"ดูไบ เวิลด์"วางแผนใช้กุ้งฝอยตกปลากระพง ลงนามความช่วยเหลือแบบให้เปล่าแก่รัฐบาลไทยว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมโครงการแลนด์บริดจ์ ภายใต้เงื่อนไขไทยต้องว่าจ้างบริษัทที่ดูไบใส่พานมาให้ กรุยทางเข้าลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ มูลค่า 3แสนล้าน ที่มีข้อกำหนดยกเว้นภาษีให้พร้อมสรรพ ต้อนรับสุลต่านจากดูไบ เวิลด์ บินเยือนไทยมาบรรยายพิเศษที่มูลนิธิไทยคม ตามคำเชิญของ"เสี่ยแม้ว" ด้าน"หมอเลี้ยบ" หวั่นข้อครหาเอื้อดูไบฯ ยันเปิดสัมปทานลงทุนต้องเปิดประมูลทั่วไป
วานนี้ (20 พ.ค.) นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ลงนามบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากบริษัท ดูไบ เวิลด์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)เพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย (โครงการแลนด์บริดจ์)
ทั้งนี้ ดูไบ เวิลด์ มีหนังสือเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 50 ถึงกระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องดังกล่าว พร้อมจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา โดยบริษัท ดูไบ เวิลด์จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลยูเออี เพื่อให้เป็นองค์การของรัฐในการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ได้มีการประสานงานและเจรจาปรับปรุงรายละเอียดสำคัญในร่างบันทึกความเข้าใจ และได้ลงนามในหนังสือเจตจำนงเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 51
“จะกำหนดวันลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือกับดูไบ เวิลด์ หลังครม.เห็นชอบ ทั้งนี้สุลต่าน อาห์เหม็ด บิน สุลาเยม ประธานกรรมการของดูไบ เวิลด์ บริษัทลงทุนของรัฐบาลดูไบ จะเดินทางมาที่ประเทศไทย ในวันที่ 22 พ.ค. เพื่อบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Evolutionary Reform The Dubai Experience”จัดโดยมูลนิธิไทยคม ขณะเดียวกันในวันที่ 24 พ.ค. จะเข้าพบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล”รองโฆษกฯกล่าว
ทั้งนี้ มูลนิธิไทยคม มีทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ก่อตั้ง และ ประธานมูลนิธิฯ
ของฟรีไม่มีในโลก
รายงานข่าวแจ้งว่า ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญเพื่อพัฒนาและการเป็นของบริการท่าเรือระหว่างประเทศ 2 แห่งเพื่อให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีท่าเรือบนชายฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย เพื่อเป็นการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ รวมทั้งการจัดตั้งแนวเส้นทาง เพื่อยกเว้นภาษีแก่วิสาหกิจหรือบริษัทใด ๆ ที่ดำเนินการในเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาและเป็นเจ้าของบริการขนส่งทางบกบนแนวเส้นทางเศรษฐกิจที่รวมถึงทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ
นอกจากนี้ การคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา ดูไบ เวิลด์ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทยเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาทำการศึกษาความเหมาะสม โดยบริษัทดูไบ เวิลด์ จะเป็นผู้เสนอรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอกให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนดูไบ เวิลด์ ลงนามสัญญาการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่อไป และฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามกำกับการดำเนินการของที่ปรึกษาและให้ความเห็นชอบงานและรายงานที่บริษัทที่ปรึกษาส่งมอบ โดยฝ่ายไทยและดูไบ เวิล์ด จะเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานและรายงานที่จะส่งมอบร่วมกัน และการศึกษาภายใต้ความเข้าใจนี้ไม่มีภาระผูกพันด้านงบประมาณเนื่องจากเป็นความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าจากดูไบ เวิล์ด
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาว่า ร่างดังกล่าวเป็นความตกลงระหว่งาส่วนราชการกับหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศในความร่วมมือด้านวิชาการทั่วไปและไม่มีข้อผูกพันต่อเนื่องที่ไทยจำเป็นจะต้องปฏิบัติ
“สันติ” บินเจรจาเอง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ระหว่างวันที่ 8-9 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กับคณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อโรดโชว์โครงการต่างๆ แก่นักลงทุนในตะวันออกกลาง โดยการเดินทางในครั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ นอกจากกระทรวงคมนาคมแล้ว ยังมีกระทรวงอื่นๆ อีก อาทิ กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ ฯลฯ ร่วมคณะไปด้วย
ทั้งนี้ นายสันติ ยังได้เข้าพบกับคณะผู้บริหารของบริษัท ดูไบ เวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนของรัฐบาลดูไบด้วย โดยจะเป็นการหารือร่วมกันในโครงการสำคัญๆ อาทิ โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับฝั่งตะวันตกหรือ แลนด์บริดจ์ มูลค่าการลงทุนกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่ดูไบ เวิลด์ ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน โดยในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กลุ่ม บริษัท ดูไบ ได้ทำหนังสือแจ้งมายังกรมการขนส่งทางน้ำและการ พาณิชยนาวี (ขน.) เพื่อเสนอตัวขอเป็นบริษัทผู้ก่อ สร้าง บริหารจัดการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัด สตูล
เลี้ยบ รีบออกตัวหวั่นข้อหาเอื้อดูไบฯ
นายณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ประเด็นการหารือโครงการแลนด์บริดจ์ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯและรมว.คลัง ได้ขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาในเอ็มโอยู โดยระบุว่า หากรัฐบาลไทยมีความประสงค์จะนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์เพื่อการใด ขอให้ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากทางบริษัทฯ และย้ำกันใน ครม.ว่า หากในอนาคตจะมีการก่อสร้างใด ๆ ตามผลการศึกษาที่จะออกมา ไม่ได้หมายความว่า บริษัท ดูไบ เวิลด์ จะเป็นผู้ได้รับสัมปทาน แต่ต้องมีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป จากเดิมได้แต่เพียงระบุว่าผลการศึกษาที่ออกมานี้ จะเป็นของรัฐบาลไทยและบริษัทฯ ร่วมกัน
อนึ่ง การให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อศึกษาโครงการ และตามด้วยการเข้ามาลงทุนภายใต้เงื่อนไขการได้รับยกเว้นภาษีของนักลงทุนจากประเทศนั้นๆ รวมถึงการปล่อยเงินกู้ให้แก่โครงการ อาจกล่าวได้ว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือด้านที่ปรึกษา ลงทุน และปล่อยกู้ปฏิบัติ เช่น โครงการก่อสร้างทางด่วน ที่ไทยรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น เป็นต้น ขณะที่นักลงทุนรายใหญ่ในประเทศเจ้าของโครงการเองก็เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนหรือเข้ารับช่วงงานต่อ
สนข.ชี้สงขลา-สตูล จุดเหมาะสุด
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานนโยบายการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รายงานความคืบหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ ว่า เดิมได้มีการศึกษาไว้ 2 แนวเส้นทางคือ ขนอม-พังงา และขนอม-กระบี่ แต่เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากทั้งกระบี่และพังงา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย
ต่อมา กรมขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ได้มีการศึกษาแนวเส้นทางที่ 3 คือ สงขลา-สูตล เป็นเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด บริเวณ ฝั่งทะเล จ.สตูล มีการศึกษาโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งสามารถทำเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าขนาดใหญ่ได้ ส่วนฝั่งทะเล จ.สงขลา แม้ว่าน่านน้ำ จะไม่ลึกเท่าใดนัก แต่สามารถสำรวจขยายท่าเรือ ออกไปได้
นอกจากบริเวณท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สงขลา และบริเวณ กระบี่-ขนอมแล้ว ยังมีการพิจารณาบริเวณพื้นที่ฐานทัพเรือทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ฐานทัพเรือทับละมุ เป็นจุดที่เกิดเหตุการณ์ สึนามิ เมื่อเดือนธันวาคม 2547 ทำให้ต้องทบทวนความเหมาะสมใหม่
เด้งผอ.สนข.หลังชง“แลนด์บริดจ์”
ด้านนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งโยกย้ายนายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมแทนนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ซึ่งจะมาดำรงตำแหน่งแทนนายไมตรี ทั้งนี้นายไมตรี เป็นผู้นำบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากบริษัท ดูไบ เวิล์ค นำเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยตัวเอง
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากเห็นว่าการทำงานล่าช้า โดยเฉพาะการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 9 เส้นทางมีความคืบหน้าน้อยมาก ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมต้องการเร่งรัดดำเนินการ
ตั้งนายกฯ นั่งหัวโต๊ะดันเซาท์เทิร์นฯ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า คณะรัฐมนตรีได้พิจารณารายงานความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม และบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคตตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัมนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
รองโฆษกฯ กล่าวต่อว่า แนวทางการพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปได้ว่าพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่ง ทะเลทั้งสองด้านมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะเครือข่ายเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มกรรมท่องเที่ยว กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ กลุ่มแปรรูปเกษตรกรและพืชพลังงาน และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตเคมีและพลังงาน ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกจำนวน 4 รายสนใจที่ตั้งโรงถลุงเหล็กครบวงจรที่ประเทศไทย
นายณัฐวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกลไกการดำเนินงานเพื่อให้การวางแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้มีความต่อเนื่องทั้งในระบบนโยบายและระดับปฏิบัติ ทางสศช.เสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กพต.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการรวมทั้งสิ้น 19 คน มีอำนาจหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบายบริหารและกำกับดูแลแนงานการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมทั้งระบบ เร่งรัดการดำเนินงานและติดตามประเมิณผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบดครงการให้เป็นไปตามโครงการของรัฐบาล
ตีกลับงบ 5.8 หมื่นล้านพัฒนาภาคใต้
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ตามที่ สศช. เสนอแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้นั้น ครม.เห็นชอบเพียงหลักการของโครงการจำนวน 358 โครงการใน 14 จังหวัด แต่การจัดงบประมาณลงพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 58,000 ล้านบาทนั้นได้ให้สำนักงบประมาณไปจัดทำแผนเพื่อกลับมาพิจารณาใหม่ แต่ได้เห็นชอบในหลักการกรอบงบภาคใต้ปี 52 จำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท
วานนี้ (20 พ.ค.) นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและมอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ลงนามบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากบริษัท ดูไบ เวิลด์ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี)เพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย (โครงการแลนด์บริดจ์)
ทั้งนี้ ดูไบ เวิลด์ มีหนังสือเมื่อวันที่ 15 พ.ย. 50 ถึงกระทรวงคมนาคมเสนอเรื่องดังกล่าว พร้อมจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา โดยบริษัท ดูไบ เวิลด์จัดตั้งขึ้นโดยรัฐบาลยูเออี เพื่อให้เป็นองค์การของรัฐในการลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ได้มีการประสานงานและเจรจาปรับปรุงรายละเอียดสำคัญในร่างบันทึกความเข้าใจ และได้ลงนามในหนังสือเจตจำนงเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 51
“จะกำหนดวันลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือกับดูไบ เวิลด์ หลังครม.เห็นชอบ ทั้งนี้สุลต่าน อาห์เหม็ด บิน สุลาเยม ประธานกรรมการของดูไบ เวิลด์ บริษัทลงทุนของรัฐบาลดูไบ จะเดินทางมาที่ประเทศไทย ในวันที่ 22 พ.ค. เพื่อบรรยายพิเศษในหัวข้อ “Evolutionary Reform The Dubai Experience”จัดโดยมูลนิธิไทยคม ขณะเดียวกันในวันที่ 24 พ.ค. จะเข้าพบนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล”รองโฆษกฯกล่าว
ทั้งนี้ มูลนิธิไทยคม มีทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ก่อตั้ง และ ประธานมูลนิธิฯ
ของฟรีไม่มีในโลก
รายงานข่าวแจ้งว่า ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญเพื่อพัฒนาและการเป็นของบริการท่าเรือระหว่างประเทศ 2 แห่งเพื่อให้เกิดการขนส่งสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีท่าเรือบนชายฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทย เพื่อเป็นการพัฒนาสะพานเศรษฐกิจ รวมทั้งการจัดตั้งแนวเส้นทาง เพื่อยกเว้นภาษีแก่วิสาหกิจหรือบริษัทใด ๆ ที่ดำเนินการในเขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาและเป็นเจ้าของบริการขนส่งทางบกบนแนวเส้นทางเศรษฐกิจที่รวมถึงทางถนน ทางรถไฟ และทางท่อ
นอกจากนี้ การคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา ดูไบ เวิลด์ จะสนับสนุนค่าใช้จ่ายแบบให้เปล่าแก่ประเทศไทยเพื่อว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาทำการศึกษาความเหมาะสม โดยบริษัทดูไบ เวิลด์ จะเป็นผู้เสนอรายชื่อบริษัทที่ปรึกษาที่เป็นบุคคลภายนอกให้ฝ่ายไทยพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนดูไบ เวิลด์ ลงนามสัญญาการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาต่อไป และฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดตามกำกับการดำเนินการของที่ปรึกษาและให้ความเห็นชอบงานและรายงานที่บริษัทที่ปรึกษาส่งมอบ โดยฝ่ายไทยและดูไบ เวิล์ด จะเป็นเจ้าของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของงานและรายงานที่จะส่งมอบร่วมกัน และการศึกษาภายใต้ความเข้าใจนี้ไม่มีภาระผูกพันด้านงบประมาณเนื่องจากเป็นความช่วยเหลือทางวิชาการแบบให้เปล่าจากดูไบ เวิล์ด
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า กระทรวงคมนาคม ได้พิจารณาว่า ร่างดังกล่าวเป็นความตกลงระหว่งาส่วนราชการกับหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศในความร่วมมือด้านวิชาการทั่วไปและไม่มีข้อผูกพันต่อเนื่องที่ไทยจำเป็นจะต้องปฏิบัติ
“สันติ” บินเจรจาเอง
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ระหว่างวันที่ 8-9 เม.ย.ที่ผ่านมา นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กับคณะของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อโรดโชว์โครงการต่างๆ แก่นักลงทุนในตะวันออกกลาง โดยการเดินทางในครั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ นอกจากกระทรวงคมนาคมแล้ว ยังมีกระทรวงอื่นๆ อีก อาทิ กระทรวง อุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ ฯลฯ ร่วมคณะไปด้วย
ทั้งนี้ นายสันติ ยังได้เข้าพบกับคณะผู้บริหารของบริษัท ดูไบ เวิลด์ ซึ่งเป็นบริษัทด้านการลงทุนของรัฐบาลดูไบด้วย โดยจะเป็นการหารือร่วมกันในโครงการสำคัญๆ อาทิ โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมระหว่างภาคใต้ฝั่งตะวันออก กับฝั่งตะวันตกหรือ แลนด์บริดจ์ มูลค่าการลงทุนกว่า 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งที่ดูไบ เวิลด์ ให้ความสนใจที่จะเข้ามาลงทุน โดยในสมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี กลุ่ม บริษัท ดูไบ ได้ทำหนังสือแจ้งมายังกรมการขนส่งทางน้ำและการ พาณิชยนาวี (ขน.) เพื่อเสนอตัวขอเป็นบริษัทผู้ก่อ สร้าง บริหารจัดการท่าเรือน้ำลึกปากบารา จังหวัด สตูล
เลี้ยบ รีบออกตัวหวั่นข้อหาเอื้อดูไบฯ
นายณัฐวุฒิ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ประเด็นการหารือโครงการแลนด์บริดจ์ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกฯและรมว.คลัง ได้ขอให้เพิ่มเติมเนื้อหาในเอ็มโอยู โดยระบุว่า หากรัฐบาลไทยมีความประสงค์จะนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์เพื่อการใด ขอให้ทำได้ทันทีโดยไม่ต้องขอรับความเห็นชอบจากทางบริษัทฯ และย้ำกันใน ครม.ว่า หากในอนาคตจะมีการก่อสร้างใด ๆ ตามผลการศึกษาที่จะออกมา ไม่ได้หมายความว่า บริษัท ดูไบ เวิลด์ จะเป็นผู้ได้รับสัมปทาน แต่ต้องมีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป จากเดิมได้แต่เพียงระบุว่าผลการศึกษาที่ออกมานี้ จะเป็นของรัฐบาลไทยและบริษัทฯ ร่วมกัน
อนึ่ง การให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าเพื่อศึกษาโครงการ และตามด้วยการเข้ามาลงทุนภายใต้เงื่อนไขการได้รับยกเว้นภาษีของนักลงทุนจากประเทศนั้นๆ รวมถึงการปล่อยเงินกู้ให้แก่โครงการ อาจกล่าวได้ว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือด้านที่ปรึกษา ลงทุน และปล่อยกู้ปฏิบัติ เช่น โครงการก่อสร้างทางด่วน ที่ไทยรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น เป็นต้น ขณะที่นักลงทุนรายใหญ่ในประเทศเจ้าของโครงการเองก็เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนหรือเข้ารับช่วงงานต่อ
สนข.ชี้สงขลา-สตูล จุดเหมาะสุด
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานนโยบายการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้รายงานความคืบหน้าโครงการแลนด์บริดจ์ ว่า เดิมได้มีการศึกษาไว้ 2 แนวเส้นทางคือ ขนอม-พังงา และขนอม-กระบี่ แต่เนื่องจากติดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากทั้งกระบี่และพังงา เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของไทย
ต่อมา กรมขนส่งทางน้ำและการพาณิชยนาวี ได้มีการศึกษาแนวเส้นทางที่ 3 คือ สงขลา-สูตล เป็นเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด บริเวณ ฝั่งทะเล จ.สตูล มีการศึกษาโครงการท่าเรือน้ำลึกปากบารา ซึ่งสามารถทำเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าขนาดใหญ่ได้ ส่วนฝั่งทะเล จ.สงขลา แม้ว่าน่านน้ำ จะไม่ลึกเท่าใดนัก แต่สามารถสำรวจขยายท่าเรือ ออกไปได้
นอกจากบริเวณท่าเรือน้ำลึกปากบารา จ.สงขลา และบริเวณ กระบี่-ขนอมแล้ว ยังมีการพิจารณาบริเวณพื้นที่ฐานทัพเรือทับละมุ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ฐานทัพเรือทับละมุ เป็นจุดที่เกิดเหตุการณ์ สึนามิ เมื่อเดือนธันวาคม 2547 ทำให้ต้องทบทวนความเหมาะสมใหม่
เด้งผอ.สนข.หลังชง“แลนด์บริดจ์”
ด้านนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งโยกย้ายนายไมตรี ศรีนราวัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมแทนนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ซึ่งจะมาดำรงตำแหน่งแทนนายไมตรี ทั้งนี้นายไมตรี เป็นผู้นำบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากบริษัท ดูไบ เวิล์ค นำเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยตัวเอง
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมว.คมนาคม กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากเห็นว่าการทำงานล่าช้า โดยเฉพาะการดำเนินโครงการรถไฟฟ้า 9 เส้นทางมีความคืบหน้าน้อยมาก ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมต้องการเร่งรัดดำเนินการ
ตั้งนายกฯ นั่งหัวโต๊ะดันเซาท์เทิร์นฯ
นายณัฐวุฒิ แถลงว่า คณะรัฐมนตรีได้พิจารณารายงานความก้าวหน้าการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรม และบริการที่มีศักยภาพของประเทศในอนาคตตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัมนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
รองโฆษกฯ กล่าวต่อว่า แนวทางการพัฒนาชายฝั่งภาคใต้ผลการศึกษาเบื้องต้นสรุปได้ว่าพื้นที่ตลอดแนวชายฝั่ง ทะเลทั้งสองด้านมีความเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจในลักษณะเครือข่ายเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มกรรมท่องเที่ยว กลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ กลุ่มแปรรูปเกษตรกรและพืชพลังงาน และกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตเคมีและพลังงาน ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันมีผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกจำนวน 4 รายสนใจที่ตั้งโรงถลุงเหล็กครบวงจรที่ประเทศไทย
นายณัฐวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับกลไกการดำเนินงานเพื่อให้การวางแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้มีความต่อเนื่องทั้งในระบบนโยบายและระดับปฏิบัติ ทางสศช.เสนอคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ (กพต.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีกระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการรวมทั้งสิ้น 19 คน มีอำนาจหน้าที่พิจารณากำหนดนโยบายบริหารและกำกับดูแลแนงานการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้ในภาพรวมทั้งระบบ เร่งรัดการดำเนินงานและติดตามประเมิณผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบดครงการให้เป็นไปตามโครงการของรัฐบาล
ตีกลับงบ 5.8 หมื่นล้านพัฒนาภาคใต้
นายณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า ตามที่ สศช. เสนอแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้นั้น ครม.เห็นชอบเพียงหลักการของโครงการจำนวน 358 โครงการใน 14 จังหวัด แต่การจัดงบประมาณลงพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 58,000 ล้านบาทนั้นได้ให้สำนักงบประมาณไปจัดทำแผนเพื่อกลับมาพิจารณาใหม่ แต่ได้เห็นชอบในหลักการกรอบงบภาคใต้ปี 52 จำนวน 1.3 หมื่นล้านบาท