พะเยา – กรมทางหลวงชนบทเดินหน้าทุ่มงบ 1,000 ล้านบาทตัดถนนรับ R3a – การค้าสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจผ่านทุ่ง “หอมมะลิพะเยา” ล่าสุดเปิดประชาพิจารณ์ครั้งสุดท้ายแล้ว ขณะที่ผู้นำและชาวบ้านห่วงน้ำท่วม “ทุ่งลอ” จี้บริษัทที่ปรึกษาหาทางแก้ล่วงหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดพะเยา ได้จัดประชุมหน่วยงานราชการและปัจฉิมนิเทศโครงการ งานสำรวจออกแบบรายละเอียดถนนสายแยก ทล.1021- บ้านกิ่วแก้ว อ.เทิง ,จุน จ.เชียงราย,พะเยา เพื่อเปิดให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้สนใจทั่วไปเข้ารับฟังและเสนอความคิดเห็นในโครงการดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นครั้งสุดท้าย ของการจัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนที่จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้มีการก่อสร้าง
นายธวัช กุลทนันท์ ผู้อำนวยการ(ผอ.)สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า ตามที่กรมทางหลวงชนบท ได้เตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อสนับสนุนเส้นทางการค้า รองรับการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศไทย จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน(สปป.)ลาว และพม่า ที่มีการขนส่งสินค้าหนาแน่นมากขึ้น ภายหลังการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย แห่งที่ 4 แล้วเสร็จ ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมรองรับเส้นทาง R3a จากประเทศจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว มาถึงตอนเหนือของประเทศไทย
ผอ.สำนักสำรวจ ฯ กล่าวต่อว่า ลักษณะของโครงการเป็นการก่อสร้างแนวถนนใหม่เกือบทั้งหมด มีความยาวประมาณ 44 กิโลเมตร (กม.)เขตถนน 30 เมตร มีการปรับปรุงโครงข่ายของกรมทางหลวงชนบทเดิมเป็นบางส่วน โดยมีจุดเริ่มต้นถนนโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 1020 บ้านร่องริว ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย แนวเส้นทางทอดตัวลงทางใต้ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1021 ณ บ้านร่องหาด ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา
โครงการนี้คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท เฉพาะในส่วนการลงทุนก่อสร้างประมาณ 800 ล้านบาท (ค่าเงินและราคาน้ำมันในปัจจุบัน) เมื่อรวมถึงค่าชดเชยและเวนคืนให้แก่ประชาชน ที่อยู่ในแนวถนนMUJจะก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท
“ถ้าถนนเส้นนี้เสร็จ ภายใน 5 ปี เส้นทางดังกล่าวจะมีความคุ้มทุน เพราะจากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาฯ พบว่า ปีหนึ่ง ๆ จะสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ประมาณ 200 ล้านบาท”
นายสมาน บัวจ้อย อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ถนนเส้นนี้จะผ่านพื้นที่ทุ่งลอในเขตติดต่อระหว่าง อ.เทิง จ.เชียงราย อ.เชียงคำ และ อ.จุน จ.พะเยา เป็นหลักใหญ่ อันเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุด
ดังนั้นสิ่งที่ชาวนาทุ่งลอเป็นห่วงอย่างมากที่สุด คือ ปัญหาเรื่องน้ำท่วม เพราะทุกปีทุ่งลอแห่งนี้ จะมีน้ำท่วมขังนานครั้งละประมาณ 10-15 วัน โดยเฉพาะช่วงที่น้ำอิงเอ่อสมทบกับน้ำที่ระบายจากกว๊านพะเยา ซึ่งเรื่องนี้ผู้ดำเนินการศึกษาและก่อสร้าง จะต้องคิดเป็นประเด็นหลัก เพื่อหาทางแก้ปัญหาและป้องกันด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดพะเยา ได้จัดประชุมหน่วยงานราชการและปัจฉิมนิเทศโครงการ งานสำรวจออกแบบรายละเอียดถนนสายแยก ทล.1021- บ้านกิ่วแก้ว อ.เทิง ,จุน จ.เชียงราย,พะเยา เพื่อเปิดให้ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้สนใจทั่วไปเข้ารับฟังและเสนอความคิดเห็นในโครงการดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นครั้งสุดท้าย ของการจัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อนที่จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้มีการก่อสร้าง
นายธวัช กุลทนันท์ ผู้อำนวยการ(ผอ.)สำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวงชนบท กล่าวว่า ตามที่กรมทางหลวงชนบท ได้เตรียมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อสนับสนุนเส้นทางการค้า รองรับการพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ ระหว่างประเทศไทย จีนตอนใต้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน(สปป.)ลาว และพม่า ที่มีการขนส่งสินค้าหนาแน่นมากขึ้น ภายหลังการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขง อ.เชียงของ จ.เชียงราย แห่งที่ 4 แล้วเสร็จ ซึ่งจะเป็นสะพานเชื่อมรองรับเส้นทาง R3a จากประเทศจีนตอนใต้ ผ่าน สปป.ลาว มาถึงตอนเหนือของประเทศไทย
ผอ.สำนักสำรวจ ฯ กล่าวต่อว่า ลักษณะของโครงการเป็นการก่อสร้างแนวถนนใหม่เกือบทั้งหมด มีความยาวประมาณ 44 กิโลเมตร (กม.)เขตถนน 30 เมตร มีการปรับปรุงโครงข่ายของกรมทางหลวงชนบทเดิมเป็นบางส่วน โดยมีจุดเริ่มต้นถนนโครงการที่ทางหลวงหมายเลข 1020 บ้านร่องริว ต.เวียง อ.เทิง จ.เชียงราย แนวเส้นทางทอดตัวลงทางใต้ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 1021 ณ บ้านร่องหาด ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา
โครงการนี้คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณในการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท เฉพาะในส่วนการลงทุนก่อสร้างประมาณ 800 ล้านบาท (ค่าเงินและราคาน้ำมันในปัจจุบัน) เมื่อรวมถึงค่าชดเชยและเวนคืนให้แก่ประชาชน ที่อยู่ในแนวถนนMUJจะก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท
“ถ้าถนนเส้นนี้เสร็จ ภายใน 5 ปี เส้นทางดังกล่าวจะมีความคุ้มทุน เพราะจากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษาฯ พบว่า ปีหนึ่ง ๆ จะสามารถลดต้นทุนการขนส่งได้ประมาณ 200 ล้านบาท”
นายสมาน บัวจ้อย อดีตผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 9 ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ถนนเส้นนี้จะผ่านพื้นที่ทุ่งลอในเขตติดต่อระหว่าง อ.เทิง จ.เชียงราย อ.เชียงคำ และ อ.จุน จ.พะเยา เป็นหลักใหญ่ อันเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุด
ดังนั้นสิ่งที่ชาวนาทุ่งลอเป็นห่วงอย่างมากที่สุด คือ ปัญหาเรื่องน้ำท่วม เพราะทุกปีทุ่งลอแห่งนี้ จะมีน้ำท่วมขังนานครั้งละประมาณ 10-15 วัน โดยเฉพาะช่วงที่น้ำอิงเอ่อสมทบกับน้ำที่ระบายจากกว๊านพะเยา ซึ่งเรื่องนี้ผู้ดำเนินการศึกษาและก่อสร้าง จะต้องคิดเป็นประเด็นหลัก เพื่อหาทางแก้ปัญหาและป้องกันด้วย