ผู้จัดการรายวัน – สคบ.ดึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชน ร่วมสัมมนา “ร่างกฏกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาที่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค พ.ศ. ....” ส่วนใหญ่เห็นชอบ แต่ติดที่ต้องการขอให้ลงรายละเอียดและร่างคู่มือกำกับเพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง มองเส้นทางสู่ผลบังคับใช้ยังอีกยาวไกล อย่างเร็วต้นปีหน้าได้เห็น
วานนี้(8 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สคบ. ได้จัดประชุมสัมมนา “ร่างกฏกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาที่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค พ.ศ. ....” โดยมีนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นประธาน ซึ่งในการประชุมมีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฏกระทรวงดังกล่าว จำนวนกว่า 200 คน
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการโฆษณาที่เข้าข่ายในลักษณะที่อาจฝ่าฝืน มาตรา23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่ได้กำหนดไว้ว่าการโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภคอยู่เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ไม่สามารถใช้กฏหมายดังกล่าวดำเนินการได้ จึงทำให้เกิดช่องว่างในการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจในการโฆษณาสินค้าและบริการ จึงได้มีการจัดสัมมนา “ร่างกฏกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาที่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค พ.ศ. ....”ประกอบมาตรา 23 แห่ง ระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับร่างกฏกระทรวงฉบับดังกล่าวนี้ มี 2 ข้อใหญ่ คือ ข้อ. 1 การโฆษณาที่กระทําด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเข้าลักษณะอันอาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจแก่ผู้บริโภค คือ ก.การนำสัตว์มาแสดงให้เห็นถึงความดุร้าย หรือการทารุณต่อสัตว์ หรือการใช้วิธีที่เสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกาย หรือชีวิตแก่บุคคลหรือสัตว์ ข. การนำอาวุธหรือวัตถุระเบิดมาแสดงให้เห็นว่าได้นำมาใช้เพื่อกระทำผิดกฏหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ ค. การนำวัตถุอันตรายมาแสดงให้เห็นวิธีการฉีด พ่น เข้าหาบุคคลหรือสถานที่ที่มีบุคคล หรือบริเวณที่มีภาชนะอาหารตั้งอยู่หรือแสดงให้เห็นว่ามีการสูดดม
ง. การนำวัตถุหรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะที่น่ารังเกียจน่าขยะขแยง หรือน่ากลัว หรือทำให้เข้าใจ ว่าเป็นวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตราย มาวาง ตั้งหรือ แขวน หรือทำให้ปรากฏไม่ส่าด้วยวิธีการใดๆทำให้ผุ้อื่นตกใจกลัวไม่สบายใจหรือวิตกกังวล จ.การใช้บุคคลมาแสดงท่าทางที่เสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดแก่ร่างกายหรือชีวิต ฉ.การส่งข้อความไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ซึ่งอาจทำให้ผู้ได้รับข้อความหรือบุคคลในครอบครัวตกใจกลับไม่สบายใจหรือที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในครอบครัว
ข้อ.2 การโฆษณาที่กระทำด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเข้าลักษณะอันก่อให้เกิดความรำคาญอย่างต่อเนื่อง ข. การใช้เสียงดังเกินปกติหรือเสียงดังผิดปกติ หรือใช้เสียงในบางช่วงบางตอนดังเกินปกติ หรือผิดปกติหรือลากเสียงยาวเกินปกติ หรือใช้ภาพหรือแสงที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วน หรือไม่สบายใจโดยไม่สมควร
โดยเนื้อหาในร่างกฏกระทรวงนี้ มีตัวแทนจากผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมแสดงความคิดเห็นไว้หลายท่าน อาทิ เช่น นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นด้วยว่า เห็นด้วยที่ร่างกฏกระทรวงนี้จะเกิดขึ้น แต่อยากให้มีการกำกับรายละเอียดต่างๆให้ชัดเจนมากกว่านี้ เพื่อให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง บนพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะร่างฉบับดังกล่าว ยังมองว่าไม่ชัดเจน ส่วนตัวแทนจากทางกรมประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นไว้ว่า เห็นด้วยเช่นเดียวกัน แต่อยากเสนอแนะให้มีเรื่องของการจัดทำคู่มือนำมาประกอบกับร่างฉบับนี้ด้วย
ขณะที่ตัวแทนจากทางภาคเอกชน อย่าง ยูนิลีเวอร์ แสดงความกังวลว่าด้วยเรื่องของสินค้าบางประเภท เช่น น้ำยาล้างจาน หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม ที่ต้องโฆษณาแบบต้องสูดกลิ่นนั้น อาจอยู่ในข่ายของข้อที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายได้ จึงอยากให้การชี้แจงรายละเอียดต่างๆด้วย เพื่อที่จะนำมาปฏิบัติและทำการโฆษณาได้อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม นางรัศมี ได้กล่าวว่า ร่างนี้เป็นแค่กรอบแบบกว้างๆ ซึ่งต่อไปจะมีการจัดคู่มือควบคู่ไปด้วย โดยขั้นตอนต่อไป ยังคงเปิดโอกาสให้ส่งความคิดเห็นเข้ามาได้ จนกว่าจะมีการนำร่างนี้มาประกาศใช้ ซึ่งมองว่ายังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะสคบ.ต้องมีการยกร่างและรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการสอดส่องวินิจฉัยโฆษณา
หลังจากนั้นจึงจะนำร่างนี้เสนอต่อคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เพื่อที่จะนำเสนอแก่คณะครม. ให้เห็นชอบ หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการส่งไปที่กฤษฏีกา ว่าจะผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านก็จะต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนาม จึงจะแล้วเสร็จ และจะประกาศใช้ต่อไปได้ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ หากไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น อย่างเร็วที่สุด คาดว่าต้นปีหน้าร่างกฏกระทรวงนี้จะมีผลบังคับใช้ได้
วานนี้(8 พ.ค.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สคบ. ได้จัดประชุมสัมมนา “ร่างกฏกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาที่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค พ.ศ. ....” โดยมีนางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นประธาน ซึ่งในการประชุมมีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมถึงสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมอภิปรายแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฏกระทรวงดังกล่าว จำนวนกว่า 200 คน
นางรัศมี วิศทเวทย์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการโฆษณาที่เข้าข่ายในลักษณะที่อาจฝ่าฝืน มาตรา23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ที่ได้กำหนดไว้ว่าการโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภคอยู่เป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา ไม่สามารถใช้กฏหมายดังกล่าวดำเนินการได้ จึงทำให้เกิดช่องว่างในการควบคุมผู้ประกอบธุรกิจในการโฆษณาสินค้าและบริการ จึงได้มีการจัดสัมมนา “ร่างกฏกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาที่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค พ.ศ. ....”ประกอบมาตรา 23 แห่ง ระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ขึ้นเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมแสดงความคิดเห็น
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับร่างกฏกระทรวงฉบับดังกล่าวนี้ มี 2 ข้อใหญ่ คือ ข้อ. 1 การโฆษณาที่กระทําด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเข้าลักษณะอันอาจเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจแก่ผู้บริโภค คือ ก.การนำสัตว์มาแสดงให้เห็นถึงความดุร้าย หรือการทารุณต่อสัตว์ หรือการใช้วิธีที่เสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่ร่างกาย หรือชีวิตแก่บุคคลหรือสัตว์ ข. การนำอาวุธหรือวัตถุระเบิดมาแสดงให้เห็นว่าได้นำมาใช้เพื่อกระทำผิดกฏหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ ค. การนำวัตถุอันตรายมาแสดงให้เห็นวิธีการฉีด พ่น เข้าหาบุคคลหรือสถานที่ที่มีบุคคล หรือบริเวณที่มีภาชนะอาหารตั้งอยู่หรือแสดงให้เห็นว่ามีการสูดดม
ง. การนำวัตถุหรือสิ่งอื่นใดอันมีลักษณะที่น่ารังเกียจน่าขยะขแยง หรือน่ากลัว หรือทำให้เข้าใจ ว่าเป็นวัตถุที่อาจก่อให้เกิดอันตราย มาวาง ตั้งหรือ แขวน หรือทำให้ปรากฏไม่ส่าด้วยวิธีการใดๆทำให้ผุ้อื่นตกใจกลัวไม่สบายใจหรือวิตกกังวล จ.การใช้บุคคลมาแสดงท่าทางที่เสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดแก่ร่างกายหรือชีวิต ฉ.การส่งข้อความไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ ซึ่งอาจทำให้ผู้ได้รับข้อความหรือบุคคลในครอบครัวตกใจกลับไม่สบายใจหรือที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาในครอบครัว
ข้อ.2 การโฆษณาที่กระทำด้วยวิธีการดังต่อไปนี้ ให้ถือว่าเข้าลักษณะอันก่อให้เกิดความรำคาญอย่างต่อเนื่อง ข. การใช้เสียงดังเกินปกติหรือเสียงดังผิดปกติ หรือใช้เสียงในบางช่วงบางตอนดังเกินปกติ หรือผิดปกติหรือลากเสียงยาวเกินปกติ หรือใช้ภาพหรือแสงที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกระอักกระอ่วน หรือไม่สบายใจโดยไม่สมควร
โดยเนื้อหาในร่างกฏกระทรวงนี้ มีตัวแทนจากผู้ที่เข้าร่วมสัมมนาได้ร่วมแสดงความคิดเห็นไว้หลายท่าน อาทิ เช่น นายวิทวัส ชัยปาณี นายกสมาคมโฆษณาธุรกิจแห่งประเทศไทย ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นด้วยว่า เห็นด้วยที่ร่างกฏกระทรวงนี้จะเกิดขึ้น แต่อยากให้มีการกำกับรายละเอียดต่างๆให้ชัดเจนมากกว่านี้ เพื่อให้ผู้อื่นนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง บนพื้นฐานความเข้าใจที่ตรงกัน เพราะร่างฉบับดังกล่าว ยังมองว่าไม่ชัดเจน ส่วนตัวแทนจากทางกรมประชาสัมพันธ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นไว้ว่า เห็นด้วยเช่นเดียวกัน แต่อยากเสนอแนะให้มีเรื่องของการจัดทำคู่มือนำมาประกอบกับร่างฉบับนี้ด้วย
ขณะที่ตัวแทนจากทางภาคเอกชน อย่าง ยูนิลีเวอร์ แสดงความกังวลว่าด้วยเรื่องของสินค้าบางประเภท เช่น น้ำยาล้างจาน หรือน้ำยาปรับผ้านุ่ม ที่ต้องโฆษณาแบบต้องสูดกลิ่นนั้น อาจอยู่ในข่ายของข้อที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายได้ จึงอยากให้การชี้แจงรายละเอียดต่างๆด้วย เพื่อที่จะนำมาปฏิบัติและทำการโฆษณาได้อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม นางรัศมี ได้กล่าวว่า ร่างนี้เป็นแค่กรอบแบบกว้างๆ ซึ่งต่อไปจะมีการจัดคู่มือควบคู่ไปด้วย โดยขั้นตอนต่อไป ยังคงเปิดโอกาสให้ส่งความคิดเห็นเข้ามาได้ จนกว่าจะมีการนำร่างนี้มาประกาศใช้ ซึ่งมองว่ายังเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาอีกนาน เพราะสคบ.ต้องมีการยกร่างและรับฟังความคิดเห็น เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการสอดส่องวินิจฉัยโฆษณา
หลังจากนั้นจึงจะนำร่างนี้เสนอต่อคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา เพื่อที่จะนำเสนอแก่คณะครม. ให้เห็นชอบ หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่ขั้นตอนการส่งไปที่กฤษฏีกา ว่าจะผ่านหรือไม่ ถ้าผ่านก็จะต้องให้นายกรัฐมนตรีลงนาม จึงจะแล้วเสร็จ และจะประกาศใช้ต่อไปได้ ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ หากไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น อย่างเร็วที่สุด คาดว่าต้นปีหน้าร่างกฏกระทรวงนี้จะมีผลบังคับใช้ได้