ในท่ามกลางความทุกข์ยาก สับสน ของชนในชาติ อันเกิดจากระบอบการปกครองมิจฉาทิฐิ อันเป็นสาเหตุใหญ่สำคัญที่สุด แต่บุคคลสำคัญๆ สูงส่งในชาติหาได้มองเห็นไม่ หรืออาจจะมองเห็น แต่ไม่มีกำลังสามารถที่จะทำการแก้ไขให้ลุล่วงไปได้ มันเป็นเวรกรรมของชาติที่ผู้มีอำนาจล้วนมีความเข้าใจผิดเห็นการปกครองมิจฉาทิฐิเป็นระบอบประชาธิปไตย เผื่อว่านายกฯ สมัคร จะเข้าใจเหตุแห่งมิจฉาทิฐิและคิดแก้ไข
มันเป็นหน้าที่ ภารกิจของเรา และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการที่จะทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญามอบให้แด่ท่านผู้อ่านด้วยใจจริงเสมอมา เราเชื่อว่าปัญญาอันยิ่ง แสวงหาได้จากคำสอนของพระพุทธเจ้า จะได้ยกอธิปไตย 3 ในอธิปไตยสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย เอก - ทุก - ติกนิบาต ข้อ 439 โดยย่อดังนี้
[439] “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย 1 โลกาธิปไตย 1 ธรรมาธิปไตย 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ อัตตาธิปไตย เป็นไฉน... จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ”
“ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ โลกาธิปไตย เป็นไฉน... เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ... จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย”
“ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมาธิปไตย เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่มีอยู่แล เธอย่อมศึกษาว่าก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมาธิปไตยดูกรภิกษุทั้งหลายอธิปไตย 3 อย่างนี้แล ”
แสดงให้เห็นว่าทั้งอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตย ก็ต้องขึ้นต่อธรรมาธิปไตย ทีนี้มาดูขยายความเพื่อแก้ปัญหาร่วมยุคสมัย ในความมุ่งหมายแห่ง ธรรมาธิปไตย การถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ธรรมาธิปไตยแห่งตน และธรรมาธิปไตยสังคม อันเป็นสภาวะที่ประยุกต์มาจากสภาวธรรมอันบริสุทธิ์ ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ดับ อันเป็นบรมธรรม ใหญ่สุด กว้างสุด บนสุด คือ หลักสากล (Universal law) อันเป็นหลักทั่วไป (General Law) มีลักษณะคุมเหตุปัจจัยอื่นทั้งหมด อันเป็นความจริงแท้สูงสุด (Ultimate Reality) ได้แก่สภาวะอสังขตธรรม อันเป็นสภาวะอนัตตา อันเป็นธรรมธาตุแท้ เป็นแก่นแท้คำสอนของพระพุทธองค์
การประยุกต์สภาวะอันจริงแท้ทั้งสองด้านหรือสัจธรรมทั้งสองด้าน คือ ธรรมาธิปไตยธรรมชาติ, และธรรมาธิปไตยบุคคล เมื่อญาณทัศนะรู้ว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน จึงก่อเกิดการสร้างสรรค์ สู่ ธรรมาธิปไตยสังคม สู่ ธรรมาธิปไตยโลก เป็นที่สุด
อัตตาธิปไตย เป็น วิธีการ ของบุคคล คือเมื่ออยู่คนเดียว คิดคนเดียว คิดแต่เรื่องประโยชน์ของปวงชนและประเทศชาติ เช่น การออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา แต่ทั้งนี้ต้องถือหลักธรรมาธิปไตย จึงจะไม่นำความเสียหายมาสู่ส่วนรวมประเทศชาติและปวงชน ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับนักการเมืองในปัจจุบันที่เห็นแก่ประโยชน์ตนและพวกพ้องอย่างน่าเกลียดที่สุด โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศชาติและประชาชน ทั้งนี้เป็นเพราะเงื่อนไขของระบอบเผด็จการโดยรัฐธรรมนูญมิจฉาทิฐิ นั่นเอง
โลกาธิปไตย เป็น วิธีการ ของหมู่ชนนับแต่ 2 คนขึ้นไป หรือเป็นวิธีการของสมาชิกในองค์การ, องค์กรต่างๆ หรือในที่ประชุมสภารัฐสภา เป็นต้น ได้ใช้เสียงข้างมากเป็นมติ เช่น พระราชบัญญัติ และการเลือกตั้งในทุกระดับ แต่ทั้งนี้ต้องถือหลักธรรมาธิปไตยไว้อย่างเคร่งครัด จึงจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนอย่างแท้จริง ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการกระทำของนักการเมืองในปัจจุบันที่ตัดสินความถูกผิดด้วยเสียงข้างมาก น่าหัวเราะที่สุด
ธรรมาธิปไตย เป็น หลักธรรม หรือ หลักการ ที่ถือธรรมเป็นใหญ่ตามหลักพุทธธรรม สภาวะเหนือการปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์ เป็นสภาวะที่อยู่เหนือกาลเวลา เป็นหลักที่มั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้ประยุกต์มาเป็นหลักการปกครอง และ หลักในการจัดความสัมพันธ์ในองค์รวมอย่างถูกต้องโดยธรรม เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ จึงได้นำมาเป็นหลักในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติ อันเป็นเหตุแห่งวิกฤตชาติ หรือเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของชาติ ที่สืบเนื่องยาวนานกว่า 75 กว่าปีแล้ว
การนำอธิปไตย 3 มาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด จะต้องนำมาใช้อย่างเป็นเอกภาพกันทั้ง 3 ด้าน จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังรูป
เป็นระยะเวลากว่า 75 ปีมาแล้ว ที่ผู้ปกครองไทยยึดถือเอาเพียงรูปแบบ (ระบบรัฐสภา) และวิธีการปกครอง (รัฐธรรมนูญ) และได้นำเอาวิธีการ คือ รัฐธรรมนูญมาเป็นหลักการปกครองของประเทศไทย วิธีการย่อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แล้วจะนำมาเป็นหลักการหรือจุดมุ่งหมายได้อย่างไรกัน
วิธีการปกครองก็ยังคงเป็นวิธีการอยู่ดีนั่นเอง แต่เพราะความอ่อนด้อยของผู้ปกครองต่างก็ยึดมั่นถือมั่นในลัทธิรัฐธรรมนูญ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดผลร้ายสร้างความทรุดโทรมให้กับชาติบ้านเมืองและประชาชนไทยอย่างแสนสาหัส “เข้าทำนองเหยียบคบไฟส่องทาง” ชี้ทางสว่างให้แล้ว แต่ผู้ปกครองทั้งหลายรุ่นแล้ว รุ่นเล่ายังมืด ยังหลับใหล เพราะพวกเขาล้วนถือตนเป็นใหญ่ ถืออัตตาธิปไตย และตบตาล่อลวงด้วยโลกาธิปไตย จนสร้างความร่ำรวยให้กับนักการเมืองเลวรุ่นแล้วรุ่นเล่า ต่างก็เข้ากอบโกย สวาปาม (โกงชาติบ้านเมืองอย่างตะกละตะกลาม) อันเป็นสมบัติแห่งชาติอย่างแยบคายไปเป็นของตนและพวกพ้อง
ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย ได้กรุณาอุทิศตนพิจารณาศึกษาธรรมาธิปไตยอย่างใกล้ชิดเถิด เพื่อจะได้ทำความเห็นเป็นสัมมาทิฐิและทิฐิสามัญญตา สู่การร่วมแก้ปัญหาของแผ่นดิน อย่างรู้รักสามัคคีธรรมตามรอยเบื้องพระยุคลบาท
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่เหล่าพสกนิกรว่า พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยนั้นยิ่งใหญ่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ และพระบารมีเหนือสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศทั้งปวง เพราะหลักสาระสำคัญแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย คือ ทศพิธราชธรรม ซึ่งสืบทอดมาแต่ครั้งพุทธกาล นั่นเอง
เมื่อพิจารณาอย่างรอบด้าน ทศพิธราชธรรมแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย สรุปลงในพระบรมราโชวาท เมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งได้พิสูจน์ประจักษ์เป็นจริง โดยพระราชจริยวัตร และพระราชกรณียกิจตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ประจักษ์เป็นจริงตามอย่างชัดแจ้ง ในเหตุการณ์เฉพาะหน้าถึงพระบรมเดชานุภาพและพระมหาบารมีที่สยบ “พฤษภาทมิฬ” ที่ทรงป้องกันมิให้คนไทยด้วยกันขัดแย้ง และทำสงครามกลางเมืองกัน เป็นข้อเท็จจริงที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถขจัดความเคลือบแคลงสงสัย ที่อาจจะหลงเหลืออยู่บ้างในบุคคลบางกลุ่มบางจำพวก บางอุดมการณ์ แม้จะมีจำนวนน้อยที่สุดก็ตาม
เมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์มีทศพิธราชธรรมเป็นหลักการ เป็นธงชัยอยู่แล้ว พร้อมทั้งองค์พระมหากษัตริย์ทรงมีลักษณะธรรมาธิปไตย อย่างสูงสุด เป็นสถาบันแห่งธรรมาธิปไตย ย่อมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างยั่งยืนเสมอไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ พระองค์ทรงมีอำนาจโดยสมบูรณ์ ดุจสุริยามีอำนาจเหนือดาวเคราะห์ทั้งปวง ฉันใด
พระองค์ในฐานะพระประมุขแห่งชาติ ทรงรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ทรงมีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ ทรงมีความชอบธรรมที่จะทรงสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม และทรงพระราชทานต่อปวงชนไทย เพื่อแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ฉันนั้น
ขอแสดงความชื่นชม ยินดีกับด็อกเตอร์ใหม่ที่จบจากอินเดียด้วยความยากและอดทน ดร.ทนงศักดิ์ ศิริรัตน์ แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ ดร.อำนวยพล แจ้งเจริญ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแฟนคลับของผู้เขียนและหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ก็หวังว่าด็อกเตอร์ใหม่ทั้งสองท่านจะได้ใช้โอกาสที่ดีงามนี้ ทั้งวิชาความรู้ ปัญญา ประสบการณ์ทั้งปวง ทำหน้าที่และภารกิจของตนอย่างสำคัญยิ่งต่อประเทศชาติสืบไป
มันเป็นหน้าที่ ภารกิจของเรา และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการที่จะทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจ และกำลังปัญญามอบให้แด่ท่านผู้อ่านด้วยใจจริงเสมอมา เราเชื่อว่าปัญญาอันยิ่ง แสวงหาได้จากคำสอนของพระพุทธเจ้า จะได้ยกอธิปไตย 3 ในอธิปไตยสูตร ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 12 อังคุตตรนิกาย เอก - ทุก - ติกนิบาต ข้อ 439 โดยย่อดังนี้
[439] “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อธิปไตย 3 อย่างนี้ 3 อย่างเป็นไฉน คือ อัตตาธิปไตย 1 โลกาธิปไตย 1 ธรรมาธิปไตย 1 ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ อัตตาธิปไตย เป็นไฉน... จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ดังนี้ เธอทำตนเองแลให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอัตตาธิปไตย ฯ”
“ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ โลกาธิปไตย เป็นไฉน... เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมี และความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะปริเทวะทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ครอบงำแล้ว มีทุกข์ ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ... จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมีอารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโลกาธิปไตย”
“ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ธรรมาธิปไตย เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ... เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งจีวร ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เราออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่ใช่เพราะเหตุแห่งความมีและความไม่มีเช่นนั้น ก็แต่ว่าเราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้มีทุกข์ท่วมทับแล้ว ไฉนความทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันบุคคล พึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ก็เพื่อนสพรหมจารีผู้ที่รู้อยู่ เห็นอยู่มีอยู่แล เธอย่อมศึกษาว่าก็ความเพียรที่เราปรารภแล้วจักไม่ย่อหย่อน สติที่เข้าไปตั้งมั่นแล้วจักไม่หลงลืม กายที่สงบระงับแล้วจักไม่ระส่ำระสาย จิตที่เป็นสมาธิแล้วจักมี อารมณ์แน่วแน่ ดังนี้ เธอทำธรรมนั่นแหละให้เป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล ละกรรมที่มีโทษ เจริญกรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมาธิปไตยดูกรภิกษุทั้งหลายอธิปไตย 3 อย่างนี้แล ”
แสดงให้เห็นว่าทั้งอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตย ก็ต้องขึ้นต่อธรรมาธิปไตย ทีนี้มาดูขยายความเพื่อแก้ปัญหาร่วมยุคสมัย ในความมุ่งหมายแห่ง ธรรมาธิปไตย การถือธรรมเป็นใหญ่ คือ ธรรมาธิปไตยแห่งตน และธรรมาธิปไตยสังคม อันเป็นสภาวะที่ประยุกต์มาจากสภาวธรรมอันบริสุทธิ์ ที่ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่ดับ อันเป็นบรมธรรม ใหญ่สุด กว้างสุด บนสุด คือ หลักสากล (Universal law) อันเป็นหลักทั่วไป (General Law) มีลักษณะคุมเหตุปัจจัยอื่นทั้งหมด อันเป็นความจริงแท้สูงสุด (Ultimate Reality) ได้แก่สภาวะอสังขตธรรม อันเป็นสภาวะอนัตตา อันเป็นธรรมธาตุแท้ เป็นแก่นแท้คำสอนของพระพุทธองค์
การประยุกต์สภาวะอันจริงแท้ทั้งสองด้านหรือสัจธรรมทั้งสองด้าน คือ ธรรมาธิปไตยธรรมชาติ, และธรรมาธิปไตยบุคคล เมื่อญาณทัศนะรู้ว่าเป็นหนึ่งเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน จึงก่อเกิดการสร้างสรรค์ สู่ ธรรมาธิปไตยสังคม สู่ ธรรมาธิปไตยโลก เป็นที่สุด
อัตตาธิปไตย เป็น วิธีการ ของบุคคล คือเมื่ออยู่คนเดียว คิดคนเดียว คิดแต่เรื่องประโยชน์ของปวงชนและประเทศชาติ เช่น การออกพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา แต่ทั้งนี้ต้องถือหลักธรรมาธิปไตย จึงจะไม่นำความเสียหายมาสู่ส่วนรวมประเทศชาติและปวงชน ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับนักการเมืองในปัจจุบันที่เห็นแก่ประโยชน์ตนและพวกพ้องอย่างน่าเกลียดที่สุด โดยไม่คำนึงถึงอนาคตของประเทศชาติและประชาชน ทั้งนี้เป็นเพราะเงื่อนไขของระบอบเผด็จการโดยรัฐธรรมนูญมิจฉาทิฐิ นั่นเอง
โลกาธิปไตย เป็น วิธีการ ของหมู่ชนนับแต่ 2 คนขึ้นไป หรือเป็นวิธีการของสมาชิกในองค์การ, องค์กรต่างๆ หรือในที่ประชุมสภารัฐสภา เป็นต้น ได้ใช้เสียงข้างมากเป็นมติ เช่น พระราชบัญญัติ และการเลือกตั้งในทุกระดับ แต่ทั้งนี้ต้องถือหลักธรรมาธิปไตยไว้อย่างเคร่งครัด จึงจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและปวงชนอย่างแท้จริง ซึ่งตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการกระทำของนักการเมืองในปัจจุบันที่ตัดสินความถูกผิดด้วยเสียงข้างมาก น่าหัวเราะที่สุด
ธรรมาธิปไตย เป็น หลักธรรม หรือ หลักการ ที่ถือธรรมเป็นใหญ่ตามหลักพุทธธรรม สภาวะเหนือการปรุงแต่ง เป็นสิ่งที่พ้นจากกฎไตรลักษณ์ เป็นสภาวะที่อยู่เหนือกาลเวลา เป็นหลักที่มั่นคงถาวร ไม่เปลี่ยนแปลง จึงได้ประยุกต์มาเป็นหลักการปกครอง และ หลักในการจัดความสัมพันธ์ในองค์รวมอย่างถูกต้องโดยธรรม เป็นหนึ่งเดียวกับกฎธรรมชาติ จึงได้นำมาเป็นหลักในการแก้ปัญหาพื้นฐานของชาติ อันเป็นเหตุแห่งวิกฤตชาติ หรือเหตุแห่งความเลวร้ายทั้งปวงของชาติ ที่สืบเนื่องยาวนานกว่า 75 กว่าปีแล้ว
การนำอธิปไตย 3 มาใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุด จะต้องนำมาใช้อย่างเป็นเอกภาพกันทั้ง 3 ด้าน จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังรูป
เป็นระยะเวลากว่า 75 ปีมาแล้ว ที่ผู้ปกครองไทยยึดถือเอาเพียงรูปแบบ (ระบบรัฐสภา) และวิธีการปกครอง (รัฐธรรมนูญ) และได้นำเอาวิธีการ คือ รัฐธรรมนูญมาเป็นหลักการปกครองของประเทศไทย วิธีการย่อมเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แล้วจะนำมาเป็นหลักการหรือจุดมุ่งหมายได้อย่างไรกัน
วิธีการปกครองก็ยังคงเป็นวิธีการอยู่ดีนั่นเอง แต่เพราะความอ่อนด้อยของผู้ปกครองต่างก็ยึดมั่นถือมั่นในลัทธิรัฐธรรมนูญ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดผลร้ายสร้างความทรุดโทรมให้กับชาติบ้านเมืองและประชาชนไทยอย่างแสนสาหัส “เข้าทำนองเหยียบคบไฟส่องทาง” ชี้ทางสว่างให้แล้ว แต่ผู้ปกครองทั้งหลายรุ่นแล้ว รุ่นเล่ายังมืด ยังหลับใหล เพราะพวกเขาล้วนถือตนเป็นใหญ่ ถืออัตตาธิปไตย และตบตาล่อลวงด้วยโลกาธิปไตย จนสร้างความร่ำรวยให้กับนักการเมืองเลวรุ่นแล้วรุ่นเล่า ต่างก็เข้ากอบโกย สวาปาม (โกงชาติบ้านเมืองอย่างตะกละตะกลาม) อันเป็นสมบัติแห่งชาติอย่างแยบคายไปเป็นของตนและพวกพ้อง
ฉะนั้น ผู้มีคุณธรรมทั้งหลาย ได้กรุณาอุทิศตนพิจารณาศึกษาธรรมาธิปไตยอย่างใกล้ชิดเถิด เพื่อจะได้ทำความเห็นเป็นสัมมาทิฐิและทิฐิสามัญญตา สู่การร่วมแก้ปัญหาของแผ่นดิน อย่างรู้รักสามัคคีธรรมตามรอยเบื้องพระยุคลบาท
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่เหล่าพสกนิกรว่า พระมหากษัตริย์ของประเทศไทยนั้นยิ่งใหญ่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ และพระบารมีเหนือสถาบันพระมหากษัตริย์ในประเทศทั้งปวง เพราะหลักสาระสำคัญแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย คือ ทศพิธราชธรรม ซึ่งสืบทอดมาแต่ครั้งพุทธกาล นั่นเอง
เมื่อพิจารณาอย่างรอบด้าน ทศพิธราชธรรมแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทย สรุปลงในพระบรมราโชวาท เมื่อเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ซึ่งได้พิสูจน์ประจักษ์เป็นจริง โดยพระราชจริยวัตร และพระราชกรณียกิจตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษ ประจักษ์เป็นจริงตามอย่างชัดแจ้ง ในเหตุการณ์เฉพาะหน้าถึงพระบรมเดชานุภาพและพระมหาบารมีที่สยบ “พฤษภาทมิฬ” ที่ทรงป้องกันมิให้คนไทยด้วยกันขัดแย้ง และทำสงครามกลางเมืองกัน เป็นข้อเท็จจริงที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถขจัดความเคลือบแคลงสงสัย ที่อาจจะหลงเหลืออยู่บ้างในบุคคลบางกลุ่มบางจำพวก บางอุดมการณ์ แม้จะมีจำนวนน้อยที่สุดก็ตาม
เมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์มีทศพิธราชธรรมเป็นหลักการ เป็นธงชัยอยู่แล้ว พร้อมทั้งองค์พระมหากษัตริย์ทรงมีลักษณะธรรมาธิปไตย อย่างสูงสุด เป็นสถาบันแห่งธรรมาธิปไตย ย่อมสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างยั่งยืนเสมอไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐ พระองค์ทรงมีอำนาจโดยสมบูรณ์ ดุจสุริยามีอำนาจเหนือดาวเคราะห์ทั้งปวง ฉันใด
พระองค์ในฐานะพระประมุขแห่งชาติ ทรงรับผิดชอบต่อบ้านเมือง ทรงมีพระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ ทรงมีความชอบธรรมที่จะทรงสถาปนาหลักการปกครองโดยธรรม และทรงพระราชทานต่อปวงชนไทย เพื่อแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ฉันนั้น
ขอแสดงความชื่นชม ยินดีกับด็อกเตอร์ใหม่ที่จบจากอินเดียด้วยความยากและอดทน ดร.ทนงศักดิ์ ศิริรัตน์ แห่งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ ดร.อำนวยพล แจ้งเจริญ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นแฟนคลับของผู้เขียนและหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ก็หวังว่าด็อกเตอร์ใหม่ทั้งสองท่านจะได้ใช้โอกาสที่ดีงามนี้ ทั้งวิชาความรู้ ปัญญา ประสบการณ์ทั้งปวง ทำหน้าที่และภารกิจของตนอย่างสำคัญยิ่งต่อประเทศชาติสืบไป