สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่ “รัฐสภา” จะมีการปิดสมัยประชุมกันเรียบร้อยแล้ว จะมีการเปิดประชุมสมัยหน้าอีกครั้งก็อีกประมาณ 2-3 เดือนข้างหน้า ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ก็ว่ากันตามกระบวนการขั้นตอนของ “คณะกรรมาธิการ” ที่จะต้องดำเนินการต่อไป
งวดนี้ขอกล่าวถึง “วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา-วันวิสาขบูชา” อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่แล้วสื่อมวลชนทุกแขนง โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ก็ได้ให้ข้อมูลมาเยอะแล้ว “แสงแดด” ขอควันหลงเก็บตกนำมาสาธยายแก่ท่านผู้อ่านก็แล้วกัน ทั้งนี้ “แสงแดด” มักจะกระทำการอธิบายบอกกล่าวกันแทบทุกครั้งไป!
เป็นกรณีที่น่าแปลกใจอย่างมากที่ทั้ง “คนรุ่นเก่า” และ “คนรุ่นใหม่” แม้กระทั่ง “แสงแดด” เอง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ปีหนึ่งๆ จะมีวันสำคัญ 3 ครั้ง กล่าวคือ “วันมาฆบูชา-วันวิสาขบูชา-วันอาสาฬบูชา” และ “วันเข้าพรรษา” ที่จะถือเป็นวันสำคัญที่มีการประกาศเป็น “วันหยุด” ทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่น่าแปลกก็หมายความว่า ทุกปีเราแทบทุกคนต้องมานั่งทบทวนถึงความหมายและความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้ ตลอดจน “หลักการ-คำสั่งสอน” และ “กิจกรรม” สำคัญ โดยที่ต้องขอรับสารภาพว่า “ต้องศึกษาทบทวนทุกปี!”
ยิ่งเด็กสมัยใหม่แล้วไม่ต้องมีการเอ่ยถึงแต่ประการใด เพราะนอกจากไม่รู้เรื่องแล้ว ยังไม่สนใจกันซะอีก ซึ่งในกรณีนี้ต้องบอกว่า “น่าเสียใจ” อย่างสุดซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมาย ความสำคัญ ตลอดจนคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งไม่ “กระดิกหัว-กระดิกหู” แม้แต่น้อย
ขออนุญาตเริ่มถึงความสำคัญของ “วันวิสาขบูชา” ซึ่งเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งยวดทางพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยเป็นวันเดียวกันที่ “พระองค์ท่านพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน” ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือน 6 “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสา-ขบุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” ถ้าปีใดมีอธิกมาสคือมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 8
ปรากฏการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นตรงกัน 3 คราว คือ
“วันประสูติ” เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกันวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
“วันตรัสรู้” หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสด็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี (ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี)
“วันปรินิพพาน” หลังจากพระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกันวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงสำคัญเช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ทรงสั่งสอนประชาชนโดยมิได้ทรงเลือกเพศชั้นวรรณะ พระกรุณาธิคุณพระองค์ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง พระปัญญาธิคุณ และพระองค์ทรงบริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิงทั้งกายวาจาใจ พระบริสุทธิคุณของพระองค์ท่านผู้เป็นดวงประทีปของโลก
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ 1. “ความกตัญญู” คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็นคุณธรรมคู่กับ ความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ผู้ที่ทำอุปการคุณก่อนเรียกว่า บุพการี ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดา มารดา และครูอาจารย์ “บิดามารดา” มีอุปการคุณแก่บุตร ธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ให้ละเว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้ จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก “บุตร ธิดา” เมื่อรู้อุปการคุณที่บิดามารดาทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่านและช่วยทำงานของท่าน
และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน “ครูอาจารย์” มีอุปการคุณแก่ศิษย์ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี สอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบังยกย่องให้ปรากฏแก่คนอื่นและช่วยคุ้มครองศิษย์ทั้งหลาย “ศิษย์” เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารพไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายคนดี ส่งผลให้ครอบครัวและสังคมมีความสุขได้ เพราะบิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และบุตรธิดาก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน สำหรับครูอาจารย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณ คือ สอนศิลปวิทยาอย่างเต็มที่ และศิษย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจเรียน และให้ความเคารพเป็นการตอบแทน
นอกจากจะใช้ในกรณีของบิดามารดากับบุตรธิดา และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อนกับเพื่อนและบุคคลทั่วไปรวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพการีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนา และทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่ผู้ควรแนะนำสั่งสอน จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ การจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชาเป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ด้วยการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป
2. “อริยสัจ 4” คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคนมี 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค “ทุกข์” คือ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า มนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกันทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่และตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ “สมุทัย” คือ เหตุแห่งปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหาของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิด เหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น “นิโรธ” คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ คือปัญหาของชีวิต ทั้งหมดนั้นแก้ไขได้โดยการดับตัณหา คือ ความอยากให้หมดสิ้น “มรรค” คือ ทางหรือวิธีแก้ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่าทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้น ต้องแก้ไขตามมรรคมีองค์ 8
3. “ความไม่ประมาท” คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูด และขณะคิด “สติ” คือ การระลึกรู้ทัน ที่คิด พูด และทำ ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง นอน “การฝึกให้เกิดสติ” ทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถ กล่าวคือ ระลึกรู้ทันทั้งในขณะยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่างๆ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นนี้ “ภาครัฐ” โดยเฉพาะ “กระทรวงศึกษาธิการ” และ “กระทรวงวัฒนธรรม” สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรณรงค์ให้นักเรียนและครอบครัว ตลอดจนสังคมโดยทั่วไป ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของวันสำคัญนี้ และแน่นอนที่สุด “หลักการ-คำสั่งสอน” ที่ประชาชนทั่วไปนำไปยึดถือปฏิบัติ
การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เช่นเดียวกันที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะคนไทยทุกวันนี้ มีแต่การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ มีแต่ “โลภ โกรธ หลง” และ “ตัณหา” จนสังคมและชาติบ้านเมืองจะพังพินาศ เนื่องด้วยผู้คนทั่วไปเริ่มตั้งแต่ กลุ่มบุคคลที่มียศถาบรรดาศักดิ์ ถึงพี่น้องประชาชนระดับล่าง แยกแยะไม่ถูกแล้วว่า “ผิดชอบชั่วดี” เป็นอย่างไร!
งวดนี้ขอกล่าวถึง “วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา-วันวิสาขบูชา” อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่แล้วสื่อมวลชนทุกแขนง โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ก็ได้ให้ข้อมูลมาเยอะแล้ว “แสงแดด” ขอควันหลงเก็บตกนำมาสาธยายแก่ท่านผู้อ่านก็แล้วกัน ทั้งนี้ “แสงแดด” มักจะกระทำการอธิบายบอกกล่าวกันแทบทุกครั้งไป!
เป็นกรณีที่น่าแปลกใจอย่างมากที่ทั้ง “คนรุ่นเก่า” และ “คนรุ่นใหม่” แม้กระทั่ง “แสงแดด” เอง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่ปีหนึ่งๆ จะมีวันสำคัญ 3 ครั้ง กล่าวคือ “วันมาฆบูชา-วันวิสาขบูชา-วันอาสาฬบูชา” และ “วันเข้าพรรษา” ที่จะถือเป็นวันสำคัญที่มีการประกาศเป็น “วันหยุด” ทั้งภาครัฐและเอกชน
ที่น่าแปลกก็หมายความว่า ทุกปีเราแทบทุกคนต้องมานั่งทบทวนถึงความหมายและความสำคัญของวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้ ตลอดจน “หลักการ-คำสั่งสอน” และ “กิจกรรม” สำคัญ โดยที่ต้องขอรับสารภาพว่า “ต้องศึกษาทบทวนทุกปี!”
ยิ่งเด็กสมัยใหม่แล้วไม่ต้องมีการเอ่ยถึงแต่ประการใด เพราะนอกจากไม่รู้เรื่องแล้ว ยังไม่สนใจกันซะอีก ซึ่งในกรณีนี้ต้องบอกว่า “น่าเสียใจ” อย่างสุดซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความหมาย ความสำคัญ ตลอดจนคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยแล้ว ยิ่งไม่ “กระดิกหัว-กระดิกหู” แม้แต่น้อย
ขออนุญาตเริ่มถึงความสำคัญของ “วันวิสาขบูชา” ซึ่งเป็นวันสำคัญอย่างยิ่งยวดทางพระพุทธศาสนา เนื่องด้วยเป็นวันเดียวกันที่ “พระองค์ท่านพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน” ซึ่งเป็นวันเพ็ญเดือน 6 “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสา-ขบุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” ถ้าปีใดมีอธิกมาสคือมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 8
ปรากฏการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นตรงกัน 3 คราว คือ
“วันประสูติ” เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกันวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
“วันตรัสรู้” หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสด็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม (ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย) ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี (ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนมายุได้ 35 พรรษา หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี)
“วันปรินิพพาน” หลังจากพระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมืองกุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ตรงกันวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงสำคัญเช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระองค์ทรงสั่งสอนประชาชนโดยมิได้ทรงเลือกเพศชั้นวรรณะ พระกรุณาธิคุณพระองค์ทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมโพธิญาณด้วยพระองค์เอง พระปัญญาธิคุณ และพระองค์ทรงบริสุทธิ์อย่างสิ้นเชิงทั้งกายวาจาใจ พระบริสุทธิคุณของพระองค์ท่านผู้เป็นดวงประทีปของโลก
หลักธรรมที่ควรปฏิบัติ 1. “ความกตัญญู” คือ ความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว้ก่อนเป็นคุณธรรมคู่กับ ความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ผู้ที่ทำอุปการคุณก่อนเรียกว่า บุพการี ขอยกมากล่าวในที่นี้คือ บิดา มารดา และครูอาจารย์ “บิดามารดา” มีอุปการคุณแก่บุตร ธิดา ในฐานะเป็นผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ ให้การศึกษา อบรมสั่งสอน ให้ละเว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้ จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก “บุตร ธิดา” เมื่อรู้อุปการคุณที่บิดามารดาทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่านและช่วยทำงานของท่าน
และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน “ครูอาจารย์” มีอุปการคุณแก่ศิษย์ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี สอนศิลปวิทยาให้อย่างไม่ปิดบังยกย่องให้ปรากฏแก่คนอื่นและช่วยคุ้มครองศิษย์ทั้งหลาย “ศิษย์” เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารพไม่ล่วงละเมิดโอวาทของครู ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายคนดี ส่งผลให้ครอบครัวและสังคมมีความสุขได้ เพราะบิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และบุตรธิดาก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน สำหรับครูอาจารย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำอุปการคุณ คือ สอนศิลปวิทยาอย่างเต็มที่ และศิษย์ก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการตั้งใจเรียน และให้ความเคารพเป็นการตอบแทน
นอกจากจะใช้ในกรณีของบิดามารดากับบุตรธิดา และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง พระมหากษัตริย์กับพสกนิกร นายจ้างกับลูกจ้าง เพื่อนกับเพื่อนและบุคคลทั่วไปรวมทั้งมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเป็นบุพการีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนา และทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่ผู้ควรแนะนำสั่งสอน จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ การจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชาเป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ด้วยการทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป
2. “อริยสัจ 4” คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึง ความจริงที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคนมี 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค “ทุกข์” คือ ปัญหาของชีวิต พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า มนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกันทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐาน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด การแก่และตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือ ทุกข์ที่เกิดจากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการไม่ได้ตามใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ “สมุทัย” คือ เหตุแห่งปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหาของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิด เหตุนั้น คือ ตัณหา อันได้แก่ ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น “นิโรธ” คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ คือปัญหาของชีวิต ทั้งหมดนั้นแก้ไขได้โดยการดับตัณหา คือ ความอยากให้หมดสิ้น “มรรค” คือ ทางหรือวิธีแก้ปัญหา พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่าทุกข์ คือ ปัญหาของชีวิตทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้น ต้องแก้ไขตามมรรคมีองค์ 8
3. “ความไม่ประมาท” คือ การมีสติทั้งขณะทำ ขณะพูด และขณะคิด “สติ” คือ การระลึกรู้ทัน ที่คิด พูด และทำ ในภาคปฏิบัติเพื่อนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหวอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง นอน “การฝึกให้เกิดสติ” ทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวอิริยาบถ กล่าวคือ ระลึกรู้ทันทั้งในขณะยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้งระลึกรู้ทันในขณะพูดขณะคิด และขณะทำงานต่างๆ
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นนี้ “ภาครัฐ” โดยเฉพาะ “กระทรวงศึกษาธิการ” และ “กระทรวงวัฒนธรรม” สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการรณรงค์ให้นักเรียนและครอบครัว ตลอดจนสังคมโดยทั่วไป ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของวันสำคัญนี้ และแน่นอนที่สุด “หลักการ-คำสั่งสอน” ที่ประชาชนทั่วไปนำไปยึดถือปฏิบัติ
การรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เช่นเดียวกันที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพราะคนไทยทุกวันนี้ มีแต่การแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ มีแต่ “โลภ โกรธ หลง” และ “ตัณหา” จนสังคมและชาติบ้านเมืองจะพังพินาศ เนื่องด้วยผู้คนทั่วไปเริ่มตั้งแต่ กลุ่มบุคคลที่มียศถาบรรดาศักดิ์ ถึงพี่น้องประชาชนระดับล่าง แยกแยะไม่ถูกแล้วว่า “ผิดชอบชั่วดี” เป็นอย่างไร!