นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน กลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ ผู้ที่เคลื่อนไหวล่ารายชื่อเสนอญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญรอบ 2 กล่าวถึงข้อสรุปวิปสองฝ่าย จะให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า คงต้องรอให้วิปแต่ละพรรคนำเรื่องดังกล่าว เข้าหารือต่อที่ประชุมพรรค เพื่อจะได้หารือและมีการเสนอรายชื่อผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญต่อไป
นายนิสิต ยังยืนยันว่า ยังคงรวบรวมรายชื่อ ส.ส.ที่จะยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญและรวบรวมได้แล้ว 103 คน มี ส.ส.ติดต่อขอลงรายชื่อเพิ่มอีก 4-5 คน แต่ยังไม่กำหนดว่าจะยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญต่อสภาเมื่อไร
ส่วนที่มีผู้ใหญ่ในพรรค ออกมาพูดว่าควรรอให้มีมติของพรรคก่อนนั้น ก็เป็นเรื่องดี ควรมีการประชุมพรรค เพื่อประมวลความเห็นของพรรคเนื่องจากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหลักของพรรค
ดังนั้น พรรคควรนำความเห็นของ ส.ส.มาให้สอดคล้องกันนโยบายพรรค พรรคก็เคยมีมติไปแล้วว่าจะแก้ไขทั้งฉบับ โดยให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ
ฉะนั้น หากพรรคจะเชิญประชุม ส.ส.ให้มีมติเป็นเอกฉันท์ก็จะทำให้เกิดความชัดเจน ไม่อยากให้ต้องมากังวลถึงสถานการณ์บ้านเมือง เพราะกระบวนการสภาแก้ปัญหาได้ ถ้าให้เป็นเอกสิทธิของ ส.ส.ก็ทำได้ แต่จะเป็นปัญหาเพราะพรรคควรจะมีความเป็นปึกแผ่น**จัดสัมมนาวางท่าทีแก้รธน.
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการประชุมสัมนา ส.ส.อีสาน ที่จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5-8 มิ.ย.ว่า ที่ประชุมจะพูดคุยถึงแนวทาง การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะมีท่าทีอย่างไร โดยการสัมมนาครั้งนี้ จะมี ส.ส.และแกนนำพรรคไปเป็นจำนวนมาก ส่วนนายเนวิน ชิดชอบ จะไปด้วยหรือไม่ตนไม่แน่ใจ แต่บ้านพ่อตาของนายเนวิน อยู่ที่ จ.เชียงใหม่ จึงอาจจะไปเยี่ยมพ่อตาและหากมีเวลาอาจจะแวะไปทักทาย ส.ส.อีสานก็ได้ นอกจากนี้ยังได้ยินแว่วๆมาว่าครม.อาจจะไปตรวจเยี่ยมราชการในช่วงนั้นพอดี
ส่วนการตั้งข้อสังเกตุถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส.ส.ในพรรค และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จนมีข่าวออกมาว่าอาจเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีนั้น นายสุทิน กล่าวว่า ไม่มีปัญหาความสัมพันธ์ยังเป็นไปด้วยดี พวกเราเรียนรู้และเข้าใจการทำงาน ของนายสมัคร และส.ส.ก็ปรับตัวได้แล้ว
ส่วนกรณีนายกฯ กล่าวเมื่อวันที่ 31 พ.ค. ซึ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯนั้น พวกเราเข้าใจและเชื่อว่าประชาชนก็เข้าใจว่านายสมัครทำถูกแล้ว
**
ส.ส.ภาคกลางให้รอผลกมธ.ก่อน
นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังปิดการสัมมนา ส.ส.ภาคกลาง และภาคกทม. และภาคใต้ ที่จ.นครราชสีมาว่า ได้มีการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองโดยเห็นว่าการยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องให้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติก่อน และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่มีการเสนอกันก่อน
ส่วนที่มี ส.ส.บางกลุ่มในพรรคพลังประชาชนเคลื่อนไหวกดดัน นายสมัคร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ขอยืนยันว่าภาคกลาง และภาค กทม. ไม่มีความคิดในเรื่องดังกล่าวเมื่อเราลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพราะนายสมัคร มีความสนิททั้งกับตำรวจและทหาร เหมาะสมที่เป็นนายกฯ ต่อไป แม้มีส.ส.บางคนในภาคอีสานจะไม่เห็นด้วย แต่เป็นแค่ความคิดของคนๆเดียว ไม่ใช่ความเห็นของส.ส.กว่า 200 คนของพรรค
นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ส.ส.ภาคกลาง ภาคกทม.และภาคใต้ เห็นตรงกันว่า ที่ผ่านมา พรรคไม่เคยมีมติให้ส.ส.เข้าชื่อเพื่อนยื่นญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 ซึ่งกระแสข่าวที่ออกมาเป็นเพราะการสื่อสารในพรรคที่คลาดเคลื่อน ซึ่งเห็นว่า การยื่นญัตติแก้ไขควรเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส. อีกทั้งการดำนเนินการดังกล่าวควร ดำเนินการด้วยความรอบคอบและฟังเสียงทุกฝ่าย เพื่อให้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะ การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯที่ยืดเยื้อได้ยุติลง
ทั้งนี้ส.ส.ที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ควรรอฟังผลประชามติซึ่งถือเป็น เสียงของประชาชนก่อน การตัดสินใจใดที่จะดำเนินการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
**
ปชป.จี้นายกฯแสดงภาวะผู้นำ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยังเคลื่อนไหวยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่วิปรัฐบาลและฝ่ายค้านมีมติร่วมกันให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อตกลงกันแล้วก็ต้องชัดเจน ถ้าหากยังมีความพยายาม ที่จะไปทำอย่างอื่น คนเหล่านั้นก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปโทษใครไม่ได้แล้ว จริงๆ แล้ว ถ้าเขาคิดที่จะช่วยรัฐบาล ควรจะหยุดเรื่องนี้เพื่อให้รัฐบาลสามารถทำงานในการแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"นายกฯ ต้องแสดงภาวะของความเป็นผู้นำในพรรคที่จะหยุดตรงนี้ให้ได้ และมติที่ดีที่สุดสำหรับพรรคพลังประชาชนที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาสมัยวิสามัญวันที่ 9 มิ.ย.นี้ คือเห็นชอบตามที่มีการตกลงระหว่างวิปรัฐบาลและฝ่ายค้านคือ จะไม่มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีการทำประชามติ แต่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาร่วมกันทุกฝ่าย โดยเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมด้วย หากพรรคพลังประชาชนไม่เห็นด้วยจะเป็นการสูญเสียโอกาสสำคัญที่จะคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหว การชุมนุมควรจะประเมินว่าขาขึ้นหรือขาลงหรือเป็นไปตามกระแส ทั้งนี้ไม่มีใคร คาดคิดได้ เพราะเวลามีเหตุการณ์ชุมนุมย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ดีที่สุดคือจะต้องขจัดเงื่อนไขออกไปให้หมด" นายอภิสิทธิ์กล่าว
**
"เลี้ยบ"หลับตาพูด คุยคุมลูกพรรคได้
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน จะไปกำชับลูกพรรคให้ยุติการเสนอญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยุติปัญหาทางการเมือง และความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาลและหากจะมีการเคลื่อนไหวใดๆ ต้องเป็นมติพรรคเท่านั้นว่า ตอนนี้ยังไม่มีมติพรรคใดๆเลย และที่กล่าวกันว่าพรรคควบคุมลูกพรรคไม่ได้นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะหากพรรคจะมีมติใดๆออกมา ลูกพรรคต้องปฏิบัติตาม
ส่วนที่ ส.ส.กลุ่มอีสานใต้ที่มีความใกล้ชิดนายเนวิน ชิดชอบ ยืนยันจะยื่นญัตตินี้และอาจเกิดปัญหาได้นั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ตอนนี้พรรคยังไม่มีความเห็น ใดๆ ในเรื่องนี้
**ไม่วังวลปชป.เตรียมยื่นญัตติซักฟอก
สำหรับการประชุมสภาฯสมัยวิสามัญที่พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า วันที่ 9 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันเปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญ จะมีกฎหมายสำคัญๆ หลายเรื่องให้สภาพิจารณา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี2552ด้วย
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นก็เป็นสิทธิ และรัฐบาลไม่กังวล
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากเกิดการอภิปรายฯจริงอาจเกิดปัญหาเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะครม.ที่มาจากพรรคร่วมรัฐบาลทุกคนนั้น เวลาพบและหารือกันในที่ประชุม ครม.ก็ไม่มีปัญหาใดๆ ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ส่วนเมื่อวันที่ 31พ.ค.แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล 4 พรรคไปหารือและแสดงความ ไม่พอใจนายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่มีท่าทีจะแตกหักกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และยังบอกว่านายสมัคร กระทำการใดๆไม่หารือ พรรคร่วมรัฐบาลเลย นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ไม่มีปัญหาใดๆ และทราบว่าไม่มีการ แสดงความกังวลใดๆ ด้วย และเรื่องนี้ควรไปสอบถามผู้ที่ให้ความเห็นเรื่องนี้เอง ตนก็ไม่ทราบเรื่อง ยืนยันว่าการทำงานของรัฐบาลนั้นก็มีการหารือกันตลอดในการประชุม ครม. ส่วนเรื่องการเมืองนั้นก็มีการหารือกันบ้าง
นายนิสิต ยังยืนยันว่า ยังคงรวบรวมรายชื่อ ส.ส.ที่จะยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญและรวบรวมได้แล้ว 103 คน มี ส.ส.ติดต่อขอลงรายชื่อเพิ่มอีก 4-5 คน แต่ยังไม่กำหนดว่าจะยื่นญัตติแก้รัฐธรรมนูญต่อสภาเมื่อไร
ส่วนที่มีผู้ใหญ่ในพรรค ออกมาพูดว่าควรรอให้มีมติของพรรคก่อนนั้น ก็เป็นเรื่องดี ควรมีการประชุมพรรค เพื่อประมวลความเห็นของพรรคเนื่องจากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหลักของพรรค
ดังนั้น พรรคควรนำความเห็นของ ส.ส.มาให้สอดคล้องกันนโยบายพรรค พรรคก็เคยมีมติไปแล้วว่าจะแก้ไขทั้งฉบับ โดยให้มีการตั้งกรรมาธิการวิสามัญ
ฉะนั้น หากพรรคจะเชิญประชุม ส.ส.ให้มีมติเป็นเอกฉันท์ก็จะทำให้เกิดความชัดเจน ไม่อยากให้ต้องมากังวลถึงสถานการณ์บ้านเมือง เพราะกระบวนการสภาแก้ปัญหาได้ ถ้าให้เป็นเอกสิทธิของ ส.ส.ก็ทำได้ แต่จะเป็นปัญหาเพราะพรรคควรจะมีความเป็นปึกแผ่น**จัดสัมมนาวางท่าทีแก้รธน.
นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคพลังประชาชน กล่าวถึงการประชุมสัมนา ส.ส.อีสาน ที่จ.เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5-8 มิ.ย.ว่า ที่ประชุมจะพูดคุยถึงแนวทาง การแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะมีท่าทีอย่างไร โดยการสัมมนาครั้งนี้ จะมี ส.ส.และแกนนำพรรคไปเป็นจำนวนมาก ส่วนนายเนวิน ชิดชอบ จะไปด้วยหรือไม่ตนไม่แน่ใจ แต่บ้านพ่อตาของนายเนวิน อยู่ที่ จ.เชียงใหม่ จึงอาจจะไปเยี่ยมพ่อตาและหากมีเวลาอาจจะแวะไปทักทาย ส.ส.อีสานก็ได้ นอกจากนี้ยังได้ยินแว่วๆมาว่าครม.อาจจะไปตรวจเยี่ยมราชการในช่วงนั้นพอดี
ส่วนการตั้งข้อสังเกตุถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ส.ส.ในพรรค และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จนมีข่าวออกมาว่าอาจเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีนั้น นายสุทิน กล่าวว่า ไม่มีปัญหาความสัมพันธ์ยังเป็นไปด้วยดี พวกเราเรียนรู้และเข้าใจการทำงาน ของนายสมัคร และส.ส.ก็ปรับตัวได้แล้ว
ส่วนกรณีนายกฯ กล่าวเมื่อวันที่ 31 พ.ค. ซึ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯนั้น พวกเราเข้าใจและเชื่อว่าประชาชนก็เข้าใจว่านายสมัครทำถูกแล้ว
**
ส.ส.ภาคกลางให้รอผลกมธ.ก่อน
นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคพลังประชาชน ให้สัมภาษณ์ภายหลังปิดการสัมมนา ส.ส.ภาคกลาง และภาคกทม. และภาคใต้ ที่จ.นครราชสีมาว่า ได้มีการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองโดยเห็นว่าการยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องให้มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการทำประชามติก่อน และมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่มีการเสนอกันก่อน
ส่วนที่มี ส.ส.บางกลุ่มในพรรคพลังประชาชนเคลื่อนไหวกดดัน นายสมัคร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น ขอยืนยันว่าภาคกลาง และภาค กทม. ไม่มีความคิดในเรื่องดังกล่าวเมื่อเราลงเรือลำเดียวกันแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพราะนายสมัคร มีความสนิททั้งกับตำรวจและทหาร เหมาะสมที่เป็นนายกฯ ต่อไป แม้มีส.ส.บางคนในภาคอีสานจะไม่เห็นด้วย แต่เป็นแค่ความคิดของคนๆเดียว ไม่ใช่ความเห็นของส.ส.กว่า 200 คนของพรรค
นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ส.ส.ภาคกลาง ภาคกทม.และภาคใต้ เห็นตรงกันว่า ที่ผ่านมา พรรคไม่เคยมีมติให้ส.ส.เข้าชื่อเพื่อนยื่นญัติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 2 ซึ่งกระแสข่าวที่ออกมาเป็นเพราะการสื่อสารในพรรคที่คลาดเคลื่อน ซึ่งเห็นว่า การยื่นญัตติแก้ไขควรเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส. อีกทั้งการดำนเนินการดังกล่าวควร ดำเนินการด้วยความรอบคอบและฟังเสียงทุกฝ่าย เพื่อให้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองโดยเฉพาะ การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯที่ยืดเยื้อได้ยุติลง
ทั้งนี้ส.ส.ที่เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ยังเห็นว่า ควรรอฟังผลประชามติซึ่งถือเป็น เสียงของประชาชนก่อน การตัดสินใจใดที่จะดำเนินการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ
**
ปชป.จี้นายกฯแสดงภาวะผู้นำ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยังเคลื่อนไหวยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งๆ ที่วิปรัฐบาลและฝ่ายค้านมีมติร่วมกันให้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า เมื่อตกลงกันแล้วก็ต้องชัดเจน ถ้าหากยังมีความพยายาม ที่จะไปทำอย่างอื่น คนเหล่านั้นก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นไปโทษใครไม่ได้แล้ว จริงๆ แล้ว ถ้าเขาคิดที่จะช่วยรัฐบาล ควรจะหยุดเรื่องนี้เพื่อให้รัฐบาลสามารถทำงานในการแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"นายกฯ ต้องแสดงภาวะของความเป็นผู้นำในพรรคที่จะหยุดตรงนี้ให้ได้ และมติที่ดีที่สุดสำหรับพรรคพลังประชาชนที่จะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาสมัยวิสามัญวันที่ 9 มิ.ย.นี้ คือเห็นชอบตามที่มีการตกลงระหว่างวิปรัฐบาลและฝ่ายค้านคือ จะไม่มีการเสนอญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีการทำประชามติ แต่จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาร่วมกันทุกฝ่าย โดยเชิญบุคคลภายนอกเข้ามาร่วมด้วย หากพรรคพลังประชาชนไม่เห็นด้วยจะเป็นการสูญเสียโอกาสสำคัญที่จะคลี่คลายความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ส่วนการเคลื่อนไหว การชุมนุมควรจะประเมินว่าขาขึ้นหรือขาลงหรือเป็นไปตามกระแส ทั้งนี้ไม่มีใคร คาดคิดได้ เพราะเวลามีเหตุการณ์ชุมนุมย่อมมีความเสี่ยงเสมอ ดีที่สุดคือจะต้องขจัดเงื่อนไขออกไปให้หมด" นายอภิสิทธิ์กล่าว
**
"เลี้ยบ"หลับตาพูด คุยคุมลูกพรรคได้
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชาชน กล่าวถึงกรณีที่ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน จะไปกำชับลูกพรรคให้ยุติการเสนอญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อยุติปัญหาทางการเมือง และความขัดแย้งกับพรรคร่วมรัฐบาลและหากจะมีการเคลื่อนไหวใดๆ ต้องเป็นมติพรรคเท่านั้นว่า ตอนนี้ยังไม่มีมติพรรคใดๆเลย และที่กล่าวกันว่าพรรคควบคุมลูกพรรคไม่ได้นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะหากพรรคจะมีมติใดๆออกมา ลูกพรรคต้องปฏิบัติตาม
ส่วนที่ ส.ส.กลุ่มอีสานใต้ที่มีความใกล้ชิดนายเนวิน ชิดชอบ ยืนยันจะยื่นญัตตินี้และอาจเกิดปัญหาได้นั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า ตอนนี้พรรคยังไม่มีความเห็น ใดๆ ในเรื่องนี้
**ไม่วังวลปชป.เตรียมยื่นญัตติซักฟอก
สำหรับการประชุมสภาฯสมัยวิสามัญที่พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลนั้น นพ.สุรพงษ์ กล่าวว่า วันที่ 9 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันเปิดประชุมสภาฯสมัยวิสามัญ จะมีกฎหมายสำคัญๆ หลายเรื่องให้สภาพิจารณา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี2552ด้วย
ส่วนการที่พรรคประชาธิปัตย์จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นก็เป็นสิทธิ และรัฐบาลไม่กังวล
ผู้สื่อข่าวถามว่าหากเกิดการอภิปรายฯจริงอาจเกิดปัญหาเรื่องเสถียรภาพของรัฐบาล นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ไม่มีปัญหา เพราะครม.ที่มาจากพรรคร่วมรัฐบาลทุกคนนั้น เวลาพบและหารือกันในที่ประชุม ครม.ก็ไม่มีปัญหาใดๆ ฉะนั้นเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง ส่วนเมื่อวันที่ 31พ.ค.แกนนำพรรคร่วมรัฐบาล 4 พรรคไปหารือและแสดงความ ไม่พอใจนายสมัคร สุนทรเวช นายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ที่มีท่าทีจะแตกหักกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ และยังบอกว่านายสมัคร กระทำการใดๆไม่หารือ พรรคร่วมรัฐบาลเลย นพ.สุรพงษ์กล่าวว่า ไม่มีปัญหาใดๆ และทราบว่าไม่มีการ แสดงความกังวลใดๆ ด้วย และเรื่องนี้ควรไปสอบถามผู้ที่ให้ความเห็นเรื่องนี้เอง ตนก็ไม่ทราบเรื่อง ยืนยันว่าการทำงานของรัฐบาลนั้นก็มีการหารือกันตลอดในการประชุม ครม. ส่วนเรื่องการเมืองนั้นก็มีการหารือกันบ้าง