ขณะนี้เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ๑๖๔ ส.ส./ส.ว. ประกอบด้วย ส.ส.พรรคพลังประชาชน ๑๒๓ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นส.ส.ภาคอีสาน พรรคเพื่อแผ่นดิน ๕ คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา ๔ คน พรรคมัชฌิมาธิปไตย ๒ คนและส.ว. ๓๐ คน ได้ร่วมกันยื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๑
จุดประสงค์แท้จริงในขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะเขียนย่างไรก็สุดแล้วแต่ แต่ความจริงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเพื่อที่จะแก้ไข มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗(ข้อความในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคสุดท้ายและมาตรา ๒๓๗ ไม่เคยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐) เพื่อหลีกให้พ้นการถูกยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในกรณีที่ ส.ส. ได้กระทำผิด พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ อันการกระทำผิดนั้น เป็นคดีความที่ผ่านการวินิจฉัยชี้ขาด ขององค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแล้ว เหลือแต่ชั้นที่สุด คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะชี้ขาดยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น
จุดประสงค์อื่นที่อ้างในการยื่นญัตติ นอกจากจุดประสงค์แท้จริงดังกล่าว เป็นการอ้างประกอบเข้ามาเท่านั้นเอง
หากไม่จริงเช่นที่กล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลยที่จะต้องเร่งยื่นญัตติขอแก้ไขในขณะนี้
โดยให้ความสำคัญน้อยกับการบริหารบ้านเมือง แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน อันเป็นหน้าที่สำคัญ มุ่งแต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
และบิดเบือนอ้างเหตุใส่ไคร้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ บกพร่องอย่างนั้นอย่างนี้
โดยให้เหตุผลที่วิญญูชนไม่อาจรับได้
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ออกมาแสดงความคิดเห็นบ้างแล้วว่า กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนี้ขัดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๒๒ ในประการที่แก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ ส.ส.เพียงบางคนที่จะต้องถูกยุบพรรค ไม่ใช่แก้ไข “ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต” “เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย” และ “โดยปราจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์” อันเป็นหน้าที่ของ ส.ส. และ ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๒๒ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช่เพื่อส่วนรวมดังกล่าว จะทำให้ญัตติที่ขอแก้ไขและมติที่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นอันใช้ไม่ได้ ทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ที่กระทำโดยมิชอบดังกล่าวจะถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๐ ด้วย
ความจริง การยื่นญัตติขอแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ ส.ส.เพียงบางคนที่จะต้องถูกยุบพรรค ยังมีความผิดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคแรก ซึ่งอยู่ในส่วนที่ ๑๓ ว่าด้วย สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ อีกด้วย
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้”
เหตุผลที่ว่าการยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นความผิดตามมาตรา ๖๘ วรรคแรกดังกล่าว ก็เพราะการที่กรรมการบริหารพรรคกระทำผิด มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗ นั้น จะต้องถูกยุบพรรค และหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นระยะเวลาห้าปี แต่ถ้าสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จนั้น ก็คือ ทำให้พรรคการเมือง ที่ ส.ส.ซึ่งเป็นผู้กระทำผิด พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯลฯ และเป็นกรรมการบริหารพรรค ไม่ต้องถูกยุบพรรค และหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไม่ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
และเมื่อแท้จริง พรรคการเมือง ซึ่งกรรมการบริหารพรรคกระทำผิด พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯลฯ โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗ จะต้องถูกยุบพรรค และหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กลับไม่ต้องถูกยุบพรรคและไม่มีผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ประกอบกับการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งเป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไส้ในรัฐธรรมนุญนี้นั้น ส.ส./ส.ว.ต้องเข้าสู่ตำแหน่งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงถือว่า พรรคการเมืองนั้น ได้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
เมื่อเป็นดังนี้ เท่ากับการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้นั่นเอง
ถ้าจะมิให้มีการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ก็จะต้องยับยั้งตั้งแต่แรกที่จะมีการกระทำซึ่งรู้อยู่ว่าถ้าสำเร็จจะยังผลไปสู่การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ เกิดขึ้น
ซึ่งวิธียับยั้งก็คือ การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”
นั่นคือ บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดก็ได้ ที่รู้ว่ามีการกระทำดังกล่าว เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งให้เลิกกระทำ ซึ่งอาจสั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำผิดดังกล่าวก็ได้ และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวเป็นระยะเวลาห้าปี ดังบัญญัติไว้ในวรรคสามและสี่ของมาตราเดียวกัน
สมมติว่า อัยการสูงสุดไม่ดำเนินการให้ บุคคลนั้นก็อาจใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตา ๒๑๒ ยื่นคำร้องเองต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยถือว่าตนถูกละเมิดสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ส.ส./ ส.ว. มีสิทธิขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยมิชอบ ประชาชนชาวบ้านธรรมดาๆ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็มีสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยวิธีการดัง ชี้แจงแสดงเหตุผลไว้ข้างต้นนี้
จุดประสงค์แท้จริงในขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ จะเขียนย่างไรก็สุดแล้วแต่ แต่ความจริงเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่าเพื่อที่จะแก้ไข มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗(ข้อความในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคสุดท้ายและมาตรา ๒๓๗ ไม่เคยมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐) เพื่อหลีกให้พ้นการถูกยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในกรณีที่ ส.ส. ได้กระทำผิด พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯ อันการกระทำผิดนั้น เป็นคดีความที่ผ่านการวินิจฉัยชี้ขาด ขององค์กรผู้มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญแล้ว เหลือแต่ชั้นที่สุด คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะชี้ขาดยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเท่านั้น
จุดประสงค์อื่นที่อ้างในการยื่นญัตติ นอกจากจุดประสงค์แท้จริงดังกล่าว เป็นการอ้างประกอบเข้ามาเท่านั้นเอง
หากไม่จริงเช่นที่กล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นใด ๆ เลยที่จะต้องเร่งยื่นญัตติขอแก้ไขในขณะนี้
โดยให้ความสำคัญน้อยกับการบริหารบ้านเมือง แก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน อันเป็นหน้าที่สำคัญ มุ่งแต่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
และบิดเบือนอ้างเหตุใส่ไคร้ว่ารัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ บกพร่องอย่างนั้นอย่างนี้
โดยให้เหตุผลที่วิญญูชนไม่อาจรับได้
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ออกมาแสดงความคิดเห็นบ้างแล้วว่า กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นนี้ขัดรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๒๒ ในประการที่แก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ ส.ส.เพียงบางคนที่จะต้องถูกยุบพรรค ไม่ใช่แก้ไข “ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต” “เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย” และ “โดยปราจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์” อันเป็นหน้าที่ของ ส.ส. และ ส.ว. ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๒๒ ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช่เพื่อส่วนรวมดังกล่าว จะทำให้ญัตติที่ขอแก้ไขและมติที่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นอันใช้ไม่ได้ ทั้ง ส.ส.และ ส.ว. ที่กระทำโดยมิชอบดังกล่าวจะถูกถอดถอนจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๗๐ ด้วย
ความจริง การยื่นญัตติขอแก้ไขเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของ ส.ส.เพียงบางคนที่จะต้องถูกยุบพรรค ยังมีความผิดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคแรก ซึ่งอยู่ในส่วนที่ ๑๓ ว่าด้วย สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ อีกด้วย
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคแรก บัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้”
เหตุผลที่ว่าการยื่นญัตติขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗ เป็นความผิดตามมาตรา ๖๘ วรรคแรกดังกล่าว ก็เพราะการที่กรรมการบริหารพรรคกระทำผิด มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗ นั้น จะต้องถูกยุบพรรค และหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นระยะเวลาห้าปี แต่ถ้าสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญสำเร็จนั้น ก็คือ ทำให้พรรคการเมือง ที่ ส.ส.ซึ่งเป็นผู้กระทำผิด พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯลฯ และเป็นกรรมการบริหารพรรค ไม่ต้องถูกยุบพรรค และหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบไม่ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง
และเมื่อแท้จริง พรรคการเมือง ซึ่งกรรมการบริหารพรรคกระทำผิด พรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ฯลฯ โดยรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ และ ๒๓๗ จะต้องถูกยุบพรรค และหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กลับไม่ต้องถูกยุบพรรคและไม่มีผู้ใดถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ประกอบกับการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งเป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไส้ในรัฐธรรมนุญนี้นั้น ส.ส./ส.ว.ต้องเข้าสู่ตำแหน่งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม จึงถือว่า พรรคการเมืองนั้น ได้ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้
เมื่อเป็นดังนี้ เท่ากับการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ก็เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้นั่นเอง
ถ้าจะมิให้มีการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ก็จะต้องยับยั้งตั้งแต่แรกที่จะมีการกระทำซึ่งรู้อยู่ว่าถ้าสำเร็จจะยังผลไปสู่การได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญนี้ เกิดขึ้น
ซึ่งวิธียับยั้งก็คือ การปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๖๘ วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว”
นั่นคือ บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดก็ได้ ที่รู้ว่ามีการกระทำดังกล่าว เสนอเรื่องต่ออัยการสูงสุดเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งให้เลิกกระทำ ซึ่งอาจสั่งยุบพรรคการเมืองที่กระทำผิดดังกล่าวก็ได้ และสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวเป็นระยะเวลาห้าปี ดังบัญญัติไว้ในวรรคสามและสี่ของมาตราเดียวกัน
สมมติว่า อัยการสูงสุดไม่ดำเนินการให้ บุคคลนั้นก็อาจใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตา ๒๑๒ ยื่นคำร้องเองต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยถือว่าตนถูกละเมิดสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
ส.ส./ ส.ว. มีสิทธิขอแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นการกระทำโดยมิชอบ ประชาชนชาวบ้านธรรมดาๆ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ก็มีสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยวิธีการดัง ชี้แจงแสดงเหตุผลไว้ข้างต้นนี้