ผู้จัดการรายวัน/เอเอฟพี/วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชีย - ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังทำทะยานขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่อีก โดยอยู่เฉียดๆ 124 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เนื่องจากพวกนักเก็งกำไรหาเหตุออกแรงดันตลาดโดยอ้างความกังวลเรื่องภาวะซัปพลายน้ำมันตึงตัว ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชียก็สำทับว่า เวลานี้มีพวกนักเฝ้าจับตามองตลาดจำนวนมากขึ้นทุกที ที่แสดงความเห็นว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะได้เห็นน้ำมันดิบไลต์สวีตครูด 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้ “ปตท.”ออกโรงปั่นน้ำมันขายปลีกสัปดาห์นี้ยังมีโอกาสปรับต่อ โอกาสเห็นเบนซินแตะ 40 บาทต่อลิตรก็มีสูง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าของน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดวันพุธ(7)ที่นิวยอร์กโดยเขยิบขึ้นจากตอนปิดวันอังคาร 1.69 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 123.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อันนับเป็นสถิติสูงสุดใหม่สำหรับราคาปิด ทั้งนี้หลังจากระหว่างวันก็ขึ้นไปจนถึง 123.80 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นนิวไฮสำหรับช่วงระหว่างวันเช่นกัน
ส่วนสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนมิถุนายน ในระหว่างการซื้อขายวันพุธ ก็ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลเหมือนกัน ที่ 122.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนไหลลงมาปิดที่ 122.32 ดอลลาร์ แข็งขึ้นจากวันก่อน 2.01 ดอลลาร์
หลังจากตลาดจริงปิดในวันพุธ ไลต์สวีตครูดยังขยับขึ้นในการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จนทำนิวไฮอีกครั้งที่ 123.93 ดอลลาร์ แล้วจึงถอยลงมา โดยในช่วงสายวานนี้(8)ที่ลอนดอน ยืนอยู่แถวๆ 123.50 ดอลลาร์ ส่วนเบรนต์ก็พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่เหมือนกันที่ 122.79 ดอลลาร์ในการซื้อขายช่วงเช้า แล้วจึงมาอยู่แถวๆ 122.40 ดอลลาร์เมื่อตอนสายวานนี้
ราคาน้ำมันยังคงทะยานขึ้นเช่นนี้ ทั้งที่รายงานตัวเลขน้ำมันที่อยู่ตามคลังเก็บทั่วสหรัฐฯประจำสัปดาห์ที่ประกาศตอนเช้าวันพุธ แสดงให้เห็นว่า สต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น 5.7 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินก็มากขึ้น 800,000 บาร์เรล
นักวิเคราะห์หลายคนอย่างเช่น จิม ริตเทอร์บุสช์ ประธานบริษัทริตเทอร์บุสช์แอนด์แอสโซซิเอตส์ บอกว่า พวกเทรดเดอร์มุ่งแต่จะหาข่าวซึ่งสนับสนุนราคาให้พุ่งสูง จึงเที่ยวแคะคุ้ยข้อมูลของรายงานนี้ และก็พบว่าปริมาณของดิสทิลเลต ซึ่งนำกลั่นเป็นดีเซลและน้ำมันเตา ได้ลดต่ำลงมา จึงใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างดันราคาให้โลดแล่นขึ้นไปอีก
ขณะที่ วิกเตอร์ ชุม หุ้นส่วนอาวุโสแห่งบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงาน เพอร์วิน แอนด์ เกิร์ตซ์ ในสิงคโปร์ ชี้ว่า "เวลานี้ตลาดกำลังซื้อขายกันโดยอาศัยโมเมมตัม โดยพวกที่เล่นอยู่ในตลาดมีแนวโน้มที่จะเลือกโฟกัสไปยังข่าวซึ่งไปในทิศทางคึกคักเท่านั้น" เขาเตือนด้วยว่า การทะยานเช่นนี้ย่อมเสี่ยงต่อการที่จะมีการปรับฐานลงมาอย่างแรง
ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชียรายงานว่า การพุ่งเอาๆ ชนิดเหมือนกับไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ของน้ำมัน ทำให้นักวิเคราะห์บางรายออกคำทำนายเกี่ยวกับอนาคตของราคาในทิศทางน่าห่อเหี่ยวใจมากขึ้น เป็นต้นว่า โกลด์แมนแซคส์ เพิ่งออกรายงานฉบับใหม่ระบุถึงความเป็นไปได้ที่ราคาไลต์สวีตครูดจะไปถึง 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในเวลา 2 ปี
แดเนียล เยอร์กิน ประธานบริษัทเคมบริดจ์ เอเนอจี รีเสิร์ช แอสโซซิเอตส์ ซึ่งปกติแล้วขึ้นชื่อว่ามักทำนายในแง่ที่ราคาน้ำมันจะลดลงมาอยู่เสมอ เวลานี้เขากลับเห็นว่า ราคาอาจจะไปถึง 150 ดอลลาร์ในปีนี้
เยอร์กินบอกว่า ปัญหาศักยภาพการผลิตสำรองของโลกที่หายไปมาก ยังเป็นปัจจัยสำคัญสุดที่เร่งให้ราคาน้ำมันพุ่งแรง โดยเขาอธิบายว่า บรรดาผู้ผลิตน้ำมันของโลกต่างก็ผลิตกันเต็มที่แล้ว และเหลือเพียงซาอุดีอาระเบียประเทศเดียวที่มีศักยภาพที่จะผลิตได้มากขึ้นอีก ดังนี้เองเมื่อมีเหตุทางการเมืองหรือภาวะช็อกอื่นๆ ก็ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับซัปพลายน้ำมันได้ทุกที
วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชียรายงานว่า พวกนักวิเคราะห์มองกันว่า ปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้ ก็คือความต้องการใช้น้ำมันของทั่วโลกจะต้องเกิดการลดลงอย่างแรงๆ หรือไม่ก็พวกนักลงทุนระหว่างประเทศพากันถอยหนีจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์อย่างฉับพลัน
ปตท.ขู่น้ำมันขึ้นอีกเบนซินแตะ 40 บ.
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีโอกาสปรับขึ้นอีกครั้งหากราคาน้ำมันตลาดโลกทรงตัวระดับสูงเนื่องจากล่าสุดค่าการตลาดผู้ค้าเฉลี่ยเหลือศูนย์ โดยเฉพาะดีเซลนั้นติดลบถึง 1 บาทต่อลิตรแล้วซึ่งเท่ากับผู้ค้าน้ำมันต้องขาดทุนจากราคาขายปลีกที่ต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่น 1 บาทต่อลิตร
“4 เดือนแรกปีนี้ ปตท.รับภาระการตรึงราคาน้ำมันไปแล้ว 3,200 ล้านบาท และคาดว่าทั้งปีจะรับภาระประมาณ 5,000 ล้านบาทแต่ภาพรวมผลการดำเนินงานสิ้นปีจะออกมาดี ซึ่งปตท.พยายามติดตามน้ำมันตลาดโลกอย่างใกล้ชิดและไม่ได้ปรับสะท้อนทั้งหมดเพื่อลดภาระกับประชาชนโดยน้ำมันที่แพงขอให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่มีราคาต่ำเช่น แก๊สโซฮอล์ที่ถูกกว่าเบนซิน 4 บาทต่อลิตรอี 20 ที่ถูกกว่า 6 บาทต่อลิตร”นายประเสริฐกล่าว
ทั้งนี้สถานการณ์น้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยอมรับว่าโอกาสเห็นเบนซินขายปลีกของไทยแตะลิตรละ 40 บาทก็มีค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ส่วนของเบนซินค่อนข้างสวิงตัวสูงมากปรับขึ้นครั้งละ 5 เหรียญต่อบาร์เรลซึ่งจะกระทบขายปลีกในไทยต้องปรับขึ้นครั้งละ 1 บาทต่อลิตร โดยสถานการณ์ตลาดโลกยังต้องติดตามใกล้ชิดเนื่องจากมีการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ และหวั่นวิตกหากมีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติหรือระเบิดคลังน้ำมันที่ไนจีเรีย ก็ยิ่งจะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นไปอีก
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านน้ำมัน กล่าวว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดวันที่ 7 พ.ค. ถือเป็นราคาสร้างสถิติสูงสุดโดยเวสต์เท็กซัส ปิดที่ 123.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สาเหตุหลักเกิดจากการเก็งกำไร เพราะปัจจัยพื้นฐานล้วนแต่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นสำรองน้ำมันดิบเพื่อการค้าของสหรัฐ ที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้แข็งค่าขึ้น โดยในขณะนี้ตลาดคาดว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะขยับขึ้นไปอยู่ในระดับ 125-130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้ในอีก 1-2 สัปดาห์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะทำให้ราคาน้ำมันในไทยขยับขึ้นอีกต่อเนื่อง
สัญญาซื้อขายล่วงหน้าของน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของตลาดไนเม็กซ์แห่งนิวยอร์ก เพื่อการส่งมอบเดือนมิถุนายน ปิดวันพุธ(7)ที่นิวยอร์กโดยเขยิบขึ้นจากตอนปิดวันอังคาร 1.69 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 123.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อันนับเป็นสถิติสูงสุดใหม่สำหรับราคาปิด ทั้งนี้หลังจากระหว่างวันก็ขึ้นไปจนถึง 123.80 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นนิวไฮสำหรับช่วงระหว่างวันเช่นกัน
ส่วนสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนมิถุนายน ในระหว่างการซื้อขายวันพุธ ก็ทำสถิติสูงสุดตลอดกาลเหมือนกัน ที่ 122.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนไหลลงมาปิดที่ 122.32 ดอลลาร์ แข็งขึ้นจากวันก่อน 2.01 ดอลลาร์
หลังจากตลาดจริงปิดในวันพุธ ไลต์สวีตครูดยังขยับขึ้นในการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ จนทำนิวไฮอีกครั้งที่ 123.93 ดอลลาร์ แล้วจึงถอยลงมา โดยในช่วงสายวานนี้(8)ที่ลอนดอน ยืนอยู่แถวๆ 123.50 ดอลลาร์ ส่วนเบรนต์ก็พุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่เหมือนกันที่ 122.79 ดอลลาร์ในการซื้อขายช่วงเช้า แล้วจึงมาอยู่แถวๆ 122.40 ดอลลาร์เมื่อตอนสายวานนี้
ราคาน้ำมันยังคงทะยานขึ้นเช่นนี้ ทั้งที่รายงานตัวเลขน้ำมันที่อยู่ตามคลังเก็บทั่วสหรัฐฯประจำสัปดาห์ที่ประกาศตอนเช้าวันพุธ แสดงให้เห็นว่า สต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐฯเพิ่มสูงขึ้น 5.7 ล้านบาร์เรล ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินก็มากขึ้น 800,000 บาร์เรล
นักวิเคราะห์หลายคนอย่างเช่น จิม ริตเทอร์บุสช์ ประธานบริษัทริตเทอร์บุสช์แอนด์แอสโซซิเอตส์ บอกว่า พวกเทรดเดอร์มุ่งแต่จะหาข่าวซึ่งสนับสนุนราคาให้พุ่งสูง จึงเที่ยวแคะคุ้ยข้อมูลของรายงานนี้ และก็พบว่าปริมาณของดิสทิลเลต ซึ่งนำกลั่นเป็นดีเซลและน้ำมันเตา ได้ลดต่ำลงมา จึงใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างดันราคาให้โลดแล่นขึ้นไปอีก
ขณะที่ วิกเตอร์ ชุม หุ้นส่วนอาวุโสแห่งบริษัทที่ปรึกษาด้านพลังงาน เพอร์วิน แอนด์ เกิร์ตซ์ ในสิงคโปร์ ชี้ว่า "เวลานี้ตลาดกำลังซื้อขายกันโดยอาศัยโมเมมตัม โดยพวกที่เล่นอยู่ในตลาดมีแนวโน้มที่จะเลือกโฟกัสไปยังข่าวซึ่งไปในทิศทางคึกคักเท่านั้น" เขาเตือนด้วยว่า การทะยานเช่นนี้ย่อมเสี่ยงต่อการที่จะมีการปรับฐานลงมาอย่างแรง
ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชียรายงานว่า การพุ่งเอาๆ ชนิดเหมือนกับไม่มีอะไรมาหยุดยั้งได้ของน้ำมัน ทำให้นักวิเคราะห์บางรายออกคำทำนายเกี่ยวกับอนาคตของราคาในทิศทางน่าห่อเหี่ยวใจมากขึ้น เป็นต้นว่า โกลด์แมนแซคส์ เพิ่งออกรายงานฉบับใหม่ระบุถึงความเป็นไปได้ที่ราคาไลต์สวีตครูดจะไปถึง 200 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลภายในเวลา 2 ปี
แดเนียล เยอร์กิน ประธานบริษัทเคมบริดจ์ เอเนอจี รีเสิร์ช แอสโซซิเอตส์ ซึ่งปกติแล้วขึ้นชื่อว่ามักทำนายในแง่ที่ราคาน้ำมันจะลดลงมาอยู่เสมอ เวลานี้เขากลับเห็นว่า ราคาอาจจะไปถึง 150 ดอลลาร์ในปีนี้
เยอร์กินบอกว่า ปัญหาศักยภาพการผลิตสำรองของโลกที่หายไปมาก ยังเป็นปัจจัยสำคัญสุดที่เร่งให้ราคาน้ำมันพุ่งแรง โดยเขาอธิบายว่า บรรดาผู้ผลิตน้ำมันของโลกต่างก็ผลิตกันเต็มที่แล้ว และเหลือเพียงซาอุดีอาระเบียประเทศเดียวที่มีศักยภาพที่จะผลิตได้มากขึ้นอีก ดังนี้เองเมื่อมีเหตุทางการเมืองหรือภาวะช็อกอื่นๆ ก็ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับซัปพลายน้ำมันได้ทุกที
วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชียรายงานว่า พวกนักวิเคราะห์มองกันว่า ปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้ราคาน้ำมันลดลงได้ ก็คือความต้องการใช้น้ำมันของทั่วโลกจะต้องเกิดการลดลงอย่างแรงๆ หรือไม่ก็พวกนักลงทุนระหว่างประเทศพากันถอยหนีจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์อย่างฉับพลัน
ปตท.ขู่น้ำมันขึ้นอีกเบนซินแตะ 40 บ.
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศมีโอกาสปรับขึ้นอีกครั้งหากราคาน้ำมันตลาดโลกทรงตัวระดับสูงเนื่องจากล่าสุดค่าการตลาดผู้ค้าเฉลี่ยเหลือศูนย์ โดยเฉพาะดีเซลนั้นติดลบถึง 1 บาทต่อลิตรแล้วซึ่งเท่ากับผู้ค้าน้ำมันต้องขาดทุนจากราคาขายปลีกที่ต่ำกว่าราคาหน้าโรงกลั่น 1 บาทต่อลิตร
“4 เดือนแรกปีนี้ ปตท.รับภาระการตรึงราคาน้ำมันไปแล้ว 3,200 ล้านบาท และคาดว่าทั้งปีจะรับภาระประมาณ 5,000 ล้านบาทแต่ภาพรวมผลการดำเนินงานสิ้นปีจะออกมาดี ซึ่งปตท.พยายามติดตามน้ำมันตลาดโลกอย่างใกล้ชิดและไม่ได้ปรับสะท้อนทั้งหมดเพื่อลดภาระกับประชาชนโดยน้ำมันที่แพงขอให้ประชาชนหันมาใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ ที่มีราคาต่ำเช่น แก๊สโซฮอล์ที่ถูกกว่าเบนซิน 4 บาทต่อลิตรอี 20 ที่ถูกกว่า 6 บาทต่อลิตร”นายประเสริฐกล่าว
ทั้งนี้สถานการณ์น้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยอมรับว่าโอกาสเห็นเบนซินขายปลีกของไทยแตะลิตรละ 40 บาทก็มีค่อนข้างสูง เนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปตลาดสิงคโปร์ส่วนของเบนซินค่อนข้างสวิงตัวสูงมากปรับขึ้นครั้งละ 5 เหรียญต่อบาร์เรลซึ่งจะกระทบขายปลีกในไทยต้องปรับขึ้นครั้งละ 1 บาทต่อลิตร โดยสถานการณ์ตลาดโลกยังต้องติดตามใกล้ชิดเนื่องจากมีการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ และหวั่นวิตกหากมีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติหรือระเบิดคลังน้ำมันที่ไนจีเรีย ก็ยิ่งจะทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นไปอีก
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการด้านน้ำมัน กล่าวว่า ราคาน้ำมันตลาดโลกปิดวันที่ 7 พ.ค. ถือเป็นราคาสร้างสถิติสูงสุดโดยเวสต์เท็กซัส ปิดที่ 123.53 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สาเหตุหลักเกิดจากการเก็งกำไร เพราะปัจจัยพื้นฐานล้วนแต่ดีขึ้นไม่ว่าจะเป็นสำรองน้ำมันดิบเพื่อการค้าของสหรัฐ ที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐได้แข็งค่าขึ้น โดยในขณะนี้ตลาดคาดว่าราคาน้ำมันตลาดโลกจะขยับขึ้นไปอยู่ในระดับ 125-130 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้ในอีก 1-2 สัปดาห์ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงก็จะทำให้ราคาน้ำมันในไทยขยับขึ้นอีกต่อเนื่อง