ด้วยบทความที่ปรากฏในสื่อหลายฉบับโดย อ.สมศักดิ์ เจียมธีรกุล ในประเด็น : ผู้จัดการ-พันธมิตร กำลังก่อกระแส ‘ละคอนแขวนคอ’ ยุคใหม่ เผยแพร่ทางเว็บไซต์ ประชาไท และ ฟ้าเดียวกัน รวมทั้งการนำเสนอประเด็นดังกล่าวในมติชนรายวันด้วยนั้น สอดคล้องกับบทความของ อ.เกษียร เตะพีระ เรื่อง “อย่าเดินไปสู่ ๖ ตุลาคม” ในมติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๙ พฤษภาคมที่ผ่านมา
ในฐานะ ผู้อ่านสื่อ หรือจะในฐานะพลเมืองผู้กระตือรือร้น(Active Citizens) ที่ถูกเนื้อหาบางประเด็นในบทความดังกล่าว กระตุ้นต่อมสำนึกที่เป็นธุระในเรื่องบ้านเมือง ต้องขอใช้สิทธิในการ “เห็นต่าง” กับความพยายามในการจุดกระแสว่า คนอื่นกำลังจุดกระแส ของท่านสองอาจารย์ ดังนี้
ในความเป็นจริงประการหนึ่ง คือ ผมเอง เป็นผู้ร่วมอยู่ในขบวนการ และเหตุการณ์วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เฉกเช่นเดียวกับอาจารย์ทั้งสอง โดยมีบทบาทหน้าที่ทั้งในความรับผิดชอบทางการเมือง การจัดตั้งในส่วนศิลปวัฒนธรรม รวมทั้ง มีส่วนในการรักษาความปลอดภัยอีกด้วย
เช้าตรู่วันที่ ๖ ตุลาคม เมื่อ ๓๒ ปีก่อน ผมประจำอยู่ในสมรภูมิส่วนหน้าที่ปะทะแลกเลือด แลกชีวิตกับทั้งกระทิงแดง นวพล รวมทั้ง ตชด. อยู่ด้านหน้าตึกนิติ ถอยร่นมายันอยู่หน้าตึก อมธ.เพื่อปะทะประทัง ให้พี่น้องประชาชนหนีออกจากวงล้อมปราบนองเลือดให้มากที่สุด โดยตัวเองได้รับบาดเจ็บ ถูกทำร้าย และถูกจับโยนใส่คุกนครปฐมอยู่สามเดือนกว่า...
ที่ต้องเล่าเรื่องเก่านี้เพื่อบอกว่า ไม่ว่า ดร.เกษียร ดร.สมศักดิ์ จะอยู่ในตำบลแห่งหนไหนในนาทีที่เขารุมฆ่าประชาชนนั้น ผมอยู่แถวหน้าของแนวปะทะตลอด นั่นหมายถึงผมย่อมมี “อารมณ์” เคียดแค้น ชิงชัง ชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะ “ศักดินาใหญ่” ที่เราล้วนเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังคำสั่งฆ่าประชาชน เช่นเดียวกับอารมณ์โกรธ เกลียด พ.อ.อุทาร และวิทยุยานเกราะ นสพ.ดาวสยามและบางกอกโพสต์ ทมยันตี กิติวุฒโฑ รวมทั้ง นายสมัคร คนนี้ด้วยเช่นเดียวกับท่านอาจารย์ทั้งสอง และขบวนนักศึกษาประชาชนที่ถูกปราบปรามทำร้ายนั้นเช่นกัน...
ความเคียดแค้นในวัยเยาว์นำผมและเพื่อนจำนวนมากเข้าสู่สงครามประชาชน แลกเลือดด้วยเลือด ห้ำหั่นประหัตประหารกันเองอย่างหนักหน่วง ผมได้เข้าร่วมกองทัพปลดแอกและได้ “ฆ่า” ทหาร ตำรวจ และโดยเฉพาะ “ตชด.” กับมือตนเองจำนวนมาก ในระหว่างสงคราม ด้วยความ “สะใจ” ที่ได้สางแค้นแทนเพื่อนที่ตายไปในธรรมศาสตร์เมื่อ ๖ ตุลาคม ๑๙ เป็นการระบายความเคียดแค้นโดยสงครามแลกเลือดแลกชีวิตกันกว่า ๕ ปี ในเขตป่าเขา...
เสียดายที่ อ.เกษียร อ.สมศักดิ์ รวมทั้ง อ.ธงชัย วินิจกุล ไม่มีโอกาสตรงนี้..ที่จะได้ระบายอารมณ์ “เคียดแค้น” ตามสัญชาติญาณดิบของความเป็นมนุษย์ของเราได้มาก....ความอาฆาต ที่คั่งแค้นอัดแน่นจึงไม่ต้องเก็บอัดไว้ในส่วนลึกถึง ๓๒ ปี ที่ท่านยังเก็บรับเหตุการณ์ ๖ ตุลา ไว้ในอารมณ์ที่เหมือนเพิ่งผ่านมาเมื่อวานนี้ ในขณะที่ผมระลึกถึงด้วยการคำนึงถึงในอนุสติที่เตือนใจและตรองความคิดทุกครั้งที่คิดถึง มิได้อัดแน่นด้วยอารมณ์คั่งแค้นที่เก็บอัดไม่มีทางระบายออก จนเปี่ยมล้นในงานวิชาการของ อ.สมศักดิ์ และ อ.ธงชัย ที่ยังจ้อง “เล่น” โจทย์เก่าอย่างต่อเนื่องด้วยงานวิชาการที่ห่อหุ้มด้วยอารมณ์ความรู้สึกส่วนลึกตลอดระยะ ๓๒ ปีที่ผ่านมา....
ต้องขอโทษที่บังอาจวิเคราะห์ทางจิต จี้จุดต่อมใต้สำนึกของท่านอาจารย์ที่เปี่ยมวรยุทธ์ในวงวิชาการยิ่งนัก หากชี้ผิดไปก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
ประการที่สอง ในเนื้อหาการจุดกระแสของท่านทั้งสอง ว่ามีผู้จุดกระแสคล้ายคลึงก่อนเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลา นั้น ผมมีความเห็นว่า หากเทียบเคียงรูปแบบหรือใช้ตรรกะศาสตร์มาเทียบเคียงปรากฏการณ์หนึ่ง กับ หนึ่ง นั้นดูเหมือนใช่ ดูเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน ดูเหมือนดาวสยาม กับ ผู้จัดการ จะเป็นเรื่องเดียวกัน ดูเหมือนขบวนนวพล-กระทิงแดง จะเหมือน ขบวนพันธมิตร เช่นนั้นฤา? แล้วตัวละครอย่าง เนวิน ประชา กับม็อบถ่อยโชว์กระจู๋หน้า ธรรมศาสตร์ วันนั้น เทียบเคียงกับกลุ่มใด บุคคลใดในอดีตได้เล่า ? เขาคือ ขบวนนิสิต นศ.ประชาชน ผู้ต่อต้านการกลับเข้ามาของถนอม เช่นนั้นฤา ? ดูว่า ตรรกะของ อ.สมศักดิ์ จะพิลึกพิลั่นอยู่กระมัง
ประการที่สาม หากพิจารณาการจุดกระแสของ อ.สมศักดิ์ ว่าการเคลื่อนไหวต่อต้านขบวนการหมิ่นฯ ของเครือผู้จัดการและขบวนพันธมิตรนั้น เป็นเรื่องเดียวกันกับขบวนปลุกปั่นยุยงให้สังคมเกลียดชังนักศึกษาเมื่อวันที่ ๕ ตุลา ๑๙ ได้ โดยเฉพาะกรณีการใช้รูปที่ใช้เทคนิคตกแต่งภาพให้ดูเหมือนพระบรมวงศานุวงศ์ในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม ดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่สื่อในเครือผู้จัดการ ออกมาอัดขบวนการหมิ่นฯ กรณีโชติศักดิ์ กรณีเว็บประชาไท-ฟ้าเดียวกัน กรณีใบปลิว และอื่นๆ นั้น คงเป็นการใช้ตรรกะ ของ อ.สมศักดิ์ ที่ขาดน้ำหนักในการพิจารณาเนื้อแท้ของปรากฏการณ์ทั้งสองยุคนั้นว่ามีส่วนที่เหมือนและต่างกันเช่นใด
กล่าวคือ การจุดกระแสด้วยกรณีหมิ่นฯ ของดาวสยาม-ยานเกราะ โดยใช้รูปเหมือนที่ใช้เทคนิคตกแต่งภาพ เมื่อ ๖ ตุลา ๑๙ นั้น เป็นเรื่องจอมปลอมที่หลอกลวงสังคม ผมรู้จักอภินันท์ ดี และอยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องเลือกเขาไปแขวนคอในละคอนการเมืองเทียบเคียงกับการฆ่าแขวนคอกรรมกรที่นครปฐมนั้นเพราะเขาเป็นคนตัวเล็กใช้ผ้าขาวม้ามัดเป็นเทคนิคได้ มิใช่เพราะเขาหน้าเหมือนเจ้านายพระองค์ใด หรือเป็นความจงใจจะทำการหมิ่นฯ ข้อนี้สามสิบปีที่ผ่านมาสังคมก็เรียนรู้และประจักษ์ชัด อ.เกษียร และ อ.สมศักดิ์ ก็ย่อมต้องเข้าใจอย่างแท้จริงในเจตนาว่าตั้งใจหมิ่นฯ หรือไม่หมิ่นฯ เทียบเคียงกับกรณีโชติศักดิ์ ที่ทั้ง อ.เกษียร อ.สมศักดิ์ รวมทั้ง อ.ธงชัย รู้จักดีทั้งฐานะลูกศิษย์ที่ซึมซับวิธีคิดและอารมณ์เคียดแค้นพยาบาท “เจ้า” ในจิตใต้สำนึกของท่านทั้งหลายที่สืบสานยังผู้เชื่อมั่นและศรัทธาในตัวท่าน และ กรณีโชติศักดิ์นั้น เจ้าตัวตั้งใจอย่างยิ่งที่จะไม่ยืนเคารพเมื่อเปิดเพลงสรรเสริญในโรงภาพยนตร์ รวมทั้งการทำแคมเปญ ไม่ยืน ไม่หมิ่น คิดต่าง มิใช่อาชญากร ทั้งในการทำเสื้อรณรงค์สวมใส่ในกลุ่มพวกหรือการรับลูกของเว็บไซต์ประชาไทและฟ้าเดียวกัน ที่ท่าน อ.สมศักดิ์ เป็นผู้มีบารมีใกล้ชิดกันอยู่แล้วมิใช่หรือ?
การที่ อ.สมศักดิ์ จุดกระแส โจมตีผู้อื่นว่าจุดกระแส ๖ ตุลา จึงเป็นความไม่ถูกต้อง เพราะเนื้อแท้ของปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนกันนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และผมยังตั้งข้อสังเกต อ.สมศักดิ์ ว่าคนในระดับท่านนั้นเชี่ยวชาญการเมืองและแม่นยำเหตุการณ์ทั้งยังเก่งในการใช้ตรรกะเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านหรือสังคมคล้อยตามตรรกะของท่านได้บ่อยๆ นั้น จะไม่รู้จริงๆ หรือว่า การใช้กรณีหมิ่นฯ เป็นเหตุโจมตีทางการเมืองของทั้งสองกรณีนั้นไม่เหมือนกัน เมื่อสามสิบสองปีก่อนนั้นของปลอม แต่ พ.ศ.นี้ “ของจริง” แต่ที่ท่าน อ.สมศักดิ์ดูเปรียบเทียบเลอะเลือนเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความจงใจในการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อปกป้อง “โชติศักดิ์” และขบวนของเขา รวมทั้งกลุ่มความคิดฟ้าเดียวกัน ที่ท่านใกล้ชิด และมีอิทธิพลทางความคิดต่อเด็กๆ เหล่านี้ยิ่งนัก?
ว่ากันว่า คนกลุ่มนี้ศรัทธาท่านทั้งสามยิ่งนัก เท็จจริงประการใด วานบอก...
นี่เรายังไม่ได้โต้แย้งในเรื่องที่ ท่าน อ.สมศักดิ์ กล่าวแก้ต่างแทนกลุ่มคิด “ปฏิญญาฟินแลนด์” ว่าเป็นเรื่องไร้สาระ คงต้องแนะนำให้ อ.สมศักดิ์ ไปค้นที่มาที่ไปในเรื่องนี้ให้ชัดก่อน ย้อนไปดูบทสัมภาษณ์ของ อมร และหาโอกาสไปคุยกับคนวงในอย่างพี่มิ้ง พี่เกรียง พี่อ้วน..ก่อนก็ได้ การเขียนบทความตัดสินบางเรื่องว่าไร้สาระโดยอัตวิสัยนั้นหาใช่คุณสมบัติที่ดีของนักวิชาการนะครับ หรือให้รีบกลับไปอ่านบทความเรื่อง Republics ของปราชญ์สยามตัวจริง อ.ชัยอนันต์ ก็ได้ อ.สมศักดิ์จึงจะได้เรียนรู้เรื่องราวการเมืองในเบื้องลึกได้ลึกซึ้งกว่าที่ผายลมผ่านบทความของตนเช่นนั้น
ส่วนประเด็นที่ อ.เกษียร เรียกร้องไม่ให้ใช้กรณีหมิ่นฯ และสถาบันกษัตริย์ เป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และเตือนว่าอย่าเดินไปสู่ ๖ ตุลาฯ นั้น น่าจะเป็นข้อกังวลร่วมกัน เพียงแต่ผมเห็นว่า อ.เกษียร น่าจะหันปลายปากกาไปเตือน “โชติศักดิ์” และพวก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ อ.เกษียณเอง ว่าไม่ควรทำอะไรที่ “อ่อนหัด ไร้เดียงสา และฉวยโอกาสเอียงซ้าย” แบบสุดๆ เช่นนี้อีก เพราะสิ่งที่ลูกศิษย์ท่านทำการ “ห่ามๆ”เช่นนี้ รังจะเป็นผลร้ายต่อขบวนประชาธิปไตย เป็นเงื่อนไขให้ทหารทำรัฐประหาร และเผด็จการ หรือการปราบปรามประชาชนก็จะตามมา เด็กเมื่อวานซืนอย่างโชติศักดิ์และพวกมองไม่เห็นหรอกว่า คำว่า “หายนะ” นั้นสะกดอย่างไร ต้องเป็นธุระของคนในรุ่นเราที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายนั้นต้องชะลอความแรงของคนรุ่นหนุ่มเช่นนี้ มิใช่ให้ท้ายส่งเดชอย่างที่ อ.สมศักดิ์ ทำอยู่
สุดท้าย ฝากถึง อ.ธงชัย ที่อยู่แดนไกล ด้วยว่า น่าจะพบธรรมของพระพุทธองค์ได้แล้ว ทั้ง อ.สมศักดิ์ด้วย เลิกอาฆาตพยาบาทได้แล้ว เพื่อสติปัญญาเหนือคนอย่างพวกท่านทั้งสามจะได้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้ด้วยไม่เจือปนโมหะจริตอยู่อย่างที่เป็นอยู่นี้ เลือดต้องล้างด้วยเลือดตามเนื้อเพลงที่จิตร ภูมิศักดิ์ แต่งไว้นั้น ในชีวิตจริงผมผ่านมาแล้วด้วยชีวิตแลกชีวิตด้วยมือตนเอง ผมผ่านมาหมดแล้ว ผมพอแล้ว ... กรรมใดใครก่อก็ต้องพบกรรมตามสนอง..นี่สิของจริง....
ในฐานะ ผู้อ่านสื่อ หรือจะในฐานะพลเมืองผู้กระตือรือร้น(Active Citizens) ที่ถูกเนื้อหาบางประเด็นในบทความดังกล่าว กระตุ้นต่อมสำนึกที่เป็นธุระในเรื่องบ้านเมือง ต้องขอใช้สิทธิในการ “เห็นต่าง” กับความพยายามในการจุดกระแสว่า คนอื่นกำลังจุดกระแส ของท่านสองอาจารย์ ดังนี้
ในความเป็นจริงประการหนึ่ง คือ ผมเอง เป็นผู้ร่วมอยู่ในขบวนการ และเหตุการณ์วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เฉกเช่นเดียวกับอาจารย์ทั้งสอง โดยมีบทบาทหน้าที่ทั้งในความรับผิดชอบทางการเมือง การจัดตั้งในส่วนศิลปวัฒนธรรม รวมทั้ง มีส่วนในการรักษาความปลอดภัยอีกด้วย
เช้าตรู่วันที่ ๖ ตุลาคม เมื่อ ๓๒ ปีก่อน ผมประจำอยู่ในสมรภูมิส่วนหน้าที่ปะทะแลกเลือด แลกชีวิตกับทั้งกระทิงแดง นวพล รวมทั้ง ตชด. อยู่ด้านหน้าตึกนิติ ถอยร่นมายันอยู่หน้าตึก อมธ.เพื่อปะทะประทัง ให้พี่น้องประชาชนหนีออกจากวงล้อมปราบนองเลือดให้มากที่สุด โดยตัวเองได้รับบาดเจ็บ ถูกทำร้าย และถูกจับโยนใส่คุกนครปฐมอยู่สามเดือนกว่า...
ที่ต้องเล่าเรื่องเก่านี้เพื่อบอกว่า ไม่ว่า ดร.เกษียร ดร.สมศักดิ์ จะอยู่ในตำบลแห่งหนไหนในนาทีที่เขารุมฆ่าประชาชนนั้น ผมอยู่แถวหน้าของแนวปะทะตลอด นั่นหมายถึงผมย่อมมี “อารมณ์” เคียดแค้น ชิงชัง ชนชั้นปกครอง โดยเฉพาะ “ศักดินาใหญ่” ที่เราล้วนเชื่อว่าอยู่เบื้องหลังคำสั่งฆ่าประชาชน เช่นเดียวกับอารมณ์โกรธ เกลียด พ.อ.อุทาร และวิทยุยานเกราะ นสพ.ดาวสยามและบางกอกโพสต์ ทมยันตี กิติวุฒโฑ รวมทั้ง นายสมัคร คนนี้ด้วยเช่นเดียวกับท่านอาจารย์ทั้งสอง และขบวนนักศึกษาประชาชนที่ถูกปราบปรามทำร้ายนั้นเช่นกัน...
ความเคียดแค้นในวัยเยาว์นำผมและเพื่อนจำนวนมากเข้าสู่สงครามประชาชน แลกเลือดด้วยเลือด ห้ำหั่นประหัตประหารกันเองอย่างหนักหน่วง ผมได้เข้าร่วมกองทัพปลดแอกและได้ “ฆ่า” ทหาร ตำรวจ และโดยเฉพาะ “ตชด.” กับมือตนเองจำนวนมาก ในระหว่างสงคราม ด้วยความ “สะใจ” ที่ได้สางแค้นแทนเพื่อนที่ตายไปในธรรมศาสตร์เมื่อ ๖ ตุลาคม ๑๙ เป็นการระบายความเคียดแค้นโดยสงครามแลกเลือดแลกชีวิตกันกว่า ๕ ปี ในเขตป่าเขา...
เสียดายที่ อ.เกษียร อ.สมศักดิ์ รวมทั้ง อ.ธงชัย วินิจกุล ไม่มีโอกาสตรงนี้..ที่จะได้ระบายอารมณ์ “เคียดแค้น” ตามสัญชาติญาณดิบของความเป็นมนุษย์ของเราได้มาก....ความอาฆาต ที่คั่งแค้นอัดแน่นจึงไม่ต้องเก็บอัดไว้ในส่วนลึกถึง ๓๒ ปี ที่ท่านยังเก็บรับเหตุการณ์ ๖ ตุลา ไว้ในอารมณ์ที่เหมือนเพิ่งผ่านมาเมื่อวานนี้ ในขณะที่ผมระลึกถึงด้วยการคำนึงถึงในอนุสติที่เตือนใจและตรองความคิดทุกครั้งที่คิดถึง มิได้อัดแน่นด้วยอารมณ์คั่งแค้นที่เก็บอัดไม่มีทางระบายออก จนเปี่ยมล้นในงานวิชาการของ อ.สมศักดิ์ และ อ.ธงชัย ที่ยังจ้อง “เล่น” โจทย์เก่าอย่างต่อเนื่องด้วยงานวิชาการที่ห่อหุ้มด้วยอารมณ์ความรู้สึกส่วนลึกตลอดระยะ ๓๒ ปีที่ผ่านมา....
ต้องขอโทษที่บังอาจวิเคราะห์ทางจิต จี้จุดต่อมใต้สำนึกของท่านอาจารย์ที่เปี่ยมวรยุทธ์ในวงวิชาการยิ่งนัก หากชี้ผิดไปก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้
ประการที่สอง ในเนื้อหาการจุดกระแสของท่านทั้งสอง ว่ามีผู้จุดกระแสคล้ายคลึงก่อนเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลา นั้น ผมมีความเห็นว่า หากเทียบเคียงรูปแบบหรือใช้ตรรกะศาสตร์มาเทียบเคียงปรากฏการณ์หนึ่ง กับ หนึ่ง นั้นดูเหมือนใช่ ดูเหมือนเป็นเรื่องเดียวกัน ดูเหมือนดาวสยาม กับ ผู้จัดการ จะเป็นเรื่องเดียวกัน ดูเหมือนขบวนนวพล-กระทิงแดง จะเหมือน ขบวนพันธมิตร เช่นนั้นฤา? แล้วตัวละครอย่าง เนวิน ประชา กับม็อบถ่อยโชว์กระจู๋หน้า ธรรมศาสตร์ วันนั้น เทียบเคียงกับกลุ่มใด บุคคลใดในอดีตได้เล่า ? เขาคือ ขบวนนิสิต นศ.ประชาชน ผู้ต่อต้านการกลับเข้ามาของถนอม เช่นนั้นฤา ? ดูว่า ตรรกะของ อ.สมศักดิ์ จะพิลึกพิลั่นอยู่กระมัง
ประการที่สาม หากพิจารณาการจุดกระแสของ อ.สมศักดิ์ ว่าการเคลื่อนไหวต่อต้านขบวนการหมิ่นฯ ของเครือผู้จัดการและขบวนพันธมิตรนั้น เป็นเรื่องเดียวกันกับขบวนปลุกปั่นยุยงให้สังคมเกลียดชังนักศึกษาเมื่อวันที่ ๕ ตุลา ๑๙ ได้ โดยเฉพาะกรณีการใช้รูปที่ใช้เทคนิคตกแต่งภาพให้ดูเหมือนพระบรมวงศานุวงศ์ในหนังสือพิมพ์ดาวสยาม ดูเหมือนจะเป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่สื่อในเครือผู้จัดการ ออกมาอัดขบวนการหมิ่นฯ กรณีโชติศักดิ์ กรณีเว็บประชาไท-ฟ้าเดียวกัน กรณีใบปลิว และอื่นๆ นั้น คงเป็นการใช้ตรรกะ ของ อ.สมศักดิ์ ที่ขาดน้ำหนักในการพิจารณาเนื้อแท้ของปรากฏการณ์ทั้งสองยุคนั้นว่ามีส่วนที่เหมือนและต่างกันเช่นใด
กล่าวคือ การจุดกระแสด้วยกรณีหมิ่นฯ ของดาวสยาม-ยานเกราะ โดยใช้รูปเหมือนที่ใช้เทคนิคตกแต่งภาพ เมื่อ ๖ ตุลา ๑๙ นั้น เป็นเรื่องจอมปลอมที่หลอกลวงสังคม ผมรู้จักอภินันท์ ดี และอยู่ในเหตุการณ์ที่ต้องเลือกเขาไปแขวนคอในละคอนการเมืองเทียบเคียงกับการฆ่าแขวนคอกรรมกรที่นครปฐมนั้นเพราะเขาเป็นคนตัวเล็กใช้ผ้าขาวม้ามัดเป็นเทคนิคได้ มิใช่เพราะเขาหน้าเหมือนเจ้านายพระองค์ใด หรือเป็นความจงใจจะทำการหมิ่นฯ ข้อนี้สามสิบปีที่ผ่านมาสังคมก็เรียนรู้และประจักษ์ชัด อ.เกษียร และ อ.สมศักดิ์ ก็ย่อมต้องเข้าใจอย่างแท้จริงในเจตนาว่าตั้งใจหมิ่นฯ หรือไม่หมิ่นฯ เทียบเคียงกับกรณีโชติศักดิ์ ที่ทั้ง อ.เกษียร อ.สมศักดิ์ รวมทั้ง อ.ธงชัย รู้จักดีทั้งฐานะลูกศิษย์ที่ซึมซับวิธีคิดและอารมณ์เคียดแค้นพยาบาท “เจ้า” ในจิตใต้สำนึกของท่านทั้งหลายที่สืบสานยังผู้เชื่อมั่นและศรัทธาในตัวท่าน และ กรณีโชติศักดิ์นั้น เจ้าตัวตั้งใจอย่างยิ่งที่จะไม่ยืนเคารพเมื่อเปิดเพลงสรรเสริญในโรงภาพยนตร์ รวมทั้งการทำแคมเปญ ไม่ยืน ไม่หมิ่น คิดต่าง มิใช่อาชญากร ทั้งในการทำเสื้อรณรงค์สวมใส่ในกลุ่มพวกหรือการรับลูกของเว็บไซต์ประชาไทและฟ้าเดียวกัน ที่ท่าน อ.สมศักดิ์ เป็นผู้มีบารมีใกล้ชิดกันอยู่แล้วมิใช่หรือ?
การที่ อ.สมศักดิ์ จุดกระแส โจมตีผู้อื่นว่าจุดกระแส ๖ ตุลา จึงเป็นความไม่ถูกต้อง เพราะเนื้อแท้ของปรากฏการณ์ที่ดูเหมือนกันนั้น แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และผมยังตั้งข้อสังเกต อ.สมศักดิ์ ว่าคนในระดับท่านนั้นเชี่ยวชาญการเมืองและแม่นยำเหตุการณ์ทั้งยังเก่งในการใช้ตรรกะเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านหรือสังคมคล้อยตามตรรกะของท่านได้บ่อยๆ นั้น จะไม่รู้จริงๆ หรือว่า การใช้กรณีหมิ่นฯ เป็นเหตุโจมตีทางการเมืองของทั้งสองกรณีนั้นไม่เหมือนกัน เมื่อสามสิบสองปีก่อนนั้นของปลอม แต่ พ.ศ.นี้ “ของจริง” แต่ที่ท่าน อ.สมศักดิ์ดูเปรียบเทียบเลอะเลือนเช่นนี้ ก็เป็นเพราะความจงใจในการบิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อปกป้อง “โชติศักดิ์” และขบวนของเขา รวมทั้งกลุ่มความคิดฟ้าเดียวกัน ที่ท่านใกล้ชิด และมีอิทธิพลทางความคิดต่อเด็กๆ เหล่านี้ยิ่งนัก?
ว่ากันว่า คนกลุ่มนี้ศรัทธาท่านทั้งสามยิ่งนัก เท็จจริงประการใด วานบอก...
นี่เรายังไม่ได้โต้แย้งในเรื่องที่ ท่าน อ.สมศักดิ์ กล่าวแก้ต่างแทนกลุ่มคิด “ปฏิญญาฟินแลนด์” ว่าเป็นเรื่องไร้สาระ คงต้องแนะนำให้ อ.สมศักดิ์ ไปค้นที่มาที่ไปในเรื่องนี้ให้ชัดก่อน ย้อนไปดูบทสัมภาษณ์ของ อมร และหาโอกาสไปคุยกับคนวงในอย่างพี่มิ้ง พี่เกรียง พี่อ้วน..ก่อนก็ได้ การเขียนบทความตัดสินบางเรื่องว่าไร้สาระโดยอัตวิสัยนั้นหาใช่คุณสมบัติที่ดีของนักวิชาการนะครับ หรือให้รีบกลับไปอ่านบทความเรื่อง Republics ของปราชญ์สยามตัวจริง อ.ชัยอนันต์ ก็ได้ อ.สมศักดิ์จึงจะได้เรียนรู้เรื่องราวการเมืองในเบื้องลึกได้ลึกซึ้งกว่าที่ผายลมผ่านบทความของตนเช่นนั้น
ส่วนประเด็นที่ อ.เกษียร เรียกร้องไม่ให้ใช้กรณีหมิ่นฯ และสถาบันกษัตริย์ เป็นเครื่องมือทางการเมืองทำลายฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง และเตือนว่าอย่าเดินไปสู่ ๖ ตุลาฯ นั้น น่าจะเป็นข้อกังวลร่วมกัน เพียงแต่ผมเห็นว่า อ.เกษียร น่าจะหันปลายปากกาไปเตือน “โชติศักดิ์” และพวก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ อ.เกษียณเอง ว่าไม่ควรทำอะไรที่ “อ่อนหัด ไร้เดียงสา และฉวยโอกาสเอียงซ้าย” แบบสุดๆ เช่นนี้อีก เพราะสิ่งที่ลูกศิษย์ท่านทำการ “ห่ามๆ”เช่นนี้ รังจะเป็นผลร้ายต่อขบวนประชาธิปไตย เป็นเงื่อนไขให้ทหารทำรัฐประหาร และเผด็จการ หรือการปราบปรามประชาชนก็จะตามมา เด็กเมื่อวานซืนอย่างโชติศักดิ์และพวกมองไม่เห็นหรอกว่า คำว่า “หายนะ” นั้นสะกดอย่างไร ต้องเป็นธุระของคนในรุ่นเราที่ผ่านเหตุการณ์เลวร้ายนั้นต้องชะลอความแรงของคนรุ่นหนุ่มเช่นนี้ มิใช่ให้ท้ายส่งเดชอย่างที่ อ.สมศักดิ์ ทำอยู่
สุดท้าย ฝากถึง อ.ธงชัย ที่อยู่แดนไกล ด้วยว่า น่าจะพบธรรมของพระพุทธองค์ได้แล้ว ทั้ง อ.สมศักดิ์ด้วย เลิกอาฆาตพยาบาทได้แล้ว เพื่อสติปัญญาเหนือคนอย่างพวกท่านทั้งสามจะได้เกิดประโยชน์แก่สังคมได้ด้วยไม่เจือปนโมหะจริตอยู่อย่างที่เป็นอยู่นี้ เลือดต้องล้างด้วยเลือดตามเนื้อเพลงที่จิตร ภูมิศักดิ์ แต่งไว้นั้น ในชีวิตจริงผมผ่านมาแล้วด้วยชีวิตแลกชีวิตด้วยมือตนเอง ผมผ่านมาหมดแล้ว ผมพอแล้ว ... กรรมใดใครก่อก็ต้องพบกรรมตามสนอง..นี่สิของจริง....