เปิดตัวยุทธศาสตร์ใหม่ดันยอดส่งออก
ชู5กลุ่มคลัสเตอร์ส่งสินค้าไทยเจาะตลาดโลก
ในปี 2551 นี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายประมาณการส่งออกสินค้าไทยไว้ว่าจะส่งออกได้มูลค่าเบ็ดเสร็จรวมทั้งสิ้น 1.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว 12.5% และได้ตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้ว่าจะผลักดันให้การส่งออกขยายตัวสูงถึง 15%
ขณะที่ยอดการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.) ไทยสามารถส่งออกได้แล้วเป็นมูลค่า 55,481.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.2% เป็นอัตราการขยายตัวที่เกินไปกว่าเป้าหมายแล้ว
ภายใต้สถานการณ์น้ำมันแพง เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลายๆ ประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัวลง และมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ยอดการส่งออกสินค้าไทยยังไปได้ดี และมีอัตราการขยายตัวเกือบทุกกลุ่มสินค้า นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการของไทยได้มีการปรับตัว และปรับสภาพรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้แล้วเป็นอย่างดี
ประกอบกับนโยบายในการสนับสนุนการส่งออกของภาครัฐ ถือได้ว่าทำมาถูกที่ถูกทาง มีการกำหนดรูปแบบการทำงานไว้อย่างชัดเจน และขณะนี้แผนงานต่างๆ นั้น ได้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
แผนงานสนับสนุนการส่งออกที่ว่านั้น มีทั้งสิ้น 10 แผนงาน ได้แก่
1.ใช้การเจรจาการค้าเป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้าในทุกระดับและทุกเวที
2.การส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษาตลาดหลัก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 55% ไม่ให้ลดลง โดยจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม รวมทั้งดำเนินมาตรการเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทางและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ ทำ Business Matching นำสินค้าคุณภาพดีที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Thailand’s Brand) และสินค้าที่ผลิตได้ตรงตามความต้องการลูกค้าไปขาย
3.การเร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดใหม่ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 45% โดยเน้นอาเซียน จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา
4.การส่งเสริมธุรกิจบริการอย่างเข้มข้น เพื่อให้ทำการค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น ร้านอาหารไทย บันเทิง การศึกษา สปา โรงพยาบาล แฟรนไชส์ การออกแบบ/ก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ และธุรกิจตัดเย็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านอินเทอร์เน็ต ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศให้มากขึ้น
5.การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาคให้เพิ่มขึ้น ซึ่งในปีนี้ทำได้แล้ว 3,371 ราย ปีหน้าจะให้เพิ่มอีก 2,100 ราย และพัฒนาให้เป็นผู้ส่งออก เพื่อเป็นการวางรากฐานการส่งออกในระยะกลาง/ยาว โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ในภูมิภาค
6.การส่งเสริมและพัฒนาย่านการค้านานาชาติ เช่น อัญมณี ย่านสีลม สุรวงศ์ และมเหสักข์ อะไหล่รถยนต์ ย่านวรจักร เสื้อผ้า ย่านโบ๊เบ๊ ใบหยก ประตูน้ำ โดยจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมๆ กับสร้างภาพลักษณ์แต่ละย่านการค้าและกลุ่มสินค้าให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก
7.การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจการผลิต การบริการในต่างประเทศให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็งและมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เช่น อาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ การเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร การก่อสร้าง พลังงาน สุขอนามัย การทำ Contract Farming เป็นต้น การเปิดสาขา หาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ แสวงหาวัตถุดิบ รวมทั้งสร้างตราสินค้าไทย ซึ่งล่าสุดมีผู้ขอเข้าร่วมโครงการแล้ว 260 ราย
8.การสนับสนุนการลดต้นทุนในระบบโลจิสติกส์ โดยจะดำเนินการพัฒนาระบบ e-Logistic เพื่อไปสู่การให้บริการแบบ Electronic Certification ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมและพัฒนา Trade Logistic Provider (TLP) ในประเทศให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการกับผู้ประกอบการไทยในด้านต่างๆ อย่างครบวงจรมากขึ้น
9.การพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้า เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและธุรกิจบริการของไทย โดยดำเนินการพัฒนาการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาการออกแบบและบรรจุภัณฑ์ การสร้างและพัฒนานักออกแบบ โดยเฉพาะโครงการประกวดการออกแบบต่างๆ เช่น อัญมณี เครื่องประดับ การบรรจุหีบห่อ การนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแนะนำในการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงและเพิ่มมูลค่าของสินค้า รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าไทย และการจัดประกวด PM’s Export Award
10.การร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการส่งออก ที่สำคัญได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน การกีดกันทางการค้า กฎระเบียบ ขั้นตอนการดำเนินการภายในประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแผนการทำงานข้างต้นเป็นแนวทางในการสนับสนุนการส่งออก แต่กรมส่งเสริมการส่งออก ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ยังได้มีการปรับกลยุทธิ์ใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งล่าสุดได้จับมือกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมการส่งออกรายกลุ่มสินค้า (Cluster) จำนวน 5 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ กลุ่มสินค้าแฟชั่น กลุ่มสินค้าอาหารและสุขภาพ และกล่มธุรกิจบริการ
“ที่ต้องกำหนดยุทธศาสตร์เป็นกลุ่มสินค้า เพราะต้องการปรับแผนการส่งออกให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการกำหนดทิศทาง กรอบนโยบายและแผนการปฏิบัติงานพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยแต่ละกลุ่มสินค้าจะมีการกำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการวางจุดยืนสินค้าของไทยไว้ตรงไหนในเวทีโลก และการไปสู่เป้าหมายนั้น จะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งจะมีการกำหนดแผนงานที่ชัดเจนออกมา”นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกกล่าว
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก จะจัดให้มีการเสวนาใหญ่ในเรื่องดังกล่าวในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ ที่กรมส่งเสริมการส่งออก เวลา 13.30-17.00 น. ณ ห้องประชุม 41202 ชั้น 12 อาคารกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จ.นนทบุรี โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ผู้ส่งออก นักธุรกิจ และสื่อมวลชน เข้าร่วม โดยเวทีนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของสินค้าของตัวเอง ใครที่อยากจะรู้ว่าทิศทางสินค้าที่ตัวเองผลิตอยู่มีเป้าหมายและทิศทางยังไง งานนี้ไม่ควรพลาด
ชู5กลุ่มคลัสเตอร์ส่งสินค้าไทยเจาะตลาดโลก
ในปี 2551 นี้ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้าหมายประมาณการส่งออกสินค้าไทยไว้ว่าจะส่งออกได้มูลค่าเบ็ดเสร็จรวมทั้งสิ้น 1.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราการขยายตัว 12.5% และได้ตั้งเป้าหมายในการทำงานไว้ว่าจะผลักดันให้การส่งออกขยายตัวสูงถึง 15%
ขณะที่ยอดการส่งออกในช่วง 4 เดือนแรกที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.) ไทยสามารถส่งออกได้แล้วเป็นมูลค่า 55,481.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.2% เป็นอัตราการขยายตัวที่เกินไปกว่าเป้าหมายแล้ว
ภายใต้สถานการณ์น้ำมันแพง เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลายๆ ประเทศอยู่ในภาวะชะลอตัวลง และมีการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ยอดการส่งออกสินค้าไทยยังไปได้ดี และมีอัตราการขยายตัวเกือบทุกกลุ่มสินค้า นั่นแสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการของไทยได้มีการปรับตัว และปรับสภาพรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นได้แล้วเป็นอย่างดี
ประกอบกับนโยบายในการสนับสนุนการส่งออกของภาครัฐ ถือได้ว่าทำมาถูกที่ถูกทาง มีการกำหนดรูปแบบการทำงานไว้อย่างชัดเจน และขณะนี้แผนงานต่างๆ นั้น ได้เกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างแล้ว
แผนงานสนับสนุนการส่งออกที่ว่านั้น มีทั้งสิ้น 10 แผนงาน ได้แก่
1.ใช้การเจรจาการค้าเป็นตัวนำในการแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้าในทุกระดับและทุกเวที
2.การส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษาตลาดหลัก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 55% ไม่ให้ลดลง โดยจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม รวมทั้งดำเนินมาตรการเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทางและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ ทำ Business Matching นำสินค้าคุณภาพดีที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าไทย (Thailand’s Brand) และสินค้าที่ผลิตได้ตรงตามความต้องการลูกค้าไปขาย
3.การเร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดใหม่ ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 45% โดยเน้นอาเซียน จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา
4.การส่งเสริมธุรกิจบริการอย่างเข้มข้น เพื่อให้ทำการค้าต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น ร้านอาหารไทย บันเทิง การศึกษา สปา โรงพยาบาล แฟรนไชส์ การออกแบบ/ก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ และธุรกิจตัดเย็นเสื้อผ้าสำเร็จรูปผ่านอินเทอร์เน็ต ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศให้มากขึ้น
5.การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิภาคให้เพิ่มขึ้น ซึ่งในปีนี้ทำได้แล้ว 3,371 ราย ปีหน้าจะให้เพิ่มอีก 2,100 ราย และพัฒนาให้เป็นผู้ส่งออก เพื่อเป็นการวางรากฐานการส่งออกในระยะกลาง/ยาว โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP ในภูมิภาค
6.การส่งเสริมและพัฒนาย่านการค้านานาชาติ เช่น อัญมณี ย่านสีลม สุรวงศ์ และมเหสักข์ อะไหล่รถยนต์ ย่านวรจักร เสื้อผ้า ย่านโบ๊เบ๊ ใบหยก ประตูน้ำ โดยจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ส่งออกทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมๆ กับสร้างภาพลักษณ์แต่ละย่านการค้าและกลุ่มสินค้าให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก
7.การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยไปดำเนินธุรกิจการผลิต การบริการในต่างประเทศให้มากขึ้น ทั้งในเรื่องการลงทุนตั้งโรงงานผลิตสินค้าในสาขาที่ไทยมีความเข้มแข็งและมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขัน เช่น อาหาร อาหารเพื่อสุขภาพ การเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร การก่อสร้าง พลังงาน สุขอนามัย การทำ Contract Farming เป็นต้น การเปิดสาขา หาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศ เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายธุรกิจไทยในต่างประเทศ แสวงหาวัตถุดิบ รวมทั้งสร้างตราสินค้าไทย ซึ่งล่าสุดมีผู้ขอเข้าร่วมโครงการแล้ว 260 ราย
8.การสนับสนุนการลดต้นทุนในระบบโลจิสติกส์ โดยจะดำเนินการพัฒนาระบบ e-Logistic เพื่อไปสู่การให้บริการแบบ Electronic Certification ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การส่งเสริมและพัฒนา Trade Logistic Provider (TLP) ในประเทศให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการกับผู้ประกอบการไทยในด้านต่างๆ อย่างครบวงจรมากขึ้น
9.การพัฒนารูปแบบและคุณภาพสินค้า เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและธุรกิจบริการของไทย โดยดำเนินการพัฒนาการออกแบบสินค้าและบรรจุภัณฑ์ การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาการออกแบบและบรรจุภัณฑ์ การสร้างและพัฒนานักออกแบบ โดยเฉพาะโครงการประกวดการออกแบบต่างๆ เช่น อัญมณี เครื่องประดับ การบรรจุหีบห่อ การนำผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาให้คำปรึกษาแนะนำในการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพสูงและเพิ่มมูลค่าของสินค้า รวมทั้งการส่งเสริมการใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าไทย และการจัดประกวด PM’s Export Award
10.การร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาการส่งออก ที่สำคัญได้แก่ การขาดแคลนแรงงาน การกีดกันทางการค้า กฎระเบียบ ขั้นตอนการดำเนินการภายในประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีแผนการทำงานข้างต้นเป็นแนวทางในการสนับสนุนการส่งออก แต่กรมส่งเสริมการส่งออก ไม่ได้หยุดนิ่งอยู่กับที่ ยังได้มีการปรับกลยุทธิ์ใหม่ๆ มาใช้ ซึ่งล่าสุดได้จับมือกับคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดทำยุทธศาสตร์การส่งเสริมการส่งออกรายกลุ่มสินค้า (Cluster) จำนวน 5 กลุ่มสินค้าหลัก ได้แก่ กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม กลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ กลุ่มสินค้าแฟชั่น กลุ่มสินค้าอาหารและสุขภาพ และกล่มธุรกิจบริการ
“ที่ต้องกำหนดยุทธศาสตร์เป็นกลุ่มสินค้า เพราะต้องการปรับแผนการส่งออกให้มีการบูรณาการร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนในการกำหนดทิศทาง กรอบนโยบายและแผนการปฏิบัติงานพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยแต่ละกลุ่มสินค้าจะมีการกำหนดเป้าหมายชัดเจนว่าต้องการวางจุดยืนสินค้าของไทยไว้ตรงไหนในเวทีโลก และการไปสู่เป้าหมายนั้น จะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งจะมีการกำหนดแผนงานที่ชัดเจนออกมา”นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออกกล่าว
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการส่งออก จะจัดให้มีการเสวนาใหญ่ในเรื่องดังกล่าวในวันที่ 11 มิ.ย.นี้ ที่กรมส่งเสริมการส่งออก เวลา 13.30-17.00 น. ณ ห้องประชุม 41202 ชั้น 12 อาคารกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ จ.นนทบุรี โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง ผู้ส่งออก นักธุรกิจ และสื่อมวลชน เข้าร่วม โดยเวทีนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของสินค้าของตัวเอง ใครที่อยากจะรู้ว่าทิศทางสินค้าที่ตัวเองผลิตอยู่มีเป้าหมายและทิศทางยังไง งานนี้ไม่ควรพลาด