รอยเตอร์/เอเอฟพี – ราคาน้ำมันในตลาดน้ำมันร่วงหล่นลงถึงกว่า 5 ดอลลาร์ สู่ระดับต่ำว่า 127 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวานนี้(28) โดยอ้างเหตุผลเรื่องค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งขึ้น รวมทั้งความกังวลที่ว่าประเทศเอเชียลดการอุดหนุนราคาน้ำมันลงจะทำให้ความต้องการใช้ลดต่ำ ขณะเดียวกันก็มีรายงานจากทางด้านซาอุดีอาระเบียว่า ได้เพิ่มซัปพลายออกสู่ตลาด และยังจะเพิ่มมากขึ้นอีกหากมีความจำเป็น
สัญญาล่วงหน้าของน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนกรกฎาคม หล่นลงมาจากระดับปิดวันอังคาร(27) 1.87 ดอลลาร์ ยืนอยู่ที่ 126.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลาใกล้เที่ยงวานนี้ที่ลอนดอน หลังจากที่ในวันอังคาร ก็ได้ตกฮวบลงมาแล้ว 3.34 ดอลลาร์
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ ของตลาดลอนดอน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ซื้อขายกันที่ระดับ 126.85 ดอลลาร์ ต่ำลงจากตอนปิดวันอังคาร 1.46 ดอลลาร์ โดยที่ในวันอังคาร ได้หล่นหายไปแล้ว 4.06 ดอลลาร์
สัญญาล่วงหน้าของน้ำมันดิบทั้งสองชนิด ต่างทะยานพรวดขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเบรนต์อยู่ที่ 135.14 ดอลลาร์ และไลต์สวีตครูดอยู่ที่ 135.09 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี(22) ก่อนที่แรงเทขายทำกำไรจะทำให้ราคาไหลร่วงลงมา
ปัจจัยที่ทำให้ราคาลดลงในสัปดาห์นี้ พวกเทรดเดอร์อ้างเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งแข็งค่าขึ้น ภายหลังมีการแถลงตัวเลขซื้อขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯประจำเดือนเมษายน ซึ่งปรากฏว่าขยับเพิ่มขึ้นสู่แดนบวก
พวกเทรดเดอร์ยังอ้างปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันตก ก็คือการที่หลายประเทศในเอเชียแสดงท่าทีจะลดมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศลง เพื่อแก้ไขปัญหารายจ่ายของรัฐบาลซึ่งเพิ่มขึ้นจากการจ่ายเงินส่วนต่างราคาน้ำมันในตลาดโลกและในประเทศ สภาพเช่นนี้ทำให้คนในตลาดมองว่า น่าจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของโลกลดลงไปอีก หลังจากที่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ก็มีสัญญาณว่าความต้องการใช้ลดลงแล้ว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังย่ำแย่
ทางด้านรอยเตอร์ได้รายงาน โดยอ้างแหล่งข่าวอาวุโสของประเทศสมาชิกโอเปกที่อยู่ในแถบอ่าวเปอร์เซียรายหนึ่งเปิดเผยวานนี้ว่า ซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังเพิ่มซัปพลายเข้าสู่ตลาดเพื่อสนองความต้องการเชื้อเพลิงของโลก อีกทั้งยังอาจจะเพิ่มผลผลิตมากขึ้นอีกหากมีความจำเป็น
แหล่งข่าวซึ่งคุ้นเคยกับความคิดของซาอุดีผู้นี้กล่าวว่า รัฐสมาชิกทั้ง 13 ของโอเปก โดยเฉพาะพวกผู้ผลิตระดับแกนๆ ในย่านอ่าวเปอร์เซีย กำลังพิจารณาเรื่องจะนำผลผลิตออกสู่ตลาดเท่าใด โดยดูจากความต้องการใช้น้ำมันของทั่วโลก แทนที่จะยึดมั่นอยู่กับเป้าหมายการผลิตที่โอเปกตกลงกันไว้
“เมื่อใดก็ตามที่มีความต้องการน้ำมัน ก็จะได้รับการตอบสนองจากโอเปก” แหล่งข่าวผู้นี้กล่าว “ชาติผู้ผลิตโอเปกส่วนข้างมากแล้วไม่ชอบราคาน้ำมันที่สูงลิ่วเช่นนี้เลยจริงๆ เพราะมันไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของพวกเขา หรือเป็นผลประโยชน์ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันสร้างความเจ็บปวดให้แก่โลกกำลังพัฒนา”
ซาอุดีอาระเบียนั้นมีการปรับปริมาณน้ำมันที่จะนำออกสู่ตลาดโลก ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ในโลกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ตอนที่ราคาขยับไปอยู่ในระดับประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเวลานั้นกำลังผลิตน้ำมันน้อยกว่าในปัจจุบันอยู่ราวๆ ครึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน(บีพีดี)
รัฐมนตรีน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย อาลี อัล นาอิมี ได้เคยแถลงไว้ก่อนหน้านี้ว่า ประเทศของเขาจะเพิ่มผลผลิตขึ้นอีก 300,000 บีพีดี และจะไปถึงจำนวน 9.45 ล้านบีพีดีในเดือนมิถุนายน ขณะที่แหล่งข่าวรายนี้กล่าวว่า ซาอุดีอาระเบียกำลังผลิตน้ำมันในระดับประมาณ 9.1 ล้านบีพีดีแล้วในเดือนนี้
สัญญาล่วงหน้าของน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนกรกฎาคม หล่นลงมาจากระดับปิดวันอังคาร(27) 1.87 ดอลลาร์ ยืนอยู่ที่ 126.98 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เมื่อเวลาใกล้เที่ยงวานนี้ที่ลอนดอน หลังจากที่ในวันอังคาร ก็ได้ตกฮวบลงมาแล้ว 3.34 ดอลลาร์
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ ของตลาดลอนดอน ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ซื้อขายกันที่ระดับ 126.85 ดอลลาร์ ต่ำลงจากตอนปิดวันอังคาร 1.46 ดอลลาร์ โดยที่ในวันอังคาร ได้หล่นหายไปแล้ว 4.06 ดอลลาร์
สัญญาล่วงหน้าของน้ำมันดิบทั้งสองชนิด ต่างทะยานพรวดขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในสัปดาห์ที่แล้ว โดยเบรนต์อยู่ที่ 135.14 ดอลลาร์ และไลต์สวีตครูดอยู่ที่ 135.09 ดอลลาร์ในวันพฤหัสบดี(22) ก่อนที่แรงเทขายทำกำไรจะทำให้ราคาไหลร่วงลงมา
ปัจจัยที่ทำให้ราคาลดลงในสัปดาห์นี้ พวกเทรดเดอร์อ้างเรื่องเงินดอลลาร์สหรัฐฯซึ่งแข็งค่าขึ้น ภายหลังมีการแถลงตัวเลขซื้อขายบ้านใหม่ในสหรัฐฯประจำเดือนเมษายน ซึ่งปรากฏว่าขยับเพิ่มขึ้นสู่แดนบวก
พวกเทรดเดอร์ยังอ้างปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ราคาน้ำมันตก ก็คือการที่หลายประเทศในเอเชียแสดงท่าทีจะลดมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศลง เพื่อแก้ไขปัญหารายจ่ายของรัฐบาลซึ่งเพิ่มขึ้นจากการจ่ายเงินส่วนต่างราคาน้ำมันในตลาดโลกและในประเทศ สภาพเช่นนี้ทำให้คนในตลาดมองว่า น่าจะทำให้ความต้องการใช้น้ำมันของโลกลดลงไปอีก หลังจากที่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ใช้น้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก ก็มีสัญญาณว่าความต้องการใช้ลดลงแล้ว ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังย่ำแย่
ทางด้านรอยเตอร์ได้รายงาน โดยอ้างแหล่งข่าวอาวุโสของประเทศสมาชิกโอเปกที่อยู่ในแถบอ่าวเปอร์เซียรายหนึ่งเปิดเผยวานนี้ว่า ซาอุดีอาระเบีย ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังเพิ่มซัปพลายเข้าสู่ตลาดเพื่อสนองความต้องการเชื้อเพลิงของโลก อีกทั้งยังอาจจะเพิ่มผลผลิตมากขึ้นอีกหากมีความจำเป็น
แหล่งข่าวซึ่งคุ้นเคยกับความคิดของซาอุดีผู้นี้กล่าวว่า รัฐสมาชิกทั้ง 13 ของโอเปก โดยเฉพาะพวกผู้ผลิตระดับแกนๆ ในย่านอ่าวเปอร์เซีย กำลังพิจารณาเรื่องจะนำผลผลิตออกสู่ตลาดเท่าใด โดยดูจากความต้องการใช้น้ำมันของทั่วโลก แทนที่จะยึดมั่นอยู่กับเป้าหมายการผลิตที่โอเปกตกลงกันไว้
“เมื่อใดก็ตามที่มีความต้องการน้ำมัน ก็จะได้รับการตอบสนองจากโอเปก” แหล่งข่าวผู้นี้กล่าว “ชาติผู้ผลิตโอเปกส่วนข้างมากแล้วไม่ชอบราคาน้ำมันที่สูงลิ่วเช่นนี้เลยจริงๆ เพราะมันไม่ได้เป็นผลประโยชน์ของพวกเขา หรือเป็นผลประโยชน์ของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันสร้างความเจ็บปวดให้แก่โลกกำลังพัฒนา”
ซาอุดีอาระเบียนั้นมีการปรับปริมาณน้ำมันที่จะนำออกสู่ตลาดโลก ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ในโลกมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ตอนที่ราคาขยับไปอยู่ในระดับประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และเวลานั้นกำลังผลิตน้ำมันน้อยกว่าในปัจจุบันอยู่ราวๆ ครึ่งล้านบาร์เรลต่อวัน(บีพีดี)
รัฐมนตรีน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย อาลี อัล นาอิมี ได้เคยแถลงไว้ก่อนหน้านี้ว่า ประเทศของเขาจะเพิ่มผลผลิตขึ้นอีก 300,000 บีพีดี และจะไปถึงจำนวน 9.45 ล้านบีพีดีในเดือนมิถุนายน ขณะที่แหล่งข่าวรายนี้กล่าวว่า ซาอุดีอาระเบียกำลังผลิตน้ำมันในระดับประมาณ 9.1 ล้านบีพีดีแล้วในเดือนนี้