ผู้จัดการออนไลน์ – เปิดข้อเสนอฝ่าวิกฤตการณ์อาหาร หนุนเกษตรกรรายย่อยกระจายการผลิต ต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนาสายพันธุ์ สร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน แนะออกกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เร่งรัดปฏิรูปที่ดิน จัดโซนนิ่งผลิตพืชอาหารให้มากกว่าพืชพลังงาน เตือนสังคมไทยอย่าหลงเชื่อแผนพัฒนาภาคเกษตรลมปากของบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มุ่งผูกขาดและแสวงหากำไรเป็นหลัก
วิกฤตอาหารเป็นเรื่องหวั่นวิตกกันทั่วโลกถึงขั้นที่สหประชาชาติ ต้องตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาสู้กับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นจากราคาอาหารแพงและขาดแคลนเพราะมาตรการห้ามส่งออกของประเทศผู้ผลิต แต่แม้กระทั่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวเลี้ยงชาวโลก ก็ยังหนีไม่พ้นวิกฤตการณ์ดังกล่าว การแสวงหาทางรอดอย่างยั่งยืนจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนัก
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ผู้ติดตามการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างยาวนาน มีข้อเสนอสำหรับประเทศไทยเพื่อไปให้พ้นวิกฤตการณ์อาหารว่า การมีพื้นที่การผลิตอย่างเพียงพอและการกระจายการผลิตอาหารโดยเกษตรกรรายย่อยคือหัวใจของความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย มิใช่การพึ่งพาการผลิตอาหารจากต่างประเทศ และการพึ่งพาบรรษัทขนาดใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารแทนแต่อย่างใด
ที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้อย่างพอเพียงเพราะมีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ปลูกข้าวครึ่งหนึ่งของพื้นที่การเกษตร และมีเกษตรกรรายย่อยเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำ ชาวนาไทยจึงมีความสามารถในการแข่งขันได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรในประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งแม้ว่าระดับราคาอาหารจะสูงขึ้น แต่รัฐบาลเขายังคงมีมาตรการสนับสนุนการเกษตรในระดับสูง
สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่เงื่อนไขทั้งหมดในการรักษาความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการแข่งขันของไทย
“การลดพื้นที่ปลูกข้าวและเปลี่ยนไปใช้แบบแผนทางเทคโนโลยีแบบเดียวกับที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไต้หวัน ตามข้อเสนอของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จะทำให้ความสามารถในการรักษาความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลง แต่เพิ่มโอกาสการแสวงหากำไรให้บรรษัทเอกชน ที่จริงแล้วบริษัทนี้เคยนำเสนอแนวความคิดนี้โดยการทำโครงการนาข้าวครบวงจรที่พื้นที่ชลประทานแม่กลองเมื่อประมาณปี 2530 แต่กลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะต้นทุนการผลิตสูงเกินกว่าเกษตรกรจะรับได้ ชาวนาเกือบทั้งหมดหันหลังให้กับบริษัทภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี”
ดังนั้น ความมั่นคงทางอาหารของไทยจึงมีรากฐานอยู่ที่การพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหารในระดับครัวเรือน และระดับประเทศ เป็นสำคัญ เช่น จากการสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่า ครัวเรือนการเกษตรในภาคกลางและภาคอีสานนั้นสามารถพึ่งพาอาหารจากในไร่นาของตนได้ประมาณ 40% ปัจจัยสำคัญเนื่องจากสองภาคนี้ผลิตข้าวเป็นหลักจึงมีข้าวและอาหารอื่นๆที่ได้จากพื้นนา การพึ่งพาตนเองได้ในระดับครอบครัวยังสามารถเกื้อกูลให้แรงงานชั่วคราว หรือลูกหลานของเกษตรกรที่ไปทำงานในเมืองและโรงงานมีหลักประกันการเข้าถึงอาหารในระดับหนึ่งด้วย
***ข้อเสนอสร้างฐานความมั่นคงอาหาร
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ความมั่นคงทางอาหารไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้กรอบความคิดเรื่องอาหารเป็นสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าทั่วไปที่มีเป้าหมายการผลิตเพื่อแสวงหากำไร แต่ต้องเห็นว่าอาหารเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่มนุษย์ทุกคนพึงมีสิทธิที่จะเข้าถึงอาหารได้ โดยการพึ่งพาตนเองทางอาหารนั้นต้องพยายามให้เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศก่อนเป็นพื้นฐาน
การที่นายกรัฐมนตรีของไทยแสดงความไม่พอใจต่อองค์การระหว่างประเทศโดยเฉพาะธนาคารโลก ที่เรียกร้องให้ประเทศไทยผลิตอาหารให้มากพอเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่หิวโหย มีส่วนถูก เพราะธนาคารโลกไม่ได้เห็นความสำคัญของการพึ่งพาตนเองของแต่ละประเทศหรือที่เรียกว่าอธิปไตยทางอาหาร สถาบันการเงินและกลไกทางการค้าของโลกปัจจุบันไม่นำพาที่จะทำให้ประเทศยากจนสามารถผลิตอาหารได้ด้วยตนเองและพึ่งพาอาหารได้ แต่กลับสนับสนุนบทบาทของบรรษัทในการผลิตและกระจายอาหาร ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการผูกขาดกระบวนการผลิตและกระจายอาหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
หากจะว่าไปแล้วประเทศไทยได้รับเอาแนวความคิดของธนาคารโลก สถาบันทางการเงิน และกลไกทางการค้าที่มีชุดแนวความคิดเดียวกันมาเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดังตัวอย่างที่ได้ส่งเสริมการค้าเสรีที่สร้างผลกระทบอย่างสำคัญต่อการผลิตทางอาหารของประเทศ ดังกรณีเกษตรกรที่ปลูกกระเทียม และเลี้ยงโคเนื้อ-โคนม ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้ากับจีนและออสเตรเลีย เป็นต้น
ดังนั้น ปรัชญาสำหรับการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงทางอาหารและหลุดพ้นวิกฤติการณ์ด้านอาหารและพลังงานคือการยึดแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ให้ความสำคัญกับสร้างกับการกระจายการถือครองทรัพยากร และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนส่วนใหญ่
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี มองว่า วิกฤตการณ์อาหารที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสของเกษตรกรและชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่มีแนวโน้มว่าเป็นวิกฤติการณ์ของเกษตรกรและชาวนาไร้ที่ดิน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดให้มีการกระจายการถือครองทรัพยากร และการปฎิรูปที่ดิน โดยเกษตรกรและผู้ไร้ที่ดินหรือผู้ที่ไม่มีความมั่นคงในที่ดินต้องรวมตัวกันเป็นพื้นฐานโดยไม่ต้องหวังว่ารัฐบาลจะเป็นผู้นำที่ทำหน้าที่นี้
ภายใต้วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภาคประชาชนต้องรวมกันและสนับสนุนให้เกิดองค์กรและขบวนการของประชาชนเพื่อการปฎิรูปที่ดิน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นรากฐานและเป็นหัวใจสำคัญที่แท้จริงของประชาธิปไตยและการพัฒนาของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบัน
ส่วนปัญหาเฉพาะหน้าที่เกษตรกรและชาวนาถูกขับออกจากที่ดินทำกินที่ตนเองเช่าอยู่ อาจดำเนินการโดยอาศัยกลไกทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการที่บรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาได้บ้าง
นายวิฑูรย์ ยังชี้ว่า ภายใต้บริบทของการผลิตอาหารปัจจุบันมิได้มีเพียงปัจจัยเรื่องของที่ดินเท่านั้น แต่การควบคุมเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมเมล็ดพันธุ์ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตและการพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหาร ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยต้องดำเนินการในหลายทางควบคู่กันไป กล่าวคือ
1) ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เป็นประโยชน์ต่อการผลิตอาหารให้มากที่สุดโดยใช้ระบบการผลิตแบบผสมผสานที่ไม่เน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ตลอดจนนำเอาพืชพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารมากมาใช้ประโยชน์ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว และการเกษตรผสมผสานรูปแบบต่างๆ โดยผลิตเพื่อบริโภคในครอบครัวก่อนส่วนที่เหลือจึงขาย
การเกษตรแบบผสมผสานจะเกื้อกูลให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ การผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นการลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากฟอสซิล
2) ควรพัฒนาเทคโนโลยีตามแนวทางแบบไทย ไม่ใช่การเดินตามสถาบันวิจัยการเกษตรระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก หรือการใช้เทคโนโลยีของบรรษัทที่มุ่งหวังผลกำไรของตนเป็นหลัก โดยการการต่อยอดภูมิปัญญาด้านการเกษตรจากปราชญ์ชาวบ้าน และการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่เหมาะสมและยืนบนขาของตนเอง เช่น การพัฒนาจุลินทรีย์ และสารชีวภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม โดยไม่ต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์ลูกผสม หรือพืชจีเอ็มโอของบรรษัทข้ามชาติ
ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ได้เกิดกระบวนการพัฒนาจุลินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อปรับปรุงดิน โดยที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และขยายผลโดยเกษตรกร และองค์กรภาคประชาสังคม มีจำนวนเกษตรกรนับแสนๆรายที่กำลังดำเนินกิจกรรมนี้ โดยได้รับการสนับสนุนน้อยมากจากรัฐบาล
3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปรับปรุงพันธุ์ข้าว และส่งเสริมให้เกิดหน่วยผลิตพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืชของเกษตรกรขึ้นมาเอง โดยยังคงให้ความสำคัญกับการวิจัยของภาคสาธารณะ แต่ปรับบทบาทให้มาสนับสนุนเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อการพึ่งพาตนเองในเรื่องพันธุกรรม
ตัวอย่างเช่น ขณะนี้มูลนิธิข้าวขวัญ และเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกซึ่งมีสมาชิกในเครือข่ายหลายหมื่นคน กำลังดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาพันธุ์ที่ไม่ต้องการปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตร จนได้สายพันธุ์ข้าวหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์นั้นได้ผลผลิตถึง 1,500-1,600 กิโลกรัม/ไร่ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย เป็นต้น
4) รักษาสัดส่วนการผลิตพืชอาหารให้ได้ในระดับที่มากกว่าพืชพลังงาน รวมถึงการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เหตุต้องรักษาพืชอาหารให้ได้ในระดับที่มากกว่าพืชพลังงานเนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต รวมทั้งต้องรักษาพื้นที่การผลิตอาหารให้ได้ในระดับที่เพียงพอ โดยประกาศเขตพื้นที่ตามข้อเสนอของชุมชนท้องถิ่น และชุมชนเกษตรกรรม เป็นเขตสำหรับการผลิตอาหาร โดยไม่จำกัดเฉพาะข้าวเท่านั้น แต่ให้ครอบคลุมการผลิตอาหารในระบบต่างๆ เช่น เขตไร่หมุนเวียน ชาวประมงขนาดเล็ก เป็นต้น
5) ปัญหาของประเทศไทยมิได้อยู่ที่การผลิตอาหารไม่เพียงพอ แต่ปัญหาอยุ่ที่มีประชาชนในประเทศจำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ หรือได้รับอาหารที่ไม่มีคุณภาพ เป็นความรับผิดชอบทางจริยธรรมของรัฐบาลและสังคมไทยที่จะต้องจัดการไม่ให้มีผู้อดอยากหิวโหยในประเทศ โดยสิทธิในการเข้าถึงอาหารและการได้รับอาหารที่มีคุณภาพควรจะเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับที่เกษตรกรควรจะมีสิทธิในที่ดิน และได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
6) จัดสรรงบประมาณของรัฐบาลจำนวนอย่างน้อย 50% ที่ใช้สำหรับการจัดซื้อปุ๋ยเคมี และสารเคมีการเกษตร หรือบางส่วนจากกองทุนน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อสนับสนุนองค์กรอิสระ ปราชญ์ชาวบ้าน ในการพัฒนาเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี และสารเคมีการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวกับการผลิต การกระจายอาหาร การรณรงค์การบริโภคอาหารท้องถิ่น ที่ลดการใช้พลังงาน เป็นต้น
7) เกษตรกร องค์กรภาคประชาชน เครือข่ายของผู้บริโภค ต้องเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร มิฉะนั้นบรรษัทขนาดใหญ่ทั้งที่เป็นบรรษัทข้ามชาติและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในประเทศจะผลักดันทิศทางการเกษตรและพลังงานไปในทิศทางที่พวกเขาเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ แต่เกษตรกร ผู้บริโภค และประชาชนทั่วไปจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
และ 8) สร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยการบริจาคอาหาร หรือแลกเปลี่ยนอาหารกับประเทศต่างๆ โดยไม่พึ่งพากลไกการตลาดและการค้าแต่เพียงอย่างเดียว
“มีคำกล่าวที่มักถูกอ้างอิงบ่อยๆว่า ทุกวิกฤติล้วนแล้วแต่มีโอกาสซ่อนอยู่ แต่ประเด็นสำคัญก็คือเราไม่เพียงแต่ต้องแปรวิกฤตให้เป็นโอกาสเท่านั้น แต่ต้องแปรวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาสสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ และใช้สถานการณ์เหล่านี้เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วย”
วิกฤตอาหารเป็นเรื่องหวั่นวิตกกันทั่วโลกถึงขั้นที่สหประชาชาติ ต้องตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาสู้กับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นจากราคาอาหารแพงและขาดแคลนเพราะมาตรการห้ามส่งออกของประเทศผู้ผลิต แต่แม้กระทั่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ผลิตข้าวเลี้ยงชาวโลก ก็ยังหนีไม่พ้นวิกฤตการณ์ดังกล่าว การแสวงหาทางรอดอย่างยั่งยืนจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องตระหนัก
นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ผู้ติดตามการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างยาวนาน มีข้อเสนอสำหรับประเทศไทยเพื่อไปให้พ้นวิกฤตการณ์อาหารว่า การมีพื้นที่การผลิตอย่างเพียงพอและการกระจายการผลิตอาหารโดยเกษตรกรรายย่อยคือหัวใจของความมั่นคงทางอาหารของประเทศไทย มิใช่การพึ่งพาการผลิตอาหารจากต่างประเทศ และการพึ่งพาบรรษัทขนาดใหญ่เป็นผู้ผลิตอาหารแทนแต่อย่างใด
ที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถผลิตข้าวได้อย่างพอเพียงเพราะมีพื้นที่ปลูกข้าวเป็นจำนวนมาก มีพื้นที่ปลูกข้าวครึ่งหนึ่งของพื้นที่การเกษตร และมีเกษตรกรรายย่อยเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำ ชาวนาไทยจึงมีความสามารถในการแข่งขันได้มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับเกษตรกรในประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งแม้ว่าระดับราคาอาหารจะสูงขึ้น แต่รัฐบาลเขายังคงมีมาตรการสนับสนุนการเกษตรในระดับสูง
สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในการปลูกข้าวเพื่อให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นเงื่อนไขหนึ่งเท่านั้น แต่ไม่ใช่เงื่อนไขทั้งหมดในการรักษาความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการแข่งขันของไทย
“การลดพื้นที่ปลูกข้าวและเปลี่ยนไปใช้แบบแผนทางเทคโนโลยีแบบเดียวกับที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และไต้หวัน ตามข้อเสนอของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จะทำให้ความสามารถในการรักษาความมั่นคงทางอาหารและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลง แต่เพิ่มโอกาสการแสวงหากำไรให้บรรษัทเอกชน ที่จริงแล้วบริษัทนี้เคยนำเสนอแนวความคิดนี้โดยการทำโครงการนาข้าวครบวงจรที่พื้นที่ชลประทานแม่กลองเมื่อประมาณปี 2530 แต่กลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง เพราะต้นทุนการผลิตสูงเกินกว่าเกษตรกรจะรับได้ ชาวนาเกือบทั้งหมดหันหลังให้กับบริษัทภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี”
ดังนั้น ความมั่นคงทางอาหารของไทยจึงมีรากฐานอยู่ที่การพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหารในระดับครัวเรือน และระดับประเทศ เป็นสำคัญ เช่น จากการสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่า ครัวเรือนการเกษตรในภาคกลางและภาคอีสานนั้นสามารถพึ่งพาอาหารจากในไร่นาของตนได้ประมาณ 40% ปัจจัยสำคัญเนื่องจากสองภาคนี้ผลิตข้าวเป็นหลักจึงมีข้าวและอาหารอื่นๆที่ได้จากพื้นนา การพึ่งพาตนเองได้ในระดับครอบครัวยังสามารถเกื้อกูลให้แรงงานชั่วคราว หรือลูกหลานของเกษตรกรที่ไปทำงานในเมืองและโรงงานมีหลักประกันการเข้าถึงอาหารในระดับหนึ่งด้วย
***ข้อเสนอสร้างฐานความมั่นคงอาหาร
นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ความมั่นคงทางอาหารไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายใต้กรอบความคิดเรื่องอาหารเป็นสินค้าเช่นเดียวกับสินค้าทั่วไปที่มีเป้าหมายการผลิตเพื่อแสวงหากำไร แต่ต้องเห็นว่าอาหารเป็นปัจจัยสำคัญพื้นฐานของการดำรงชีวิตที่มนุษย์ทุกคนพึงมีสิทธิที่จะเข้าถึงอาหารได้ โดยการพึ่งพาตนเองทางอาหารนั้นต้องพยายามให้เกิดขึ้นให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน และระดับประเทศก่อนเป็นพื้นฐาน
การที่นายกรัฐมนตรีของไทยแสดงความไม่พอใจต่อองค์การระหว่างประเทศโดยเฉพาะธนาคารโลก ที่เรียกร้องให้ประเทศไทยผลิตอาหารให้มากพอเพื่อส่งออกไปยังประเทศที่หิวโหย มีส่วนถูก เพราะธนาคารโลกไม่ได้เห็นความสำคัญของการพึ่งพาตนเองของแต่ละประเทศหรือที่เรียกว่าอธิปไตยทางอาหาร สถาบันการเงินและกลไกทางการค้าของโลกปัจจุบันไม่นำพาที่จะทำให้ประเทศยากจนสามารถผลิตอาหารได้ด้วยตนเองและพึ่งพาอาหารได้ แต่กลับสนับสนุนบทบาทของบรรษัทในการผลิตและกระจายอาหาร ซึ่งทำให้เกิดปัญหาการผูกขาดกระบวนการผลิตและกระจายอาหารที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
หากจะว่าไปแล้วประเทศไทยได้รับเอาแนวความคิดของธนาคารโลก สถาบันทางการเงิน และกลไกทางการค้าที่มีชุดแนวความคิดเดียวกันมาเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา ดังตัวอย่างที่ได้ส่งเสริมการค้าเสรีที่สร้างผลกระทบอย่างสำคัญต่อการผลิตทางอาหารของประเทศ ดังกรณีเกษตรกรที่ปลูกกระเทียม และเลี้ยงโคเนื้อ-โคนม ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้ากับจีนและออสเตรเลีย เป็นต้น
ดังนั้น ปรัชญาสำหรับการพัฒนาประเทศเพื่อความมั่นคงทางอาหารและหลุดพ้นวิกฤติการณ์ด้านอาหารและพลังงานคือการยึดแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ให้ความสำคัญกับสร้างกับการกระจายการถือครองทรัพยากร และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนส่วนใหญ่
ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี มองว่า วิกฤตการณ์อาหารที่เกิดขึ้นเป็นโอกาสของเกษตรกรและชาวนาที่มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่มีแนวโน้มว่าเป็นวิกฤติการณ์ของเกษตรกรและชาวนาไร้ที่ดิน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งรัดให้มีการกระจายการถือครองทรัพยากร และการปฎิรูปที่ดิน โดยเกษตรกรและผู้ไร้ที่ดินหรือผู้ที่ไม่มีความมั่นคงในที่ดินต้องรวมตัวกันเป็นพื้นฐานโดยไม่ต้องหวังว่ารัฐบาลจะเป็นผู้นำที่ทำหน้าที่นี้
ภายใต้วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภาคประชาชนต้องรวมกันและสนับสนุนให้เกิดองค์กรและขบวนการของประชาชนเพื่อการปฎิรูปที่ดิน และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นรากฐานและเป็นหัวใจสำคัญที่แท้จริงของประชาธิปไตยและการพัฒนาของประเทศในสถานการณ์ปัจจุบัน
ส่วนปัญหาเฉพาะหน้าที่เกษตรกรและชาวนาถูกขับออกจากที่ดินทำกินที่ตนเองเช่าอยู่ อาจดำเนินการโดยอาศัยกลไกทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ซึ่งมีบทบัญญัติบางประการที่บรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาได้บ้าง
นายวิฑูรย์ ยังชี้ว่า ภายใต้บริบทของการผลิตอาหารปัจจุบันมิได้มีเพียงปัจจัยเรื่องของที่ดินเท่านั้น แต่การควบคุมเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมเมล็ดพันธุ์ได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตและการพึ่งพาตนเองในเรื่องอาหาร ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยต้องดำเนินการในหลายทางควบคู่กันไป กล่าวคือ
1) ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ ให้เป็นประโยชน์ต่อการผลิตอาหารให้มากที่สุดโดยใช้ระบบการผลิตแบบผสมผสานที่ไม่เน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ตลอดจนนำเอาพืชพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณค่าทางอาหารมากมาใช้ประโยชน์ เช่น การเลี้ยงปลาในนาข้าว และการเกษตรผสมผสานรูปแบบต่างๆ โดยผลิตเพื่อบริโภคในครอบครัวก่อนส่วนที่เหลือจึงขาย
การเกษตรแบบผสมผสานจะเกื้อกูลให้เกิดการอนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ การผลิตอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นการลดต้นทุนการผลิตโดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันและผลิตภัณฑ์จากฟอสซิล
2) ควรพัฒนาเทคโนโลยีตามแนวทางแบบไทย ไม่ใช่การเดินตามสถาบันวิจัยการเกษตรระหว่างประเทศที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลก หรือการใช้เทคโนโลยีของบรรษัทที่มุ่งหวังผลกำไรของตนเป็นหลัก โดยการการต่อยอดภูมิปัญญาด้านการเกษตรจากปราชญ์ชาวบ้าน และการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพที่เหมาะสมและยืนบนขาของตนเอง เช่น การพัฒนาจุลินทรีย์ และสารชีวภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการเกษตรกรรม โดยไม่ต้องพึ่งพาเมล็ดพันธุ์ลูกผสม หรือพืชจีเอ็มโอของบรรษัทข้ามชาติ
ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ได้เกิดกระบวนการพัฒนาจุลินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพเพื่อปรับปรุงดิน โดยที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้และขยายผลโดยเกษตรกร และองค์กรภาคประชาสังคม มีจำนวนเกษตรกรนับแสนๆรายที่กำลังดำเนินกิจกรรมนี้ โดยได้รับการสนับสนุนน้อยมากจากรัฐบาล
3) ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปรับปรุงพันธุ์ข้าว และส่งเสริมให้เกิดหน่วยผลิตพันธุ์ข้าวและพันธุ์พืชของเกษตรกรขึ้นมาเอง โดยยังคงให้ความสำคัญกับการวิจัยของภาคสาธารณะ แต่ปรับบทบาทให้มาสนับสนุนเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อการพึ่งพาตนเองในเรื่องพันธุกรรม
ตัวอย่างเช่น ขณะนี้มูลนิธิข้าวขวัญ และเกษตรกรในเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกซึ่งมีสมาชิกในเครือข่ายหลายหมื่นคน กำลังดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาพันธุ์ที่ไม่ต้องการปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตร จนได้สายพันธุ์ข้าวหลายสายพันธุ์ บางสายพันธุ์นั้นได้ผลผลิตถึง 1,500-1,600 กิโลกรัม/ไร่ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเลย เป็นต้น
4) รักษาสัดส่วนการผลิตพืชอาหารให้ได้ในระดับที่มากกว่าพืชพลังงาน รวมถึงการออกกฎหมายเพื่อคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม เหตุต้องรักษาพืชอาหารให้ได้ในระดับที่มากกว่าพืชพลังงานเนื่องจากอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต รวมทั้งต้องรักษาพื้นที่การผลิตอาหารให้ได้ในระดับที่เพียงพอ โดยประกาศเขตพื้นที่ตามข้อเสนอของชุมชนท้องถิ่น และชุมชนเกษตรกรรม เป็นเขตสำหรับการผลิตอาหาร โดยไม่จำกัดเฉพาะข้าวเท่านั้น แต่ให้ครอบคลุมการผลิตอาหารในระบบต่างๆ เช่น เขตไร่หมุนเวียน ชาวประมงขนาดเล็ก เป็นต้น
5) ปัญหาของประเทศไทยมิได้อยู่ที่การผลิตอาหารไม่เพียงพอ แต่ปัญหาอยุ่ที่มีประชาชนในประเทศจำนวนหนึ่งไม่สามารถเข้าถึงอาหารได้ หรือได้รับอาหารที่ไม่มีคุณภาพ เป็นความรับผิดชอบทางจริยธรรมของรัฐบาลและสังคมไทยที่จะต้องจัดการไม่ให้มีผู้อดอยากหิวโหยในประเทศ โดยสิทธิในการเข้าถึงอาหารและการได้รับอาหารที่มีคุณภาพควรจะเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐาน เช่นเดียวกับที่เกษตรกรควรจะมีสิทธิในที่ดิน และได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม
6) จัดสรรงบประมาณของรัฐบาลจำนวนอย่างน้อย 50% ที่ใช้สำหรับการจัดซื้อปุ๋ยเคมี และสารเคมีการเกษตร หรือบางส่วนจากกองทุนน้ำมัน เพื่อจัดตั้งกองทุนเกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อสนับสนุนองค์กรอิสระ ปราชญ์ชาวบ้าน ในการพัฒนาเกษตรกรรมแบบยั่งยืนที่ไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี และสารเคมีการเกษตรที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์จากน้ำมัน รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวกับการผลิต การกระจายอาหาร การรณรงค์การบริโภคอาหารท้องถิ่น ที่ลดการใช้พลังงาน เป็นต้น
7) เกษตรกร องค์กรภาคประชาชน เครือข่ายของผู้บริโภค ต้องเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร มิฉะนั้นบรรษัทขนาดใหญ่ทั้งที่เป็นบรรษัทข้ามชาติและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในประเทศจะผลักดันทิศทางการเกษตรและพลังงานไปในทิศทางที่พวกเขาเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ แต่เกษตรกร ผู้บริโภค และประชาชนทั่วไปจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
และ 8) สร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยการบริจาคอาหาร หรือแลกเปลี่ยนอาหารกับประเทศต่างๆ โดยไม่พึ่งพากลไกการตลาดและการค้าแต่เพียงอย่างเดียว
“มีคำกล่าวที่มักถูกอ้างอิงบ่อยๆว่า ทุกวิกฤติล้วนแล้วแต่มีโอกาสซ่อนอยู่ แต่ประเด็นสำคัญก็คือเราไม่เพียงแต่ต้องแปรวิกฤตให้เป็นโอกาสเท่านั้น แต่ต้องแปรวิกฤตนี้ให้เป็นโอกาสสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ และใช้สถานการณ์เหล่านี้เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วย”