วานนี้ (21 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานกรณีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ให้แต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 276 เพื่อตรวจสอบพฤติกรรม ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย ที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 275 ที่ลุแก่อำนาจสั่งการให้ นายบุญเชิด คิดเห็น รักษาการอธิบดีกรมที่ดิน ตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิที่ดิน บริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำกัด ของครอบครัวเทือกสุบรรณ จนกระทั่งนายบุญเชิด ได้สั่งเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินของบริษัท ศรีสุบรรณฟาร์ม จำนวน 1,338 ไร่ 59 แปลง บริเวณ ต.น้ำหัก อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ผ่านมานั้น
ล่าสุดนายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ เลขานุการศาลฎีกา เปิดเผยว่า ขณะนี้นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาได้กำหนดวันประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องของ นายสุเทพไว้เพื่อแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระหรือไม่ ในวันศุกร์ที่ 30 พ.ค.นี้ เวลา 13.30 น.
นายอนันต์ กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระในคดีดังกล่าวด้วยว่า ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งได้เสนอกฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ต่อสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ถูกบรรจุเป็นวาระพิจารณา ซึ่งแม้กฎหมายเรื่องการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระยังไม่ได้ถูกพิจารณา แต่ไม่กระทบต่อการพิจารณาคำร้องของนายสุเทพ เพราะการพิจารณามีช่องทางตามกฎหมายที่บัญญัติไว้อยู่แล้ว
"ส่วนแนวทางของที่ประชุมใหญ่ จะออกมาเป็นอย่างไร ก็ต้องรอฟังคำสั่งในวันที่ 30 พ.ค.นี้" นายอนันต์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 276 บัญญัติว่า ในกรณีที่ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นควรดำเนินการตามคำร้องที่ยื่นตาม มาตรา 275 วรรค 4 ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมือง และมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ หรือจะส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนตามาตรา 250 (2) แทนการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระก็ได้
คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ วิธีการไต่สวน และการดำเนินการอื่นที่จำเป็นของผู้ไต่สวนอิสระให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อผู้ไต่สวนอิสระได้ดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนทำความเห็นแล้ว ถ้าเห็นว่าข้อกล่าวหามีมูลให้ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตาม มาตรา 273 และส่งสำนวนและความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป และให้นำบทบัญญัติมาตรา 272 วรรค 5 มาใช้โดยอนุโลม
หากมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มาตรา 277 บัญญัติด้วยว่า ในการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ให้ยึดสำนวน ป.ป.ช. หรือผู้ไต่สวนอิสระแล้วแต่กรณี เป็นหลักในการพิจารณาและอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร โดยบทบัญญัติว่าด้วยความคุ้มกันของ ส.ส. และ ส.ว.ตามมาตรา 131 ไม่ให้นำมาบังคับใช้กับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า คดีนี้ เป็นคดีแรกที่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ให้แต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ตามมาตรา 276 เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการลุแก่อำนาจด้วย
ล่าสุดนายอนันต์ วงษ์ประภารัตน์ เลขานุการศาลฎีกา เปิดเผยว่า ขณะนี้นายวิรัช ลิ้มวิชัย ประธานศาลฎีกาได้กำหนดวันประชุมใหญ่ศาลฎีกา เพื่อพิจารณาว่าจะรับคำร้องของ นายสุเทพไว้เพื่อแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระหรือไม่ ในวันศุกร์ที่ 30 พ.ค.นี้ เวลา 13.30 น.
นายอนันต์ กล่าวถึงหลักเกณฑ์ในการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระในคดีดังกล่าวด้วยว่า ต้องเป็นไปตามกฎหมาย ซึ่งได้เสนอกฎหมายเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระ ต่อสภาผู้แทนราษฎรแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ถูกบรรจุเป็นวาระพิจารณา ซึ่งแม้กฎหมายเรื่องการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระยังไม่ได้ถูกพิจารณา แต่ไม่กระทบต่อการพิจารณาคำร้องของนายสุเทพ เพราะการพิจารณามีช่องทางตามกฎหมายที่บัญญัติไว้อยู่แล้ว
"ส่วนแนวทางของที่ประชุมใหญ่ จะออกมาเป็นอย่างไร ก็ต้องรอฟังคำสั่งในวันที่ 30 พ.ค.นี้" นายอนันต์กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 276 บัญญัติว่า ในกรณีที่ ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาเห็นควรดำเนินการตามคำร้องที่ยื่นตาม มาตรา 275 วรรค 4 ให้ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาพิจารณาแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระจากผู้ซึ่งมีความเป็นกลางทางการเมือง และมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ หรือจะส่งเรื่องให้ ป.ป.ช.ดำเนินการไต่สวนตามาตรา 250 (2) แทนการแต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระก็ได้
คุณสมบัติ อำนาจหน้าที่ วิธีการไต่สวน และการดำเนินการอื่นที่จำเป็นของผู้ไต่สวนอิสระให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ เมื่อผู้ไต่สวนอิสระได้ดำเนินการไต่สวนหาข้อเท็จจริง และสรุปสำนวนทำความเห็นแล้ว ถ้าเห็นว่าข้อกล่าวหามีมูลให้ส่งรายงานและเอกสารที่มีอยู่พร้อมทั้งความเห็นไปยังประธานวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตาม มาตรา 273 และส่งสำนวนและความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไป และให้นำบทบัญญัติมาตรา 272 วรรค 5 มาใช้โดยอนุโลม
หากมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว มาตรา 277 บัญญัติด้วยว่า ในการพิจารณาของศาลฎีกาฯ ให้ยึดสำนวน ป.ป.ช. หรือผู้ไต่สวนอิสระแล้วแต่กรณี เป็นหลักในการพิจารณาและอาจไต่สวนหาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร โดยบทบัญญัติว่าด้วยความคุ้มกันของ ส.ส. และ ส.ว.ตามมาตรา 131 ไม่ให้นำมาบังคับใช้กับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาฯ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า คดีนี้ เป็นคดีแรกที่มีการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา ให้แต่งตั้งผู้ไต่สวนอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ตามมาตรา 276 เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในการลุแก่อำนาจด้วย