมนูญ และจัดให้มีการเลือกตั้ง
เพราะโลกทุกวันนี้เป็นโลกของประชาธิปไตยที่มาจากการเลือกตั้ง
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองต่อจากนี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการเมืองภาคประชาชนเท่านั้น
รัฐสภาแก้ปัญหาได้หรือไม่?
เรามักจะถูกสอนให้เชื่อว่า ประชาธิปไตยต้องเลือกตั้ง ต้องมีสภา ทั้งๆ ที่เราก็เห็นว่าการเลือกตั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักเลือกตั้งเข้ามายึดอำนาจรัฐ อาศัยเงิน เอาชนะการเลือกตั้ง แล้วก็ได้อำนาจรัฐ เมื่อได้อำนาจรัฐแล้วก็บริหารประเทศไปตามอำเภอใจ แสวงหาประโยชน์อย่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และรัฐบาลอื่นๆ ทำมาแล้ว
อภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาฯ แม้จะมีหลักฐานหนาแน่นแค่ไหน รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายก็ได้รับความไว้วางใจอยู่ดี เช่น กรณีซีทีเอ็กซ์ 9000 หรือที่ดินรัชดาฯ
หรือเมื่อจะมีการยื่นอภิปราย รัฐบาลที่กุมเสียงข้างมากเอาไว้ก็บอกว่า ไม่มีเวลาเอาไว้อภิปรายทีหลัง หรือจวนตัวจริงๆ ก็ยุบสภาฯ หนีเสียทั้งที่เสียงมากกว่า แต่ไม่อยากให้ใครมาอภิปรายถลกหนังตัวเอง
การเมืองภาคประชาชนที่ถนนราชดำเนิน จึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กับการเมืองในสภาฯ ทั้งนี้อาจจะต้องดำเนินไปจนกว่าประชาชนทั้งหลายทั้งปวงจะเข้มแข็ง นักการเมืองของเรามีจริยธรรม มีความหน้าบางที่ต้องสำรวจตัวเองว่า มีข้อบกพร่อง มีความเสียหายอันใดหรือไม่
โดยไม่ต้องรอฟังแต่คำพิพากษาอย่างเดียว ตัวนักการเมืองต้องพิพากษาตัวเองได้ ตัวหรือเมียของตัวถือหุ้นมากกว่ากฎหมายกำหนด ก็ไม่ควรรับตำแหน่งรัฐมนตรี ไม่ต้องรอให้ศาลออกคำสั่ง รู้ว่าตัวฮุบที่ดินรถไฟ มีข้อพิพาทถูกฟ้องร้องอยู่ก็ไม่หน้าด้านเป็น ส.ส.เป็นประธานสภาฯ หรือศาลชั้นต้นสั่งจำคุกไม่รอลงอาญา เหลือศาลอุทธรณ์ก็ไม่หน้าด้านรับตำแหน่งทางการเมือง
การเมืองภาคประชาชนจะต้องช่วยกันกวาดนักการเมืองหน้าด้านออกไปจากเวที หมดเมื่อไรนั่นแหละการเมืองระบบรัฐสภาจึงจะเป็นจริงขึ้นมาได้.