xs
xsm
sm
md
lg

คตส.รับผลงานไม่เข้าเป้าเหตุคดีไม่จบค้างอยู่ที่ศาล

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายอุดม เฟื่องฟุ้ง คณะกรรมการคณะกรรมการที่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่รัฐ(คตส.)กล่าวว่า ในวันนี้ (9 มิ.ย.) ที่ประชุมใหญ่ คตส.จะประชุม พิจารณาในรายละเอียดของสำนวนคดี โครงการการทุจริตงาน ก่อสร้างระบบจ่ายไฟฟ้าและเครือข่ายท่อร้อยสายไฟฟ้า ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และคดีธนาคารกรุงไทยปล่อยเงินกู้ให้กับบริษัทในเครือกฤษดามหานคร เพราะที่ประชุมได้ให้อนุฯไต่สวน ทั้ง 2 ชุดให้ไปตรวจเอกสารว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า ใกล้จะหมดวาระของ คตส.แล้ว ได้ประเมินผลงานของตัวเองหรือไม่ นายอุดม กล่าวว่า เท่าที่ทำงานมา เราก็ทำได้ครบถ้วนดีแล้ว แต่ไม่ได้วาง เป้าหมายว่าจะสำเร็จเท่าไหร่ ซึ่งเราทำงานหนักมากและต้องขึ้นอยู่กับเวลา หลังจากวันที่ 30 มิ.ย.นี้แล้ว คตส.หลายคนคงเดินตัวปลิวแน่
อย่างไรก็ตามก็พอใจในผลงานของ คตส.ระดับหนึ่ง ส่วนจะสมบูรณ์ทุกเรื่อง หรือไม่นั้น ตนคิดว่าไม่สามารถทำได้เสร็จทุกเรื่อง เพราะเท่าที่คตส.ทำคดีมาก็ยังถือว่าคดียังไม่เป็นผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะขณะนี้คดีส่วนใหญ่ที่ส่งไปอยู่แค่ในชั้นศาลเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม้รัฐบาลจะประกาศให้การอนุรักษ์ป่าไม้และการเร่งรัดปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่าอย่างจริงจังเป็นวาระแห่งชาติ แต่ปัจจุบันยังมีปัญหาเกี่ยวกับการลักลอบค้าไม้พะยูงเถื่อนอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง และที่สำคัญแม้จะมีการจับกุมได้นับพันคดีในช่วงที่ผ่านมา แต่ส่วนใหญ่กลับไปไม่ถึงชั้นศาล เพราะถูกสั่งไม่ฟ้องทั้งในชั้นตำรวจและอัยการ จนทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติหลายคนเริ่มหมดกำลังใจทำงาน
ทั้งนี้ พล.ต.ต.อำนวย มหาผล รอง ผบช.ภ.3ยอมรับว่า มีคดีไม้พะยูงกว่าร้อยละ 50 ที่ถูกสั่งไม่ฟ้องจริง โดยประเด็นสำคัญที่พนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง เพราะผู้เชี่ยวชาญการตรวจพิสูจน์ไม้ของกรมป่าไม้ มีความเห็นว่าไม้ของกลางที่จับกุมได้ตัดมาจากที่ดินเอกสารสิทธิ์ตามที่ผู้ต้องหาได้กล่าวอ้างจริง ซึ่งตามกฎหมาย หากตัดไม้พะยูงจากที่ดินเอกสารสิทธิ์ไม่มีความผิด ยกเว้นจะลักลอบตัดมาจากป่าสงวน อย่างไรก็ตามทางผู้เกี่ยวข้องก็มีความรู้สึกว่า บางทีในเรื่องของการ ตรวจพิสูจน์มันยังไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า คดีไม้พะยูงที่สั่งไม่ฟ้องหลายคดี มีเงื่อนงำน่าสงสัย เช่น คดีที่เจ้าหน้าที่ป่าไม้และตำรวจได้ร่วมกันจับกุมผู้ลักลอบขนไม้พะยูงที่จ. สุรินทร์เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2550 แต่ต่อมาอัยการ มีคำสั่งไม่ฟ้อง เพราะมีความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้ว่า ไม้พะยูงของกลาง 135 ท่อน น่าเชื่อว่าถูกตัดมาจากที่ดิน นส. 3 ก.ในจ.ศรีสะเกษ ตามที่ผู้ต้องหาได้กล่าวอ้าง แต่จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของผู้สื่อข่าวกลับพบว่า ที่ดินทั้งสองแปลงที่ผู้ต้องหา นำมากล่าวอ้างมีตอไม้รวมกัน 15 ตอและพบว่าตอไม้กับไม้ของกลางที่ยึดได้ มีข้อเท็จจริงหลายประการไม่ตรงกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้
นอกจากนี้ การจับกุมไม้พะยูงที่จ.มุกดาหาร เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2549 ได้ของกลางกว่า 50 ท่อนก็มีการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้รายเดิมว่า เป็นไม้ที่ตัดมาจากที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ในจ.อำนาจเจริญ ทำให้ตำรวจสั่งฟ้องไม่ได้
กำลังโหลดความคิดเห็น