นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการเตรียมการ
ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม นายมิ่งขวัญ แสง
สุวรรณ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ว่า เป็น
การทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าไม่เอาใจใส่แก้
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องเศรษฐกิจ ของแพง และราคาน้ำมัน ซึ่ง
รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน รวมทั้งปัญหา 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ก็ไม่แสดงความ
เอาใจใส่เท่าที่ควร
ส่วนจะอภิปรายเรื่องวุฒิภาวะผู้นำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
และ รมว.กลาโหม ด้วยหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า "หากพูดเรื่องนี้เดี๋ยวนายกฯ ก็จะ
หน้าบูดบึ้งอีก ผมไม่อยากจะพูด"
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้เมื่อข้า
ราชการ และประชาชนทราบว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ก็ได้ส่งข้อมูลมาให้มากมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของพรรรค กำลังรวบรวมเพื่อเสนอต่อคณะ
กรรมการบริหารพรรคอยู่ แต่ขณะนี้ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะเปิดอภิปรายฯ จะต้องมี
ข้อมูลที่ลึกกว่านี้เพื่อจะบีบให้มั่นคั้นให้ตาย
อย่างไรก็ตาม การอภิปรายไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องการทุจริตเสมอไป แม้ที่ผ่าน
มา พรรคจะเน้นอภิปรายเรื่องทุจริต แต่หากการบริหารงานของรัฐบาลทำให้ บ้านเมือง
เสียหาย แม้ไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่ทำไม่ถูกต้องไม่เอาใจใส่การแก้ปัญหา เราก็อภิปราย
ได้ ซึ่งขณะนี้พรรคเห็นปัญหาบ้างแล้ว ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการ รวบรวม ข้อมูลอยู่ แต่คง
ไม่ประสานขอข้อมูลจาก คตส. เพราะพรรคมีข้อมูลอยู่แล้ว ทั้งเรื่อง เอ็กซิม แบงก์ ปล่อย
กู้ให้พม่า และอื่นๆ ที่ตนเคยนำไปอภิปรายหลายครั้ง
**ชี้ท่าทีพรรคร่วมรัฐบาลอยู่ไม่นาน
สำหรับท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลนั้น นายสุเทพ มองว่า แปลกๆ และไม่เข้า
ใจที่ ส.ส.ของพรรคแกนนำรัฐบาล ออกมาไล่ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งหากประเมิน
สถานการณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นเช่นนี้แล้ว คิดว่าคงอยู่ได้ไม่นาน "เริ่มเห็น
โหงวเฮ้งของนายกฯ ที่แสดงท่าที ตั้งแต่เรื่องที่จะใช้ความรุนแรงสลายม็อบพันธมิตรฯ
ซึ่งพรรคร่วมก็มีอาการแล้ว และเรื่องแก้ หรือไม่แก้ รัฐธรรมนูญ รวมทั้งการลงประชามติ
และที่บอกว่า ส.ส.ฟังคำสั่ง เนวิน ชิดชอบ คนเดียวนั้น สร้างความอึดอัดให้รัฐบาล ซึ่ง
รัฐบาลต้องทำอะไร เพราะขืนอยู่อย่างนี้ก็แย่"
**
แนะนายกฯปรับใหญ่ครม.
ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล จะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้น นายสุเทพ
กล่าวว่า หากตนเป็นนายกฯ จะรีบปรับ ครม.ชุดใหญ่ เพื่อให้การทำงานดีขึ้น ส่วน
ประชาชนยังจะหวังในพรรคร่วมรัฐบาลได้หรือไม่ เพราะนายบรรหาร ศิลปอาชา หัว
หน้าพรรคชาติไทย ก็ออกมาระบุว่า ขอหารือกับพรรคเพื่อแผ่นดินในการทบทวน การเข้า
ร่วมรัฐบาลก่อน
นายสุเทพ กล่าวว่า คิดว่าประชาชนที่เลือกนักการเมืองเข้ามา ก็หวังที่จะพึ่ง
นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั้ง 5 พรรคร่วม ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรฯ เรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาล ทบทวนการร่วมรัฐบาล
เพราะผิดเงื่อนไข 5 ข้อที่เข้าร่วมรัฐบาลนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ความจริงผู้นำของพรรค
ร่วมรัฐบาลก็มีประสบการณ์ทางการเมืองมามาก คิดว่าพรรคร่วมก็ต้องวัดใจประชาชน
อยู่แล้ว ว่าที่ทำงานถูกใจประชาชนหรือไม่ เมื่อถึงเวลาเชื่อว่า พรรคร่วมก็คงตัดสินใจได้
เอง
**ปชป.ยื่นใช้ ม.179 เปิดอภิปราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (11 มิ.ย.) วิปฝ่ายค้าน นำโดย
นายสาทิตย์ วงษ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน พร้อมด้วย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กว่า 10
คน ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายก
รัฐมนตรี เพื่อขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ
โดยในหนังสือลงนาม โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรค ระบุว่า ขณะนี้บ้านเมือง
เกิดวิกฤติทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เกิดภาวะสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง
น้ำมันเพิ่ม ประชาชนได้รับความเดือนร้อน รวมถึงวิกฤติความขัดแย้งในสังคมอย่าง
รุนแรง จากการบริหางานของรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร
เริ่มจากการคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ บริหารประเทศไม่เป็นไปตามหลักธร
รมาภิบาล โยกย้ายข้าราชการ ที่ไม่เป็นธรรม ใช้กลไกราชการเพื่อเอื้อประโยชน์ทางการ
เมือง จากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้วุฒิสภาจำนวนหนึ่งเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป
ตามมาตรา 161 เพื่อคลีคลายปัญหา ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีความห่วงใย ในสถานการณ์
เช่นเดียวกัน จึงอยากให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 เพื่อเปิด
โอกาสให้มีการอภิปรายร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อลดการเผชิญหน้า และความขัดแย้งของ
กลุ่มต่างๆ ในสังคม พร้อมทั้งหาทางออกและยุติปัญหาวิกฤติ ด้านต่างๆ
**
ผู้นำฝ่ายค้านขอพบนายกฯวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมัคร ไม่ได้ลงมา
รับหนังสือด้วย ตัวเอง แต่ส่งนายประพล มิลินทจินดา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มา
รับหนังสือแทน แต่นายสาทิตย์ กล่าวว่า ลำบากใจมั้ย หากจะช่วยไปเรียนนายกฯ ให้ลง
มารับหนังสือสักนิด เพราะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล ขณะที่ นายประพล กล่าว
ว่า ไม่มีอะไร นายกฯ ได้มอบหมายให้มารับแทน ทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ทั้งนี้ นายสาทิตย์
ย้ำว่าจะรอยื่นหนังสือกับมือนายกฯ เอง นายประพล จึงเดินไปบนตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อกลับ
มาก็แจ้งว่า นายกฯ จะไปรอรับที่สภาวันนี้ (12 มิ.ย.) เวลา 11.30 น. เพราะตอนนี้ท่าน
ติดประชุม
นายสาทิตย์ กล่าวว่า หากนายกฯ สะดวกในวันนี้ที่สภา ถ้ามีเวลาผู้นำฝ่ายค้าน
ก็พร้อมจะพูดคุยกับนายกฯในเรื่องนี้ด้วย ขอให้แจ้งกับนายกฯด้วย จากนั้นนายสาทิตย์
จึงยื่นหนังสือให้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า จะใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 158 นายสาร
ทิตย์ กล่าวว่า มาตรา 158 กับ 179 เป็นคนละเรื่องกัน การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นอีก
กรณีหนึ่งที่รัฐมนตรีมีความผิดถึงขั้นทำงานต่อไปไม่ได้ เรื่องนั้นยังไม่ตัดสินใจ จะเป็น
ประโยชน์มากกว่าถ้าเป็นอภิปรายทั่วไป ซึ่งพูดได้ทุกเรื่องที่เป็นวิกฤติ ของบ้านเมือง
แต่ถ้าเป็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็เป็นเรื่องที่พูดกันเฉพาะไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเท่านั้น
เป็นคนละจุดมุ่งหมายกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาวิกฤตขนาดนี้ ถึงเวลายุบสภาแล้วหรือไม่ นายสาทิตย์
กล่าวว่า การยุบสภาเป็นสิทธิ์ของนายกฯ ซึ่งการยุบสภาในทุกครั้งต้องมีเหตุผล อธิบาย
ต่อประชาชน แต่วันนี้สิ่งที่เราอยากเห็นคือ การแก้ปัญหาให้กับประชาชนก่อน เพราะ 4
เดือน มานี้รัฐบาลมุ่งประเด็นปัญหาการเมืองเยอะกว่าแก้ไขปัญหาของประเทศ
**แฉแผนงาบรถเมล์เย็น 6 พันคัน
นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการติดตามการ
ปรับปรุงองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้
ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) 6,000 คัน ว่าในที่ 12 มิ.ย. ที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน
พรรคฝ่ายค้าน จะมีการพิจารณาข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ในมืออีกครั้งก่อนตัดสินใจว่าจะนำ
ไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ โดยหากจะมีการอภิปรายฯจริง ผู้ที่จะถูกอภิปราย
คือ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม และนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม ซึ่งทั้งหมด
เป็นคณะกรรมการจัดการระบบขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน
นายถาวร กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.50 ขสมก.
ได้มีการประกาศเชิญชวนภาคเอกชนให้มาศึกษาการจะเปลี่ยนรถโดยสารของขสมก.ที่
ใช้น้ำมันมาเป็นรถที่ก๊าซเอ็นจีวี ด้วยการให้บริษัทที่สนใจมาลงทุนทำเป็นรถทดลอง
โดยนำเครื่องเก่าออก แล้วติดตั้งเครื่องยนต์ระบบก๊าซ ซึ่งมีบริษัทที่สนใจ 10 ราย เข้าร่วม
แต่เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา ได้มีการตั้งคณะกรรมการกำกับ และขับเคลื่อนนโยบาย
ของรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 5 คณะ ที่รวมถึงคณะกรรมการชุดนี้ ที่
มีนายสมัคร เป็นประธาน ได้จัดทำโครงการเร่งด่วน ด้วยการขออนุมัติจากคณะ
กรรมการชุดนี้ในการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใหม่ 6,000 คัน จากบริษัทรายหนึ่ง ชื่อ
อักษรย่อ "G" ภายในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา และยังได้ถูกนำเข้าที่ประชุมครม. เป็นกรณีพิเศษ
ถือเป็นท่าทีลุกลี้ลุกลนของรัฐบาล
ทั้งนี้ จากเอกสารการศึกษาของ ขสมก. ที่ตนได้รับมา ระบุว่า ค่าเช่ารถโดยสาร
2,114 บาทต่อคัน ต่อวัน และยังมีค่าซ่อม ค่าอู่ ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าลงทุน และค่าใช้
จ่ายต่างๆ รวมเฉพาะตัวรถ เป็นเงิน 5,100 บาท ต่อคันต่อวัน ส่วนค่าเดินรถอีก 4,700 บาท
รวมเป็นเงิน 9,800 บาท อีกทั้งเอกสารนี้ ยังระบุว่า จากที่ขาดทุนในปี 51 จำนวน 7,192
ล้านบาท และปี 2 คาดว่าขาดทุน 12,392 ล้านบาท แต่เมื่อมีการเช่ารถโดยสารดังกล่าว
มาให้บริการ ขสมก.จะทำกำไรได้ในปี 53 จำนวน 690 ล้านบาท และทำกำไรมากขึ้น
อย่างต่อเนื่องในปีต่อๆไป ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ และถือเป็นการปั่นตัวเลขเหล่านี้
ขึ้นมาเพื่อทำให้โครงการนี้ผ่านการอนุมัติ เพราะตอนนี้ ขสมก.ขาดทุนเฉลี่ยปีละประมาณ
6,000 ล้านบาท โดยมีรถให้บริการประมาณ 3,000 คัน ผู้โดยสารก็มีเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
และขณะที่ระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟลอยฟ้า ก็มีเพิ่มขึ้น แล้วจะ
เอาผู้โดยสารรถขสมก.มาจากที่ไหนเพิ่ม อีกทั้ง เมื่อมีการเก็บค่าโดยสารแพงขึ้น เป็นอัตรา
15-30 บาท ประชาชนที่มีรายได้น้อย จะเลือกใช้บริการรถโดยสารดังกล่าวหรือ
โครงการนี้ยังเป็นการก่อสร้างหนี้จากการจ่ายค่าเช่ารถ 2,114 บาทต่อคันต่อวัน
โดยตั้งการเช่ารถไว้ 10 ปี รวมค่าเช่ารถคันละ 8 ล้านกว่าบาท ขณะที่เอกชนซื้อรถมาใน
ราคาคันละ 2.6-2.8 ล้านบาท อีกทั้ง การใช้วิธีเช่าแทนการเช่าซื้อนั้น จะทำให้ไม่ต้อง
ถูกกระบวนการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ตั้ง
ข้อสันนิษฐานได้ว่าการกระทำของรัฐบาลในเรื่องนี้ส่อทุจริต
นายถาวร กล่าวว่า ถ้าทำโครงการนี้สำเร็จ จะทำให้รัฐเกิดความเสียหาย
มากกว่า 1 หมื่นล้านบาท และจะมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะเป็นเงินมากกว่า 6 พันล้านบาท ซึ่ง
จะมีผู้บุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายได้รับเงินก้อนนี้ คือ 1.กลุ่มของ"มิสเตอร์ที" และ"มิสเตอร์
เอส" ที่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้
2. กลุ่มคนที่เป็นรัฐมนตรี และ 3.ผู้บัญชาการพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ที่อยู่
เบื้องหลังและสนิทสนมกับนักธุรกิจชาวจีนคนหนึ่ง ชื่อขึ้นต้นด้วยตัว "L" ของบริษัทที่
ชื่ออักษรย่อ "G" ซึ่งนักธุรกิจคนนี้กำลังถูกดำเนินคดีฐานนำรถนำเข้าโดยหลบเลี่ยงภาษี
ศุลกากร
นอกจากนี้ รมว.และรมช.คมนาคม เคยบอกว่าอยากได้บริษัทเอกชนรายเดียว
โดยอ้างว่า เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและดูแล ขณะที่โครงการที่มีมูลค่าแสนล้านบาท
บริษัทเอกชนต้องมีเงินค้ำประกันไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท ซึ่งส่อการล็อกสเปคในการ
เขียนทีโออาร์
** "สมพงษ์"เดือดถูกมองทำเพื่อ"แม้ว"
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่าต้องขอขอบคุณพรรคประชาธิ
ปัตย์ ที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจตน แต่จะหยิบประเด็นใดมาอภิปรายนั้น ยังไม่ทราบ แต่
ตนทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยเฉพาะเรื่องการโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง
นั้นสามารถตอบได้
นายสมพงษ์ กล่าวด้วยว่า หากมีการโหวต ตนก็ยังมั่นใจในเสียงของพรรค
ร่วมรัฐบาล เพราะอยู่ด้วยกัน และคงเข้าใจหลังจากฟังตนชี้แจง ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่ทำไป ไม่
ได้เอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถ้าสื่อถามแบบนี้
แสดงว่าพวกคุณถามลึกไปแล้ว ขอบอกว่าตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ปรารถนาจะมายุ่ง
เกี่ยวและเล่นการเมืองแล้ว ตนฟังแล้วไม่อยากจะไปพูดถึง เพราะเป็นการเอ่ยถึงโดยที่อีก
ฝ่ายไม่มีโอกาสตอบโต้ มันไม่ถูกเรื่อง
"มันเป็นธุระอะไรที่คนที่หยุดไปแล้ว แต่หยิบยกเขาขึ้นมาอีก หรือมองว่า
รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลนอมินี ของท่านทักษิณ ท่านก็พูดออกมาชัดๆว่า เป็นตรงไหน เปิด
อภิปรายไปเลย ทุกวันนี้รัฐบาลนี้ก็โดนโจมตีเป็นลูกระนาดอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่อง ธรรมดา
เพราะเราเป็นรัฐบาลเราก็ต้องอดทน เราไม่ต้องการว่าใครชกมาแล้วเราต้อง สวนไป เชื่อ
ว่าจะสามารถฝ่ามรสุมการเมืองช่วงนี้ไปได้อย่างแน่นอน" รมว.ยุติธรรม กล่าว
**"เป็ดเหลิม"มั่นใ"บรรหาร"ไม่ตีจาก
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.กระทรวงมหาดไทย กล่าวเป็นเรื่องที่ดีที่พรรค
ประชาธิปัตย์ จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะได้เป็นโอกาสที่รัฐบาลจะชี้แจงข้อเท็จจริง
และจะได้เป็นต้วอย่างให้กลุ่มพันธมิตรฯ ได้สำนึกว่าสิ่งที่ทำไปกีดขวางการจราจร หรือ
ไปทำอย่างอื่นนอกสภาสภามันไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ต้องว่ากันในรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลบริหารประเทศมา เพียง 4 เดือน ถือว่าเหมาะสมหรือไม่
ที่เปิดอภิปรายไม่ไว้ว่างใจ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เหมาะสม 7 วันก็ยื่นได้ ฝ่ายค้าน เขาคิด
ว่ามีเหตุมีผลอย่าไปว่าเขา เพราะทำตามครรลองระบอบประชาธิปไตย
"ใครเป็นรัฐมนตรีแล้วไม่ถูกอภิปราย มันเหมือนบวชพระไม่ได้รับกฐินและ
รีบสึกมาก่อน" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว และเชื่อว่านายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติ
ไทย จะไม่ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
"ไม่มีหรอกพี่บรรหาร เป็นคนดี เป็นคนมีความจริงใจ ท่านบรรหารไม่เคยหัก
หลังใคร ผมร่วมรัฐบาลกลับท่านมา จึงทราบดี"
**"เติ้ง"ปัดถอนตัวจากรัฐบาล
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวปฎิเสธเตรียม
พิจารณา ถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล โดยระบุว่าเป็นการไปตีความกันเองของสื่อ
เนื่องจาก มีผู้สื่อข่าวถามตนเรื่องสัญญา 5 ข้อ ตนก็บอกว่าต้องไปคุยกับพรรคเพื่อแผ่นดิน
เท่านั้นเอง ไปตีความกันเอง และก็ยังไม่ได้หารือกับพรรคเพื่อแผ่นดิน ตนไม่อยากพูดแล้ว
พูดอะไร ก็ไปตีความอีกทาง เมื่อมาถามมา ตนก็แค่บอกว่าแบบนี้ต้องไปคุยกับพรรค
เพื่อแผ่นดินเท่านั้น
มีรายงานว่า ในการประชุมพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา นาย
บรรหาร ได้กล่าวในที่ประชุมพรรคว่า ต่อจากนี้ไปส.ส.ของพรรคที่จะให้สัมภาษณ์ใน
ประเด็นการเมืองใดๆ ขอให้มาหารือกับตนก่อน เพราะขี้เกียจไปแก้ข่าวภายหลัง หรือ
ปรับความเข้าใจกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล
**
ชท.อ้างผิด 5 เงื่อนไขยังไม่ชัดเจน
นายเอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.พรรคชาติไทย กล่าวว่า จากการสอบถามนาย
บรรหาร ท่านปฎิเสธว่า ที่ให้สัมภาษณ์ไม่ได้หมายความว่าจะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
ส่วนที่ระบุว่าพรรคพลังประชาชนละเมิดสัญญา 5 ข้อในการเข้าร่วมรัฐบาลนั้น วันนี้ยัง
ไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว แต่จริงๆ แล้วก็ไม่มีอะไร
ส่วนที่
นาย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน ระบุว่า หากพรรค
ชาติไทยไม่พอใจก็ให้ถอนตัวออกจากรัฐบาลนั้น นายเอกพจน์ กล่าวว่า นายสุรพงษ์ คง
เข้าใจคาดเคลื่อน เมื่อฟังการให้สัมภาษณ์แล้วท่านก็คงคิดไปในอีก มุมหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้
มองได้หลายมุม แต่ยืนยันว่านายบรรหารไม่ได้หมายความว่า อย่างนั้น "เรื่อง
มันไม่มีอะไรเลย แต่คำพูดของนายสุรพงษ์ อาจจะทำให้มันมีเลยก็ได้ ดังนั้นคงต้องให้
ผู้ใหญ่ของพรรคพลังประชาชน ช่วยเตือนด้วย" นายเอกพจน์ กล่าว
ยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม นายมิ่งขวัญ แสง
สุวรรณ รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม ว่า เป็น
การทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าไม่เอาใจใส่แก้
ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในเรื่องเศรษฐกิจ ของแพง และราคาน้ำมัน ซึ่ง
รัฐบาลไม่ได้ทำอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอัน รวมทั้งปัญหา 3 จ.ชายแดนภาคใต้ ก็ไม่แสดงความ
เอาใจใส่เท่าที่ควร
ส่วนจะอภิปรายเรื่องวุฒิภาวะผู้นำของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
และ รมว.กลาโหม ด้วยหรือไม่นั้น นายสุเทพ กล่าวว่า "หากพูดเรื่องนี้เดี๋ยวนายกฯ ก็จะ
หน้าบูดบึ้งอีก ผมไม่อยากจะพูด"
นายสุเทพ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้เมื่อข้า
ราชการ และประชาชนทราบว่า พรรคประชาธิปัตย์ จะเปิดอภิปราย ไม่ไว้วางใจรัฐบาล
ก็ได้ส่งข้อมูลมาให้มากมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ของพรรรค กำลังรวบรวมเพื่อเสนอต่อคณะ
กรรมการบริหารพรรคอยู่ แต่ขณะนี้ข้อมูลยังไม่เพียงพอที่จะเปิดอภิปรายฯ จะต้องมี
ข้อมูลที่ลึกกว่านี้เพื่อจะบีบให้มั่นคั้นให้ตาย
อย่างไรก็ตาม การอภิปรายไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องการทุจริตเสมอไป แม้ที่ผ่าน
มา พรรคจะเน้นอภิปรายเรื่องทุจริต แต่หากการบริหารงานของรัฐบาลทำให้ บ้านเมือง
เสียหาย แม้ไม่มีการทุจริตเกิดขึ้น แต่ทำไม่ถูกต้องไม่เอาใจใส่การแก้ปัญหา เราก็อภิปราย
ได้ ซึ่งขณะนี้พรรคเห็นปัญหาบ้างแล้ว ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการ รวบรวม ข้อมูลอยู่ แต่คง
ไม่ประสานขอข้อมูลจาก คตส. เพราะพรรคมีข้อมูลอยู่แล้ว ทั้งเรื่อง เอ็กซิม แบงก์ ปล่อย
กู้ให้พม่า และอื่นๆ ที่ตนเคยนำไปอภิปรายหลายครั้ง
**ชี้ท่าทีพรรคร่วมรัฐบาลอยู่ไม่นาน
สำหรับท่าทีของพรรคร่วมรัฐบาลนั้น นายสุเทพ มองว่า แปลกๆ และไม่เข้า
ใจที่ ส.ส.ของพรรคแกนนำรัฐบาล ออกมาไล่ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ซึ่งหากประเมิน
สถานการณ์ของพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็นเช่นนี้แล้ว คิดว่าคงอยู่ได้ไม่นาน "เริ่มเห็น
โหงวเฮ้งของนายกฯ ที่แสดงท่าที ตั้งแต่เรื่องที่จะใช้ความรุนแรงสลายม็อบพันธมิตรฯ
ซึ่งพรรคร่วมก็มีอาการแล้ว และเรื่องแก้ หรือไม่แก้ รัฐธรรมนูญ รวมทั้งการลงประชามติ
และที่บอกว่า ส.ส.ฟังคำสั่ง เนวิน ชิดชอบ คนเดียวนั้น สร้างความอึดอัดให้รัฐบาล ซึ่ง
รัฐบาลต้องทำอะไร เพราะขืนอยู่อย่างนี้ก็แย่"
**
แนะนายกฯปรับใหญ่ครม.
ส่วนพรรคร่วมรัฐบาล จะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาลหรือไม่นั้น นายสุเทพ
กล่าวว่า หากตนเป็นนายกฯ จะรีบปรับ ครม.ชุดใหญ่ เพื่อให้การทำงานดีขึ้น ส่วน
ประชาชนยังจะหวังในพรรคร่วมรัฐบาลได้หรือไม่ เพราะนายบรรหาร ศิลปอาชา หัว
หน้าพรรคชาติไทย ก็ออกมาระบุว่า ขอหารือกับพรรคเพื่อแผ่นดินในการทบทวน การเข้า
ร่วมรัฐบาลก่อน
นายสุเทพ กล่าวว่า คิดว่าประชาชนที่เลือกนักการเมืองเข้ามา ก็หวังที่จะพึ่ง
นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งทั้ง 5 พรรคร่วม ต้องรับผิดชอบต่อประชาชน
เพื่อให้เกิดความไว้วางใจ
ส่วนที่กลุ่มพันธมิตรฯ เรียกร้องให้พรรคร่วมรัฐบาล ทบทวนการร่วมรัฐบาล
เพราะผิดเงื่อนไข 5 ข้อที่เข้าร่วมรัฐบาลนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า ความจริงผู้นำของพรรค
ร่วมรัฐบาลก็มีประสบการณ์ทางการเมืองมามาก คิดว่าพรรคร่วมก็ต้องวัดใจประชาชน
อยู่แล้ว ว่าที่ทำงานถูกใจประชาชนหรือไม่ เมื่อถึงเวลาเชื่อว่า พรรคร่วมก็คงตัดสินใจได้
เอง
**ปชป.ยื่นใช้ ม.179 เปิดอภิปราย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.00 น. วานนี้ (11 มิ.ย.) วิปฝ่ายค้าน นำโดย
นายสาทิตย์ วงษ์หนองเตย ประธานวิปฝ่ายค้าน พร้อมด้วย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กว่า 10
คน ได้เดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล เพื่อยื่นหนังสือถึง นายสมัคร สุนทรเวช นายก
รัฐมนตรี เพื่อขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมรัฐสภา ตามมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญ
โดยในหนังสือลงนาม โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะหัวหน้าพรรค ระบุว่า ขณะนี้บ้านเมือง
เกิดวิกฤติทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เกิดภาวะสินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง
น้ำมันเพิ่ม ประชาชนได้รับความเดือนร้อน รวมถึงวิกฤติความขัดแย้งในสังคมอย่าง
รุนแรง จากการบริหางานของรัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร
เริ่มจากการคัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ บริหารประเทศไม่เป็นไปตามหลักธร
รมาภิบาล โยกย้ายข้าราชการ ที่ไม่เป็นธรรม ใช้กลไกราชการเพื่อเอื้อประโยชน์ทางการ
เมือง จากสถานการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุให้วุฒิสภาจำนวนหนึ่งเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไป
ตามมาตรา 161 เพื่อคลีคลายปัญหา ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์ ก็มีความห่วงใย ในสถานการณ์
เช่นเดียวกัน จึงอยากให้นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 179 เพื่อเปิด
โอกาสให้มีการอภิปรายร่วมกันทั้งสองสภา เพื่อลดการเผชิญหน้า และความขัดแย้งของ
กลุ่มต่างๆ ในสังคม พร้อมทั้งหาทางออกและยุติปัญหาวิกฤติ ด้านต่างๆ
**
ผู้นำฝ่ายค้านขอพบนายกฯวันนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสมัคร ไม่ได้ลงมา
รับหนังสือด้วย ตัวเอง แต่ส่งนายประพล มิลินทจินดา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี มา
รับหนังสือแทน แต่นายสาทิตย์ กล่าวว่า ลำบากใจมั้ย หากจะช่วยไปเรียนนายกฯ ให้ลง
มารับหนังสือสักนิด เพราะเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล ขณะที่ นายประพล กล่าว
ว่า ไม่มีอะไร นายกฯ ได้มอบหมายให้มารับแทน ทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ทั้งนี้ นายสาทิตย์
ย้ำว่าจะรอยื่นหนังสือกับมือนายกฯ เอง นายประพล จึงเดินไปบนตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อกลับ
มาก็แจ้งว่า นายกฯ จะไปรอรับที่สภาวันนี้ (12 มิ.ย.) เวลา 11.30 น. เพราะตอนนี้ท่าน
ติดประชุม
นายสาทิตย์ กล่าวว่า หากนายกฯ สะดวกในวันนี้ที่สภา ถ้ามีเวลาผู้นำฝ่ายค้าน
ก็พร้อมจะพูดคุยกับนายกฯในเรื่องนี้ด้วย ขอให้แจ้งกับนายกฯด้วย จากนั้นนายสาทิตย์
จึงยื่นหนังสือให้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ว่า จะใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 158 นายสาร
ทิตย์ กล่าวว่า มาตรา 158 กับ 179 เป็นคนละเรื่องกัน การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นอีก
กรณีหนึ่งที่รัฐมนตรีมีความผิดถึงขั้นทำงานต่อไปไม่ได้ เรื่องนั้นยังไม่ตัดสินใจ จะเป็น
ประโยชน์มากกว่าถ้าเป็นอภิปรายทั่วไป ซึ่งพูดได้ทุกเรื่องที่เป็นวิกฤติ ของบ้านเมือง
แต่ถ้าเป็นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็เป็นเรื่องที่พูดกันเฉพาะไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเท่านั้น
เป็นคนละจุดมุ่งหมายกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ปัญหาวิกฤตขนาดนี้ ถึงเวลายุบสภาแล้วหรือไม่ นายสาทิตย์
กล่าวว่า การยุบสภาเป็นสิทธิ์ของนายกฯ ซึ่งการยุบสภาในทุกครั้งต้องมีเหตุผล อธิบาย
ต่อประชาชน แต่วันนี้สิ่งที่เราอยากเห็นคือ การแก้ปัญหาให้กับประชาชนก่อน เพราะ 4
เดือน มานี้รัฐบาลมุ่งประเด็นปัญหาการเมืองเยอะกว่าแก้ไขปัญหาของประเทศ
**แฉแผนงาบรถเมล์เย็น 6 พันคัน
นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการติดตามการ
ปรับปรุงองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) โครงการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใช้
ก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) 6,000 คัน ว่าในที่ 12 มิ.ย. ที่ประชุมคณะกรรมการประสานงาน
พรรคฝ่ายค้าน จะมีการพิจารณาข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ในมืออีกครั้งก่อนตัดสินใจว่าจะนำ
ไปสู่การอภิปรายไม่ไว้วางใจหรือไม่ โดยหากจะมีการอภิปรายฯจริง ผู้ที่จะถูกอภิปราย
คือ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯ และรมว.คลัง
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม และนายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.คมนาคม ซึ่งทั้งหมด
เป็นคณะกรรมการจัดการระบบขนส่งทางรางและขนส่งมวลชน
นายถาวร กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.50 ขสมก.
ได้มีการประกาศเชิญชวนภาคเอกชนให้มาศึกษาการจะเปลี่ยนรถโดยสารของขสมก.ที่
ใช้น้ำมันมาเป็นรถที่ก๊าซเอ็นจีวี ด้วยการให้บริษัทที่สนใจมาลงทุนทำเป็นรถทดลอง
โดยนำเครื่องเก่าออก แล้วติดตั้งเครื่องยนต์ระบบก๊าซ ซึ่งมีบริษัทที่สนใจ 10 ราย เข้าร่วม
แต่เมื่อมีรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา ได้มีการตั้งคณะกรรมการกำกับ และขับเคลื่อนนโยบาย
ของรัฐบาล เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา แบ่งเป็น 5 คณะ ที่รวมถึงคณะกรรมการชุดนี้ ที่
มีนายสมัคร เป็นประธาน ได้จัดทำโครงการเร่งด่วน ด้วยการขออนุมัติจากคณะ
กรรมการชุดนี้ในการเช่ารถโดยสารปรับอากาศใหม่ 6,000 คัน จากบริษัทรายหนึ่ง ชื่อ
อักษรย่อ "G" ภายในเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา และยังได้ถูกนำเข้าที่ประชุมครม. เป็นกรณีพิเศษ
ถือเป็นท่าทีลุกลี้ลุกลนของรัฐบาล
ทั้งนี้ จากเอกสารการศึกษาของ ขสมก. ที่ตนได้รับมา ระบุว่า ค่าเช่ารถโดยสาร
2,114 บาทต่อคัน ต่อวัน และยังมีค่าซ่อม ค่าอู่ ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าลงทุน และค่าใช้
จ่ายต่างๆ รวมเฉพาะตัวรถ เป็นเงิน 5,100 บาท ต่อคันต่อวัน ส่วนค่าเดินรถอีก 4,700 บาท
รวมเป็นเงิน 9,800 บาท อีกทั้งเอกสารนี้ ยังระบุว่า จากที่ขาดทุนในปี 51 จำนวน 7,192
ล้านบาท และปี 2 คาดว่าขาดทุน 12,392 ล้านบาท แต่เมื่อมีการเช่ารถโดยสารดังกล่าว
มาให้บริการ ขสมก.จะทำกำไรได้ในปี 53 จำนวน 690 ล้านบาท และทำกำไรมากขึ้น
อย่างต่อเนื่องในปีต่อๆไป ซึ่งไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ และถือเป็นการปั่นตัวเลขเหล่านี้
ขึ้นมาเพื่อทำให้โครงการนี้ผ่านการอนุมัติ เพราะตอนนี้ ขสมก.ขาดทุนเฉลี่ยปีละประมาณ
6,000 ล้านบาท โดยมีรถให้บริการประมาณ 3,000 คัน ผู้โดยสารก็มีเพิ่มขึ้นไม่มากนัก
และขณะที่ระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟลอยฟ้า ก็มีเพิ่มขึ้น แล้วจะ
เอาผู้โดยสารรถขสมก.มาจากที่ไหนเพิ่ม อีกทั้ง เมื่อมีการเก็บค่าโดยสารแพงขึ้น เป็นอัตรา
15-30 บาท ประชาชนที่มีรายได้น้อย จะเลือกใช้บริการรถโดยสารดังกล่าวหรือ
โครงการนี้ยังเป็นการก่อสร้างหนี้จากการจ่ายค่าเช่ารถ 2,114 บาทต่อคันต่อวัน
โดยตั้งการเช่ารถไว้ 10 ปี รวมค่าเช่ารถคันละ 8 ล้านกว่าบาท ขณะที่เอกชนซื้อรถมาใน
ราคาคันละ 2.6-2.8 ล้านบาท อีกทั้ง การใช้วิธีเช่าแทนการเช่าซื้อนั้น จะทำให้ไม่ต้อง
ถูกกระบวนการตรวจสอบของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน(สตง.) สิ่งเหล่านี้จึงทำให้ตั้ง
ข้อสันนิษฐานได้ว่าการกระทำของรัฐบาลในเรื่องนี้ส่อทุจริต
นายถาวร กล่าวว่า ถ้าทำโครงการนี้สำเร็จ จะทำให้รัฐเกิดความเสียหาย
มากกว่า 1 หมื่นล้านบาท และจะมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะเป็นเงินมากกว่า 6 พันล้านบาท ซึ่ง
จะมีผู้บุคคลที่เกี่ยวข้อง 3 ฝ่ายได้รับเงินก้อนนี้ คือ 1.กลุ่มของ"มิสเตอร์ที" และ"มิสเตอร์
เอส" ที่ร่วมอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้
2. กลุ่มคนที่เป็นรัฐมนตรี และ 3.ผู้บัญชาการพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ที่อยู่
เบื้องหลังและสนิทสนมกับนักธุรกิจชาวจีนคนหนึ่ง ชื่อขึ้นต้นด้วยตัว "L" ของบริษัทที่
ชื่ออักษรย่อ "G" ซึ่งนักธุรกิจคนนี้กำลังถูกดำเนินคดีฐานนำรถนำเข้าโดยหลบเลี่ยงภาษี
ศุลกากร
นอกจากนี้ รมว.และรมช.คมนาคม เคยบอกว่าอยากได้บริษัทเอกชนรายเดียว
โดยอ้างว่า เพื่อให้ง่ายต่อการบริหารและดูแล ขณะที่โครงการที่มีมูลค่าแสนล้านบาท
บริษัทเอกชนต้องมีเงินค้ำประกันไม่ต่ำกว่า 5 พันล้านบาท ซึ่งส่อการล็อกสเปคในการ
เขียนทีโออาร์
** "สมพงษ์"เดือดถูกมองทำเพื่อ"แม้ว"
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่าต้องขอขอบคุณพรรคประชาธิ
ปัตย์ ที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจตน แต่จะหยิบประเด็นใดมาอภิปรายนั้น ยังไม่ทราบ แต่
ตนทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยเฉพาะเรื่องการโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง
นั้นสามารถตอบได้
นายสมพงษ์ กล่าวด้วยว่า หากมีการโหวต ตนก็ยังมั่นใจในเสียงของพรรค
ร่วมรัฐบาล เพราะอยู่ด้วยกัน และคงเข้าใจหลังจากฟังตนชี้แจง ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่ทำไป ไม่
ได้เอื้อประโยชน์ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถ้าสื่อถามแบบนี้
แสดงว่าพวกคุณถามลึกไปแล้ว ขอบอกว่าตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ปรารถนาจะมายุ่ง
เกี่ยวและเล่นการเมืองแล้ว ตนฟังแล้วไม่อยากจะไปพูดถึง เพราะเป็นการเอ่ยถึงโดยที่อีก
ฝ่ายไม่มีโอกาสตอบโต้ มันไม่ถูกเรื่อง
"มันเป็นธุระอะไรที่คนที่หยุดไปแล้ว แต่หยิบยกเขาขึ้นมาอีก หรือมองว่า
รัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลนอมินี ของท่านทักษิณ ท่านก็พูดออกมาชัดๆว่า เป็นตรงไหน เปิด
อภิปรายไปเลย ทุกวันนี้รัฐบาลนี้ก็โดนโจมตีเป็นลูกระนาดอยู่แล้ว ซึ่งเป็นเรื่อง ธรรมดา
เพราะเราเป็นรัฐบาลเราก็ต้องอดทน เราไม่ต้องการว่าใครชกมาแล้วเราต้อง สวนไป เชื่อ
ว่าจะสามารถฝ่ามรสุมการเมืองช่วงนี้ไปได้อย่างแน่นอน" รมว.ยุติธรรม กล่าว
**"เป็ดเหลิม"มั่นใ"บรรหาร"ไม่ตีจาก
ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง รมว.กระทรวงมหาดไทย กล่าวเป็นเรื่องที่ดีที่พรรค
ประชาธิปัตย์ จะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะได้เป็นโอกาสที่รัฐบาลจะชี้แจงข้อเท็จจริง
และจะได้เป็นต้วอย่างให้กลุ่มพันธมิตรฯ ได้สำนึกว่าสิ่งที่ทำไปกีดขวางการจราจร หรือ
ไปทำอย่างอื่นนอกสภาสภามันไม่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย ต้องว่ากันในรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลบริหารประเทศมา เพียง 4 เดือน ถือว่าเหมาะสมหรือไม่
ที่เปิดอภิปรายไม่ไว้ว่างใจ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า เหมาะสม 7 วันก็ยื่นได้ ฝ่ายค้าน เขาคิด
ว่ามีเหตุมีผลอย่าไปว่าเขา เพราะทำตามครรลองระบอบประชาธิปไตย
"ใครเป็นรัฐมนตรีแล้วไม่ถูกอภิปราย มันเหมือนบวชพระไม่ได้รับกฐินและ
รีบสึกมาก่อน" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว และเชื่อว่านายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติ
ไทย จะไม่ถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
"ไม่มีหรอกพี่บรรหาร เป็นคนดี เป็นคนมีความจริงใจ ท่านบรรหารไม่เคยหัก
หลังใคร ผมร่วมรัฐบาลกลับท่านมา จึงทราบดี"
**"เติ้ง"ปัดถอนตัวจากรัฐบาล
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวปฎิเสธเตรียม
พิจารณา ถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล โดยระบุว่าเป็นการไปตีความกันเองของสื่อ
เนื่องจาก มีผู้สื่อข่าวถามตนเรื่องสัญญา 5 ข้อ ตนก็บอกว่าต้องไปคุยกับพรรคเพื่อแผ่นดิน
เท่านั้นเอง ไปตีความกันเอง และก็ยังไม่ได้หารือกับพรรคเพื่อแผ่นดิน ตนไม่อยากพูดแล้ว
พูดอะไร ก็ไปตีความอีกทาง เมื่อมาถามมา ตนก็แค่บอกว่าแบบนี้ต้องไปคุยกับพรรค
เพื่อแผ่นดินเท่านั้น
มีรายงานว่า ในการประชุมพรรคชาติไทย เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ที่ผ่านมา นาย
บรรหาร ได้กล่าวในที่ประชุมพรรคว่า ต่อจากนี้ไปส.ส.ของพรรคที่จะให้สัมภาษณ์ใน
ประเด็นการเมืองใดๆ ขอให้มาหารือกับตนก่อน เพราะขี้เกียจไปแก้ข่าวภายหลัง หรือ
ปรับความเข้าใจกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล
**
ชท.อ้างผิด 5 เงื่อนไขยังไม่ชัดเจน
นายเอกพจน์ ปานแย้ม ส.ส.พรรคชาติไทย กล่าวว่า จากการสอบถามนาย
บรรหาร ท่านปฎิเสธว่า ที่ให้สัมภาษณ์ไม่ได้หมายความว่าจะถอนตัวจากการร่วมรัฐบาล
ส่วนที่ระบุว่าพรรคพลังประชาชนละเมิดสัญญา 5 ข้อในการเข้าร่วมรัฐบาลนั้น วันนี้ยัง
ไม่มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว แต่จริงๆ แล้วก็ไม่มีอะไร
ส่วนที่
นาย สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส.เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน ระบุว่า หากพรรค
ชาติไทยไม่พอใจก็ให้ถอนตัวออกจากรัฐบาลนั้น นายเอกพจน์ กล่าวว่า นายสุรพงษ์ คง
เข้าใจคาดเคลื่อน เมื่อฟังการให้สัมภาษณ์แล้วท่านก็คงคิดไปในอีก มุมหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้
มองได้หลายมุม แต่ยืนยันว่านายบรรหารไม่ได้หมายความว่า อย่างนั้น "เรื่อง
มันไม่มีอะไรเลย แต่คำพูดของนายสุรพงษ์ อาจจะทำให้มันมีเลยก็ได้ ดังนั้นคงต้องให้
ผู้ใหญ่ของพรรคพลังประชาชน ช่วยเตือนด้วย" นายเอกพจน์ กล่าว