ในปี 2551 นี้ ภาคการส่งออกจะยังคงเป็นพระเอกที่จะช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวมากที่สุดอีกปัจจัยหนึ่ง ซึ่งจากสถานการณ์และแนวโน้มการส่งออกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 26,951 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 24.6% ยังไม่มีสัญญาณที่ชี้ชัดว่า การส่งออกในปีนี้จะมีปัญหา หรือออกอาการน่าเป็นห่วงแต่อย่างใด
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกทั้งปีไว้ที่ 12.5% หรือมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีเป้าที่ท้าทายการทำงานตามนโยบายของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ อยู่ที่อัตราการขยายตัว 15% มูลค่า 1.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
การจะเดินทางไปสู่เป้าหมายนั้น กรมส่งเสริมการส่งออก ได้มีการกำหนดแผนงานและกลยุทธ์ในการดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการอย่างเข้มข้น
แผนงานและกลยุทธ์ที่ว่านั้น ได้แก่ การใช้การเจรจาการค้าเป็นตัวนำในการเปิดตลาดและแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้ากับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทย ในทุกระดับและทุกเวที เช่น กรณีที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าไทย กรณีสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (เอดี/ซีวีดี) รวมทั้งการเจรจาเพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าและเปิดตลาดสินค้ากับประเทศต่างๆ
การส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษาตลาดหลักไม่ให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดยจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม รวมทั้งดำเนินมาตรการเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทางและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ จัด Business Matching นำสินค้าคุณภาพดีที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าไทย หรือ Thailand Brand และสินค้าที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากลและมีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
โดยกิจกรรมที่จะนำมาใช้ในการเจาะตลาดหลัก ได้แก่ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 75 งาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ 40 งาน การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาในต่างประเทศ 8 โครงการ และการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาในประเทศ 18 โครงการ
ส่วนตลาดใหม่ จะเร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักและยอมรับในสินค้าไทยเหนือสินค้าจากประเทศคู่แข่ง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 52 งาน จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ 33 งาน จักคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาในต่างประเทศ 23 โครงการ จัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาในประเทศ 21 โครงการ รวมทั้งเร่งสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านตามปฏิญญาพุกาม (ECS) เป็นต้น
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มการส่งออกธุรกิจบริการอย่างเข้มข้นให้สามารถทำการค้าในต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น โดยจะดำเนินการส่งเสริมและขยายการส่งออกธุรกิจบริการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ร้านอาหารไทย ธุรกิจบันเทิง การศึกษา สปา โรงพยาบาล และธุรกิจบริการใหม่ๆ เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจออกแบบ/ตกแต่ง ภายใน ก่อสร้าง อู่ซ่อมรถและธุรกิจรับตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศมากขึ้น
พร้อมกันนี้ จะมีการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งในปีงบประมาณ 2550 มีอยู่ 3,371 ราย และในปีงบประมาณ 2551 มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 2,100 ราย ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะมุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถส่งออกได้ เพื่อเป็นการวางรากฐานการส่งออกในระยะกลาง/ยาว โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP
แผนงานต่างๆ ข้างต้น ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงช่วงต้นปีนี้ และจะมีต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี โดยมีเป้าหมายผลักดันให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่มาตรการที่กล่าวมาแล้ว กรมส่งเสริมการส่งออกจะมีกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ออกมาตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยจะเร่งรัดการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ที่ไทยยังไม่เคยทำการค้า ตลาดเกิดใหม่ที่ประชาชนมีกำลังซื้อสูง รวมไปถึงการผลักดันการส่งออกสินค้ารายการใหม่ๆ ที่จะเน้นการผลักดันเป็นรายสินค้า เช่น ผลไม้ไทย สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (โอทอป) เป็นต้น
“จากแผนงานและกลยุทธ์ที่กรมฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับแผนงานใหม่ๆ ตามนโยบายของรัฐมนตรี เชื่อว่าจะทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเป้าส่งออก 15% อยู่ในวิสัยที่จะทำได้อย่างแน่นอน”นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการส่งเสริมการส่งออก กล่าวไว้อย่างมั่นใจ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการส่งออก ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกทั้งปีไว้ที่ 12.5% หรือมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.71 แสนล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีเป้าที่ท้าทายการทำงานตามนโยบายของนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ อยู่ที่อัตราการขยายตัว 15% มูลค่า 1.75 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
การจะเดินทางไปสู่เป้าหมายนั้น กรมส่งเสริมการส่งออก ได้มีการกำหนดแผนงานและกลยุทธ์ในการดำเนินการไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการอย่างเข้มข้น
แผนงานและกลยุทธ์ที่ว่านั้น ได้แก่ การใช้การเจรจาการค้าเป็นตัวนำในการเปิดตลาดและแก้ไขปัญหาการกีดกันทางการค้ากับประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทย ในทุกระดับและทุกเวที เช่น กรณีที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรปตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) สินค้าไทย กรณีสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน (เอดี/ซีวีดี) รวมทั้งการเจรจาเพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าและเปิดตลาดสินค้ากับประเทศต่างๆ
การส่งเสริมการส่งออกเพื่อรักษาตลาดหลักไม่ให้การส่งออกลดลง เนื่องจากเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูง โดยจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม รวมทั้งดำเนินมาตรการเชิงรุกมุ่งเจาะเข้าไปยังช่องทางและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายใหม่ๆ จัด Business Matching นำสินค้าคุณภาพดีที่ได้รับตราสัญลักษณ์สินค้าไทย หรือ Thailand Brand และสินค้าที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐานสากลและมีรูปแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
โดยกิจกรรมที่จะนำมาใช้ในการเจาะตลาดหลัก ได้แก่ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 75 งาน การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ 40 งาน การจัดคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาในต่างประเทศ 8 โครงการ และการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาในประเทศ 18 โครงการ
ส่วนตลาดใหม่ จะเร่งส่งเสริมการส่งออกเป็นกรณีพิเศษในตลาดจีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภครู้จักและยอมรับในสินค้าไทยเหนือสินค้าจากประเทศคู่แข่ง ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ 52 งาน จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศ 33 งาน จักคณะผู้แทนการค้าไปเจรจาในต่างประเทศ 23 โครงการ จัดคณะผู้แทนการค้ามาเจรจาในประเทศ 21 โครงการ รวมทั้งเร่งสร้างความสัมพันธ์และส่งเสริมการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านตามปฏิญญาพุกาม (ECS) เป็นต้น
ขณะเดียวกัน จะเพิ่มการส่งออกธุรกิจบริการอย่างเข้มข้นให้สามารถทำการค้าในต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น โดยจะดำเนินการส่งเสริมและขยายการส่งออกธุรกิจบริการที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว เช่น ร้านอาหารไทย ธุรกิจบันเทิง การศึกษา สปา โรงพยาบาล และธุรกิจบริการใหม่ๆ เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจออกแบบ/ตกแต่ง ภายใน ก่อสร้าง อู่ซ่อมรถและธุรกิจรับตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ให้เป็นที่รู้จักและยอมรับในต่างประเทศมากขึ้น
พร้อมกันนี้ จะมีการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรายใหม่ในภูมิให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ซึ่งในปีงบประมาณ 2550 มีอยู่ 3,371 ราย และในปีงบประมาณ 2551 มีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 2,100 ราย ใน 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ โดยจะมุ่งเน้นพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถส่งออกได้ เพื่อเป็นการวางรากฐานการส่งออกในระยะกลาง/ยาว โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และ OTOP
แผนงานต่างๆ ข้างต้น ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีที่แล้ว จนถึงช่วงต้นปีนี้ และจะมีต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี โดยมีเป้าหมายผลักดันให้การส่งออกเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงแต่มาตรการที่กล่าวมาแล้ว กรมส่งเสริมการส่งออกจะมีกลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ออกมาตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยจะเร่งรัดการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ที่ไทยยังไม่เคยทำการค้า ตลาดเกิดใหม่ที่ประชาชนมีกำลังซื้อสูง รวมไปถึงการผลักดันการส่งออกสินค้ารายการใหม่ๆ ที่จะเน้นการผลักดันเป็นรายสินค้า เช่น ผลไม้ไทย สินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (โอทอป) เป็นต้น
“จากแผนงานและกลยุทธ์ที่กรมฯ ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ผนวกกับแผนงานใหม่ๆ ตามนโยบายของรัฐมนตรี เชื่อว่าจะทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยเป้าส่งออก 15% อยู่ในวิสัยที่จะทำได้อย่างแน่นอน”นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการส่งเสริมการส่งออก กล่าวไว้อย่างมั่นใจ