ตามคาด “อัยการ” ตีกลับสำนวนยุบพรรคชาติไทย-มัชฌิมาธิปไตย อ้างเหตุต้องสอบเพิ่มเติม พร้อมเตรียมทำหนังสือแจ้งประธาน กกต.ในฐานะนายทะเบียน 22 พ.ค.นี้ เพื่อขอตั้งคณะทำงานร่วม
วันนี้ (21 พ.ค.) แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงการพิจารณาสำนวนคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ว่า ที่ประชุมคณะทำงาน โดย นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด ประธานคณะทำงาน พิจารณาแล้วเห็นว่า สำนวนทั้ง 2 พรรคการเมืองยังมีประเด็นต้องสอบเพิ่มเติมหลายข้อ ดังนั้น คณะทำงานอัยการจึงเตรียมทำหนังสือแจ้ง นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ทราบภายในวันที่ 22 พ.ค.นี้ เพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 ที่ว่า เมื่ออัยการสูงสุดได้รับแจ้งจาก กกต.พร้อมหลักฐานแล้วก็ต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว แต่ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง ตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนจากนายทะเบียน และผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ซึ่งตัวแทนจากอัยการจะเป็นใครบ้าง เป็นอำนาจของนายอภิชาต นายทะเบียนพรรคที่จะแต่งตั้ง แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่า นายจุลสิงห์ รองอัยการสูงสุด ประธานคณะทำงานอัยการ น่าจะได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานร่วมเพราะเป็นผู้พิจารณาสำนวนมาตั้งแต่ต้น
แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวด้วยว่า การแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าว ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องแต่งตั้งขึ้นเมื่อใด เพียงแต่กฎหมายระบุว่า เมื่อแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันแล้วให้สรุปเรื่องภายใน 30 วัน และถ้ากรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้องได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของ กกต.มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง
นอกจากนี้ แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงรายละเอียดประเด็นทั้งหมดที่จะสอบเพิ่มเติม โดยระบุเพียงว่า จะต้องตรวจพิจารณาเกี่ยวกับคำวินิจฉัยกรรมการเลือกตั้งจังหวัดชัยนาท และจังหวัดปราจีนบุรี อีกครั้ง เพราะการวินิจฉัยของกกต. จังหวัดไม่ได้แจกใบแดง แต่ในชั้นของ กกต.กลาง กลับมีมติแจกใบแดง จึงเป็นข้อแตกต่างที่ต้องพิจารณาด้วย ซึ่งในสำนวน กกต.ที่ส่งมาให้อัยการนั้นไม่มีคำวินิจฉัยของ กกต. จังหวัดดังกล่าว รวมทั้งการรวบรวมสำนวนคดีที่พรรคชาติไทย ระบุว่า มีการฟ้องกลับคดีหลังจากที่ผู้สมัครถูกวินิจฉัย
วันนี้ (21 พ.ค.) แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงการพิจารณาสำนวนคดียุบพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ว่า ที่ประชุมคณะทำงาน โดย นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด ประธานคณะทำงาน พิจารณาแล้วเห็นว่า สำนวนทั้ง 2 พรรคการเมืองยังมีประเด็นต้องสอบเพิ่มเติมหลายข้อ ดังนั้น คณะทำงานอัยการจึงเตรียมทำหนังสือแจ้ง นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง ทราบภายในวันที่ 22 พ.ค.นี้ เพื่อดำเนินการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2550 มาตรา 95 ที่ว่า เมื่ออัยการสูงสุดได้รับแจ้งจาก กกต.พร้อมหลักฐานแล้วก็ต้องพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าอัยการสูงสุดเห็นสมควร ก็ให้ยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าว แต่ถ้าอัยการสูงสุดไม่ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้นายทะเบียนพรรคการเมือง ตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีผู้แทนจากนายทะเบียน และผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐาน แล้วส่งให้อัยการสูงสุดเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต่อไป ซึ่งตัวแทนจากอัยการจะเป็นใครบ้าง เป็นอำนาจของนายอภิชาต นายทะเบียนพรรคที่จะแต่งตั้ง แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่า นายจุลสิงห์ รองอัยการสูงสุด ประธานคณะทำงานอัยการ น่าจะได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานร่วมเพราะเป็นผู้พิจารณาสำนวนมาตั้งแต่ต้น
แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวด้วยว่า การแต่งตั้งคณะทำงานดังกล่าว ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องแต่งตั้งขึ้นเมื่อใด เพียงแต่กฎหมายระบุว่า เมื่อแต่งตั้งคณะทำงานร่วมกันแล้วให้สรุปเรื่องภายใน 30 วัน และถ้ากรณีที่คณะทำงานดังกล่าวไม่อาจหาข้อยุติเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้องได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่แต่งตั้งคณะทำงาน ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองโดยความเห็นชอบของ กกต.มีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง
นอกจากนี้ แหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงรายละเอียดประเด็นทั้งหมดที่จะสอบเพิ่มเติม โดยระบุเพียงว่า จะต้องตรวจพิจารณาเกี่ยวกับคำวินิจฉัยกรรมการเลือกตั้งจังหวัดชัยนาท และจังหวัดปราจีนบุรี อีกครั้ง เพราะการวินิจฉัยของกกต. จังหวัดไม่ได้แจกใบแดง แต่ในชั้นของ กกต.กลาง กลับมีมติแจกใบแดง จึงเป็นข้อแตกต่างที่ต้องพิจารณาด้วย ซึ่งในสำนวน กกต.ที่ส่งมาให้อัยการนั้นไม่มีคำวินิจฉัยของ กกต. จังหวัดดังกล่าว รวมทั้งการรวบรวมสำนวนคดีที่พรรคชาติไทย ระบุว่า มีการฟ้องกลับคดีหลังจากที่ผู้สมัครถูกวินิจฉัย