ผู้จัดการรายวัน - ฟิทช์เรทติ้งส์ให้อันดับเครดิต"เมืองไทยประกันชีวิตที่ BBB+ และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินในประเทศที่ AA(tha) ระบุสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจและระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง รวมถึงผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 2 แห่ง "กสิกรไทย-Fortis" มีการเอื้อประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างดี
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Insurer Financial Strength (IFS)) แก่บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (MTL) ที่ ‘BBB+’ และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS) ที่ ‘AA(tha)’ โดยมีแนวโน้มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็นบวก อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินใช้ประเมินความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทประกันเทียบกับภาระหนี้สินต่อผู้เอาประกัน และยังสะท้อนถึงความสามารถในการจ่ายภาระหนี้สินต่อผู้เอาประกันของบริษัทประกันตรงตามระยะเวลาที่กำหนด และค่าสินไหมทดแทนที่คาดว่าจะได้รับจากบริษัทประกันของผู้ร้องเรียนค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่บริษัทประกันหยุดการจ่ายคืนเงิน หรือมีการยับยั้งการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้เอาประกันเกิดขึ้น
ทั้งนี้ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งของ MTL ในประเทศ ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่งของ MTL เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทประกันชีวิตอื่นทั้งในประเทศและในภูมิภาค รวมถึงการมีช่องทางการจัดจำหน่ายหลายช่องทางและมีประสิทธิภาพและผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัท อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินยังพิจารณารวมถึงความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและการดำเนินงานจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ของ MTL คือ Fortis Insurance International N.V. (Fortis) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ถือหุ้นทั้งหมดโดย Fortis Insurance N.V. (อันดับเครดิตที่ ‘AA-’ (AA ลบ) / แนวโน้มมีเสถียรภาพ)
สำหรับแนวโน้มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็นบวกสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ ว่า MTL จะสามารถพัฒนาและได้รับประโยชน์จากความร่วมมือในการทำงานกับ Fortis และธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์รายใหญ่อันดับ 4 ของประเทศไทย (อันดับเครดิตที่ ‘BBB+’ /‘AA(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ) ในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสถานะทางการตลาดและผลประกอบการ โดยไม่กระทบกับระดับเงินกองทุนของบริษัท MTL กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบการควบคุมความเสี่ยงภายในร่วมกับ Fortis ซึ่งความสามารถในการนำมาตรการการควบคุมความเสี่ยงที่เข้มงวด และมีประสิทธิภาพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานได้นั้นน่าจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทในอนาคต
ถึงแม้ว่าการแข่งขันในธุรกิจการประกันชีวิตภายในประเทศจะสูง แต่ MTL สามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดโดยวัดจากเบี้ยประกันภัยรับรวม และสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้อยู่ใน 5 อันดับแรกของประเทศได้ ผลประกอบการของบริษัทแสดงถึงแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุน (ROE) และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 25.1% และ 3.2% ตามลำดับ จาก 18.8% และ 2.3% ในปี 2549 ผลประกอบการโดยรวมของ MTL ในปี 2551 คาดว่าจะยังสามารถรักษาอยู่ในระดับนี้ได้ ซึ่งสะท้อนถึงความได้เปรียบของบริษัทในด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและการมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่หลากหลาย
เงินกองทุนของ MTL อยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ต้องดำรงตามกฎหมายภายในประเทศ และยังสูงกว่าระดับมาตรฐานสากลของยุโรปซึ่ง MTL ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงภายใน ณ สิ้นปี 2550 อัตราส่วนเงินกองทุนภายในประเทศของบริษัทอยู่ที่ระดับสูงกว่า 700% ซึ่งสูงกว่าระดับ 100% ของอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำภายในประเทศที่ต้องดำรงไว้
ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศให้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Insurer Financial Strength (IFS)) แก่บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (MTL) ที่ ‘BBB+’ และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินภายในประเทศ (National IFS) ที่ ‘AA(tha)’ โดยมีแนวโน้มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็นบวก อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินใช้ประเมินความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทประกันเทียบกับภาระหนี้สินต่อผู้เอาประกัน และยังสะท้อนถึงความสามารถในการจ่ายภาระหนี้สินต่อผู้เอาประกันของบริษัทประกันตรงตามระยะเวลาที่กำหนด และค่าสินไหมทดแทนที่คาดว่าจะได้รับจากบริษัทประกันของผู้ร้องเรียนค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่บริษัทประกันหยุดการจ่ายคืนเงิน หรือมีการยับยั้งการจ่ายคืนเงินให้แก่ผู้เอาประกันเกิดขึ้น
ทั้งนี้ อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจที่แข็งแกร่งของ MTL ในประเทศ ระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่งของ MTL เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทประกันชีวิตอื่นทั้งในประเทศและในภูมิภาค รวมถึงการมีช่องทางการจัดจำหน่ายหลายช่องทางและมีประสิทธิภาพและผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัท อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินยังพิจารณารวมถึงความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและการดำเนินงานจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับ 2 ของ MTL คือ Fortis Insurance International N.V. (Fortis) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ถือหุ้นทั้งหมดโดย Fortis Insurance N.V. (อันดับเครดิตที่ ‘AA-’ (AA ลบ) / แนวโน้มมีเสถียรภาพ)
สำหรับแนวโน้มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินเป็นบวกสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ ว่า MTL จะสามารถพัฒนาและได้รับประโยชน์จากความร่วมมือในการทำงานกับ Fortis และธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์รายใหญ่อันดับ 4 ของประเทศไทย (อันดับเครดิตที่ ‘BBB+’ /‘AA(tha)’ แนวโน้มมีเสถียรภาพ) ในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับสถานะทางการตลาดและผลประกอบการ โดยไม่กระทบกับระดับเงินกองทุนของบริษัท MTL กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบการควบคุมความเสี่ยงภายในร่วมกับ Fortis ซึ่งความสามารถในการนำมาตรการการควบคุมความเสี่ยงที่เข้มงวด และมีประสิทธิภาพเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานได้นั้นน่าจะส่งผลดีต่อผลประกอบการของบริษัทในอนาคต
ถึงแม้ว่าการแข่งขันในธุรกิจการประกันชีวิตภายในประเทศจะสูง แต่ MTL สามารถเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดโดยวัดจากเบี้ยประกันภัยรับรวม และสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้อยู่ใน 5 อันดับแรกของประเทศได้ ผลประกอบการของบริษัทแสดงถึงแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อัตราผลตอบแทนต่อเงินทุน (ROE) และอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 25.1% และ 3.2% ตามลำดับ จาก 18.8% และ 2.3% ในปี 2549 ผลประกอบการโดยรวมของ MTL ในปี 2551 คาดว่าจะยังสามารถรักษาอยู่ในระดับนี้ได้ ซึ่งสะท้อนถึงความได้เปรียบของบริษัทในด้านช่องทางการจัดจำหน่ายและการมีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่หลากหลาย
เงินกองทุนของ MTL อยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับระดับเงินกองทุนขั้นต่ำที่ต้องดำรงตามกฎหมายภายในประเทศ และยังสูงกว่าระดับมาตรฐานสากลของยุโรปซึ่ง MTL ใช้เป็นมาตรฐานอ้างอิงภายใน ณ สิ้นปี 2550 อัตราส่วนเงินกองทุนภายในประเทศของบริษัทอยู่ที่ระดับสูงกว่า 700% ซึ่งสูงกว่าระดับ 100% ของอัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำภายในประเทศที่ต้องดำรงไว้