นายสุเมธ อุปนิสากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านการมีส่วนร่วม กล่าวถึง การสืบสวนสอบสวนกรณีนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี จัดรายการ ชิมไปบ่นไป ซึ่งอาจเข้าข่ายขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรีว่า การสืบสวนสอบสวนยังคงดำเนินต่อไปโดยมี พล.อ.ยอดชาย เทพสุวรรณ เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน ข้อเท็จจริง
ส่วนการตั้งข้อสงสัยเรื่องอำนาจการวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวของ กกต.นั้น เป็นเพียงการตั้งข้อสงสัยของนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการสืบสวนสอบสวน เพราะในที่ประชุม กกต.แต่ละคนก็สามารถที่จะสงสัยได้
“คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนที่มี พล.อ.ยอดชาย เป็นประธาน ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.กกต.มาตรา 10(11) และ อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 ในการสืบสวน สอบสวน ส่วนที่นายสมชัยสงสัยเรื่องอำนาจ กกต. นั้น ก็ต้องไปถามนายสมชัยเอง ซึ่งข้อสงสัยไม่ได้ทำให้อนุกรรมการต้องหยุดสืบสวนสอบสวน อนุฯยังดำเนินการต่อไป และส่วนตัวก็ไม่รู้สึกหนักใจอะไร”
นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนกล่าวถึงการแสดงความ เห็นของตนเองที่ระบุว่า กกต.ไม่มีอำนาจสอบสวนกรณีมีการร้องเรียนนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้หมายว่า ตนช่วยเหลือหรือเป็นพวกของนายสมัคร แต่เป็นการ แสดงความเห็นทางกฎหมายที่มองว่า กกต.ไม่มีอำนาจสอบ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ไม่ควรมาใช้ช่องทางของกกต. ที่ต้องเสียเวลาในการตั้งกรรมการสอบ เหมือนการเสียเวลาเดินอ้อม เพราะนายเรืองไกร สามารถที่จะใช้ช่องทางมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่ให้ ส.ว.1 ใน 10 เข้าชื่อยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ ซึ่งเป็นทางตรงและเร็วเพราะศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมีการ ไต่สวนเรื่องก่อนมีคำพิพากษาเช่นกัน
“ผมอาจจะมีปัญหาในเรื่องการพูดให้คนทั่วไปเข้าใจ โดยเฉพาะกับคนที่บางครั้งอาจจะไม่มีพื้นฐานทางกฎหมาย แต่ที่พูดเพราะต้องการบอกว่า กฎหมายมีการให้ โอกาสในการใช้กฎหมายหลายช่องทาง และช่องทางไหนที่เร็ว ไม่ก่อให้เกิดปัญหา จะมาเสียเวลายื่นเรื่องให้กกต.พิจารณาทำไม”
ขณะที่นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่าจะนำเรื่องคุณสมบัติของนายสมัคร เข้าหารือในที่ประชุม กกต.ในสัปดาห์หน้า โดยจะหารือในเรื่องข้อกฎหมายว่า กกต.มีอำนาจในการตรวจสอบหรือไม่ ทั้งนี้ได้รับรายงาน ในเบื้องต้นว่าคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ที่มีพล.อ.ยอดชาย เทพยสุวรรณ เป็นประธานจะขอขยายเวลาการสรุปสำนวน ซึ่ง กกต.ก็ต้องพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวว่าเรื่องดังกล่าว กกต. ยังไม่พิจารณา จึงถือว่า ยังไม่ได้ข้อยุติ คงต้องรอให้สำนวนเสร็จสิ้นก่อน โดยการพิจารณาจะดูในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นกฎหมาย การที่ ส.ว.ไม่ยื่นเรื่องกับประธานวุฒิสภา แต่มายื่นกับ กกต.นั้น ทำได้หรือไม่ และขอยืนยันการพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายของกกต.ในเรื่องนี้ที่ผ่านมาไม่ได้มีการ โต้แย้งหรือขัดกันในระหว่าง กกต. เป็นเพียงความเห็นที่ต่างกันในข้อกฎหมาย
ส่วนกรณีคุณสมบัติของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ที่ป.ป.ช. ชี้มูลกรณีไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินของภรรยาที่ถือครองหุ้นเกินร้อยละ 5 ในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด ว่าขัดต่อกฎหมาย และขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรม มาตรา 269 หรือไม่แล้ว อยู่ในระหว่างการศึกษาก่อนที่จะลงมติในวันอังคารที่ 10 มิ.ย. โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในวันดังกล่าว
ส่วนการตั้งข้อสงสัยเรื่องอำนาจการวินิจฉัยเรื่องดังกล่าวของ กกต.นั้น เป็นเพียงการตั้งข้อสงสัยของนายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการสืบสวนสอบสวน เพราะในที่ประชุม กกต.แต่ละคนก็สามารถที่จะสงสัยได้
“คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนที่มี พล.อ.ยอดชาย เป็นประธาน ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.กกต.มาตรา 10(11) และ อำนาจตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 ในการสืบสวน สอบสวน ส่วนที่นายสมชัยสงสัยเรื่องอำนาจ กกต. นั้น ก็ต้องไปถามนายสมชัยเอง ซึ่งข้อสงสัยไม่ได้ทำให้อนุกรรมการต้องหยุดสืบสวนสอบสวน อนุฯยังดำเนินการต่อไป และส่วนตัวก็ไม่รู้สึกหนักใจอะไร”
นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนกล่าวถึงการแสดงความ เห็นของตนเองที่ระบุว่า กกต.ไม่มีอำนาจสอบสวนกรณีมีการร้องเรียนนายสมัคร สุนทรเวช ไม่ได้หมายว่า ตนช่วยเหลือหรือเป็นพวกของนายสมัคร แต่เป็นการ แสดงความเห็นทางกฎหมายที่มองว่า กกต.ไม่มีอำนาจสอบ และนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ไม่ควรมาใช้ช่องทางของกกต. ที่ต้องเสียเวลาในการตั้งกรรมการสอบ เหมือนการเสียเวลาเดินอ้อม เพราะนายเรืองไกร สามารถที่จะใช้ช่องทางมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญที่ให้ ส.ว.1 ใน 10 เข้าชื่อยื่นเรื่องให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ ซึ่งเป็นทางตรงและเร็วเพราะศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องมีการ ไต่สวนเรื่องก่อนมีคำพิพากษาเช่นกัน
“ผมอาจจะมีปัญหาในเรื่องการพูดให้คนทั่วไปเข้าใจ โดยเฉพาะกับคนที่บางครั้งอาจจะไม่มีพื้นฐานทางกฎหมาย แต่ที่พูดเพราะต้องการบอกว่า กฎหมายมีการให้ โอกาสในการใช้กฎหมายหลายช่องทาง และช่องทางไหนที่เร็ว ไม่ก่อให้เกิดปัญหา จะมาเสียเวลายื่นเรื่องให้กกต.พิจารณาทำไม”
ขณะที่นางสดศรี สัตยธรรม กกต. ด้านกิจการพรรคการเมือง กล่าวว่าจะนำเรื่องคุณสมบัติของนายสมัคร เข้าหารือในที่ประชุม กกต.ในสัปดาห์หน้า โดยจะหารือในเรื่องข้อกฎหมายว่า กกต.มีอำนาจในการตรวจสอบหรือไม่ ทั้งนี้ได้รับรายงาน ในเบื้องต้นว่าคณะอนุกรรมการไต่สวนฯ ที่มีพล.อ.ยอดชาย เทพยสุวรรณ เป็นประธานจะขอขยายเวลาการสรุปสำนวน ซึ่ง กกต.ก็ต้องพิจารณาว่าจะอนุญาตหรือไม่
นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวว่าเรื่องดังกล่าว กกต. ยังไม่พิจารณา จึงถือว่า ยังไม่ได้ข้อยุติ คงต้องรอให้สำนวนเสร็จสิ้นก่อน โดยการพิจารณาจะดูในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นกฎหมาย การที่ ส.ว.ไม่ยื่นเรื่องกับประธานวุฒิสภา แต่มายื่นกับ กกต.นั้น ทำได้หรือไม่ และขอยืนยันการพิจารณาประเด็นข้อกฎหมายของกกต.ในเรื่องนี้ที่ผ่านมาไม่ได้มีการ โต้แย้งหรือขัดกันในระหว่าง กกต. เป็นเพียงความเห็นที่ต่างกันในข้อกฎหมาย
ส่วนกรณีคุณสมบัติของนายไชยา สะสมทรัพย์ รมว.สาธารณสุข ที่ป.ป.ช. ชี้มูลกรณีไม่แจ้งบัญชีทรัพย์สินของภรรยาที่ถือครองหุ้นเกินร้อยละ 5 ในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด ว่าขัดต่อกฎหมาย และขาดคุณสมบัติการเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรม มาตรา 269 หรือไม่แล้ว อยู่ในระหว่างการศึกษาก่อนที่จะลงมติในวันอังคารที่ 10 มิ.ย. โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนในวันดังกล่าว