กกต. มีมติ 4 ต่อ 1 ให้เดินหน้าเชือด"หมัก" ชิมไปบ่นไป พร้อมแก้ไขคำสั่งตั้งอนุสอบ บัญญัติข้อกม. เล่นงานให้ชัดเจน และขยายเวลาสอบถึง 21 มิ.ย. ขณะเดียวกันมีมติส่งเรื่อง "ไชยา" ให้ศาลรธน.พิจารณา ด้าน"สมชัย" ขาประจำเสียงข้างน้อย มอง กม.ให้อำนาจ กกต. สอบแค่การสิ้นสุดลงซึ่งสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาเท่านั้น ไม่มีอำนาจตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ยอมรับเครียดที่เป็นเสียงข้างน้อย แต่ถ้ายอมเหมือนคนอื่นทั้งที่คิดต่าง ก็เท่ากับไม่เคารพตัวเอง
ภายหลังการประชุม กกต.เมื่อวานนี้ (10 มิ.ย.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่าได้มีการพิจารณาหนังสือขอหารือของพล.อ.ยอดชาย เทพยสุวรรณ ประธานอนุกรรมการไต่สวนกรณีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไปเป็นพิธีกรรายการ ชิมไปบ่นไป ที่อาจทำให้ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เกี่ยวกับอำนาจในการสอบสวน โดยมติ กกต.เสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 เสียง เห็นด้วยกับข้อเสนอของอนุกรรมการไต่สวน ที่เสนอให้ปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ สืบสวนสอบสวน จากเดิมที่อาศัยฐานอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 (9) มาตรา 181 มาตรา 182 วรรค 3 ในการสืบสวนสอบสวน ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมให้ อนุกรรมการไต่สวน อาศัยอำนาจตาม มาตรา 10 (11) ของ พ.ร.บ.กกต ที่ระบุกรณีที่ กกต.เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง, ประกอบ มาตรา 14 ที่ระบุว่า กกต.มีอำนาจแต่งตั้งให้อนุกรรมการปฏิบัติตามที่กกต.มอบหมาย เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนมีความชัดเจนมากขึ้น
"ที่ผ่านมาอนุกรรมการไต่สวนฯ เคยยกประเด็นปัญหาว่า อนุฯมีอำนาจสืบสวนสอบสวนหรือไม่ พร้อมเสนอควรปรับปรุงคำสั่งตั้งอนุกรรมการฯ เพราะเห็นว่า ตัวคำสั่งยังระบุกฎหมายไม่ครบ เพื่อป้องกันการถูกโต้แย้งในอำนาจ หลังจากผลการพิจารณาออกมาเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง"
นายสุทธิพล ยังปฏิเสธว่า การแก้ไขคำสั่งดังกล่าวของ กกต.ไม่ใช่เป็นการเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง แต่ กกต.มีอำนาจตามตัวบทกฎหมายที่มีอยู่แล้ว จึงมีการอ้างบทกฎหมายที่มีอยู่เพิ่มเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 10(11) พ.ร.บ. กกต. ระบุว่า ในกรณีที่ กกต.เห็นว่า " ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงให้ กกต.ส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการจะมีความเห็นได้ ต้องมีการดำเนินการตามมาตรา 14 พ.ร.บ.กกต. หากไม่มีการดำเนินการตั้งอนุกรรมการ กกต. ก็ไม่สามารถให้ความเห็นได้
นอกจากนี้ กกต.เห็นชอบให้อนุกรรมการไต่สวนชุดดังกล่าว ขยายเวลาในการสืบสวนสอบสวนได้อีก 15 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7-21 มิ.ย.นี้
ส่ง"ไชยา"ขึ้นเขียงศาล รธน.
สำหรับกรณีคุณสมบัติของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลเกี่ยวกับการไม่แจ้งการถือครองหุ้นของภรรยานั้น ที่ประชุม กกต.โดยมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 เสียง เห็นตามที่คณะอนุกรรมการสืบสวนชุดที่มี นายอิศระ หลิมศิริวงษ์ เป็นประธาน เสนอให้มีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยจากนี้คณะอนุกรรมการสืบสวน ก็จะเร่งดำเนินการยกร่าง และจะมีการส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมครั้งนี้ ได้มีเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข มาคอยรอฟังมติกกต. ที่จะออกมาเกี่ยวกับนายไชยา ด้วย ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต. เสียงข้างมากระบุว่า เมื่อกฎหมายระบุว่าให้ กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญไปด้วยก็ได้ และเมื่อ กกต.หาเหตุผลที่จะไม่ส่งไม่ได้ ก็สมควรจะส่งเรื่องไปตามที่องค์กรเขาขอมา ส่วนข้อเท็จจริงอาจจะเหมือน หรือต่างกัน เพราะเราเองก็มีการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนขึ้นตรวจสอบด้วย จึงขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยเอง เพราะกกต. ลงมติแค่เห็นควรส่ง และประกอบกับรายงานข้อเท็จจริงไปเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดหรือไม่
"สมชัย"อ้างไม่มีอำนาจตรวจสอบ รมต.
ทั้งนี้ กกต.ที่เป็นเสียงข้างน้อยใน 2 กรณีดังกล่าวก็คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ โดยได้มีการเผยแพร่ความเห็นส่วนตน ระบุว่า ทั้งในกรณีของนายไชยา และนายสมัคร นั้น เห็นว่า มาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้กกต.มีอำนาจตรวจสอบสืบสวนสอบสวน เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และส.ว. , พ.ร.บ.พรรคการเมือง, พ.ร.บ.กกต. ,พ.ร.บ.ประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นรวม 5 ฉบับเท่านั้น และเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรค 3 ที่ให้ กกต.ส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนฯ หรือประธานวุฒิสภา ที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกเมื่อเห็นว่าสมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลงเพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสุดลง ซึ่งสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้มีอำนาจโดยตรงในการตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง จึงไม่มีเหตุที่จะไปตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัว
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 3 บัญญัติ ให้นำมาตรา 91 ,92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีตาม ( 2) (3)(5) หรือ(7) โดยให้กกต.เป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วยนั้น เห็นว่า การดำเนินการของกกต. ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ดังนั้นกรณีที่วุฒิสภาเห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ใดสิ้นสุดลง จะต้องเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 15 คน เสนอเรื่องไปยังประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก เพื่อให้ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ หากประธานสภาแห่งนั้นไม่ดำเนินการ กกต.จึงมีอำนาจที่จะส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ อันเป็นการเยียวยาเพื่อให้กระบวนการพิจารณาความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ดำเนินการต่อไปจนถึงขั้นพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่สะดุดหยุดอยู่ที่ประธานวุฒิสภา ซึ่งเมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว รัฐธรรมนูญประสงค์จะให้เรื่องดังกล่าวถูกส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไปนั่นเอง จะส่งโดยทางใดก็ได้ ดังนั้น กกต.จึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาดำเนินการตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
"เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า กรณี นายสมัคร นั้น นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้ร้อง ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตาม มาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ กกต.จึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ เห็นควรให้ยุติเรื่อง และแจ้งผู้ร้องทราบ ส่วนของนายไชยา นั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เรื่องนี้ ป.ป.ช. ได้ส่งเรื่องไปยังนายกฯ ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร และ เรื่องได้ถูกเสนอไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กกต.จึงไม่จำต้องดำเนินการให้เกิดการซ้ำซ้อนอีกเห็นควรให้ยุติเรื่อง"
นายสมชัย ยังกล่าวระหว่างร่วมรายการเวทีความคิดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ว่า ไม่รู้ว่าเหตุผลของตนที่เป็นเสียงข้างน้อยเพียงพอหรือไม่ แต่ก็เป็นมุมมองอันหนึ่ง ซึ่งในหลักการประชาธิปไตย เราต้องเคารพทั้งเสียงข้างมาก และข้างน้อยด้วย อยากให้ประชาชนเข้าใจว่า เสียงข้างน้อยก็มีเหตุผลไม่ใช่วินิจฉัยอย่างไม่มีหลักการ ถ้า กกต.ทุกคนเห็นเหมือนกันหมด ก็ไม่จำเป็นต้องมี กกต.ถึง 5 คน
นายสมชัย กล่าวถึงบรรยากาศในการประชุม กกต.ว่า มีการพัฒนามากขึ้นเพราะมีการยิ้มในห้องประชุม แต่สำหรับการลงมตินั้น ตนยิ้มไม่ออก และเคยคิดมองตัวเองว่าทำไมเราต้องเป็นเสียงข้างน้อย เคยคิดว่าจะโหวตตามคนอื่น ให้ผลการโหวตเหมือนเขา แต่ท้ายที่สุดก็คิดได้ว่า ถ้าโหวตตามคนอื่น คงทำให้สังคมและทีมงานของตนผิดหวังและเราก็จะผิดหวังในตัวเอง ที่ไม่มีความเคารพในตัวเองด้วย เพราะเป็นการทำตามที่คนอื่นเขาอยากให้เป็นเท่านั้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่า กระแสสังคมเปลี่ยนแปลงได้ แต่สิ่งที่ถูกต้องจะยั่งยืนตลอดไป โดยส่วนตนได้วินิจฉัยยึดหลักตามกฎหมายมาตลอด จนกว่าจะแก้กฎหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ใช่เป็นผู้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเสียเองและไม่ใช่ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่
"ไชยา"อ้างยังมีความชอบธรรม
ด้านนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ กกต. มีมติส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย กรณีขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากนางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยา ถือหุ้นเกินกว่ากฎหมายกำหนด คือร้อยละ 5 ว่าไม่รู้สึกกังวล ไม่หนักใจอะไร เพราะเป็นสิทธิ์ชอบธรรมที่สามารถทำได้ ซึ่งนอกจาก กกต. แล้วยังมี ส.ว.ที่จะลงมติถอดถอนตนออกจากตำแหน่งอีกเช่นกัน ซึ่งก็จะเป็นการตรวจสอบจังหวะที่ 2 ในการถอดถอนตนออกจากตำแหน่ง
"ผมได้ทำหนังสือชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหมดแล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไรต่อไป ผมก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงสามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่มีอุปสรรคปัญหาอะไร ผมจึงมีสิทธิ์ มีความชอบธรรมในการออกคำสั่งอยู่" นายไชยา กล่าว
ต่อข้อถามว่า มีการหารือกับผู้ใหญ่ในพรรคพลังประชาชนบ้างหรือไม่ นายไชยา ตอบว่า ไม่ได้หารือกับใคร และในที่ประชุม ครม. ก็ไม่มีใครซักถามด้วย
ภายหลังการประชุม กกต.เมื่อวานนี้ (10 มิ.ย.) นายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. แถลงว่าได้มีการพิจารณาหนังสือขอหารือของพล.อ.ยอดชาย เทพยสุวรรณ ประธานอนุกรรมการไต่สวนกรณีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไปเป็นพิธีกรรายการ ชิมไปบ่นไป ที่อาจทำให้ขาดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี เกี่ยวกับอำนาจในการสอบสวน โดยมติ กกต.เสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 เสียง เห็นด้วยกับข้อเสนอของอนุกรรมการไต่สวน ที่เสนอให้ปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ สืบสวนสอบสวน จากเดิมที่อาศัยฐานอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 236 (9) มาตรา 181 มาตรา 182 วรรค 3 ในการสืบสวนสอบสวน ด้วยการแก้ไขเพิ่มเติมให้ อนุกรรมการไต่สวน อาศัยอำนาจตาม มาตรา 10 (11) ของ พ.ร.บ.กกต ที่ระบุกรณีที่ กกต.เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง, ประกอบ มาตรา 14 ที่ระบุว่า กกต.มีอำนาจแต่งตั้งให้อนุกรรมการปฏิบัติตามที่กกต.มอบหมาย เพื่อให้การสืบสวนสอบสวนมีความชัดเจนมากขึ้น
"ที่ผ่านมาอนุกรรมการไต่สวนฯ เคยยกประเด็นปัญหาว่า อนุฯมีอำนาจสืบสวนสอบสวนหรือไม่ พร้อมเสนอควรปรับปรุงคำสั่งตั้งอนุกรรมการฯ เพราะเห็นว่า ตัวคำสั่งยังระบุกฎหมายไม่ครบ เพื่อป้องกันการถูกโต้แย้งในอำนาจ หลังจากผลการพิจารณาออกมาเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง"
นายสุทธิพล ยังปฏิเสธว่า การแก้ไขคำสั่งดังกล่าวของ กกต.ไม่ใช่เป็นการเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง แต่ กกต.มีอำนาจตามตัวบทกฎหมายที่มีอยู่แล้ว จึงมีการอ้างบทกฎหมายที่มีอยู่เพิ่มเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น มาตรา 10(11) พ.ร.บ. กกต. ระบุว่า ในกรณีที่ กกต.เห็นว่า " ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงให้ กกต.ส่งไปศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งการจะมีความเห็นได้ ต้องมีการดำเนินการตามมาตรา 14 พ.ร.บ.กกต. หากไม่มีการดำเนินการตั้งอนุกรรมการ กกต. ก็ไม่สามารถให้ความเห็นได้
นอกจากนี้ กกต.เห็นชอบให้อนุกรรมการไต่สวนชุดดังกล่าว ขยายเวลาในการสืบสวนสอบสวนได้อีก 15 วัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7-21 มิ.ย.นี้
ส่ง"ไชยา"ขึ้นเขียงศาล รธน.
สำหรับกรณีคุณสมบัติของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ที่ ป.ป.ช. ชี้มูลเกี่ยวกับการไม่แจ้งการถือครองหุ้นของภรรยานั้น ที่ประชุม กกต.โดยมติเสียงข้างมาก 4 ต่อ 1 เสียง เห็นตามที่คณะอนุกรรมการสืบสวนชุดที่มี นายอิศระ หลิมศิริวงษ์ เป็นประธาน เสนอให้มีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยจากนี้คณะอนุกรรมการสืบสวน ก็จะเร่งดำเนินการยกร่าง และจะมีการส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมครั้งนี้ ได้มีเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข มาคอยรอฟังมติกกต. ที่จะออกมาเกี่ยวกับนายไชยา ด้วย ด้านนายสุเมธ อุปนิสากร กกต. เสียงข้างมากระบุว่า เมื่อกฎหมายระบุว่าให้ กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญไปด้วยก็ได้ และเมื่อ กกต.หาเหตุผลที่จะไม่ส่งไม่ได้ ก็สมควรจะส่งเรื่องไปตามที่องค์กรเขาขอมา ส่วนข้อเท็จจริงอาจจะเหมือน หรือต่างกัน เพราะเราเองก็มีการตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนขึ้นตรวจสอบด้วย จึงขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยเอง เพราะกกต. ลงมติแค่เห็นควรส่ง และประกอบกับรายงานข้อเท็จจริงไปเท่านั้น ไม่ได้ระบุว่า ผู้ถูกกล่าวหามีความผิดหรือไม่
"สมชัย"อ้างไม่มีอำนาจตรวจสอบ รมต.
ทั้งนี้ กกต.ที่เป็นเสียงข้างน้อยใน 2 กรณีดังกล่าวก็คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ โดยได้มีการเผยแพร่ความเห็นส่วนตน ระบุว่า ทั้งในกรณีของนายไชยา และนายสมัคร นั้น เห็นว่า มาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญ กำหนดให้กกต.มีอำนาจตรวจสอบสืบสวนสอบสวน เพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส.และส.ว. , พ.ร.บ.พรรคการเมือง, พ.ร.บ.กกต. ,พ.ร.บ.ประชามติ และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นรวม 5 ฉบับเท่านั้น และเมื่อพิจารณารัฐธรรมนูญ มาตรา 91 วรรค 3 ที่ให้ กกต.ส่งเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนฯ หรือประธานวุฒิสภา ที่ผู้นั้นเป็นสมาชิกเมื่อเห็นว่าสมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลงเพื่อให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แสดงว่ากฎหมายให้อำนาจ กกต.ตรวจสอบการสิ้นสุดลง ซึ่งสมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภาได้เท่านั้น ไม่ได้บัญญัติให้มีอำนาจโดยตรงในการตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง จึงไม่มีเหตุที่จะไปตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัว
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 3 บัญญัติ ให้นำมาตรา 91 ,92 มาใช้บังคับกับการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีตาม ( 2) (3)(5) หรือ(7) โดยให้กกต.เป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วยนั้น เห็นว่า การดำเนินการของกกต. ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 ดังนั้นกรณีที่วุฒิสภาเห็นว่า ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ใดสิ้นสุดลง จะต้องเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 15 คน เสนอเรื่องไปยังประธานสภาที่ตนเป็นสมาชิก เพื่อให้ส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ หากประธานสภาแห่งนั้นไม่ดำเนินการ กกต.จึงมีอำนาจที่จะส่งเรื่องดังกล่าวไปยังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ อันเป็นการเยียวยาเพื่อให้กระบวนการพิจารณาความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง ดำเนินการต่อไปจนถึงขั้นพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่สะดุดหยุดอยู่ที่ประธานวุฒิสภา ซึ่งเมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว รัฐธรรมนูญประสงค์จะให้เรื่องดังกล่าวถูกส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไปนั่นเอง จะส่งโดยทางใดก็ได้ ดังนั้น กกต.จึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาดำเนินการตรวจสอบความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว
"เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า กรณี นายสมัคร นั้น นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ผู้ร้อง ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตาม มาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญ กกต.จึงไม่มีอำนาจที่จะพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ เห็นควรให้ยุติเรื่อง และแจ้งผู้ร้องทราบ ส่วนของนายไชยา นั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เรื่องนี้ ป.ป.ช. ได้ส่งเรื่องไปยังนายกฯ ประธานวุฒิสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร และ เรื่องได้ถูกเสนอไปยังศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กกต.จึงไม่จำต้องดำเนินการให้เกิดการซ้ำซ้อนอีกเห็นควรให้ยุติเรื่อง"
นายสมชัย ยังกล่าวระหว่างร่วมรายการเวทีความคิดทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. ว่า ไม่รู้ว่าเหตุผลของตนที่เป็นเสียงข้างน้อยเพียงพอหรือไม่ แต่ก็เป็นมุมมองอันหนึ่ง ซึ่งในหลักการประชาธิปไตย เราต้องเคารพทั้งเสียงข้างมาก และข้างน้อยด้วย อยากให้ประชาชนเข้าใจว่า เสียงข้างน้อยก็มีเหตุผลไม่ใช่วินิจฉัยอย่างไม่มีหลักการ ถ้า กกต.ทุกคนเห็นเหมือนกันหมด ก็ไม่จำเป็นต้องมี กกต.ถึง 5 คน
นายสมชัย กล่าวถึงบรรยากาศในการประชุม กกต.ว่า มีการพัฒนามากขึ้นเพราะมีการยิ้มในห้องประชุม แต่สำหรับการลงมตินั้น ตนยิ้มไม่ออก และเคยคิดมองตัวเองว่าทำไมเราต้องเป็นเสียงข้างน้อย เคยคิดว่าจะโหวตตามคนอื่น ให้ผลการโหวตเหมือนเขา แต่ท้ายที่สุดก็คิดได้ว่า ถ้าโหวตตามคนอื่น คงทำให้สังคมและทีมงานของตนผิดหวังและเราก็จะผิดหวังในตัวเอง ที่ไม่มีความเคารพในตัวเองด้วย เพราะเป็นการทำตามที่คนอื่นเขาอยากให้เป็นเท่านั้น
ทั้งนี้ ส่วนตัวเชื่อว่า กระแสสังคมเปลี่ยนแปลงได้ แต่สิ่งที่ถูกต้องจะยั่งยืนตลอดไป โดยส่วนตนได้วินิจฉัยยึดหลักตามกฎหมายมาตลอด จนกว่าจะแก้กฎหมายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไม่ใช่เป็นผู้เปลี่ยนแปลงกฎหมายเสียเองและไม่ใช่ไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่
"ไชยา"อ้างยังมีความชอบธรรม
ด้านนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข กล่าวถึงกรณีที่ กกต. มีมติส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัย กรณีขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี เนื่องจากนางจุไร สะสมทรัพย์ ภรรยา ถือหุ้นเกินกว่ากฎหมายกำหนด คือร้อยละ 5 ว่าไม่รู้สึกกังวล ไม่หนักใจอะไร เพราะเป็นสิทธิ์ชอบธรรมที่สามารถทำได้ ซึ่งนอกจาก กกต. แล้วยังมี ส.ว.ที่จะลงมติถอดถอนตนออกจากตำแหน่งอีกเช่นกัน ซึ่งก็จะเป็นการตรวจสอบจังหวะที่ 2 ในการถอดถอนตนออกจากตำแหน่ง
"ผมได้ทำหนังสือชี้แจงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปหมดแล้ว ส่วนจะเป็นอย่างไรต่อไป ผมก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ศาลยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาด จึงสามารถทำงานได้ตามปกติ ไม่มีอุปสรรคปัญหาอะไร ผมจึงมีสิทธิ์ มีความชอบธรรมในการออกคำสั่งอยู่" นายไชยา กล่าว
ต่อข้อถามว่า มีการหารือกับผู้ใหญ่ในพรรคพลังประชาชนบ้างหรือไม่ นายไชยา ตอบว่า ไม่ได้หารือกับใคร และในที่ประชุม ครม. ก็ไม่มีใครซักถามด้วย