จากการบรรยายของ ศ.ดร.มนัส สุวรรณ ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2551 เรื่อง “บางคำอธิบายทางภูมิศาสตร์สำหรับโบราณอุบาย “ฮวงจุ้ย” ของจีน และ “ชัยภูมิ” ของไทย” ซึ่งเป็นบทความและการบรรยายที่ดีมาก โดยผู้บรรยายชี้ให้เห็นถึงความเป็นศาสตร์และเป็นศิลป์ของวิชาฮวงจุ้ย แต่สิ่งซึ่งจะขยายความเพิ่มเติมจากบทความดังกล่าวนั้นซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์พอสมควรในทางวิชาการ และในทางความรู้ต่อบุคคลทั่วไปก็คือ การพิจารณาถึงนรลักษณ์ (โหงวเฮ้ง) และชัยภูมิ (ฮวงจุ้ย) โดยมองจากแง่จิตวิทยาและสังคมศาสตร์ซึ่งแตกต่างจากที่ ดร.มนัส กล่าวมา แต่ก็จะเป็นการเสริมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า มนุษย์ให้ความสนใจเกี่ยวกับชีวิตและความเจริญก้าวหน้า ความปลอดภัยและความสุขสบาย ความมีโชค มีทรัพย์ศฤงคารและตำแหน่ง เนื่องจากยังอยู่ในวัฏฎสงสารคือ เวียน ว่าย ตาย เกิด และยังมีความต้องการหรือมีกิเลสตัณหาอย่างที่สิ่งมีชีวิตจะมีกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์นั้นยังมีความต้องการที่เป็นนามธรรมไกลกว่าสัตว์เดรัจฉานมาก เช่น ต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียงและอำนาจ ซึ่งไม่ได้เกิดจากสัญชาตญาณแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากสิ่งปรุงแต่งเนื่องจากมีสมองและปัญญาที่จะคิดสิ่งที่ต้องการเกินกว่าสัญชาตญาณจะกำหนด
ในส่วนของดวงชะตามนุษย์ก็มีปรัชญาที่ต้องการมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าและมีความสุข รวมทั้งมีอายุที่ยืนยาว ฮกลกซิ่วของจีนซึ่งได้แก่ตุ๊กตาสามตัวนั้น ในแง่หนึ่งเป็นอุดมคติของชีวิตคือ มีโชควาสนา (ฮก) มีตำแหน่งหน้าที่การงานและอำนาจ (ลก) และมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง (ซิ่ว) ผู้ใดบรรลุถึงสามจุดก็ถือว่าเป็นคนโชคดี กรณีของซิ่วนั้นผู้เขียนอยากจะเพิ่มเติมว่าจะต้องมีอายุยืนยาวโดยมีความสุขเนื่องจากมีสุขภาพแข็งแรง และมีลูกหลานที่ทำให้เกิดความสุขและสบายใจ ไม่ใช่ลูกหลานที่เกเรสร้างความทุกข์ใจให้กับตนเมื่ออยู่ในปัจฉิมวัย
และจากความต้องการดังกล่าวนี้มนุษย์ก็พยายามหาทางทำเคล็ดต่างๆ ตั้งแต่การตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาในบ้าน เช่น ศาลพระภูมิ การพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตในภายภาคหน้าด้วยการผูกดวง ดูลายมือ ดูเลข 7 ตัว หรือหาหมอดูที่มีญาณพิเศษ เช่น อีทีซึ่งเป็นชาวพม่า นอกจากนั้นยังมีวิธีการทำนายอนาคตได้จากการดูใบหน้า 5 ส่วน (โหงวเฮ้ง) ซึ่งก็คือนรลักษณ์ คือลักษณะของมนุษย์ (physiognomy) โดยสามารถจะทำนายบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย จากหน้าผาก คิ้ว ตา หู จมูก ปาก คาง เสียง กิริยาท่าทาง การพูดจา และสามารถจะทำนายช่วงอายุจากส่วนต่างๆ ของใบหน้าลงมาเป็นช่วงๆ เช่น อายุระหว่างนั้นถึงระหว่างนั้นจะอยู่ที่ส่วนไหนของใบหน้า เนื่องจากความต้องการอยากรู้อนาคตและอยากมีชีวิตที่ดี มนุษย์ก็พยายามทำให้โหงวเฮ้งของตนสอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น อาจจะมีการผ่าตัดแต่งหน้า เติมคิ้ว หรือทำประการใดก็ตามที่ให้ใบหน้าสอดคล้องกับความโชคดี เป็นสิริมงคล
จากการให้น้ำหนักกับใบหน้าหรือนรลักษณ์ ก็มาถึงการให้น้ำหนักกับที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน โดยดูที่ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ให้สอดคล้องกับสายลม แสงแดด และน้ำ โดยวิชานี้เรียกว่า ฮวงจุ้ย “ฮวง” ได้แก่ ลม “จุ้ย” ได้แก่ น้ำ (ภาษาแต้จิ๋ว) ภาษาอังกฤษก็คือ geomancy ส่วนภาษาไทยนั้นอาจจะใช้คำว่า “ชัยภูมิ” คือพื้นที่ที่นำไปสู่ชัยชนะแปลว่าเป็นพื้นที่ที่ดีประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ศัพท์ตัวนี้เป็นศัพท์ที่ ดร.มนัส นำมากล่าวถึง
ในกรณีของชัยภูมินั้นยังโยงไปถึงเรื่องของวิชาทางรัฐศาสตร์ นั่นคือ ภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) โดยภูมิรัฐศาสตร์บางจุดเมื่อตั้งเมืองขึ้นมาจะทำให้ปลอดจากการโจมตีได้โดยง่าย ทำเลเหมาะสมกับการพัฒนาเนื่องจากอยู่ติดแม่น้ำใหญ่หรือทะเล หรืออยู่บนภูเขาสูง จนมีความเชื่อว่าชนชาติใดยึดจุดยุทธศาสตร์บางจุดได้ก็สามารถจะสร้างความมั่นคงให้กับรัฐของตน จนนำไปสู่การเป็นมหาอำนาจได้
วิชาฮวงจุ้ยหรือชัยภูมิจึงเป็นวิชาที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้กับการเลือกทำเลในการสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างสำนักงาน รวมตลอดทั้งการหาหลุมฝังศพเมื่อถึงแก่กรรม โดยเชื่อว่าลมกับน้ำซึ่งในความเป็นจริงจะต้องมีแสงแดดด้วย จะเป็นส่วนเสริมอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตที่มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ทำเลทำให้เกิดความเจริญทางการค้า การประกอบอาชีพ แต่ถ้าเป็นกรณีเมืองจะเป็นเมืองที่นำไปสู่ความรุ่งเรือง เป็นต้นว่า นครนิวยอร์กซึ่งอยู่ริมทะเล นครปักกิ่งซึ่งอยู่จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทำให้แผ่อำนาจไปทางใต้และป้องกันการรุกรานจากทางเหนือได้
ทั้ง นรลักษณ์ และชัยภูมิ จึงเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะสร้างความสุข ความเจริญมั่งคั่งให้แก่ตัวเอง รวมทั้งสามารถจะทำนายทายทักอนาคตเพื่อให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ความชาญฉลาดของมนุษย์ในการหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จนกลายเป็นความเชื่อ ทำให้เกิดมีแนวทางของการปฏิบัติและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวได้ในการดำรงชีวิต
แต่ในความเป็นจริงซึ่งไม่มีการกล่าวเน้นไว้ ทั้งในแง่นรลักษณ์คือลักษณะของใบหน้าและบุคลิกก็ดี และในแง่ของชัยภูมิคือการมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับอารมณ์ของมนุษย์ มนุษย์ผู้ใดที่มีคนเห็นและเกิดความนิยมชมชอบ หรือมีลักษณะเกรง หรือรู้สึกเป็นคนมีเสน่ห์ ก็จะมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ผู้นั้นสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีลักษณะสกปรก หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายุ่งเหยิง ต่อให้นรลักษณ์ดีอย่างไรก็จะทำให้ผู้อื่นที่จะสัมพันธ์ด้วยนั้นไม่สามารถสร้างความสนิทสนมได้ แต่ในส่วนของชัยภูมิทันทีที่เห็นทิวทัศน์เบื้องหน้า มีน้ำ มีลมพัดพา แสงแดดทอแสงถูกน้ำเป็นประกายระยิบระยับ ผู้ที่ยืนอยู่เบื้องหน้านั้นก็จะเกิดความสบายอารมณ์ และสามารถจินตนาการไปได้ว่าถ้าหากสร้างบ้านตรงนั้นทั้งเช้าและเย็นก็จะได้ทั้งไอเย็นจากน้ำ แสงแดด และลมที่พัดผ่าน และนี่คือหลักที่ธรรมดาของฮวงจุ้ยซึ่งสอดคล้องกับหลักภูมิศาสตร์
ในส่วนทำเลของการทำธุรกิจนั้น ในที่ที่จะทำให้อาคารที่สร้างขึ้นมีจุดเด่น หรือเป็นทำเลที่มีคนผ่านไปมา การเรียกลูกค้าก็จะง่ายกว่าไปที่ที่เดินทางลำบาก ทำเลการค้า ทำเลการประกอบธุรกิจ จึงต้องนำเอาความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้ซึ่งมาติดต่อข้องแวะด้วยมาพิจารณา ซึ่งในส่วนนี้จะเห็นได้ว่ามีการเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของมนุษย์อยู่มาก
ในส่วนของภูมิรัฐศาสตร์นั้นก็ถือเป็นฮวงจุ้ยชนิดหนึ่ง จะลองยกตัวอย่างให้ดูสัก 2-3 ตัวอย่าง นอกจากปักกิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น กรุงศรีอยุธยาเมื่อเปรียบกับสุโขทัยจะมีข้อได้เปรียบอยู่มาก อยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่บนเกาะ มีน้ำล้อมรอบ ทำให้ง่ายต่อการป้องกันประเทศ ที่สำคัญมีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย คือ ป่าสัก ลพบุรี และเจ้าพระยา ซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา มีที่นาสำหรับเพาะปลูกกว้างใหญ่ไพศาล นอกจากนั้นยังไม่ห่างไกลจากทะเล สามารถออกทะเลได้ การติดต่อกับต่างชาติและการค้าขายจึงกระทำได้อย่างดี สินค้าทางเหนือ ทางตะวันออกเฉียงเหนือสามารถมาประดังที่จุดศูนย์กลางคืออยุธยา การอยู่ใกล้ทะเลยังทำให้ได้ข่าวสารข้อมูลเร็วกว่าทางเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิรัฐศาสตร์ในส่วนนี้ทำให้เกิดความได้เปรียบอย่างมาก
ในกรณีของประเทศไทยขวานทองปัจจุบันซึ่งทางทิศตะวันตกเป็นประเทศพม่า ตะวันออกเฉียงเหนือคือประเทศลาว ตะวันออกเฉียงใต้ลงมาคือกัมพูชา ตะวันออกคือเวียดนาม ใต้สุดคือมาเลเซีย ถ้ามองในรูปนี้ ภูมิรัฐศาสตร์ของไทยก็คือจุดกลางของภูมิภาคเทียบได้กับดุมล้อเกวียน จึงไม่แปลกที่จะเป็นศูนย์กลางของการบินและการท่องเที่ยว เพราะเมื่อลงที่ดุมล้อสามารถฉีกซ้ายฉีกขวา ขึ้นเหนือลงใต้ได้ ภูมิรัฐศาสตร์ของไทยในส่วนนี้มีทั้งทะเล มีแม่น้ำเจ้าพระยา มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ผลไม้หลากหลาย เป็นศูนย์ของคนต่างชาติที่เดินทางมาในฐานะท่องเที่ยว กรุงเทพฯ จึงมีภัตตาคารหลายชนิด และกรุงเทพฯ จะไม่ตื่นกับใบหน้าแปลกๆ ของชาติต่างๆ
ข้อสังเกตคือ ภูมิรัฐศาสตร์ที่จะตั้งเมืองนั้นมักจะมีแม่น้ำใหญ่ผ่าน มิฉะนั้นก็อยู่ริมทะเล หรืออยู่ใจกลางภูเขา แม่น้ำและทะเลเป็นแหล่งอารยธรรมของความเจริญรุ่งเรือง เป็นแหล่งการคมนาคม การขนส่ง การผลิตอาหาร และเป็นที่ชุมนุมของประชากรเป็นจำนวนมาก แม่น้ำไนล์นำไปสู่อารยธรรมเก่าแก่คืออียิปต์ แม่น้ำเหลืองหรือฮวงโห แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสินธุ แม่น้ำเทมส์ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำมุก ฯลฯ ล้วนแต่เป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่ ในกรณีของทะเลนั้นมีอยู่หลายเมืองด้วยกันตั้งแต่นิวยอร์ก ซีแอตเติล โตเกียว ฯลฯ
ในแง่ทะเลยังเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมตามยุค เช่น มีการกล่าวว่ามหาสมุทรที่นำไปสู่อารยธรรมในอดีตนั้นได้แก่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งได้แก่ กรีก และโรมัน และต่อมาซึ่งถือว่าเป็นยุคปัจจุบันคือมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งได้แก่ ประเทศยุโรปตะวันตก และมีการกล่าวว่าอารยธรรมในอนาคตหรือความเจริญในอนาคตจะไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก (the Mediterranean is the ocean of the past, the Atlantic the present and the Pacific the future) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการคมนาคม ความเจริญในการสื่อสาร ทำให้ความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ลดลงเพราะข่าวสารสามารถเข้าไปถึงได้ทุกจุดในเวลาเดียวกัน จะมีผลอยู่ก็คือระยะทางในการขนส่งซึ่งมีการคาดกันว่า จากน้ำมันที่แพงนี้จะทำให้การค้าขายระหว่างประเทศที่ไกลจากกันมาก เช่น สหรัฐฯ และจีนลดลงเนื่องจากสินค้าจะมีราคาแพงขึ้น เว้นแต่จะมีการลงทุนย้ายแหล่งผลิตมาใกล้กับประเทศดังกล่าว จึงอาจจะส่งผลทำให้มีการค้าขายกันเอง เช่น ระหว่างประเทศยุโรปด้วยกัน หรืออเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ลงไป หรือระหว่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอาเซียน พลังงานหรือน้ำมันซึ่งราคาสูงขึ้นนั้นจะทำให้ภูมิรัฐศาสตร์สำคัญขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายมีขึ้นมาอีก ข้อสังเกตคือระยะทางอันไกลและความหนาวเหน็บของอากาศก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้นโปเลียน โบนาปาร์ต และฮิตเลอร์ ไม่สามารถพิชิตรัสเซียได้
ข้อสังเกตข้อสุดท้ายก็คือ มหาอำนาจที่ตั้งเป็นจักรวรรดิในอดีตของชนเผ่าหนึ่งไม่อาศัยภูมิรัฐศาสตร์ในการจัดตั้งบ้านเมืองอย่างถาวร สามารถยึดทุกจุดในจังหวะที่เหมาะสมได้ และในการทำสงครามก็จะไม่รู้สึกคิดถึงบ้านหรือห่วงหน้าห่วงหลังนั่นคือเผ่ามองโกล ทุกครั้งที่ทำการรบจะรื้อเต็นท์เดินทางไปพร้อมทั้งสัตว์เลี้ยง ฝูงม้า และกองทัพ และในเกวียนใหญ่นั้นก็จะถูกลากด้วยวัวเป็นสิบๆ ตัว โดยสตรีสูงศักดิ์จะอยู่ในเต็นท์ใหญ่เหมือนกับการย้ายบ้านทั้งหลัง เจอทำเลที่ไหนเหมาะสมหรือที่มีชัยภูมิเหมาะสมก็จะปักหลักลงและอยู่ระยะหนึ่ง และก็สามารถจะย้ายต่อไปเรื่อยๆ ยกทัพตีละรายทางไป ขยายวงกว้างขึ้นด้วยทรัพย์สมบัติและผู้คน แต่ก็ยังต้องอาศัยภูมิรัฐศาสตร์นั่นคือต้องเป็นทุ่งหญ้าเขียวขจี มีท้องฟ้าสีน้ำเงิน
นรลักษณ์ ชัยภูมิ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์และเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน แต่อนาคตฮวงจุ้ยหรือชัยภูมิอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อสภาพของโลกร้อนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของมลพิษ และสภาวะแวดล้อมของโลกใบเล็กนี้
ผู้เขียนขอตั้งข้อสังเกตว่า มนุษย์ให้ความสนใจเกี่ยวกับชีวิตและความเจริญก้าวหน้า ความปลอดภัยและความสุขสบาย ความมีโชค มีทรัพย์ศฤงคารและตำแหน่ง เนื่องจากยังอยู่ในวัฏฎสงสารคือ เวียน ว่าย ตาย เกิด และยังมีความต้องการหรือมีกิเลสตัณหาอย่างที่สิ่งมีชีวิตจะมีกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์นั้นยังมีความต้องการที่เป็นนามธรรมไกลกว่าสัตว์เดรัจฉานมาก เช่น ต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียงและอำนาจ ซึ่งไม่ได้เกิดจากสัญชาตญาณแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากสิ่งปรุงแต่งเนื่องจากมีสมองและปัญญาที่จะคิดสิ่งที่ต้องการเกินกว่าสัญชาตญาณจะกำหนด
ในส่วนของดวงชะตามนุษย์ก็มีปรัชญาที่ต้องการมีชีวิตที่เจริญก้าวหน้าและมีความสุข รวมทั้งมีอายุที่ยืนยาว ฮกลกซิ่วของจีนซึ่งได้แก่ตุ๊กตาสามตัวนั้น ในแง่หนึ่งเป็นอุดมคติของชีวิตคือ มีโชควาสนา (ฮก) มีตำแหน่งหน้าที่การงานและอำนาจ (ลก) และมีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง (ซิ่ว) ผู้ใดบรรลุถึงสามจุดก็ถือว่าเป็นคนโชคดี กรณีของซิ่วนั้นผู้เขียนอยากจะเพิ่มเติมว่าจะต้องมีอายุยืนยาวโดยมีความสุขเนื่องจากมีสุขภาพแข็งแรง และมีลูกหลานที่ทำให้เกิดความสุขและสบายใจ ไม่ใช่ลูกหลานที่เกเรสร้างความทุกข์ใจให้กับตนเมื่ออยู่ในปัจฉิมวัย
และจากความต้องการดังกล่าวนี้มนุษย์ก็พยายามหาทางทำเคล็ดต่างๆ ตั้งแต่การตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาในบ้าน เช่น ศาลพระภูมิ การพยายามหาข้อมูลเกี่ยวกับชีวิตในภายภาคหน้าด้วยการผูกดวง ดูลายมือ ดูเลข 7 ตัว หรือหาหมอดูที่มีญาณพิเศษ เช่น อีทีซึ่งเป็นชาวพม่า นอกจากนั้นยังมีวิธีการทำนายอนาคตได้จากการดูใบหน้า 5 ส่วน (โหงวเฮ้ง) ซึ่งก็คือนรลักษณ์ คือลักษณะของมนุษย์ (physiognomy) โดยสามารถจะทำนายบุคลิกลักษณะ อุปนิสัย จากหน้าผาก คิ้ว ตา หู จมูก ปาก คาง เสียง กิริยาท่าทาง การพูดจา และสามารถจะทำนายช่วงอายุจากส่วนต่างๆ ของใบหน้าลงมาเป็นช่วงๆ เช่น อายุระหว่างนั้นถึงระหว่างนั้นจะอยู่ที่ส่วนไหนของใบหน้า เนื่องจากความต้องการอยากรู้อนาคตและอยากมีชีวิตที่ดี มนุษย์ก็พยายามทำให้โหงวเฮ้งของตนสอดคล้องกับสิ่งที่ควรจะเป็น เช่น อาจจะมีการผ่าตัดแต่งหน้า เติมคิ้ว หรือทำประการใดก็ตามที่ให้ใบหน้าสอดคล้องกับความโชคดี เป็นสิริมงคล
จากการให้น้ำหนักกับใบหน้าหรือนรลักษณ์ ก็มาถึงการให้น้ำหนักกับที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน โดยดูที่ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ให้สอดคล้องกับสายลม แสงแดด และน้ำ โดยวิชานี้เรียกว่า ฮวงจุ้ย “ฮวง” ได้แก่ ลม “จุ้ย” ได้แก่ น้ำ (ภาษาแต้จิ๋ว) ภาษาอังกฤษก็คือ geomancy ส่วนภาษาไทยนั้นอาจจะใช้คำว่า “ชัยภูมิ” คือพื้นที่ที่นำไปสู่ชัยชนะแปลว่าเป็นพื้นที่ที่ดีประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว ศัพท์ตัวนี้เป็นศัพท์ที่ ดร.มนัส นำมากล่าวถึง
ในกรณีของชัยภูมินั้นยังโยงไปถึงเรื่องของวิชาทางรัฐศาสตร์ นั่นคือ ภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) โดยภูมิรัฐศาสตร์บางจุดเมื่อตั้งเมืองขึ้นมาจะทำให้ปลอดจากการโจมตีได้โดยง่าย ทำเลเหมาะสมกับการพัฒนาเนื่องจากอยู่ติดแม่น้ำใหญ่หรือทะเล หรืออยู่บนภูเขาสูง จนมีความเชื่อว่าชนชาติใดยึดจุดยุทธศาสตร์บางจุดได้ก็สามารถจะสร้างความมั่นคงให้กับรัฐของตน จนนำไปสู่การเป็นมหาอำนาจได้
วิชาฮวงจุ้ยหรือชัยภูมิจึงเป็นวิชาที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้กับการเลือกทำเลในการสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างสำนักงาน รวมตลอดทั้งการหาหลุมฝังศพเมื่อถึงแก่กรรม โดยเชื่อว่าลมกับน้ำซึ่งในความเป็นจริงจะต้องมีแสงแดดด้วย จะเป็นส่วนเสริมอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตที่มีความสุข สุขภาพแข็งแรง ทำเลทำให้เกิดความเจริญทางการค้า การประกอบอาชีพ แต่ถ้าเป็นกรณีเมืองจะเป็นเมืองที่นำไปสู่ความรุ่งเรือง เป็นต้นว่า นครนิวยอร์กซึ่งอยู่ริมทะเล นครปักกิ่งซึ่งอยู่จุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทำให้แผ่อำนาจไปทางใต้และป้องกันการรุกรานจากทางเหนือได้
ทั้ง นรลักษณ์ และชัยภูมิ จึงเป็นความพยายามของมนุษย์ที่จะสร้างความสุข ความเจริญมั่งคั่งให้แก่ตัวเอง รวมทั้งสามารถจะทำนายทายทักอนาคตเพื่อให้เกิดกำลังใจในการต่อสู้ชีวิต ความชาญฉลาดของมนุษย์ในการหาความรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จนกลายเป็นความเชื่อ ทำให้เกิดมีแนวทางของการปฏิบัติและเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวได้ในการดำรงชีวิต
แต่ในความเป็นจริงซึ่งไม่มีการกล่าวเน้นไว้ ทั้งในแง่นรลักษณ์คือลักษณะของใบหน้าและบุคลิกก็ดี และในแง่ของชัยภูมิคือการมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับอารมณ์ของมนุษย์ มนุษย์ผู้ใดที่มีคนเห็นและเกิดความนิยมชมชอบ หรือมีลักษณะเกรง หรือรู้สึกเป็นคนมีเสน่ห์ ก็จะมีส่วนอย่างมากที่ทำให้ผู้นั้นสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ามีลักษณะสกปรก หนวดเครารุงรัง ผมเผ้ายุ่งเหยิง ต่อให้นรลักษณ์ดีอย่างไรก็จะทำให้ผู้อื่นที่จะสัมพันธ์ด้วยนั้นไม่สามารถสร้างความสนิทสนมได้ แต่ในส่วนของชัยภูมิทันทีที่เห็นทิวทัศน์เบื้องหน้า มีน้ำ มีลมพัดพา แสงแดดทอแสงถูกน้ำเป็นประกายระยิบระยับ ผู้ที่ยืนอยู่เบื้องหน้านั้นก็จะเกิดความสบายอารมณ์ และสามารถจินตนาการไปได้ว่าถ้าหากสร้างบ้านตรงนั้นทั้งเช้าและเย็นก็จะได้ทั้งไอเย็นจากน้ำ แสงแดด และลมที่พัดผ่าน และนี่คือหลักที่ธรรมดาของฮวงจุ้ยซึ่งสอดคล้องกับหลักภูมิศาสตร์
ในส่วนทำเลของการทำธุรกิจนั้น ในที่ที่จะทำให้อาคารที่สร้างขึ้นมีจุดเด่น หรือเป็นทำเลที่มีคนผ่านไปมา การเรียกลูกค้าก็จะง่ายกว่าไปที่ที่เดินทางลำบาก ทำเลการค้า ทำเลการประกอบธุรกิจ จึงต้องนำเอาความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้ซึ่งมาติดต่อข้องแวะด้วยมาพิจารณา ซึ่งในส่วนนี้จะเห็นได้ว่ามีการเกี่ยวข้องกับอารมณ์ของมนุษย์อยู่มาก
ในส่วนของภูมิรัฐศาสตร์นั้นก็ถือเป็นฮวงจุ้ยชนิดหนึ่ง จะลองยกตัวอย่างให้ดูสัก 2-3 ตัวอย่าง นอกจากปักกิ่งที่กล่าวมาแล้วนั้น กรุงศรีอยุธยาเมื่อเปรียบกับสุโขทัยจะมีข้อได้เปรียบอยู่มาก อยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่บนเกาะ มีน้ำล้อมรอบ ทำให้ง่ายต่อการป้องกันประเทศ ที่สำคัญมีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย คือ ป่าสัก ลพบุรี และเจ้าพระยา ซึ่งอุดมไปด้วยสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา มีที่นาสำหรับเพาะปลูกกว้างใหญ่ไพศาล นอกจากนั้นยังไม่ห่างไกลจากทะเล สามารถออกทะเลได้ การติดต่อกับต่างชาติและการค้าขายจึงกระทำได้อย่างดี สินค้าทางเหนือ ทางตะวันออกเฉียงเหนือสามารถมาประดังที่จุดศูนย์กลางคืออยุธยา การอยู่ใกล้ทะเลยังทำให้ได้ข่าวสารข้อมูลเร็วกว่าทางเหนือและทางตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิรัฐศาสตร์ในส่วนนี้ทำให้เกิดความได้เปรียบอย่างมาก
ในกรณีของประเทศไทยขวานทองปัจจุบันซึ่งทางทิศตะวันตกเป็นประเทศพม่า ตะวันออกเฉียงเหนือคือประเทศลาว ตะวันออกเฉียงใต้ลงมาคือกัมพูชา ตะวันออกคือเวียดนาม ใต้สุดคือมาเลเซีย ถ้ามองในรูปนี้ ภูมิรัฐศาสตร์ของไทยก็คือจุดกลางของภูมิภาคเทียบได้กับดุมล้อเกวียน จึงไม่แปลกที่จะเป็นศูนย์กลางของการบินและการท่องเที่ยว เพราะเมื่อลงที่ดุมล้อสามารถฉีกซ้ายฉีกขวา ขึ้นเหนือลงใต้ได้ ภูมิรัฐศาสตร์ของไทยในส่วนนี้มีทั้งทะเล มีแม่น้ำเจ้าพระยา มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร ผลไม้หลากหลาย เป็นศูนย์ของคนต่างชาติที่เดินทางมาในฐานะท่องเที่ยว กรุงเทพฯ จึงมีภัตตาคารหลายชนิด และกรุงเทพฯ จะไม่ตื่นกับใบหน้าแปลกๆ ของชาติต่างๆ
ข้อสังเกตคือ ภูมิรัฐศาสตร์ที่จะตั้งเมืองนั้นมักจะมีแม่น้ำใหญ่ผ่าน มิฉะนั้นก็อยู่ริมทะเล หรืออยู่ใจกลางภูเขา แม่น้ำและทะเลเป็นแหล่งอารยธรรมของความเจริญรุ่งเรือง เป็นแหล่งการคมนาคม การขนส่ง การผลิตอาหาร และเป็นที่ชุมนุมของประชากรเป็นจำนวนมาก แม่น้ำไนล์นำไปสู่อารยธรรมเก่าแก่คืออียิปต์ แม่น้ำเหลืองหรือฮวงโห แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสินธุ แม่น้ำเทมส์ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำมุก ฯลฯ ล้วนแต่เป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่ ในกรณีของทะเลนั้นมีอยู่หลายเมืองด้วยกันตั้งแต่นิวยอร์ก ซีแอตเติล โตเกียว ฯลฯ
ในแง่ทะเลยังเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมตามยุค เช่น มีการกล่าวว่ามหาสมุทรที่นำไปสู่อารยธรรมในอดีตนั้นได้แก่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งได้แก่ กรีก และโรมัน และต่อมาซึ่งถือว่าเป็นยุคปัจจุบันคือมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งได้แก่ ประเทศยุโรปตะวันตก และมีการกล่าวว่าอารยธรรมในอนาคตหรือความเจริญในอนาคตจะไปอยู่ที่มหาสมุทรแปซิฟิก (the Mediterranean is the ocean of the past, the Atlantic the present and the Pacific the future) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าคิด
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการคมนาคม ความเจริญในการสื่อสาร ทำให้ความสำคัญของภูมิรัฐศาสตร์ลดลงเพราะข่าวสารสามารถเข้าไปถึงได้ทุกจุดในเวลาเดียวกัน จะมีผลอยู่ก็คือระยะทางในการขนส่งซึ่งมีการคาดกันว่า จากน้ำมันที่แพงนี้จะทำให้การค้าขายระหว่างประเทศที่ไกลจากกันมาก เช่น สหรัฐฯ และจีนลดลงเนื่องจากสินค้าจะมีราคาแพงขึ้น เว้นแต่จะมีการลงทุนย้ายแหล่งผลิตมาใกล้กับประเทศดังกล่าว จึงอาจจะส่งผลทำให้มีการค้าขายกันเอง เช่น ระหว่างประเทศยุโรปด้วยกัน หรืออเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ลงไป หรือระหว่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และอาเซียน พลังงานหรือน้ำมันซึ่งราคาสูงขึ้นนั้นจะทำให้ภูมิรัฐศาสตร์สำคัญขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายมีขึ้นมาอีก ข้อสังเกตคือระยะทางอันไกลและความหนาวเหน็บของอากาศก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้นโปเลียน โบนาปาร์ต และฮิตเลอร์ ไม่สามารถพิชิตรัสเซียได้
ข้อสังเกตข้อสุดท้ายก็คือ มหาอำนาจที่ตั้งเป็นจักรวรรดิในอดีตของชนเผ่าหนึ่งไม่อาศัยภูมิรัฐศาสตร์ในการจัดตั้งบ้านเมืองอย่างถาวร สามารถยึดทุกจุดในจังหวะที่เหมาะสมได้ และในการทำสงครามก็จะไม่รู้สึกคิดถึงบ้านหรือห่วงหน้าห่วงหลังนั่นคือเผ่ามองโกล ทุกครั้งที่ทำการรบจะรื้อเต็นท์เดินทางไปพร้อมทั้งสัตว์เลี้ยง ฝูงม้า และกองทัพ และในเกวียนใหญ่นั้นก็จะถูกลากด้วยวัวเป็นสิบๆ ตัว โดยสตรีสูงศักดิ์จะอยู่ในเต็นท์ใหญ่เหมือนกับการย้ายบ้านทั้งหลัง เจอทำเลที่ไหนเหมาะสมหรือที่มีชัยภูมิเหมาะสมก็จะปักหลักลงและอยู่ระยะหนึ่ง และก็สามารถจะย้ายต่อไปเรื่อยๆ ยกทัพตีละรายทางไป ขยายวงกว้างขึ้นด้วยทรัพย์สมบัติและผู้คน แต่ก็ยังต้องอาศัยภูมิรัฐศาสตร์นั่นคือต้องเป็นทุ่งหญ้าเขียวขจี มีท้องฟ้าสีน้ำเงิน
นรลักษณ์ ชัยภูมิ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์และเกี่ยวพันกับชีวิตมนุษย์ตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบัน แต่อนาคตฮวงจุ้ยหรือชัยภูมิอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อสภาพของโลกร้อนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของมลพิษ และสภาวะแวดล้อมของโลกใบเล็กนี้