ASTVผู้จัดการรายวัน –กูรูประเมินภาพรวมเศรษฐกิจโลก พ้นจุดต่ำสุดหลังผ่านครึ่งแรกของปีแล้ว มั่นใจครึ่งหลังกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง ด้านนิด้า แนะนักลงทุน ใช้หลักวิเคราะห์ทั้งทางตลาด-เศรษฐศาสตร์ร่วมกับข้อมูลที่มีอยู่จริง เฟ้นหาหุ้นดี เพื่อให้ผลตอบแทนเชิงบวกจากการลงทุน
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวในงานเสวนา วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน Crisis Watch Series 9 " บริษัทใดสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดให้กับนักลงทุน "ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ได้ผ่านจุดต่ำที่สุดในครึ่งปีแรก 2552 และคาดว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ทั้งนี้ อัตราการฟื้นตัวยังคงขึ้นกับความต่อเนื่องของนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่างๆ เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงฟื้นตัวในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้น แต่มีความรุนแรงลดลง โดยตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 2/52ของประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีเดียวกัน ถือเป็นการหลุดพ้นจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียหลายประเทศ ประกาศตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่2 ของปีนี้ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีเดียวกัน เช่น สิงคโปร์ ขยายตัว 20.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว 12.2% ขณะที่เกาหลีใต้ ขยายตัว 2.3% ถือว่าเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งจากไตรมาสแรกที่ 0.1% เช่นเดียวกับตลาดที่อยู่อาศัยทั่วโลกต่างก็ส่งสัญญาณความมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสินทรัพย์ทางการเงินและโภคภัณฑ์บางประเภทก็มีระดับราคาที่สูงขึ้น เช่นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และราคาน้ำมัน เป็นต้น นอกจากนี้สิ่งที่ยังเป็นความเสี่ยงในการส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือการเปลี่ยนนโยบายยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่เศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน และการกลายพันธ์ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA Business School) และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า การลงทุนในตลาดทุน แนวทางที่สามารถใช้วัดผลตอบแทนจากการลงทุนและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนได้ นอกเหนือตัวเลขทางบัญชี คือ วิธีการวัดมูลค่าเพิ่มทางตลาด (Market Value Added : MVA) และวิธีการวัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added : EVA)
ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือทั้งสองจะมีความแตกต่างกันในเรื่องเวลาการประเมิน โดย MVA จะใช้ประเมินกันในระยะยาวที่จะบ่งชี้ว่าตลาดมีความเชื่อมั่นต่อบริษัทอย่างไร ซึ่งจะคล้ายกันการประเมินจาก Price/Book แต่ในส่วนของ EVA จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินในระยะสั้นช่วงปีต่อปี ในแง่ของการประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทรวมถึงเป็นตัวหักต้นทุนค่าเสียโอกาส จึงจะแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าบริษัทนั้นมีสถานะเป็นเช่นไร โดยเป็นการประเมินจากผลการดำเนินงาน และผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์
สำหรับ EVA ได้นำไปใช้ก่อนหน้านี้ในวงธุรกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบอเมริกา ยุโรป ในส่วนไทยได้นำมาใช้บ้างในส่วนสถาบันการวิจัยของนักวิชาการ แต่ในภาคการลงทุนยังไม่นำมาใช้ เนื่องจากระดับความรู้ความเข้าใจของนักลงทุนไทยยังมีไม่มากนัก อีกทั้งการใช้ EVA ไม่ได้มีตัวเลขที่ชัดเจนเหมือนกำไรสุทธิ เนื่องจากเป็นตัวเลขประมาณการณ์ ฉะนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาและเรียนรู้ถึงวิธีการใช้และนำมาเป็นเครื่องมือในการใช้สนับสนุนร่วมกับข้อมูลจริงที่มีอยู่
นอกจากนี้ การศึกษาและการจัดอันดับบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) โดยใช้ดัชนีวัดมูลค่าเพิ่มย้อนหลังเป็นระยะเวลา 7 ปี (ระหว่างปี 2545 - 2551) เมื่อทำการจัดอันดับหุ้นของบจ.ด้วย MVA จะพบว่าหุ้นที่มี MVA สูงสุดใน ตลท. นั้นจะมี MVAที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยตลอด 7 ปีที่จัดอันดับนั้น หุ้นที่สามารถติด 10 อันดับแรกในทุกปีของการจัดอันดับ ได้แก่ หุ้น PTT PTTEP ADVANC SCC SHIN LH และ RATCH ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังเชิงบวกที่นักลงทุนมีให้กับหุ้นของบริษัทเหล่านี้และหุ้นที่มี EVA สูงสุดมักจะมี EVA ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งจากจำนวนหุ้นที่สามารถติดอันดับใน 10 อันดับแรกทุกปีของการจัดอันดับ ได้แก่ หุ้น PTT ADVANC PTTEP และ SCC ส่วนหุ้นที่ติดอันดับถึง 6 ปี ของการจัดอันดับ ได้แก่ SCC RATCH และ BEC ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสม่ำเสมอในการสร้างกำไรทางเศรษฐศาสตร์ของบริษัท
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวในงานเสวนา วิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน Crisis Watch Series 9 " บริษัทใดสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดให้กับนักลงทุน "ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในขณะนี้ ได้ผ่านจุดต่ำที่สุดในครึ่งปีแรก 2552 และคาดว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะกลับมามีเสถียรภาพมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
ทั้งนี้ อัตราการฟื้นตัวยังคงขึ้นกับความต่อเนื่องของนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศต่างๆ เนื่องจากการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังคงฟื้นตัวในอัตราที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย และการว่างงานที่ยังคงเพิ่มขึ้น แต่มีความรุนแรงลดลง โดยตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาส 2/52ของประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีเดียวกัน ถือเป็นการหลุดพ้นจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว
สำหรับเศรษฐกิจของประเทศในแถบเอเชียหลายประเทศ ประกาศตัวเลขอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่2 ของปีนี้ที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกของปีเดียวกัน เช่น สิงคโปร์ ขยายตัว 20.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว 12.2% ขณะที่เกาหลีใต้ ขยายตัว 2.3% ถือว่าเป็นการขยายตัวที่แข็งแกร่งจากไตรมาสแรกที่ 0.1% เช่นเดียวกับตลาดที่อยู่อาศัยทั่วโลกต่างก็ส่งสัญญาณความมีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสินทรัพย์ทางการเงินและโภคภัณฑ์บางประเภทก็มีระดับราคาที่สูงขึ้น เช่นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก และราคาน้ำมัน เป็นต้น นอกจากนี้สิ่งที่ยังเป็นความเสี่ยงในการส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ คือการเปลี่ยนนโยบายยกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนที่เศรษฐกิจจะมีการฟื้นตัวอย่างชัดเจน และการกลายพันธ์ของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
นายเอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันการบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA Business School) และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนครหลวงไทย กล่าวว่า การลงทุนในตลาดทุน แนวทางที่สามารถใช้วัดผลตอบแทนจากการลงทุนและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนได้ นอกเหนือตัวเลขทางบัญชี คือ วิธีการวัดมูลค่าเพิ่มทางตลาด (Market Value Added : MVA) และวิธีการวัดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ (Economic Value Added : EVA)
ทั้งนี้ การใช้เครื่องมือทั้งสองจะมีความแตกต่างกันในเรื่องเวลาการประเมิน โดย MVA จะใช้ประเมินกันในระยะยาวที่จะบ่งชี้ว่าตลาดมีความเชื่อมั่นต่อบริษัทอย่างไร ซึ่งจะคล้ายกันการประเมินจาก Price/Book แต่ในส่วนของ EVA จะเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินในระยะสั้นช่วงปีต่อปี ในแง่ของการประเมินผลการดำเนินงานของบริษัทรวมถึงเป็นตัวหักต้นทุนค่าเสียโอกาส จึงจะแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าบริษัทนั้นมีสถานะเป็นเช่นไร โดยเป็นการประเมินจากผลการดำเนินงาน และผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์
สำหรับ EVA ได้นำไปใช้ก่อนหน้านี้ในวงธุรกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วในแถบอเมริกา ยุโรป ในส่วนไทยได้นำมาใช้บ้างในส่วนสถาบันการวิจัยของนักวิชาการ แต่ในภาคการลงทุนยังไม่นำมาใช้ เนื่องจากระดับความรู้ความเข้าใจของนักลงทุนไทยยังมีไม่มากนัก อีกทั้งการใช้ EVA ไม่ได้มีตัวเลขที่ชัดเจนเหมือนกำไรสุทธิ เนื่องจากเป็นตัวเลขประมาณการณ์ ฉะนั้นนักลงทุนจึงควรศึกษาและเรียนรู้ถึงวิธีการใช้และนำมาเป็นเครื่องมือในการใช้สนับสนุนร่วมกับข้อมูลจริงที่มีอยู่
นอกจากนี้ การศึกษาและการจัดอันดับบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) โดยใช้ดัชนีวัดมูลค่าเพิ่มย้อนหลังเป็นระยะเวลา 7 ปี (ระหว่างปี 2545 - 2551) เมื่อทำการจัดอันดับหุ้นของบจ.ด้วย MVA จะพบว่าหุ้นที่มี MVA สูงสุดใน ตลท. นั้นจะมี MVAที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยตลอด 7 ปีที่จัดอันดับนั้น หุ้นที่สามารถติด 10 อันดับแรกในทุกปีของการจัดอันดับ ได้แก่ หุ้น PTT PTTEP ADVANC SCC SHIN LH และ RATCH ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความคาดหวังเชิงบวกที่นักลงทุนมีให้กับหุ้นของบริษัทเหล่านี้และหุ้นที่มี EVA สูงสุดมักจะมี EVA ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ซึ่งจากจำนวนหุ้นที่สามารถติดอันดับใน 10 อันดับแรกทุกปีของการจัดอันดับ ได้แก่ หุ้น PTT ADVANC PTTEP และ SCC ส่วนหุ้นที่ติดอันดับถึง 6 ปี ของการจัดอันดับ ได้แก่ SCC RATCH และ BEC ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสม่ำเสมอในการสร้างกำไรทางเศรษฐศาสตร์ของบริษัท