‘เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง’ อมตวาจาของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ช่างสอดคล้องยิ่งกับวิกฤตการณ์อาหารที่กำลังรุกรานโลกน้ำเงินครามใบน้อยนี้ ที่ไม่เว้นแม้แต่ไทยที่เคยได้ชื่อว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำสำคัญของภูมิภาค และเป็นประเทศอันดับหนึ่งในการส่งข้าวขายตลาดโลก
ยิ่งกว่านั้นยังแสดงวิสัยทัศน์ท่านว่า ‘ก้าวหน้า’ กว่าภาครัฐมาโดยตลอด เพราะนับแต่รัฐคลอดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี 2504 ก็ต้องรอจวบจนเกือบ 5 ทศวรรษต่อมาแผนฯ ถึงค่อยลงรอยกันกับคำกล่าวท่านที่เอ่ยไว้ไล่เลี่ยกับห้วงกำเนิดแผนฯ 1
ด้วยในแผนฯ 9 ได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมานำทางการพัฒนาและบริหารประเทศ และแผนฯ 10 ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันโดยใช้แนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ
นับเป็นการพลิกบทบาทแผนฯ ในฐานะเครื่องมือกำหนดทิศทางการบริหารพัฒนาประเทศที่ยึดโยงกับการลงทุนหรือใช้ทรัพยากรของสังคม จากมุ่งเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นเพิ่มความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH)
แนวทางสร้างความสุข GNH ทำให้ทั่วโลกต่างตระหนักว่าความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนของประชาชนแนบแน่นกับนโยบายด้านอาหารของรัฐบาลมากกว่าตัวเลขเศรษฐกิจก้าวกระโดด
คุณภาพข้าวปลาอาหารที่ประชาชนบริโภคจึงเป็นยิ่งกว่าการสร้างเสริมสุขภาพปัจเจกตามสำนวน ‘You are what you eat’ ด้วยแท้จริงแล้วยังสะท้อนการบริหารจัดการชาติบ้านเมืองระดับมหภาคของรัฐบาลว่าล้าหลังหรือก้าวเท่าทันทิศทางโลก ด้อยหรือเปี่ยมประสิทธิภาพ
ทว่าว่าก็ว่าเถอะ ขณะวิกฤตอาหารรุมเร้า คนไทยควักกระเป๋าจ่ายมากขึ้นเพียงเพื่อจะได้ข้าวปลาอาหารเท่าเดิมหรือน้อยกว่า รัฐบาลปัจจุบันกลับยังจัดลำดับความสำคัญในการแก้วิกฤตการณ์บ้านเมืองคลาดเคลื่อนจากสถานการณ์ กรอบเวลา และข้อเท็จจริงอยู่มาก
นัยทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้นเป็นภูเขาน้ำแข็งแห่งวิกฤตการณ์อาหารนับว่ามหาศาลและต้องการการเยียวยามากกว่าวาระแก้รัฐธรรมนูญที่ถึงจะเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดวางสัมพันธภาพทางอำนาจของผู้คนในสังคมที่ยังไม่ลงตัว ต้องแก้ไข แต่ก็ต้องไม่รวดเร็วรวบรัดตัดตอน ฉกฉวยฉาบฉวยด้วยเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าสาธารณะ
กระนั้นก็อย่างที่ประจักษ์ การจัดลำดับความสำคัญในภาวะชาติวิกฤตกลับกลายเป็นการช่วงชิงชัยชนะกันระหว่างการแก้รัฐธรรมนูญกับการแก้ปัญหาปากท้องประชาชนอันเนื่องมาจากภาวะข้าวยากหมากแพงไปอย่างช่วยไม่ได้ในท้ายที่สุด!
ทั้งๆ ถ้อยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ได้ยืนยันว่าการบริหารประเทศจักยึดการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม โดยเร่งปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาดและการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค ทั้งที่เป็นตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก
สารัตถะถ้อยแถลงข้างต้นของพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะการหาช่องทางทางการตลาดและเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารโลก แม้มีแนวโน้มว่าจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำแก่ชาวนาจากราคาข้าวราวทองคำได้ ทว่าระหว่างทางถ้าขาดการบริหารจัดการที่ดีก็คงจะละม้ายชะตากรรม ‘ครัวโลก’ นโยบายรัฐบาลไทยรักไทยในปี 2547 ที่เร่งรัดให้มีการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตรวจสอบ รับรอง และติดตามการผลิตพืชผักผลไม้
เพราะด้วยความเร่งรัดในการทำนโยบายครัวโลก อย่าว่าแต่ชาวต่างชาติจะเชื่อมั่นอาหารไทยเลย ขนาดคนไทยเองก็ยังรู้สึกไม่ปลอดภัย ดังผลการสำรวจทั่วประเทศที่พบว่ามีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่เชื่อมั่นต่อความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ขณะที่ร้อยละ 65 เห็นด้วยกับประโยคที่ว่าคนไทยขาดความมั่นใจในตนเองในการบริโภคอาหารและน้ำ
ความเร่งรัดนำไปสู่ความไม่รอบคอบ ไม่ระมัดระวังตัวแปรปัจจัยสอดแทรกอื่นๆ ที่ไม่ได้นำมาคำนวณ มากกว่านั้นยังมักนำความล้มเหลวมาสู่นโยบายสาธารณะนั้นๆ ด้วยขาดบุคลากรชำนาญการและกลไกหนุนเนื่องนโยบายให้เดินหน้าร่วมกันอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน
เพื่อคนไทยร่างกายไม่ผ่ายผอม ท้องแห้งกิ่วลงไปกว่านี้ รัฐบาลควรทบทวนการจัดลำดับความสำคัญ ก่อนกำหนดวาระแห่งชาติใหม่ให้เท่าทันสถานการณ์ สามารถรับมืออนาคตที่กำลังไล่ล่าจากผลิตผลผันผวนทั้งแง่ปริมาณและราคาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร ตลอดจนต้องตอบสนองโลกอนาคตที่ต้นทุนชีวิตจะแพงขึ้นทุกสิ่งอย่าง โดยเฉพาะพลังงานและอาหาร
ไม่ใช่ใช้ตรรกะหยาบๆ ง่ายๆ ว่าข้าวขึ้นราคาเท่าตัว ชาวนาจะได้รับดอกผลไปเต็มๆ เพราะไม่เพียงต้นทุนการผลิตจะทะยานขึ้นเท่าตัวและเกือบเท่าตัวทั้งปุ๋ยเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิง หากค่าครองชีพก็ยังทบทวีขึ้นมากจากการจับจ่ายสินค้ามาบริโภคอุปโภค เฉกเช่นเดียวกับการขึ้นราคาน้ำตาลที่ชาวไร่อ้อยก็ไม่ได้รับอานิสงส์มากนักเมื่อเทียบกับโรงงานและพ่อค้าคนกลาง
มิเอ่ยว่าผู้คนที่สังกัดกลุ่มแรงงานราคาถูกในภาคอุตสาหกรรมหลายสิบล้านคนจะแบกรับภาระค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงมหาศาลอย่างไรไหว ในเมื่อค่าจ้างขั้นต่ำขยับขึ้นไม่ถึง 10 บาท/วัน!
สุดท้ายการถัวเฉลี่ยทุกข์สุขของประชาชนในฐานะผู้บริโภค ไมตรีมิตรที่คนไทยพร้อมหยิบยื่นแก่กระดูกสันหลังของชาติที่นับวันจะผุกร่อนลงเรื่อยๆ ก็ไม่อาจทลาย ‘วงจรชีวิตเบี้ยล่าง’ ของเกษตรกรที่ถูกกัดกินโดยบรรษัทเกษตรที่ผูกขาดปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ครอบครองที่ดิน และเมล็ดพันธุ์ข้าวกว่า 2 ใน 3 รวมถึงการไม่นำพาปัญหาปากท้องประชาชนของรัฐบาล
กระบวนการจัดลำดับความสำคัญ (Priority setting) เพื่อแก้วิกฤตชาติจึงควรเริ่มด้วยการจัดกระบวนการให้ประชาชน โดยเฉพาะชาวไร่ชาวนา ในฐานะ ‘ผู้มีส่วนได้เสีย’ ได้มีโอกาสเข้าร่วมสร้างและทำความเข้าใจในเป้าหมายของชาติ (National goals) อย่างตรงกันกระจ่างแจ้งว่าแท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ระหว่างการแก้สารพัดสินค้าราคาแพงกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แม้นเป้าหมายของชาติจะเป็นไปได้หลากหลายผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาตามเจตจำนงรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หรือกระทั่งมาตรการของแต่ละกระทรวงเพื่อรับมือปัญหาเฉพาะหน้าเฉพาะด้าน
หากแต่ทุกนโยบายสาธารณะที่ถูกนำมาปฏิบัติในนามเป้าหมายของชาติก็ควรพัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจรากฐาน สร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศในอนาคตเป็นสำคัญ
สำหรับวิกฤตอาหารโลกรุกรานไทย กระบวนการมองอนาคต (Foresight approach) อันเป็นหนึ่งในเทคนิควิธีการจัดลำดับความสำคัญแบบการสังเคราะห์ความเห็นร่วมจากสมัชชาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Consultation and consensus based) ที่เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันขยายกรอบความคิดเพื่อวางแผนสร้างอนาคตระยะกลางและยาว โดยนอกเหนือจากนำปัจจัยสำคัญในอดีตถึงปัจจุบันมาคิดคำนวณแล้ว ยังมีกลไกสำรวจและประเมินเหตุการณ์ที่อาจเกิดภายภาคหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้จึงสอดรับกับสภาวะวิกฤตปัจจุบันยิ่ง
ด้วยขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของชาติไทยในเวทีโลกที่ทวีขึ้นจากการจัดลำดับความสำคัญให้วิกฤตอาหารเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขให้ลุล่วงแทนแก้รัฐธรรมนูญนั้นย่อมก่อคุณูปการต่อประเทศทั้งภายในอย่างการคลี่คลายข้าวยากหมากแพง เกษตรกรขายผลิตผลได้ราคาสูงขึ้น และภายนอกที่สามารถเก็บเกี่ยวเม็ดเงินมากมายจากการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร
อีกทั้งยังน่าจะรักษาฐานเสียงรัฐบาลที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ ‘ดีกว่า’ การพักหนี้เกษตรกรายย่อยและยากจนที่แถลงต่อรัฐสภาอีกด้วย
อย่างไรก็ดีสำหรับเมืองไทย กระบวนการจัดลำดับความสำคัญในทางปฏิบัตินั้น นอกเหนือเงื่อนไขเวลาและสถานการณ์ ก็มักมี ‘วุฒิภาวะ-วาระซ่อนเร้น’ เป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจเสมอๆ ดังสะท้อนอยู่ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณ ความเอาใจใส่ปัญหา การสร้างกลไกที่ทำให้ผลการจัดลำดับความสำคัญมีอิทธิพลต่อทิศทางการลงทุน รวมถึงการวิจัยและพัฒนา (R&D)
การจัดลำดับความสำคัญของไทยส่วนใหญ่จึงอยู่บนพื้นฐานของการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง การล็อบบี้นักการเมืองให้สนับสนุนหรือลงทุนในธุรกิจตนเองหรือในกลุ่มของตน ฉะนั้นถึงรัฐบาลจะหันมาคลี่คลายวิกฤตอาหาร แต่ภารกิจสาธารณชนก็ยังไม่จบเพราะต้องติดตามตรวจสอบว่าเอื้อประโยชน์บรรษัทเกษตรยักษ์ใหญ่มากกว่าเกษตรกรคนปลายอ้อปลายแขมหรือไม่
ถึงวันนี้ไทยไร้การประท้วงรุนแรงอันเนื่องมาจากวิกฤตขาดแคลนอาหารหรืออาหารราคาแพงอย่างประเทศเปรู เลบานอน อียิปต์ อาร์เจนตินา เวียดนาม อินโดนีเซีย อัฟกานิสถาน และล่าสุดพม่า ทว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารและน้ำของไทยที่ค่อยทยอยถดถอยก็ทำให้คำกล่าว ‘อยู่เมืองไทยไม่มีใครอดตาย’ และ ‘ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว’ เป็นแค่ภาพอดีตเสื่อมมนต์ขลัง
ตรงข้ามกลับขับเน้นอมตวาจาของ ม.จ.สิทธิพร ผู้อุทิศชีวิตเพื่อความยุติธรรมของชาวไร่ชาวนาและอยู่ดีกินดีของคนไทยจนโดดเด่น ด้วยประจักษ์ชัดแล้วว่า ‘วิสัยทัศน์อกาลิโก’ ไม่ขึ้นกับกาลของท่านทั้งก้าวหน้า แหลมคม และพ้นกรอบจนนำมาเป็นทิศทางจัดลำดับความสำคัญในภาวะชาติวิกฤตในเกือบห้าทศวรรษต่อมาได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถสร้างเสริมภาวะของมนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ตามนิยามสุขภาพของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้อย่างลุ่มลึกด้วย
‘เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง’ จึงจริงแท้อย่างนั้นทุกยุคทุกสมัย.
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
ยิ่งกว่านั้นยังแสดงวิสัยทัศน์ท่านว่า ‘ก้าวหน้า’ กว่าภาครัฐมาโดยตลอด เพราะนับแต่รัฐคลอดแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เมื่อปี 2504 ก็ต้องรอจวบจนเกือบ 5 ทศวรรษต่อมาแผนฯ ถึงค่อยลงรอยกันกับคำกล่าวท่านที่เอ่ยไว้ไล่เลี่ยกับห้วงกำเนิดแผนฯ 1
ด้วยในแผนฯ 9 ได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมานำทางการพัฒนาและบริหารประเทศ และแผนฯ 10 ได้กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันโดยใช้แนวปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ
นับเป็นการพลิกบทบาทแผนฯ ในฐานะเครื่องมือกำหนดทิศทางการบริหารพัฒนาประเทศที่ยึดโยงกับการลงทุนหรือใช้ทรัพยากรของสังคม จากมุ่งเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) เป็นเพิ่มความสุขมวลรวมประชาชาติ (GNH)
แนวทางสร้างความสุข GNH ทำให้ทั่วโลกต่างตระหนักว่าความอยู่เย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนของประชาชนแนบแน่นกับนโยบายด้านอาหารของรัฐบาลมากกว่าตัวเลขเศรษฐกิจก้าวกระโดด
คุณภาพข้าวปลาอาหารที่ประชาชนบริโภคจึงเป็นยิ่งกว่าการสร้างเสริมสุขภาพปัจเจกตามสำนวน ‘You are what you eat’ ด้วยแท้จริงแล้วยังสะท้อนการบริหารจัดการชาติบ้านเมืองระดับมหภาคของรัฐบาลว่าล้าหลังหรือก้าวเท่าทันทิศทางโลก ด้อยหรือเปี่ยมประสิทธิภาพ
ทว่าว่าก็ว่าเถอะ ขณะวิกฤตอาหารรุมเร้า คนไทยควักกระเป๋าจ่ายมากขึ้นเพียงเพื่อจะได้ข้าวปลาอาหารเท่าเดิมหรือน้อยกว่า รัฐบาลปัจจุบันกลับยังจัดลำดับความสำคัญในการแก้วิกฤตการณ์บ้านเมืองคลาดเคลื่อนจากสถานการณ์ กรอบเวลา และข้อเท็จจริงอยู่มาก
นัยทั้งเปิดเผยและซ่อนเร้นเป็นภูเขาน้ำแข็งแห่งวิกฤตการณ์อาหารนับว่ามหาศาลและต้องการการเยียวยามากกว่าวาระแก้รัฐธรรมนูญที่ถึงจะเป็นกฎหมายสูงสุดในการจัดวางสัมพันธภาพทางอำนาจของผู้คนในสังคมที่ยังไม่ลงตัว ต้องแก้ไข แต่ก็ต้องไม่รวดเร็วรวบรัดตัดตอน ฉกฉวยฉาบฉวยด้วยเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าสาธารณะ
กระนั้นก็อย่างที่ประจักษ์ การจัดลำดับความสำคัญในภาวะชาติวิกฤตกลับกลายเป็นการช่วงชิงชัยชนะกันระหว่างการแก้รัฐธรรมนูญกับการแก้ปัญหาปากท้องประชาชนอันเนื่องมาจากภาวะข้าวยากหมากแพงไปอย่างช่วยไม่ได้ในท้ายที่สุด!
ทั้งๆ ถ้อยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ได้ยืนยันว่าการบริหารประเทศจักยึดการสร้างสมดุลและภูมิคุ้มกันให้แก่เศรษฐกิจของประเทศด้วยนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตรกรรม โดยเร่งปรับโครงสร้างการผลิตทางการเกษตรให้สอดคล้องกับโอกาสทางการตลาดและการเปลี่ยนแปลงรสนิยมของผู้บริโภค ทั้งที่เป็นตลาดเดิมและตลาดใหม่ โดยกำหนดยุทธศาสตร์ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลก
สารัตถะถ้อยแถลงข้างต้นของพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะการหาช่องทางทางการตลาดและเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารโลก แม้มีแนวโน้มว่าจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รวมถึงสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำแก่ชาวนาจากราคาข้าวราวทองคำได้ ทว่าระหว่างทางถ้าขาดการบริหารจัดการที่ดีก็คงจะละม้ายชะตากรรม ‘ครัวโลก’ นโยบายรัฐบาลไทยรักไทยในปี 2547 ที่เร่งรัดให้มีการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตรวจสอบ รับรอง และติดตามการผลิตพืชผักผลไม้
เพราะด้วยความเร่งรัดในการทำนโยบายครัวโลก อย่าว่าแต่ชาวต่างชาติจะเชื่อมั่นอาหารไทยเลย ขนาดคนไทยเองก็ยังรู้สึกไม่ปลอดภัย ดังผลการสำรวจทั่วประเทศที่พบว่ามีเพียงร้อยละ 8 เท่านั้นที่เชื่อมั่นต่อความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ขณะที่ร้อยละ 65 เห็นด้วยกับประโยคที่ว่าคนไทยขาดความมั่นใจในตนเองในการบริโภคอาหารและน้ำ
ความเร่งรัดนำไปสู่ความไม่รอบคอบ ไม่ระมัดระวังตัวแปรปัจจัยสอดแทรกอื่นๆ ที่ไม่ได้นำมาคำนวณ มากกว่านั้นยังมักนำความล้มเหลวมาสู่นโยบายสาธารณะนั้นๆ ด้วยขาดบุคลากรชำนาญการและกลไกหนุนเนื่องนโยบายให้เดินหน้าร่วมกันอย่างต่อเนื่องทั้งจากภาครัฐและเอกชน
เพื่อคนไทยร่างกายไม่ผ่ายผอม ท้องแห้งกิ่วลงไปกว่านี้ รัฐบาลควรทบทวนการจัดลำดับความสำคัญ ก่อนกำหนดวาระแห่งชาติใหม่ให้เท่าทันสถานการณ์ สามารถรับมืออนาคตที่กำลังไล่ล่าจากผลิตผลผันผวนทั้งแง่ปริมาณและราคาสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร ตลอดจนต้องตอบสนองโลกอนาคตที่ต้นทุนชีวิตจะแพงขึ้นทุกสิ่งอย่าง โดยเฉพาะพลังงานและอาหาร
ไม่ใช่ใช้ตรรกะหยาบๆ ง่ายๆ ว่าข้าวขึ้นราคาเท่าตัว ชาวนาจะได้รับดอกผลไปเต็มๆ เพราะไม่เพียงต้นทุนการผลิตจะทะยานขึ้นเท่าตัวและเกือบเท่าตัวทั้งปุ๋ยเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิง หากค่าครองชีพก็ยังทบทวีขึ้นมากจากการจับจ่ายสินค้ามาบริโภคอุปโภค เฉกเช่นเดียวกับการขึ้นราคาน้ำตาลที่ชาวไร่อ้อยก็ไม่ได้รับอานิสงส์มากนักเมื่อเทียบกับโรงงานและพ่อค้าคนกลาง
มิเอ่ยว่าผู้คนที่สังกัดกลุ่มแรงงานราคาถูกในภาคอุตสาหกรรมหลายสิบล้านคนจะแบกรับภาระค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงมหาศาลอย่างไรไหว ในเมื่อค่าจ้างขั้นต่ำขยับขึ้นไม่ถึง 10 บาท/วัน!
สุดท้ายการถัวเฉลี่ยทุกข์สุขของประชาชนในฐานะผู้บริโภค ไมตรีมิตรที่คนไทยพร้อมหยิบยื่นแก่กระดูกสันหลังของชาติที่นับวันจะผุกร่อนลงเรื่อยๆ ก็ไม่อาจทลาย ‘วงจรชีวิตเบี้ยล่าง’ ของเกษตรกรที่ถูกกัดกินโดยบรรษัทเกษตรที่ผูกขาดปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ครอบครองที่ดิน และเมล็ดพันธุ์ข้าวกว่า 2 ใน 3 รวมถึงการไม่นำพาปัญหาปากท้องประชาชนของรัฐบาล
กระบวนการจัดลำดับความสำคัญ (Priority setting) เพื่อแก้วิกฤตชาติจึงควรเริ่มด้วยการจัดกระบวนการให้ประชาชน โดยเฉพาะชาวไร่ชาวนา ในฐานะ ‘ผู้มีส่วนได้เสีย’ ได้มีโอกาสเข้าร่วมสร้างและทำความเข้าใจในเป้าหมายของชาติ (National goals) อย่างตรงกันกระจ่างแจ้งว่าแท้จริงแล้วคืออะไรกันแน่ระหว่างการแก้สารพัดสินค้าราคาแพงกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แม้นเป้าหมายของชาติจะเป็นไปได้หลากหลายผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาตามเจตจำนงรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หรือกระทั่งมาตรการของแต่ละกระทรวงเพื่อรับมือปัญหาเฉพาะหน้าเฉพาะด้าน
หากแต่ทุกนโยบายสาธารณะที่ถูกนำมาปฏิบัติในนามเป้าหมายของชาติก็ควรพัฒนาความเข้มแข็งเศรษฐกิจรากฐาน สร้างความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศในอนาคตเป็นสำคัญ
สำหรับวิกฤตอาหารโลกรุกรานไทย กระบวนการมองอนาคต (Foresight approach) อันเป็นหนึ่งในเทคนิควิธีการจัดลำดับความสำคัญแบบการสังเคราะห์ความเห็นร่วมจากสมัชชาผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Consultation and consensus based) ที่เน้นการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาร่วมกันขยายกรอบความคิดเพื่อวางแผนสร้างอนาคตระยะกลางและยาว โดยนอกเหนือจากนำปัจจัยสำคัญในอดีตถึงปัจจุบันมาคิดคำนวณแล้ว ยังมีกลไกสำรวจและประเมินเหตุการณ์ที่อาจเกิดภายภาคหน้าตามระยะเวลาที่กำหนดไว้จึงสอดรับกับสภาวะวิกฤตปัจจุบันยิ่ง
ด้วยขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ของชาติไทยในเวทีโลกที่ทวีขึ้นจากการจัดลำดับความสำคัญให้วิกฤตอาหารเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขให้ลุล่วงแทนแก้รัฐธรรมนูญนั้นย่อมก่อคุณูปการต่อประเทศทั้งภายในอย่างการคลี่คลายข้าวยากหมากแพง เกษตรกรขายผลิตผลได้ราคาสูงขึ้น และภายนอกที่สามารถเก็บเกี่ยวเม็ดเงินมากมายจากการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์อาหาร
อีกทั้งยังน่าจะรักษาฐานเสียงรัฐบาลที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้ ‘ดีกว่า’ การพักหนี้เกษตรกรายย่อยและยากจนที่แถลงต่อรัฐสภาอีกด้วย
อย่างไรก็ดีสำหรับเมืองไทย กระบวนการจัดลำดับความสำคัญในทางปฏิบัตินั้น นอกเหนือเงื่อนไขเวลาและสถานการณ์ ก็มักมี ‘วุฒิภาวะ-วาระซ่อนเร้น’ เป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจเสมอๆ ดังสะท้อนอยู่ในกระบวนการจัดสรรงบประมาณ ความเอาใจใส่ปัญหา การสร้างกลไกที่ทำให้ผลการจัดลำดับความสำคัญมีอิทธิพลต่อทิศทางการลงทุน รวมถึงการวิจัยและพัฒนา (R&D)
การจัดลำดับความสำคัญของไทยส่วนใหญ่จึงอยู่บนพื้นฐานของการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมือง การล็อบบี้นักการเมืองให้สนับสนุนหรือลงทุนในธุรกิจตนเองหรือในกลุ่มของตน ฉะนั้นถึงรัฐบาลจะหันมาคลี่คลายวิกฤตอาหาร แต่ภารกิจสาธารณชนก็ยังไม่จบเพราะต้องติดตามตรวจสอบว่าเอื้อประโยชน์บรรษัทเกษตรยักษ์ใหญ่มากกว่าเกษตรกรคนปลายอ้อปลายแขมหรือไม่
ถึงวันนี้ไทยไร้การประท้วงรุนแรงอันเนื่องมาจากวิกฤตขาดแคลนอาหารหรืออาหารราคาแพงอย่างประเทศเปรู เลบานอน อียิปต์ อาร์เจนตินา เวียดนาม อินโดนีเซีย อัฟกานิสถาน และล่าสุดพม่า ทว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารและน้ำของไทยที่ค่อยทยอยถดถอยก็ทำให้คำกล่าว ‘อยู่เมืองไทยไม่มีใครอดตาย’ และ ‘ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว’ เป็นแค่ภาพอดีตเสื่อมมนต์ขลัง
ตรงข้ามกลับขับเน้นอมตวาจาของ ม.จ.สิทธิพร ผู้อุทิศชีวิตเพื่อความยุติธรรมของชาวไร่ชาวนาและอยู่ดีกินดีของคนไทยจนโดดเด่น ด้วยประจักษ์ชัดแล้วว่า ‘วิสัยทัศน์อกาลิโก’ ไม่ขึ้นกับกาลของท่านทั้งก้าวหน้า แหลมคม และพ้นกรอบจนนำมาเป็นทิศทางจัดลำดับความสำคัญในภาวะชาติวิกฤตในเกือบห้าทศวรรษต่อมาได้ ไม่เพียงเท่านั้นยังสามารถสร้างเสริมภาวะของมนุษย์ให้สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิต ปัญญา และสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ตามนิยามสุขภาพของ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ได้อย่างลุ่มลึกด้วย
‘เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง’ จึงจริงแท้อย่างนั้นทุกยุคทุกสมัย.
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org