ปัจจุบันเกาหลีใต้นับเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กมากเป็นอันดับ 6 ของโลก โดยรองจากจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และอินเดีย แต่หากวัดตามปริมาณการผลิตเหล็กต่อจำนวนประชากรแล้ว เกาหลีใต้นับเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กต่อประชากรมากที่สุดในโลก โดยในปี 2550 ผลิตได้มากถึง 51 ล้านตัน
เดิมเกาหลีใต้มีการผลิตเหล็กโดยโรงงานขนาดเล็กมาก และเหล็กที่ผลิตได้มีคุณภาพไม่ดีนัก นำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ เช่น ตะปู เหล็กเส้น รวมทั้งประเทศยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศจำนวนมาก
การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของเกาหลีใต้เริ่มต้นอย่างจริงจัง ภายหลังการขึ้นสู่อำนาจของนายพลปาร์คจุงฮี ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเหล็กเป็นอย่างมาก โดยได้เคยกล่าวคำขวัญว่า “เหล็กคืออำนาจแห่งชาติ” (Steel is National Power) และกำหนดคลัสเตอร์ไว้ที่เมืองโปฮัง ซึ่งเหมาะสมมากสำหรับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก เนื่องจากต้นทุนสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมเหล็ก คือ ต้นทุนด้านวัตถุดิบและค่าขนส่ง ขณะที่ต้นทุนค่าแรงงานมีความสำคัญไม่มากนัก
เริ่มแรกรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ต้องการลงทุนด้วยตนเองแต่อย่างใด โดยได้ติดต่อกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ แต่โครงการไม่สามารถระดมทุนได้ แม้จะยื่นขอกู้เงินจากธนาคารโลก แต่ถูกปฏิเสธเมื่อปลายปี 2511 โดยธนาคารโลกเห็นว่าดุลชำระเงินของเกาหลีใต้ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ
เมื่อไม่มีทางเลือกเกาหลีใต้จึงหันไปขอเงินช่วยเหลือจากญี่ปุ่น อันเป็นส่วนหนึ่งของค่าปฏิกรรมสงคราม ที่ญี่ปุ่นยึดครองเกาหลีเป็นเวลายาวนานถึง 35 ปี ดังนั้นโรงงานเหล็กแห่งนี้จึงถือได้ว่าสร้างขึ้นโดยเงินจากหยาดเลือดและน้ำตาของชาวเกาหลีใต้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น พร้อมกับได้รับความช่วยเหลือในด้านเทคนิคจากบริษัทนิปปอนสตีลของญี่ปุ่น
จากนั้นรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตเหล็กและเหล็กกล้าโปฮัง (Pohang Iron and Steel) ซึ่งมีชื่อย่อว่า “บริษัทพอสโก้” เมื่อเดือนเมษายน 2511 เพื่อดำเนินโครงการข้างต้น โดยนายพลปาร์คจุงฮีได้แต่งตั้งนายทหารคนสนิท คือ พลตรีปาร์คเตจูน ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 41 ปี มาเป็นผู้บริหารสูงสุด โดยได้ลาออกจากราชการทหารมาทำงานบริษัทอย่างเต็มตัว ทั้งนี้ มีการเปรียบเทียบว่าเขามีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมเหล็กของเกาหลีใต้เทียบเท่ากับนายแอนดรู คาร์เนกี้ ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า “บิดาแห่งอุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐฯ” ต่ออุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯ
บริษัทพอสโก้ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานเมื่อเดือนเมษายน 2513 ซึ่งการออกแบบก่อสร้างโรงงานได้เน้นประสิทธิภาพในด้านลอจิสติกส์มากที่สุด โดยโรงงานที่เมืองโปฮังได้ก่อสร้างแผนผังของโรงงานในรูปของตัว U กล่าวคือ เรือขนาด 250,000 ตัน สามารถมาจอดที่ท่าเรือเพื่อขนถ่ายสินแร่เหล็กและถ่านหินที่ขาตัว U ข้างหนึ่ง จากนั้นจะผลิตเหล็กตามส่วนโค้งของตัว U จนผลิตเสร็จเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าที่ขาของตัว U อีกข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นบริเวณท่าเรือพอดี จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กกล้ามายังท่าเรือ
พลตรีปาร์คเตจูนบริหารงานภายในบริษัทพอสโก้ด้วยวินัยทหาร เข้มงวดในด้านระเบียบวินัย สำหรับชุดพนักงานของพอสโก้ พลตรีปาร์คเตจูนยังออกแบบให้คล้ายคลึงกับชุดทหาร แม้ว่าเขาจะลาออกจากราชการทหารแล้ว แต่ยังติดนิสัยทหาร โดยจะถือคทาติดไม้ติดมือเป็นประจำ ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เมื่อถูกสอบถาม เขาได้ตอบข้อสงสัยว่าไม่ใช่ทหารเท่านั้นที่ถือคทา บุคคลอื่นๆ เช่น วาทยกร (Conductor) ก็ยังถือไม้คทาเพื่อควบคุมการบรรเลงของวงดุริยางค์ให้มีจังหวะทำนองของดนตรีกลมกลืนกันมากที่สุด
เขายังได้กล่าวอุปมาอุปไมยว่าการบริหารงานของบริษัทพอสโก้ของเขานั้น เปรียบเสมือนกับเป็นวาทยกรควบคุมการทำงานของโรงถลุงเหล็กซึ่งมีวิญญาณและชีวิตของตนเอง โดยจะต้องควบคุมเตาถลุง Blast Furnace ให้กินอาหารหลัก คือ ถ่านโค้ก สินแร่เหล็ก รวมถึงอาหารเสริม เช่น หินปูน ซิลิก้า แมกนีเซียม ให้ถูกส่วน เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคอาหารไม่ย่อย
ในช่วงการก่อสร้างโรงงาน แทนที่เขาจะนอนที่บ้านแล้วแวะมาดูการก่อสร้างเป็นระยะๆ เหมือนกับผู้บริหารของบริษัทอื่นทั่วไปที่ต้องการความสะดวกสบาย พลตรีปาร์คเตจูนได้ร่วมกับบุคลากรทั้งหมดของบริษัทพอสโก้นับพันคนได้มากินนอนในบริเวณที่มีการก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพื่อสามารถที่จะดำเนินการตรวจสอบการก่อสร้างได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การตั้งแคมป์ในสถานที่ก่อสร้างได้ส่งผลดีทำให้บุคลากรของพอสโก้มีโอกาสเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ในช่วงขยายกิจการในเวลาต่อมานั้น บริษัทพอสโก้ได้พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติลดลงมาก โดยการก่อสร้างในเฟสแรก ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ในด้านเทคโนโลยีแก่ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกถึง 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการก่อสร้างในเฟสที่ 2 ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2517 วิศวกรของเกาหลีใต้ดำเนินการในส่วนการตรวจสอบสเปกของการก่อสร้าง และลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้เชี่ยวชาญภายนอกเหลือ 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
ต่อมาการก่อสร้างในเฟสที่ 3 ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2519 วิศวกรเกาหลีใต้รับผิดชอบเพิ่มเติมนอกจากในส่วนการตรวจสอบสเปกการก่อสร้างแล้ว ยังรวมถึงการตรวจสอบแบบการก่อสร้างและการตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างด้วย ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้เชี่ยวชาญภายนอกลงอีกเหลือเพียง 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากนั้นเมื่อมีการขยายกิจการในเฟสที่ 4 ซึ่งเริ่มเมื่อปี 2522 วิศวกรของเกาหลีใต้ได้รับผิดชอบเพิ่มเติมเรื่องการวางแผนในด้านวิศวกรรมทั่วไปอีกด้วย จึงไม่ต้องจ่ายเงินให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกแต่อย่างใด ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทพอสโก้สามารถพึ่งตนเองทางด้านเทคโนโลยีเกือบเต็ม 100%
อย่างไรก็ตาม โรงงานที่ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2513 สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตของโรงงานโดยใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือน เร็วกว่าที่ผู้รับเหมาชาวญี่ปุ่นคาดการณ์ไว้ว่าจะต้องเรียนรู้อย่างต่ำเป็นเวลา 12 เดือน ทำให้บริษัทญี่ปุ่นตกใจเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น คุณภาพของเหล็กและประสิทธิภาพการผลิตยังเหนือกว่าโรงงานในญี่ปุ่นอีกด้วย
จากนั้นในปี 2528 บริษัทพอสโก้ได้ก่อสร้างฐานการผลิตแห่งที่ 2 ในนาม Kwangyang Works ณ สถานที่ใหม่ที่เมืองกวางยาง โดยโครงการนี้ได้วางผังโรงงานเป็นรูปตัว I แทนที่จะเป็นรูปตัว U เหมือนกับโครงการแรก เนื่องจากเห็นว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยไม่ต้องมีส่วนโค้ง ทั้งนี้ ขั้นตอนกระบวนการทั้งหมดดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่ภายในอาคารเดียวกัน
การที่บริษัทพอสโก้เลือกตั้งโรงถลุงเหล็กที่เมืองกวางยาง เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมมากในด้านลอจิสติกส์ กล่าวคือ เหมาะสมสำหรับก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ประกอบกับคลื่นลมสงบ ส่วนต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดมีเพียงแค่ 3 เมตร แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นการก่อสร้างบนพื้นที่ดินอ่อน ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อก่อสร้างฐานราก
ฐานผลิต Kwangyang Works ได้เริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2525 ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2535 ส่งผลทำให้กำลังการผลิตของบริษัทพอสโก้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 21 ล้านตัน/ปี และกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบริษัทนิปปอนสตีล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทางเทคโนโลยีเมื่อครั้งก่อตั้งโรงงาน
ยิ่งไปกว่านั้น กิจการของบริษัทพอสโก้ได้สร้างกำไรอย่างมากมาย นับเป็นผู้ผลิตเหล็กที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก โดยมีกำไรติดต่อกันมาทุกปี นับว่าแตกต่างจากบริษัทเหล็กอื่นๆ ที่จะขาดทุนในบางปีที่ราคาเหล็กตกต่ำ
ต่อมาในปี 2541 บริษัทพอสโก้ได้แซงหน้าบริษัทนิปปอนสตีล กลายเป็นผู้ผลิตเหล็กดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมีการควบรวมกิจการ ทำให้บริษัทอาร์เซลอร์-มิตตัลกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ บริษัทนิปปอนสตีลในระยะหลังก็มาแรงแซงหน้าขึ้นไปอีก ทำให้ปัจจุบันบริษัทพอสโก้ตกลงมาเป็นอันดับ 3 ของโลก
สำหรับพลตรีปาร์คเตจูนนั้นได้ลาออกจากการเป็นประธานกรรมการบริษัทพอสโก้เมื่อปี 2535 เพื่อเตรียมตัวมาเป็นนักการเมืองอย่างเต็มตัว โดยก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง ได้ไปคารวะหลุมศพของอดีตประธานาธิบดีปาร์คจุงฮี พร้อมกับกล่าวรายงานผลการดำเนินการว่า ตามที่ ฯพณฯ ได้มีบัญชาให้ก่อตั้งโรงงานเหล็ก บัดนี้ภารกิจได้สำเร็จตามเป้าหมายทุกประการ บริษัทมีกำไรมากมายและนับเป็นผู้ผลิตเหล็กระดับแนวหน้าของโลก
อย่างไรก็ตาม ชีวิตทางการเมืองของพลตรีปาร์คเตจูนไม่ได้ราบเรียบอย่างที่คิด โดยเมื่อต้นปี 2543 พลตรีปาร์คเตจูนได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีคิมแดจุงให้เป็นนายกรัฐมนตรีขณะที่มีอายุ 73 ปี แต่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นมาก โดยต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ภายหลังดำรงตำแหน่งไม่ถึงครึ่งปี เนื่องจากปัญหาที่ว่าแอบซ่อนถือครองทรัพย์สินของตนเองในนามของบุคคลอื่น
สำหรับเคล็ดลับการบริหารธุรกิจของบริษัทพอสโก้จนกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมเหล็กนั้น นาย Lee Ku-taek ประธานกรรมการของบริษัทพอสโก้คนปัจจุบัน ซึ่งได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่าเป็นบุคคลที่สามารถหลอมเหล็กให้กลายเป็นของเหลวได้ด้วยการใช้เพียงแค่รอยยิ้ม ได้ให้ทัศนะเมื่อต้นปี 2550 ว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จในด้านการบริหารธุรกิจของบริษัทนั้น คือ การเอาชนะใจของพนักงาน
เขาได้หยิบยกตัวอย่างว่าหลายบริษัทพยายามกำหนดให้บริษัทโตโยต้าเป็น Benchmark เพื่อใช้เทียบเคียงในด้านประสิทธิภาพการดำเนินการ แต่มีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จใกล้เคียงกับบริษัทโตโยต้า เนื่องจากไม่ประสบผลสำเร็จในการเอาชนะใจพนักงานซึ่งนับเป็นหัวใจของวิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) ได้ โดยนวัตกรรมจะเกิดขึ้นและประสิทธิภาพจะเพิ่มพูนก็ต่อเมื่อพนักงานเห็นว่าบรรยากาศในการทำงานมีความอบอุ่นใจเท่านั้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th
เดิมเกาหลีใต้มีการผลิตเหล็กโดยโรงงานขนาดเล็กมาก และเหล็กที่ผลิตได้มีคุณภาพไม่ดีนัก นำมาใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ เช่น ตะปู เหล็กเส้น รวมทั้งประเทศยังต้องพึ่งพาการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศจำนวนมาก
การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของเกาหลีใต้เริ่มต้นอย่างจริงจัง ภายหลังการขึ้นสู่อำนาจของนายพลปาร์คจุงฮี ซึ่งได้ให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมเหล็กเป็นอย่างมาก โดยได้เคยกล่าวคำขวัญว่า “เหล็กคืออำนาจแห่งชาติ” (Steel is National Power) และกำหนดคลัสเตอร์ไว้ที่เมืองโปฮัง ซึ่งเหมาะสมมากสำหรับการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก เนื่องจากต้นทุนสำคัญที่สุดของอุตสาหกรรมเหล็ก คือ ต้นทุนด้านวัตถุดิบและค่าขนส่ง ขณะที่ต้นทุนค่าแรงงานมีความสำคัญไม่มากนัก
เริ่มแรกรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ต้องการลงทุนด้วยตนเองแต่อย่างใด โดยได้ติดต่อกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศ แต่โครงการไม่สามารถระดมทุนได้ แม้จะยื่นขอกู้เงินจากธนาคารโลก แต่ถูกปฏิเสธเมื่อปลายปี 2511 โดยธนาคารโลกเห็นว่าดุลชำระเงินของเกาหลีใต้ยังไม่แข็งแรงเพียงพอ
เมื่อไม่มีทางเลือกเกาหลีใต้จึงหันไปขอเงินช่วยเหลือจากญี่ปุ่น อันเป็นส่วนหนึ่งของค่าปฏิกรรมสงคราม ที่ญี่ปุ่นยึดครองเกาหลีเป็นเวลายาวนานถึง 35 ปี ดังนั้นโรงงานเหล็กแห่งนี้จึงถือได้ว่าสร้างขึ้นโดยเงินจากหยาดเลือดและน้ำตาของชาวเกาหลีใต้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น พร้อมกับได้รับความช่วยเหลือในด้านเทคนิคจากบริษัทนิปปอนสตีลของญี่ปุ่น
จากนั้นรัฐบาลเกาหลีใต้ได้ก่อตั้งบริษัทผลิตเหล็กและเหล็กกล้าโปฮัง (Pohang Iron and Steel) ซึ่งมีชื่อย่อว่า “บริษัทพอสโก้” เมื่อเดือนเมษายน 2511 เพื่อดำเนินโครงการข้างต้น โดยนายพลปาร์คจุงฮีได้แต่งตั้งนายทหารคนสนิท คือ พลตรีปาร์คเตจูน ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 41 ปี มาเป็นผู้บริหารสูงสุด โดยได้ลาออกจากราชการทหารมาทำงานบริษัทอย่างเต็มตัว ทั้งนี้ มีการเปรียบเทียบว่าเขามีความสำคัญมากต่ออุตสาหกรรมเหล็กของเกาหลีใต้เทียบเท่ากับนายแอนดรู คาร์เนกี้ ผู้ซึ่งได้รับฉายาว่า “บิดาแห่งอุตสาหกรรมเหล็กสหรัฐฯ” ต่ออุตสาหกรรมเหล็กของสหรัฐฯ
บริษัทพอสโก้ได้เริ่มก่อสร้างโรงงานเมื่อเดือนเมษายน 2513 ซึ่งการออกแบบก่อสร้างโรงงานได้เน้นประสิทธิภาพในด้านลอจิสติกส์มากที่สุด โดยโรงงานที่เมืองโปฮังได้ก่อสร้างแผนผังของโรงงานในรูปของตัว U กล่าวคือ เรือขนาด 250,000 ตัน สามารถมาจอดที่ท่าเรือเพื่อขนถ่ายสินแร่เหล็กและถ่านหินที่ขาตัว U ข้างหนึ่ง จากนั้นจะผลิตเหล็กตามส่วนโค้งของตัว U จนผลิตเสร็จเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าที่ขาของตัว U อีกข้างหนึ่ง ซึ่งเป็นบริเวณท่าเรือพอดี จึงไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่งผลิตภัณฑ์เหล็กกล้ามายังท่าเรือ
พลตรีปาร์คเตจูนบริหารงานภายในบริษัทพอสโก้ด้วยวินัยทหาร เข้มงวดในด้านระเบียบวินัย สำหรับชุดพนักงานของพอสโก้ พลตรีปาร์คเตจูนยังออกแบบให้คล้ายคลึงกับชุดทหาร แม้ว่าเขาจะลาออกจากราชการทหารแล้ว แต่ยังติดนิสัยทหาร โดยจะถือคทาติดไม้ติดมือเป็นประจำ ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เมื่อถูกสอบถาม เขาได้ตอบข้อสงสัยว่าไม่ใช่ทหารเท่านั้นที่ถือคทา บุคคลอื่นๆ เช่น วาทยกร (Conductor) ก็ยังถือไม้คทาเพื่อควบคุมการบรรเลงของวงดุริยางค์ให้มีจังหวะทำนองของดนตรีกลมกลืนกันมากที่สุด
เขายังได้กล่าวอุปมาอุปไมยว่าการบริหารงานของบริษัทพอสโก้ของเขานั้น เปรียบเสมือนกับเป็นวาทยกรควบคุมการทำงานของโรงถลุงเหล็กซึ่งมีวิญญาณและชีวิตของตนเอง โดยจะต้องควบคุมเตาถลุง Blast Furnace ให้กินอาหารหลัก คือ ถ่านโค้ก สินแร่เหล็ก รวมถึงอาหารเสริม เช่น หินปูน ซิลิก้า แมกนีเซียม ให้ถูกส่วน เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคอาหารไม่ย่อย
ในช่วงการก่อสร้างโรงงาน แทนที่เขาจะนอนที่บ้านแล้วแวะมาดูการก่อสร้างเป็นระยะๆ เหมือนกับผู้บริหารของบริษัทอื่นทั่วไปที่ต้องการความสะดวกสบาย พลตรีปาร์คเตจูนได้ร่วมกับบุคลากรทั้งหมดของบริษัทพอสโก้นับพันคนได้มากินนอนในบริเวณที่มีการก่อสร้าง ตั้งแต่เริ่มก่อสร้างจนกระทั่งการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพื่อสามารถที่จะดำเนินการตรวจสอบการก่อสร้างได้ตลอด 24 ชั่วโมง
การตั้งแคมป์ในสถานที่ก่อสร้างได้ส่งผลดีทำให้บุคลากรของพอสโก้มีโอกาสเรียนรู้ในด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก ในช่วงขยายกิจการในเวลาต่อมานั้น บริษัทพอสโก้ได้พึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างชาติลดลงมาก โดยการก่อสร้างในเฟสแรก ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ ในด้านเทคโนโลยีแก่ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกถึง 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการก่อสร้างในเฟสที่ 2 ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2517 วิศวกรของเกาหลีใต้ดำเนินการในส่วนการตรวจสอบสเปกของการก่อสร้าง และลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้เชี่ยวชาญภายนอกเหลือ 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
ต่อมาการก่อสร้างในเฟสที่ 3 ซึ่งเริ่มดำเนินการเมื่อปี 2519 วิศวกรเกาหลีใต้รับผิดชอบเพิ่มเติมนอกจากในส่วนการตรวจสอบสเปกการก่อสร้างแล้ว ยังรวมถึงการตรวจสอบแบบการก่อสร้างและการตรวจสอบสถานที่ก่อสร้างด้วย ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายแก่ผู้เชี่ยวชาญภายนอกลงอีกเหลือเพียง 4.8 ล้านเหรียญสหรัฐ
จากนั้นเมื่อมีการขยายกิจการในเฟสที่ 4 ซึ่งเริ่มเมื่อปี 2522 วิศวกรของเกาหลีใต้ได้รับผิดชอบเพิ่มเติมเรื่องการวางแผนในด้านวิศวกรรมทั่วไปอีกด้วย จึงไม่ต้องจ่ายเงินให้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกแต่อย่างใด ทั้งนี้ ปัจจุบันบริษัทพอสโก้สามารถพึ่งตนเองทางด้านเทคโนโลยีเกือบเต็ม 100%
อย่างไรก็ตาม โรงงานที่ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2513 สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิตของโรงงานโดยใช้เวลาเพียงแค่ 4 เดือน เร็วกว่าที่ผู้รับเหมาชาวญี่ปุ่นคาดการณ์ไว้ว่าจะต้องเรียนรู้อย่างต่ำเป็นเวลา 12 เดือน ทำให้บริษัทญี่ปุ่นตกใจเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น คุณภาพของเหล็กและประสิทธิภาพการผลิตยังเหนือกว่าโรงงานในญี่ปุ่นอีกด้วย
จากนั้นในปี 2528 บริษัทพอสโก้ได้ก่อสร้างฐานการผลิตแห่งที่ 2 ในนาม Kwangyang Works ณ สถานที่ใหม่ที่เมืองกวางยาง โดยโครงการนี้ได้วางผังโรงงานเป็นรูปตัว I แทนที่จะเป็นรูปตัว U เหมือนกับโครงการแรก เนื่องจากเห็นว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยไม่ต้องมีส่วนโค้ง ทั้งนี้ ขั้นตอนกระบวนการทั้งหมดดำเนินการอย่างต่อเนื่องอยู่ภายในอาคารเดียวกัน
การที่บริษัทพอสโก้เลือกตั้งโรงถลุงเหล็กที่เมืองกวางยาง เนื่องจากเห็นว่าเป็นพื้นที่เหมาะสมมากในด้านลอจิสติกส์ กล่าวคือ เหมาะสมสำหรับก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ประกอบกับคลื่นลมสงบ ส่วนต่างระหว่างน้ำขึ้นสูงสุดและต่ำสุดมีเพียงแค่ 3 เมตร แม้จะมีปัญหาอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นการก่อสร้างบนพื้นที่ดินอ่อน ซึ่งต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากเพื่อก่อสร้างฐานราก
ฐานผลิต Kwangyang Works ได้เริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2525 ภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2535 ส่งผลทำให้กำลังการผลิตของบริษัทพอสโก้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 21 ล้านตัน/ปี และกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบริษัทนิปปอนสตีล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนทางเทคโนโลยีเมื่อครั้งก่อตั้งโรงงาน
ยิ่งไปกว่านั้น กิจการของบริษัทพอสโก้ได้สร้างกำไรอย่างมากมาย นับเป็นผู้ผลิตเหล็กที่มีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก โดยมีกำไรติดต่อกันมาทุกปี นับว่าแตกต่างจากบริษัทเหล็กอื่นๆ ที่จะขาดทุนในบางปีที่ราคาเหล็กตกต่ำ
ต่อมาในปี 2541 บริษัทพอสโก้ได้แซงหน้าบริษัทนิปปอนสตีล กลายเป็นผู้ผลิตเหล็กดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ในระยะหลังมีการควบรวมกิจการ ทำให้บริษัทอาร์เซลอร์-มิตตัลกลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก นอกจากนี้ บริษัทนิปปอนสตีลในระยะหลังก็มาแรงแซงหน้าขึ้นไปอีก ทำให้ปัจจุบันบริษัทพอสโก้ตกลงมาเป็นอันดับ 3 ของโลก
สำหรับพลตรีปาร์คเตจูนนั้นได้ลาออกจากการเป็นประธานกรรมการบริษัทพอสโก้เมื่อปี 2535 เพื่อเตรียมตัวมาเป็นนักการเมืองอย่างเต็มตัว โดยก่อนจะลาออกจากตำแหน่ง ได้ไปคารวะหลุมศพของอดีตประธานาธิบดีปาร์คจุงฮี พร้อมกับกล่าวรายงานผลการดำเนินการว่า ตามที่ ฯพณฯ ได้มีบัญชาให้ก่อตั้งโรงงานเหล็ก บัดนี้ภารกิจได้สำเร็จตามเป้าหมายทุกประการ บริษัทมีกำไรมากมายและนับเป็นผู้ผลิตเหล็กระดับแนวหน้าของโลก
อย่างไรก็ตาม ชีวิตทางการเมืองของพลตรีปาร์คเตจูนไม่ได้ราบเรียบอย่างที่คิด โดยเมื่อต้นปี 2543 พลตรีปาร์คเตจูนได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีคิมแดจุงให้เป็นนายกรัฐมนตรีขณะที่มีอายุ 73 ปี แต่เขาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงเวลาสั้นมาก โดยต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อเดือนพฤษภาคม 2543 ภายหลังดำรงตำแหน่งไม่ถึงครึ่งปี เนื่องจากปัญหาที่ว่าแอบซ่อนถือครองทรัพย์สินของตนเองในนามของบุคคลอื่น
สำหรับเคล็ดลับการบริหารธุรกิจของบริษัทพอสโก้จนกลายเป็นบริษัทชั้นนำของโลกในอุตสาหกรรมเหล็กนั้น นาย Lee Ku-taek ประธานกรรมการของบริษัทพอสโก้คนปัจจุบัน ซึ่งได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่าเป็นบุคคลที่สามารถหลอมเหล็กให้กลายเป็นของเหลวได้ด้วยการใช้เพียงแค่รอยยิ้ม ได้ให้ทัศนะเมื่อต้นปี 2550 ว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จในด้านการบริหารธุรกิจของบริษัทนั้น คือ การเอาชนะใจของพนักงาน
เขาได้หยิบยกตัวอย่างว่าหลายบริษัทพยายามกำหนดให้บริษัทโตโยต้าเป็น Benchmark เพื่อใช้เทียบเคียงในด้านประสิทธิภาพการดำเนินการ แต่มีเพียงไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จใกล้เคียงกับบริษัทโตโยต้า เนื่องจากไม่ประสบผลสำเร็จในการเอาชนะใจพนักงานซึ่งนับเป็นหัวใจของวิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) ได้ โดยนวัตกรรมจะเกิดขึ้นและประสิทธิภาพจะเพิ่มพูนก็ต่อเมื่อพนักงานเห็นว่าบรรยากาศในการทำงานมีความอบอุ่นใจเท่านั้น
ติดต่อขอข้อมูล ติชม และเสนอแนะความคิดเห็นได้ที่ศูนย์บริการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 0-2537-8161 หรือที่ head@boi.go.th