เอเอฟพี - รายงานชิ้นใหม่ล่าสุดระบุว่าความเสียหายของสิ่งแวดล้อมและการสูญเสียสัตว์และพรรณพืชต่าง ๆคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึงปีละ 1,350,000 – 3,100,000 ล้านยูโร (2,100,000 – 4,800,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ)
รายงานซึ่งทำขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและรัฐบาลเยอรมนีชิ้นนี้นับเป็นการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดจากปัญหาระบบนิเวศวิทยาของโลกถูกทำลาย และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็กล่าวว่ารายงานชิ้นนี้มีความสำคัญเทียบเท่า “รายงานสเติร์น” อันโด่งดังซึ่งระบุมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
ผลการศึกษาในรายงานได้นำไปเปิดเผยในการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ณ เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ที่ดำเนินมาเป็นเวลา 12 วัน และมีตัวแทนราว 6,000 คนจาก 191 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งได้สิ้นสุดลงเมื่อวันศุกร์ (30) นี้
รายงานฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า “เศรษฐศาสตร์แห่งระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ” สาระของมันก็คือการประเมินมูลค่าของความหลากหลายของพันธุ์สัตว์และพรรณพืช ตลอดจนสิ่งแวดล้อมออกมาเป็นตัวเงิน ซึ่งไม่เคยมีการวัดเช่นนี้มาก่อนเลย
สิ่งที่มีอยู่ในรายงานก็อย่างเช่น มูลค่าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯของน้ำสะอาด, ดินที่อุดมสมบูรณ์, สภาพธรรมชาติที่คุ้มครองให้ความเสียหายจากภัยน้ำท่วมและดินพังทลาย, ยารักษาโรคจากธรรมชาติ, แอ่งธรรมชาติที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจกอย่างเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเธน
“แม้ว่าความเป็นอยู่ที่ดีของเราจะขึ้นอยู่กับระบบนิเวศวิทยาเหล่านี้อย่างมาก แต่พวกมันก็เป็นสินค้าสาธารณะที่ไม่มีตลาดไม่มีการวัดมูลค่าใด ๆ” รายงานกล่าว
ผู้เขียนหลักก็คือ ปาวัน สุขเทพ หัวหน้าแผนกธุรกิจตลาดโลกในอินเดียของดอยชต์แบงก์ เตือนว่าระบบนิเวศในบางแห่งนั้นอาจจะเสียหายเกินกว่าจะฟื้นกลับคืนมาได้ รวมทั้งทำนายด้วยอีกหลายแห่งกำลังถูกทำลายรุนแรงและต้องการมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน
เขาชี้ว่าภายในปี 2050 ภายใต้สถานการณ์ที่ทุกสิ่งดำเนินไปเหมือนเคย จะทำให้เกิดหายนะดังต่อไปนี้
--พื้นที่ธรรมชาติราว 11% ของที่มีอยู่ในปี 2000 อาจจะหายไปทั้งหมด เพราะถูกเปลี่ยนเป็นที่ดินการเกษตร, โครงการพัฒนา หรือได้รับความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
-- 40% ของที่ดินที่ตอนนี้เป็นพื้นที่การเกษตรแบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติมากนัก อาจกลายเป็นการเกษตรแบบเข้มข้นและเร่งการสูญเสียความหลากหลยทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
--60% ของปะการังชายฝั่งจะหายไปและจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนราวพันล้าน
รายงานชี้ว่าเมื่อรวมเอาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเข้าไปด้วย ผลของความเสียหายของระบบนิเวศเหล่านี้จะตกอยู่กับประชากรโลกกลุ่มที่ยากจนและอ่อนไหวต่อภัยธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการรวมเอามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริงของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเข้าไปรวมไว้กระบวนการตัดสินใจก่อรูปนโยบายของประเทศหนึ่ง ๆ
กลุ่มสิ่งแวดล้อมในการประชุมที่บอนน์ต่อก็เห็นพ้องกับรายงานนี้ กอร์ดอน เชฟเพิร์ด ผู้อำนวยการของแผนกนโยบายระหว่างประเทศของเวิลด์ ไวล์ไลฟ์ ฟันด์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “นี่เป็นการกลับมาพิจารณาความหลากหลายทางชีวภาพในด้านที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือด้านเศรษฐกิจทั้งต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม และต่อประชากรหลายล้านคนที่มีวิถีชีวิตพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง”
โจน รัดดอค รัฐมนตรีดูแลด้านสัตว์ป่าและพรรณพืชของอังกฤษกล่าวว่ารายงานนี้เป็นความพยายามที่จะกู้ความสูญเสียของพรรณสัตว์และพืชรวมทั้งถิ่นที่อยู่ต่าง ๆ นอกจากนี้ก็ยังประกาศอีกว่าอังกฤษจะให้เงินทุนเพื่อให้งานวิจัยชิ้นนี้เดินหน้าต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์
รายงานซึ่งทำขึ้นภายใต้การสนับสนุนจากสหภาพยุโรปและรัฐบาลเยอรมนีชิ้นนี้นับเป็นการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดจากปัญหาระบบนิเวศวิทยาของโลกถูกทำลาย และกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมก็กล่าวว่ารายงานชิ้นนี้มีความสำคัญเทียบเท่า “รายงานสเติร์น” อันโด่งดังซึ่งระบุมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
ผลการศึกษาในรายงานได้นำไปเปิดเผยในการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ณ เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี ที่ดำเนินมาเป็นเวลา 12 วัน และมีตัวแทนราว 6,000 คนจาก 191 ประเทศเข้าร่วม ซึ่งได้สิ้นสุดลงเมื่อวันศุกร์ (30) นี้
รายงานฉบับดังกล่าวมีชื่อว่า “เศรษฐศาสตร์แห่งระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ” สาระของมันก็คือการประเมินมูลค่าของความหลากหลายของพันธุ์สัตว์และพรรณพืช ตลอดจนสิ่งแวดล้อมออกมาเป็นตัวเงิน ซึ่งไม่เคยมีการวัดเช่นนี้มาก่อนเลย
สิ่งที่มีอยู่ในรายงานก็อย่างเช่น มูลค่าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯของน้ำสะอาด, ดินที่อุดมสมบูรณ์, สภาพธรรมชาติที่คุ้มครองให้ความเสียหายจากภัยน้ำท่วมและดินพังทลาย, ยารักษาโรคจากธรรมชาติ, แอ่งธรรมชาติที่กักเก็บก๊าซเรือนกระจกอย่างเช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และมีเธน
“แม้ว่าความเป็นอยู่ที่ดีของเราจะขึ้นอยู่กับระบบนิเวศวิทยาเหล่านี้อย่างมาก แต่พวกมันก็เป็นสินค้าสาธารณะที่ไม่มีตลาดไม่มีการวัดมูลค่าใด ๆ” รายงานกล่าว
ผู้เขียนหลักก็คือ ปาวัน สุขเทพ หัวหน้าแผนกธุรกิจตลาดโลกในอินเดียของดอยชต์แบงก์ เตือนว่าระบบนิเวศในบางแห่งนั้นอาจจะเสียหายเกินกว่าจะฟื้นกลับคืนมาได้ รวมทั้งทำนายด้วยอีกหลายแห่งกำลังถูกทำลายรุนแรงและต้องการมาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างเร่งด่วน
เขาชี้ว่าภายในปี 2050 ภายใต้สถานการณ์ที่ทุกสิ่งดำเนินไปเหมือนเคย จะทำให้เกิดหายนะดังต่อไปนี้
--พื้นที่ธรรมชาติราว 11% ของที่มีอยู่ในปี 2000 อาจจะหายไปทั้งหมด เพราะถูกเปลี่ยนเป็นที่ดินการเกษตร, โครงการพัฒนา หรือได้รับความเสียหายจากสภาพภูมิอากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
-- 40% ของที่ดินที่ตอนนี้เป็นพื้นที่การเกษตรแบบที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติมากนัก อาจกลายเป็นการเกษตรแบบเข้มข้นและเร่งการสูญเสียความหลากหลยทางชีวภาพเพิ่มขึ้น
--60% ของปะการังชายฝั่งจะหายไปและจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนราวพันล้าน
รายงานชี้ว่าเมื่อรวมเอาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเข้าไปด้วย ผลของความเสียหายของระบบนิเวศเหล่านี้จะตกอยู่กับประชากรโลกกลุ่มที่ยากจนและอ่อนไหวต่อภัยธรรมชาติมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการรวมเอามูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ที่แท้จริงของความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศเข้าไปรวมไว้กระบวนการตัดสินใจก่อรูปนโยบายของประเทศหนึ่ง ๆ
กลุ่มสิ่งแวดล้อมในการประชุมที่บอนน์ต่อก็เห็นพ้องกับรายงานนี้ กอร์ดอน เชฟเพิร์ด ผู้อำนวยการของแผนกนโยบายระหว่างประเทศของเวิลด์ ไวล์ไลฟ์ ฟันด์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า “นี่เป็นการกลับมาพิจารณาความหลากหลายทางชีวภาพในด้านที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือด้านเศรษฐกิจทั้งต่อเศรษฐกิจโลกโดยรวม และต่อประชากรหลายล้านคนที่มีวิถีชีวิตพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติโดยตรง”
โจน รัดดอค รัฐมนตรีดูแลด้านสัตว์ป่าและพรรณพืชของอังกฤษกล่าวว่ารายงานนี้เป็นความพยายามที่จะกู้ความสูญเสียของพรรณสัตว์และพืชรวมทั้งถิ่นที่อยู่ต่าง ๆ นอกจากนี้ก็ยังประกาศอีกว่าอังกฤษจะให้เงินทุนเพื่อให้งานวิจัยชิ้นนี้เดินหน้าต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์