รอยเตอร์ - ต้น “ข้าวฟ่างหวาน” ที่มีรูปร่างคล้ายข้าวโพด และสามารถเติบโตได้สูงลิบลิ่ว ในพื้นที่การเกษตรแห้งแล้งที่สุดของโลกหลายๆ บริเวณ มีศักยภาพที่จะกลายเป็นพืชผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพชั้นเยี่ยม แถมไม่ส่งผลให้ซัปพลายอาหารของโลกต้องลดน้อยลงด้วย
มาร์ก วินสโลว์ นักวิจัยของสถาบันวิจัยพืชผลสำหรับเขตร้อนแห้งแล้งระหว่างประเทศบอกว่าข้าวฟ่างหวานที่มีลำต้นสูงราว 3 เมตร และในสหรัฐฯส่วนใหญ่ใช้เลี้ยงสัตว์กันนั้น สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้เป็นอย่างดี โดยที่รวงข้าวซึ่งอยู่ตรงยอดบนสุดของต้นและใช้เป็นอาหารได้ ก็ไม่ได้สูญเปล่าเสียหายอะไรด้วย
วินสโลว์บอกว่า การผลิตเอทานอลจากข้าวโพด ต้องใช้พลังงานประมาณหนึ่งเท่าครึ่งของผลผลิตที่ออกมา ตัวเลขนี้ไม่ตรงกับการศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯที่ระบุว่า จะได้ผลผลิตเอทานอลเป็นหนึ่งเท่าครึ่งของพลังงานซึ่งต้องใช้ไปในการผลิต
แต่ไม่ว่าตัวเลขของใครเป็นฝ่ายถูกต้อง การผลิตเอทานอลจากข้าวโพดก็ยังคงสู้การผลิตจากข้าวฟ่างหวานไม่ได้อยู่ดี วินสโลว์บอกว่า ในประเทศกำลังพัฒนานั้น ข้าวฟ่างหวานสามารถผลิตเชื้อเพลิงได้ถึง 8 หน่วยต่อพลังงาน 1 หน่วยที่ใช้ในการผลิต
แม้กระทั่งในสหรัฐฯ ซึ่งการผลิตจะใช้เครื่องจักรกลที่ทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น การผลิตเอทานอลจากข้าวฟ่างหวานก็ยังคงได้ผลผลิตเป็น 4 เท่าตัวของการผลิตจากข้าวโพดอยู่นั่นเอง
นอกจากนั้น วินสโลว์ชี้ว่า ขณะที่การนำข้าวโพดมาผลิตเอทานอล ได้ทำให้ความต้องการพืชชนิดนี้ในตลาดโลกเพิ่มทะยานขึ้น และไปเบียดปริมาณข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารให้ลดน้อยลง แต่ในกรณีของข้าวฟ่างหวานจะไม่เป็นเช่นนั้น
ข้าวฟ่างหวานเวลานี้ไม่ได้มีการซื้อขายกันระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่แห้งแล้งเพื่อเลี้ยงคนในแถบนั้นเท่านั้น
เวลานี้สถาบันวิจัยที่วินสโลว์ทำงานอยู่ ได้ร่วมมือกับกลุ่มตาต้า กลุ่มธุรกิจขนาดยักษ์ของอินเดีย เพื่อผลิตเอทานอลจากข้าวโพดหวานซึ่งปลูกในแดนภารตะ ให้ได้มากกว่าวันละ 10,000 แกลลอน (40 กิโลลิตร)
ข้อดีทีสุดก็คือ ขณะที่เกษตรกรนำเอาน้ำหวานที่อยู่ภายในลำต้นข้าวฟ่างหวาน ไปขายให้แก่โรงกลั่นเพื่อผลิตเป็นเอทานอลต่อไปนั้น พวกเขาก็ยังคงสามารถนำเอาเมล็ดข้าวฟ่างหวานมารับประทานได้ โดยทำเป็นข้าวต้มหรือขนมปังพื้นบ้าน หรือไม่ก็ใช้เลี้ยงสัตว์
วินสโลว์บอกว่าพืชชนิดนี้สามารถอยู่ได้ในพื้นที่แห้งแล้งไม่มีระบบชลประทาน แล้วก็ยังทนต่อน้ำท่วม หรือแม้แต่สภาพดินที่มีความเค็มสูงในบางลักษณะได้ดีอีก และเนื่องจากมันขึ้นได้ในเขตแห้งแล้ง ดังนั้นจึงไม่เป็นภัยต่อป่าเขตร้อน ต่างไปจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งนิยมปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือการผลิตจากอ้อย ที่ปลูกกันแน่นหนาในบราซิล อันล้วนสร้างปัญหาการโค่นถางป่าเพื่อเอาที่มาปลูกพืชเหล่านี้
เอทานอลที่ทำจากข้าวฟ่างหวาน มีคุณสมบัติเหมือนกับเชื้อเพลิงชีวภาพชนิดอื่นๆ นั่นคือเมื่อเผาไหม้ มันจะไม่เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อน จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่าพวกเชื้อเพลิงซากฟอสซิล อย่างเช่น น้ำมัน, ก๊าซ, ถ่านหิน
และเนื่องจากข้าวฟ่างหวานปลูกกันอยู่ในเขตยากจนที่สุดทั้งในเอเชียและแอฟริกา จึงมีศักยภาพที่จะเก็บทรัพยากรอันมีอยู่จำกัดเหล่านี้ ให้อยู่ในเขตเหล่านี้ต่อไป โดยไม่ต้องส่งไปที่อื่น วินสโลว์ชี้
สถาบันแห่งนี้บอกว่า ข้าวฟ่างหวานนั้นแตกต่างจากข้าวฟ่าง ซึ่งเวลานี้ปลูกกันอยู่บนเนื้อที่ราว 100 ล้านเอเคอร์ทั่วโลก ข้าวฟ่างหวานสามารถที่จะปลูกบนพื้นที่เหล่านั้นได้ประมาณครึ่งหนึ่ง
สหรัฐฯซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวฟ่างรายใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะจัดการประชุมเรื่องการนำเอาข้าวฟ่างมาเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ประเทศอื่นๆ ที่กำลังวิจัยความเป็นไปได้นี้อยู่เช่นกัน ยังมีอาทิ เม็กซิโก เคนยา, ไนจีเรีย, มาลี, โมแซมบิก, ยูกันดา, จีน, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซียและบราซิล
มาร์ก วินสโลว์ นักวิจัยของสถาบันวิจัยพืชผลสำหรับเขตร้อนแห้งแล้งระหว่างประเทศบอกว่าข้าวฟ่างหวานที่มีลำต้นสูงราว 3 เมตร และในสหรัฐฯส่วนใหญ่ใช้เลี้ยงสัตว์กันนั้น สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้เป็นอย่างดี โดยที่รวงข้าวซึ่งอยู่ตรงยอดบนสุดของต้นและใช้เป็นอาหารได้ ก็ไม่ได้สูญเปล่าเสียหายอะไรด้วย
วินสโลว์บอกว่า การผลิตเอทานอลจากข้าวโพด ต้องใช้พลังงานประมาณหนึ่งเท่าครึ่งของผลผลิตที่ออกมา ตัวเลขนี้ไม่ตรงกับการศึกษาของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯที่ระบุว่า จะได้ผลผลิตเอทานอลเป็นหนึ่งเท่าครึ่งของพลังงานซึ่งต้องใช้ไปในการผลิต
แต่ไม่ว่าตัวเลขของใครเป็นฝ่ายถูกต้อง การผลิตเอทานอลจากข้าวโพดก็ยังคงสู้การผลิตจากข้าวฟ่างหวานไม่ได้อยู่ดี วินสโลว์บอกว่า ในประเทศกำลังพัฒนานั้น ข้าวฟ่างหวานสามารถผลิตเชื้อเพลิงได้ถึง 8 หน่วยต่อพลังงาน 1 หน่วยที่ใช้ในการผลิต
แม้กระทั่งในสหรัฐฯ ซึ่งการผลิตจะใช้เครื่องจักรกลที่ทำให้ต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น การผลิตเอทานอลจากข้าวฟ่างหวานก็ยังคงได้ผลผลิตเป็น 4 เท่าตัวของการผลิตจากข้าวโพดอยู่นั่นเอง
นอกจากนั้น วินสโลว์ชี้ว่า ขณะที่การนำข้าวโพดมาผลิตเอทานอล ได้ทำให้ความต้องการพืชชนิดนี้ในตลาดโลกเพิ่มทะยานขึ้น และไปเบียดปริมาณข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารให้ลดน้อยลง แต่ในกรณีของข้าวฟ่างหวานจะไม่เป็นเช่นนั้น
ข้าวฟ่างหวานเวลานี้ไม่ได้มีการซื้อขายกันระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่จะปลูกในพื้นที่แห้งแล้งเพื่อเลี้ยงคนในแถบนั้นเท่านั้น
เวลานี้สถาบันวิจัยที่วินสโลว์ทำงานอยู่ ได้ร่วมมือกับกลุ่มตาต้า กลุ่มธุรกิจขนาดยักษ์ของอินเดีย เพื่อผลิตเอทานอลจากข้าวโพดหวานซึ่งปลูกในแดนภารตะ ให้ได้มากกว่าวันละ 10,000 แกลลอน (40 กิโลลิตร)
ข้อดีทีสุดก็คือ ขณะที่เกษตรกรนำเอาน้ำหวานที่อยู่ภายในลำต้นข้าวฟ่างหวาน ไปขายให้แก่โรงกลั่นเพื่อผลิตเป็นเอทานอลต่อไปนั้น พวกเขาก็ยังคงสามารถนำเอาเมล็ดข้าวฟ่างหวานมารับประทานได้ โดยทำเป็นข้าวต้มหรือขนมปังพื้นบ้าน หรือไม่ก็ใช้เลี้ยงสัตว์
วินสโลว์บอกว่าพืชชนิดนี้สามารถอยู่ได้ในพื้นที่แห้งแล้งไม่มีระบบชลประทาน แล้วก็ยังทนต่อน้ำท่วม หรือแม้แต่สภาพดินที่มีความเค็มสูงในบางลักษณะได้ดีอีก และเนื่องจากมันขึ้นได้ในเขตแห้งแล้ง ดังนั้นจึงไม่เป็นภัยต่อป่าเขตร้อน ต่างไปจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันปาล์ม ซึ่งนิยมปลูกกันมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือการผลิตจากอ้อย ที่ปลูกกันแน่นหนาในบราซิล อันล้วนสร้างปัญหาการโค่นถางป่าเพื่อเอาที่มาปลูกพืชเหล่านี้
เอทานอลที่ทำจากข้าวฟ่างหวาน มีคุณสมบัติเหมือนกับเชื้อเพลิงชีวภาพชนิดอื่นๆ นั่นคือเมื่อเผาไหม้ มันจะไม่เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อันเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อน จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่าพวกเชื้อเพลิงซากฟอสซิล อย่างเช่น น้ำมัน, ก๊าซ, ถ่านหิน
และเนื่องจากข้าวฟ่างหวานปลูกกันอยู่ในเขตยากจนที่สุดทั้งในเอเชียและแอฟริกา จึงมีศักยภาพที่จะเก็บทรัพยากรอันมีอยู่จำกัดเหล่านี้ ให้อยู่ในเขตเหล่านี้ต่อไป โดยไม่ต้องส่งไปที่อื่น วินสโลว์ชี้
สถาบันแห่งนี้บอกว่า ข้าวฟ่างหวานนั้นแตกต่างจากข้าวฟ่าง ซึ่งเวลานี้ปลูกกันอยู่บนเนื้อที่ราว 100 ล้านเอเคอร์ทั่วโลก ข้าวฟ่างหวานสามารถที่จะปลูกบนพื้นที่เหล่านั้นได้ประมาณครึ่งหนึ่ง
สหรัฐฯซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวฟ่างรายใหญ่ที่สุดในโลก กำลังจะจัดการประชุมเรื่องการนำเอาข้าวฟ่างมาเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ ประเทศอื่นๆ ที่กำลังวิจัยความเป็นไปได้นี้อยู่เช่นกัน ยังมีอาทิ เม็กซิโก เคนยา, ไนจีเรีย, มาลี, โมแซมบิก, ยูกันดา, จีน, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซียและบราซิล