ปัจจุบันสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศนั้นมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนขึ้นกว่าแต่ก่อน ทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าใดไม่ปลอดภัย ดังนั้นความเสี่ยงต่อความเสียหายจากการนำสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไปใช้จึงตกอยู่แก่ผู้บริโภคและยากต่อการหาตัวผู้รับผิดชอบ
เช่น การซื้อรถยนต์ป้ายแดงแต่เครื่องยนต์กลับมีปัญหาซึ่งข้อบกพร่องดังกล่าวที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการผลิต การบริโภคอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวครึกโครมที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อพบว่าอาหารแช่แข็งที่นำเข้าจากต่างประเทศมีสารพิษเจือปนอยู่จนทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจนมีการนำสินค้าชนิดนั้นออกจากชั้นวางจำหน่าย หรืออันตรายจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัวพวกเราทุกคน
แต่การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกลับมีความยุ่งยากเนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดตัวผู้ต้องรับชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไว้โดยตรง ทำให้ผู้บริโภคนอกจากจะเสียเงินแล้วยังต้องทนทุกข์ทรมานจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้น
จึงเป็นที่มาของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบการ ซึ่งก็คือ ผู้ขายสินค้า ผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าสินค้า ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้ทราบสิทธิและข้อเรียกร้องของผู้บริโภคจึงควรศึกษารายละเอียดของพระราชบัญญัติฉบับนี้
ความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ
เว้นเสียแต่ว่าสินค้านั้นไม่ได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือผู้เสียหายรู้อยู่ก่อนแล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือความเสียหายเกิดจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้าไม่ถูกต้องตามวิธีซึ่งผู้ประกอบการได้ให้รายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไว้อย่างถูกต้องชัดเจนแล้ว ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องรับผิด
ผู้ผลิตตามคำสั่งผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบหรือการทำตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิต ซึ่งผู้ผลิตไม่ได้คาดเห็นและไม่ควรจะได้คาดเห็นของความไม่ปลอดภัย
ผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้าไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบหรือการกำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือนหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของผู้ผลิตด้วยเช่นกัน
อนึ่ง ข้อตกลงระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการหรือประกาศของผู้ประกอบการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นความรับผิดหรือจำกัดความรับผิดนั้นไม่สามารถนำมากล่าวอ้างเพื่อปฎิเสธความรับผิดชอบได้
ผู้เสียหายและผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย
ผู้เสียหาย คือ ผู้ได้รับอันตรายจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยและมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น การฟ้องร้องดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวผู้เสียหายเพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สิทธิในการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายแก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม และมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้ พร้อมทั้งได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
ในการเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้เสียหายเพียงพิสูจน์ว่าตนได้รับความเสียหายจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้าตามปกติธรรมดา ไม่ต้องพิสูจน์ถึงขั้นว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากผู้ประกอบการผู้ใด ซึ่งเป็นการลดภาระการพิสูจน์และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค
ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดได้บ้าง
ความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนี้นอกจากจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกำหนดให้เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษได้อีกได้แก่
ค่าเสียหายแก่จิตใจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพหรืออนามัย และหากความเสียหายรุนแรงถึงขนาดทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย สามี ภริยา บิดามารดาหรือผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นมีสิทธิได้รับค่าเสียหายทางด้านจิตใจเพื่อชดเชยความสูญเสียดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damages) ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้ผลิต นำเข้า หรือขายสินค้า ทั้งที่รู้ว่าสินค้านั้นไม่ปลอดภัย หรือไม่รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยแล้วนิ่งเฉยไม่ดำเนินการใดๆตามสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความร้ายแรงของความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ การที่ผู้ประกอบการรู้ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้า ระยะเวลาที่ผู้ประกอบการปกปิดความไม่ปลอดภัยของสินค้า การดำเนินการของผู้ประกอบการเมื่อทราบว่าสินค่านั้นเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับ สถานะทางการเงินของผู้ประกอบการ การที่ผู้ประกอบการได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้เสียหายมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย
อายุความ
การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือภายในสิบปีนับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น
หากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย เนื่องจากการสะสมสารพิษในร่างกายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแสดงอาการ ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิดแต่ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย
นอกจากนี้ หากมีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายเกิดขึ้น กฎหมายกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างที่มีการเจรจาจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกการเจรจา
สรุป
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 หนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นการนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้กับผู้ประกอบการเพื่อลดภาระในการพิสูจน์ให้แก่ผู้เสียหายและให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นธรรม ในขณะเดียวกันยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยส่งเสริมให้ผู้ผลิตตระหนักต่อการผลิตสินค้าให้มีมาตรฐานและมีความรอบคอบในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
เช่น การซื้อรถยนต์ป้ายแดงแต่เครื่องยนต์กลับมีปัญหาซึ่งข้อบกพร่องดังกล่าวที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการผลิต การบริโภคอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีสิ่งแปลกปลอมเจือปนอยู่ ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้มีข่าวครึกโครมที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อพบว่าอาหารแช่แข็งที่นำเข้าจากต่างประเทศมีสารพิษเจือปนอยู่จนทำให้ผู้บริโภคได้รับอันตรายจนมีการนำสินค้าชนิดนั้นออกจากชั้นวางจำหน่าย หรืออันตรายจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้มาตรฐาน เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัวพวกเราทุกคน
แต่การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกลับมีความยุ่งยากเนื่องจากไม่มีกฎหมายกำหนดตัวผู้ต้องรับชอบต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไว้โดยตรง ทำให้ผู้บริโภคนอกจากจะเสียเงินแล้วยังต้องทนทุกข์ทรมานจากอันตรายและความเสียหายที่เกิดขึ้น
จึงเป็นที่มาของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย เพื่อกำหนดให้ผู้ประกอบการ ซึ่งก็คือ ผู้ขายสินค้า ผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าสินค้า ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้บริโภคใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้ทราบสิทธิและข้อเรียกร้องของผู้บริโภคจึงควรศึกษารายละเอียดของพระราชบัญญัติฉบับนี้
ความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการ
เว้นเสียแต่ว่าสินค้านั้นไม่ได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือผู้เสียหายรู้อยู่ก่อนแล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือความเสียหายเกิดจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้าไม่ถูกต้องตามวิธีซึ่งผู้ประกอบการได้ให้รายละเอียดและข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไว้อย่างถูกต้องชัดเจนแล้ว ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องรับผิด
ผู้ผลิตตามคำสั่งผู้ว่าจ้างไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบหรือการทำตามคำสั่งของผู้ว่าจ้างให้ผลิต ซึ่งผู้ผลิตไม่ได้คาดเห็นและไม่ควรจะได้คาดเห็นของความไม่ปลอดภัย
ผู้ผลิตส่วนประกอบของสินค้าไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความไม่ปลอดภัยของสินค้าเกิดจากการออกแบบหรือการกำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือนหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าของผู้ผลิตด้วยเช่นกัน
อนึ่ง ข้อตกลงระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบการหรือประกาศของผู้ประกอบการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อยกเว้นความรับผิดหรือจำกัดความรับผิดนั้นไม่สามารถนำมากล่าวอ้างเพื่อปฎิเสธความรับผิดชอบได้
ผู้เสียหายและผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย
ผู้เสียหาย คือ ผู้ได้รับอันตรายจากการใช้สินค้าที่ไม่ปลอดภัยและมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น การฟ้องร้องดังกล่าวไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวผู้เสียหายเพียงคนเดียวเท่านั้น เพราะพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สิทธิในการฟ้องคดีแทนผู้เสียหายแก่ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สมาคม และมูลนิธิซึ่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคให้การรับรองตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายแทนผู้เสียหายได้ พร้อมทั้งได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียม
ในการเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้เสียหายเพียงพิสูจน์ว่าตนได้รับความเสียหายจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้าตามปกติธรรมดา ไม่ต้องพิสูจน์ถึงขั้นว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากผู้ประกอบการผู้ใด ซึ่งเป็นการลดภาระการพิสูจน์และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค
ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดได้บ้าง
ความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนี้นอกจากจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้ว พระราชบัญญัติฉบับนี้ยังกำหนดให้เรียกค่าเสียหายเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษได้อีกได้แก่
ค่าเสียหายแก่จิตใจ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความเสียหายต่อร่างกาย สุขภาพหรืออนามัย และหากความเสียหายรุนแรงถึงขนาดทำให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตาย สามี ภริยา บิดามารดาหรือผู้สืบสันดานของบุคคลนั้นมีสิทธิได้รับค่าเสียหายทางด้านจิตใจเพื่อชดเชยความสูญเสียดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damages) ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้ผลิต นำเข้า หรือขายสินค้า ทั้งที่รู้ว่าสินค้านั้นไม่ปลอดภัย หรือไม่รู้เพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือเมื่อรู้ว่าสินค้าไม่ปลอดภัยแล้วนิ่งเฉยไม่ดำเนินการใดๆตามสมควรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเพิ่มขึ้นตามที่ศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่เกินสองเท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ต่างๆ เช่น ความร้ายแรงของความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับ การที่ผู้ประกอบการรู้ถึงความไม่ปลอดภัยของสินค้า ระยะเวลาที่ผู้ประกอบการปกปิดความไม่ปลอดภัยของสินค้า การดำเนินการของผู้ประกอบการเมื่อทราบว่าสินค่านั้นเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย ผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการได้รับ สถานะทางการเงินของผู้ประกอบการ การที่ผู้ประกอบการได้บรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น ตลอดจนการที่ผู้เสียหายมีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหายด้วย
อายุความ
การฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องภายในสามปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่ต้องรับผิด หรือภายในสิบปีนับแต่วันที่มีการขายสินค้านั้น
หากเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย เนื่องจากการสะสมสารพิษในร่างกายหรือเป็นกรณีที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแสดงอาการ ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิดแต่ต้องไม่เกินสิบปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย
นอกจากนี้ หากมีการเจรจาเกี่ยวกับค่าเสียหายเกิดขึ้น กฎหมายกำหนดให้อายุความสะดุดหยุดอยู่ไม่นับในระหว่างที่มีการเจรจาจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกการเจรจา
สรุป
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2551 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 หนึ่งปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นการนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้กับผู้ประกอบการเพื่อลดภาระในการพิสูจน์ให้แก่ผู้เสียหายและให้ผู้เสียหายได้รับการเยียวยาโดยให้ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นธรรม ในขณะเดียวกันยังเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยส่งเสริมให้ผู้ผลิตตระหนักต่อการผลิตสินค้าให้มีมาตรฐานและมีความรอบคอบในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม