40 ส.ว.ใจถึงมีมติล่าชื่อเปิดซักฟอก "รัฐบาลลูกกรอก" ลั่นไม่ใช่ฝ่ายค้าน แต่ทำหน้าที่ตามกฎหมาย "รสนา" ประเมินผล "รัฐบาลสมัคร" ไม่ผ่านทดลองงาน ขณะที่ "ปชป." หนุนอภิปรายทั่วไป ส่วน "ชาติไทย" ชิงเสนอร่างญัตติแก้ รธน.ต่อประธานสภา 11 มิ.ย.นี้เย้ย "พลังประชาชน" ที่ยังไม่ชัดเจน
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (6มิ.ย.) กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 40 คน ได้ประชุมหารือพร้อมมีมติร่วมกันว่าจะเข้าชื่อเพื่อยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล โดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติว่า ในวันจันทร์ที่ 9 มิ.ย.นี้ ส.ว.จะเข้าชื่อยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายรัฐบาลทั่วไปเพื่อให้ ส.ว.ได้ซักถามปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม เพราะตลอดเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลมุ่งแต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเดียว ไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ถ้าให้ประเมินผลงานรัฐบาล ถือว่า เป็นผู้บริหารที่ไม่ผ่านการทดลองงาน ในฐานะ ส.ว.จึงต้องการให้รัฐบาลพิสูจน์ตัวเอง โดยแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นให้ได้ หากแก้ไม่ได้ถือว่าไม่ผ่านการทดลองงานและอาจจะถูกเลิกจ้างในอนาคต
"อย่าคิดว่าการที่ ส.ว.ยื่นญัตติอภิปรายครั้งนี้จะเป็นฝ่ายค้าน เพราะ ส.ว.มีหน้าที่และมีสิทธิ์ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐบาล อย่าคิดว่าเมื่อถูกเลือกตั้งมาแล้วท่านจะทำอะไรก็ได้ ประชาชนเลือกเราเข้ามาก็เพื่อให้เรามาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล สิ่งที่เราพูดไม่ได้หมายความว่า เราอยู่ฝ่ายตรงข้าม แต่เราถือว่าเป็นองคาพยพเดียวกันทั้งสองสภา ซึ่งการตรวจสอบเป็นหน้าที่ของ ส.ว.เป็นการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน อย่าคิดว่าการยื่นอภิปรายเป็นการโจมตี"
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนได้ฝากความหวังกับ ส.ว.ที่ต้องมาทำหน้าที่ในสภาและยิ่งมาเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางสังคมอยู่ขณะนี้ จนถูกท้วงติงว่า ส.ว.ทำอะไรกันอยู่และยังมีเหตุการณ์อภิปรายนอกรัฐสภา และรัฐบาลก็ตอบโต้อยู่ฝ่ายเดียว ส่วนอีกกลุ่มก็ไม่สามารถเข้ามาร่วมอภิปรายในสภาได้ ดังนั้น ส.ว.ส่วนใหญ่จึงเห็นตรงกันว่าจะร่วมลงชื่อขอยื่นญัตติอภิปรายทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสครั้งเดียวและอาจเป็นครั้งสุดท้ายที่จะเป็นการหาทางออกร่วมกัน ในการประชุมวิสามัญที่ต้องใช้โอกาสในการอภิปราย เพราะถ้าเปิดอภิปรายในสมัยหน้า ก็อาจจะมีการอภิปรายได้เฉพาะเรื่อง ซึ่งอาจจะยกเรื่องหนึ่งเรื่องใดมาอภิปรายไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็อาจจะยกไปอภิปรายอีกครั้งในต้นปี 52
"จึงยืนยันว่า การอภิปรายครั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ก็ตาม เราก็จะพยายามทำงานกันอย่างยิ่งยวด การยื่นญัตติครั้งนี้ เราทำตาม มาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องใช้เสียง อย่างน้อย 1 ใน 3 หรือให้ได้ 50 คนขึ้นไป"
นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ยืนยันว่า ที่ ส.ว.มาแสดงความคิดเห็นร่วมกันในครั้งนี้เป็นการกระทำที่มาจากสำนึกในหน้าที่ของตัวแทนของประชาชน ไม่ได้ต้องการทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รายชื่อที่ ส.ว.ร่วมลงชื่อเพื่อยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปจะสามารถรวบรวมได้แล้วเสร็จ ในวันจันทร์ที่ 9 มิ.ย.นี้ ตนมั่นใจว่าจะมี ส.ว.อีกจำนวนมาก ที่ตั้งใจและอยากร่วมลงชื่อในครั้งนี้ และตนยืนยันว่าการล่ารายชื่อครั้งนี้ ไม่เป็นการหลอกลวงให้ลงชื่อ เพราะเราได้พิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร และรายละเอียดให้กับ ส.ว.แต่ละท่านได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว และ ส.ว.ที่มาร่วมแสดงความเห็นครั้งนี้ ก็มีทั้ง ส.ว.สรรหา และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่มีการแบ่งกลุ่มกันแน่นอน
นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ส.ว.จะใช้สิทธิตามมาตรา 161 เปิดให้อภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยและขอสนับสนุน แต่อยากให้ใช้ มาตรา 179 เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ โดยให้ ส.ส.และ ส.ว.ใช้สิทธิอภิปรายได้อย่างเต็มที่ด้วย และที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ เคยเสนอในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เช่นเดียวกัน
"ในครั้งนั้นเป็นปัญหาเรื่อง การขายหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ให้กับเทมาเส็ก ทางพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องว่า ควรนำเรื่องนี้ไปเปิดอภิปรายรับฟังความเห็นของสมาชิกรัฐสภา ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็รับปาก แต่สุดท้ายก็ยุบสภาหนี หากครั้งนั้นได้นำเรื่องนี้เข้าสู่สภาก็จะไม่เกิดวิกฤต เหตุการณ์ 19 ก.ย.49 ดังนั้น เห็นว่ารัฐบาลน่าจะใจกว้าง และกล้าเผชิญความจริงเพื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย"
ด้านนายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เห็นด้วยกับการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล เพราะจะลดความร้อนแรงทางการการเมืองลงได้ ขณะเดียวกัน สมาชิกสภาต่างเห็นใจรัฐบาลกับสถานการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนรับรู้ถึงปัญหาต่างๆ การเปิดอภิปรายก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ในวันที่ 11 มิ.ย.ที่มีการประชุมสภาสมัยวิสามัญ พรรคชาติไทยจะยื่นญัตติด่วนขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและข้อดี ข้อด้อย ของรัฐธรรมนูญ ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเชื่อว่าพรรคพลังประชาชน ไม่น่าจะมีความเห็นแตกต่างจากพรรคร่วมรัฐบาล แต่หากมีความเห็นต่างต้องชี้แจงให้พรรคร่วมรัฐบาลทราบ
ทางด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การตั้งกรรมาธิการวิสามัญนี้จะศึกษาว่าตั้งแต่บังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ 9 เดือนเศษได้ทำให้เกิดปัญหากับส่วนรวมหรือประเทศในเรื่องใดบ้างจากนั้นจะนำมาพิจารณากันอีกขั้นตอนหนึ่งว่าควรนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่อย่างไร และถ้าจะต้องแก้ จะแก้ในประเด็นใดบ้าง ไม่ใช่หมายถึงการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาประเด็นที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในทันที เหมือนที่พรรคพลังประชาชนจะเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ซึ่งแค่ชื่อก็ไม่ตรงกับเจตนารมณ์เดิมที่ได้คุยกันไว้ รัฐบาลจึงควรเดินตามแนวทางที่ตกลงกันไว้ มิฉะนั้นอาจกลายเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การสร้างปัญหาเพิ่มเติม
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดสัดส่วนกรรมาธิการของแต่ละพรรคนั้นคงต้องมาตกลงกันอีกครั้ง แต่ตอนนี้ขอให้หลักการจัดตั้งกรรมาธิการดังกล่าวตรงกันเสียก่อนว่าจะตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ซึ่งพรรคพลังประชาชนต้องไปทำความเข้าใจกับพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนถ้าผลการศึกษาของ กมธ.ฯออกมาแล้วสรุปว่าต้องมีการแก้ไข เรื่องการทำประชามติก็จะต้องมาหารืออีกครั้งว่าจำเป็นหรือไม่ และจะทำในรูปแบบใด
"แต่ถ้ายังยืนยันเป้าหมายเพื่อมารองรับการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ทำมาก็ไม่เป็นที่ยอมรับ ฝ่ายค้านเห็นว่าเรื่องประชามติควรแยก 2 ประเด็น คือ 1.ร่างพ.ร.บ.ประชามติซึ่งพรรคสนับสนุนเต็มที่ เพราะเป็นไปตามกรอบเวลาการออกกฎหมายของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 2.ถ้าการทำประชามติเพื่อเอาผลประชามติมารองรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย"
เมื่อเวลา 11.00 น.วานนี้ (6มิ.ย.) กลุ่มสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) จำนวน 40 คน ได้ประชุมหารือพร้อมมีมติร่วมกันว่าจะเข้าชื่อเพื่อยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล โดย น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม.กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติว่า ในวันจันทร์ที่ 9 มิ.ย.นี้ ส.ว.จะเข้าชื่อยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายรัฐบาลทั่วไปเพื่อให้ ส.ว.ได้ซักถามปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจ สังคม เพราะตลอดเวลา 3-4 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลมุ่งแต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเดียว ไม่สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ ถ้าให้ประเมินผลงานรัฐบาล ถือว่า เป็นผู้บริหารที่ไม่ผ่านการทดลองงาน ในฐานะ ส.ว.จึงต้องการให้รัฐบาลพิสูจน์ตัวเอง โดยแก้ไขปัญหาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นให้ได้ หากแก้ไม่ได้ถือว่าไม่ผ่านการทดลองงานและอาจจะถูกเลิกจ้างในอนาคต
"อย่าคิดว่าการที่ ส.ว.ยื่นญัตติอภิปรายครั้งนี้จะเป็นฝ่ายค้าน เพราะ ส.ว.มีหน้าที่และมีสิทธิ์ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐบาล อย่าคิดว่าเมื่อถูกเลือกตั้งมาแล้วท่านจะทำอะไรก็ได้ ประชาชนเลือกเราเข้ามาก็เพื่อให้เรามาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล สิ่งที่เราพูดไม่ได้หมายความว่า เราอยู่ฝ่ายตรงข้าม แต่เราถือว่าเป็นองคาพยพเดียวกันทั้งสองสภา ซึ่งการตรวจสอบเป็นหน้าที่ของ ส.ว.เป็นการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน อย่าคิดว่าการยื่นอภิปรายเป็นการโจมตี"
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า ขณะนี้ประชาชนได้ฝากความหวังกับ ส.ว.ที่ต้องมาทำหน้าที่ในสภาและยิ่งมาเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางสังคมอยู่ขณะนี้ จนถูกท้วงติงว่า ส.ว.ทำอะไรกันอยู่และยังมีเหตุการณ์อภิปรายนอกรัฐสภา และรัฐบาลก็ตอบโต้อยู่ฝ่ายเดียว ส่วนอีกกลุ่มก็ไม่สามารถเข้ามาร่วมอภิปรายในสภาได้ ดังนั้น ส.ว.ส่วนใหญ่จึงเห็นตรงกันว่าจะร่วมลงชื่อขอยื่นญัตติอภิปรายทั่วไป ซึ่งอาจจะเป็นโอกาสครั้งเดียวและอาจเป็นครั้งสุดท้ายที่จะเป็นการหาทางออกร่วมกัน ในการประชุมวิสามัญที่ต้องใช้โอกาสในการอภิปราย เพราะถ้าเปิดอภิปรายในสมัยหน้า ก็อาจจะมีการอภิปรายได้เฉพาะเรื่อง ซึ่งอาจจะยกเรื่องหนึ่งเรื่องใดมาอภิปรายไม่ได้ ไม่เช่นนั้นก็อาจจะยกไปอภิปรายอีกครั้งในต้นปี 52
"จึงยืนยันว่า การอภิปรายครั้งนี้ไม่ว่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ก็ตาม เราก็จะพยายามทำงานกันอย่างยิ่งยวด การยื่นญัตติครั้งนี้ เราทำตาม มาตรา 161 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องใช้เสียง อย่างน้อย 1 ใน 3 หรือให้ได้ 50 คนขึ้นไป"
นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ยืนยันว่า ที่ ส.ว.มาแสดงความคิดเห็นร่วมกันในครั้งนี้เป็นการกระทำที่มาจากสำนึกในหน้าที่ของตัวแทนของประชาชน ไม่ได้ต้องการทำให้เกิดความวุ่นวายในสังคม
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา กล่าวว่า รายชื่อที่ ส.ว.ร่วมลงชื่อเพื่อยื่นญัตติอภิปรายทั่วไปจะสามารถรวบรวมได้แล้วเสร็จ ในวันจันทร์ที่ 9 มิ.ย.นี้ ตนมั่นใจว่าจะมี ส.ว.อีกจำนวนมาก ที่ตั้งใจและอยากร่วมลงชื่อในครั้งนี้ และตนยืนยันว่าการล่ารายชื่อครั้งนี้ ไม่เป็นการหลอกลวงให้ลงชื่อ เพราะเราได้พิมพ์เป็นลายลักษณ์อักษร และรายละเอียดให้กับ ส.ว.แต่ละท่านได้พิจารณาโดยรอบคอบแล้ว และ ส.ว.ที่มาร่วมแสดงความเห็นครั้งนี้ ก็มีทั้ง ส.ว.สรรหา และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่มีการแบ่งกลุ่มกันแน่นอน
นายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ส.ว.จะใช้สิทธิตามมาตรา 161 เปิดให้อภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติว่า ทางพรรคประชาธิปัตย์เห็นด้วยและขอสนับสนุน แต่อยากให้ใช้ มาตรา 179 เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่ลงมติ โดยให้ ส.ส.และ ส.ว.ใช้สิทธิอภิปรายได้อย่างเต็มที่ด้วย และที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ เคยเสนอในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีมาครั้งหนึ่งแล้ว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ เช่นเดียวกัน
"ในครั้งนั้นเป็นปัญหาเรื่อง การขายหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น ให้กับเทมาเส็ก ทางพรรคประชาธิปัตย์ เรียกร้องว่า ควรนำเรื่องนี้ไปเปิดอภิปรายรับฟังความเห็นของสมาชิกรัฐสภา ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็รับปาก แต่สุดท้ายก็ยุบสภาหนี หากครั้งนั้นได้นำเรื่องนี้เข้าสู่สภาก็จะไม่เกิดวิกฤต เหตุการณ์ 19 ก.ย.49 ดังนั้น เห็นว่ารัฐบาลน่าจะใจกว้าง และกล้าเผชิญความจริงเพื่อรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย"
ด้านนายนิกร จำนง รองหัวหน้าพรรคชาติไทย เห็นด้วยกับการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาล เพราะจะลดความร้อนแรงทางการการเมืองลงได้ ขณะเดียวกัน สมาชิกสภาต่างเห็นใจรัฐบาลกับสถานการณ์ประท้วงที่เกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนรับรู้ถึงปัญหาต่างๆ การเปิดอภิปรายก็น่าจะเป็นทางออกที่ดี
ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น รองหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า ในวันที่ 11 มิ.ย.ที่มีการประชุมสภาสมัยวิสามัญ พรรคชาติไทยจะยื่นญัตติด่วนขอให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและข้อดี ข้อด้อย ของรัฐธรรมนูญ ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมเชื่อว่าพรรคพลังประชาชน ไม่น่าจะมีความเห็นแตกต่างจากพรรคร่วมรัฐบาล แต่หากมีความเห็นต่างต้องชี้แจงให้พรรคร่วมรัฐบาลทราบ
ทางด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การตั้งกรรมาธิการวิสามัญนี้จะศึกษาว่าตั้งแต่บังคับใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ 9 เดือนเศษได้ทำให้เกิดปัญหากับส่วนรวมหรือประเทศในเรื่องใดบ้างจากนั้นจะนำมาพิจารณากันอีกขั้นตอนหนึ่งว่าควรนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่อย่างไร และถ้าจะต้องแก้ จะแก้ในประเด็นใดบ้าง ไม่ใช่หมายถึงการตั้งกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณาประเด็นที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญในทันที เหมือนที่พรรคพลังประชาชนจะเสนอตั้งกรรมาธิการวิสามัญศึกษาประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ ซึ่งแค่ชื่อก็ไม่ตรงกับเจตนารมณ์เดิมที่ได้คุยกันไว้ รัฐบาลจึงควรเดินตามแนวทางที่ตกลงกันไว้ มิฉะนั้นอาจกลายเป็นเงื่อนไขนำไปสู่การสร้างปัญหาเพิ่มเติม
นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับรายละเอียดสัดส่วนกรรมาธิการของแต่ละพรรคนั้นคงต้องมาตกลงกันอีกครั้ง แต่ตอนนี้ขอให้หลักการจัดตั้งกรรมาธิการดังกล่าวตรงกันเสียก่อนว่าจะตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ซึ่งพรรคพลังประชาชนต้องไปทำความเข้าใจกับพรรคร่วมรัฐบาล ส่วนถ้าผลการศึกษาของ กมธ.ฯออกมาแล้วสรุปว่าต้องมีการแก้ไข เรื่องการทำประชามติก็จะต้องมาหารืออีกครั้งว่าจำเป็นหรือไม่ และจะทำในรูปแบบใด
"แต่ถ้ายังยืนยันเป้าหมายเพื่อมารองรับการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ทำมาก็ไม่เป็นที่ยอมรับ ฝ่ายค้านเห็นว่าเรื่องประชามติควรแยก 2 ประเด็น คือ 1.ร่างพ.ร.บ.ประชามติซึ่งพรรคสนับสนุนเต็มที่ เพราะเป็นไปตามกรอบเวลาการออกกฎหมายของรัฐธรรมนูญ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 2.ถ้าการทำประชามติเพื่อเอาผลประชามติมารองรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อตัวเอง พรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย"