รอยเตอร์ - อิสราเอลกำลังจะเฉลิมฉลองอายุ 60 ปีในสัปดาห์นี้ อากรัม อัล-ชามาไล และ โมเช ฟีสต์ ก็จะเข้าสู่วัย 60 ในปีนี้เช่นกัน แต่ความละม้ายคล้ายคลึงนั้นมีเพียงแค่ตัวเลข เพราะทั้งสองอยู่ในโลกที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่พวกเขาเติบโตขึ้นมาในถิ่นฐานซึ่งอยู่ห่างกันเพียงราว 60 กิโลเมตรเท่านั้น
สำหรับชาวอิสราเอลอย่างฟีสต์ การฉลองครบรอบ 60 ปีซึ่งกำหนดเริ่มกันตั้งแต่คืนวันนี้(7) เป็นโอกาสเฉลิมฉลองความสำเร็จที่ได้มาอย่างยากเย็นของรัฐยิว และเป็นการชูไวน์แก้วเดียวขึ้นมาดื่ม ก็ได้ฉลองทั้งเรื่องราวแห่งการดิ้นรนเอาชีวิตรอดและทั้งแสดงความรักชาติด้วย
แต่สำหรับชามาไล นี่คือเวลาไว้อาลัยให้กับ "ความหายนะ" ซึ่งชาวปาเลสไตน์ 700,000 คน รวมถึงครอบครัวของเขา ต้องหลบหนีการโจมตีอย่างหนักของยิว ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ในฉนวนกาซาที่ปกครองโดยกลุ่มฮามาส ซึ่งถือข้อห้ามการดื่มสุราตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด มิหนำซ้ำการที่กาซาถูกอิสราเอลปิดล้อมอยู่ ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการจัดงานรื่นเริงต่างๆ ด้วย
ในเดือนเมษายน 1948 ชามาไลหลับอยู่ในอ้อมแขนของแม่ขณะกำลังหลบหนีจากบ้านเกิดในเมืองจาฟฟา ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าอันจอแจของอาหรับมานานนับศตวรรษ แต่ปัจจุบันเป็นเมืองของชาวคริสต์และเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทลอาวีฟ ชามาไลบอกว่าเขาไม่เคยย่างกรายกลับบ้านเกิดแม้แต่ครั้งเดียว แต่ก็ใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งคงมีโอกาส
"ผมไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้ไหม หรือเมื่อไร แต่วันหนึ่งผมจะกลับบ้านของผมที่จาฟฟา" ชามาไลบอก
ส่วนฟีสต์นั้นเกิดหลังชามาไลไม่กี่เดือน ที่อิสราเอล ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศเกิดใหม่ และเป็นสถานที่พักพิงของชาวยิวซึ่งรอดชีวิตจากการสังหารหมู่ของนาซีเยอรมัน
ฟีสต์เป็นบุตรชายของคนงานในฟาร์มชาวเยอรมันซึ่งหนีการตามล่าของนาซีไปอยู่ที่ชุมชนกิบบุตซ์ในปาเลสไตน์ ฟีสต์เห็นว่าจาฟฟาและเมืองอื่นๆ เป็นดินแดนที่แยกออกไม่ได้จากแผ่นดินเกิดของเขา และเขายังเห็นว่าชาวปาเลสไตน์หมดสิทธิในดินแดนดังกล่าวไปหลายทศวรรษแล้ว
"คุณจะกลับมาบอกว่า 'แม่ฉันเคยอยู่ที่นี่เมื่อ 50 ปีก่อน และตอนนี้มันก็เป็นบ้านของฉัน' ไม่ได้ แล้วยังไงล่ะ" ฟีสต์บอก "พวกอาหรับไม่อยากอยู่กับพวกยิว พวกเขาก็เลยจากไป ไม่มีใครไปขับไล่เขาสักหน่อย"
**ผู้อพยพ**
แต่ชามาไลไม่ได้มองเช่นนั้น ตอนที่พ่อแม่กับพี่น้องและตัวเขาหนีออกจากจาฟฟามานั้น พวกเขาคิดว่าจะได้กลับบ้านอีกครั้ง ทุกคนหวังว่าการสู้รบระหว่างยิวกับอาหรับจะสงบลง แต่มันไม่เคยเป็นเช่นนั้น
เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงคร่าชีวิตผู้คนนับพันภายในเวลาไม่กี่เดือนหลังจากที่สหประชาชาติตัดสินใจแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและรัฐของอาหรับในปี ค.ศ. 1947 ครอบครัวชามาไลและเพื่อนบ้านก็ต้องอพยพหนีลงไปตามแนวชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงกาซา ซึ่งอยู่นอกเขตที่เป็นของชาวยิว
พวกเขาต้องนอนกันตามชายหาดในระหว่างที่ดิ้นรนหาสถานที่ซึ่งพออาศัยได้ และต่อมาชามาไลก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับผู้อพยพของสหประชาชาติ ทุกวันนี้ ชามาไลเปิดกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ของตัวเอง เขาพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องการเมืองและความรุนแรงซึ่งส่งผลต่อคนอื่นๆ มากมาย
แต่เขาไม่พอใจชาวอิสราเอลที่ "ขโมย" แผ่นดินของเขาไป และโกรธที่ฟีสต์แนะนำเขาให้เลิกคิดเรื่องที่จะกลับบ้านของเขาที่จาฟฟา
"คนอิสราเอลขับไล่พวกเราออกจากบ้าน แล้วให้คนจากรัสเซียเป็นล้านเข้ามาอยู่แทน" เขาบอก "ไม่มีใครหรอกที่จะทิ้งบ้านไปโดยไม่มีเหตุผล"
อู่ซ่อมรถของชามาไลกำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ และการปิดล้อมของอิสราเอลซึ่งมุ่งโดดเดี่ยวกลุ่มฮามาสมาเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
ชามาไลเป็นนักธุรกิจที่มีความมุ่งมั่น เขาเคยเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างกาซากับเทลอาวีฟ เพื่อหาอะไหล่รถยนต์ แต่เขาไม่สามารถออกจากกาซาได้อีก หลังการปิดล้อมฉนวนกาซาอย่างเข้มงวดของอิสราเอล "ที่แย่ที่สุดก็คือการขาดเสรีภาพ" เขาบอก
**รถถัง**
ฟีสต์เองก็เป็นช่างซ่อมยานพาหนะเช่นกัน แต่เขาซ่อมรถถัง และเริ่มรับงานจากฝ่ายทหารก่อนที่จะเกิดสงครามในตะวันออกกลางในปี 1967 ซึ่งอิสราเอลได้เข้ายึดครองดินแดนฉนวนกาซาและเขตเวสต์แบงก์ และต่อมาก็ได้เข้าร่วมในการสู้รบกันสี่ครั้ง ขณะที่ลูกชายสามคนของเขาก็เคยผ่านสนามรบกันมาแล้วทั้งนั้น
ปัจจุบันฟีสต์เป็นเจ้าของกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าในเรโฮวอต เขาไม่ค่อยได้ติดต่อกับชาวปาเลสไตน์ และตลอดชีวิตของเขา เขาเดินทางไปที่กาซาเพียงสี่ครั้งเท่านั้น โดยสามครั้งเป็นการเดินทางไปในฐานะทหาร
ฟีสต์ก็เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลจำนวนมากที่มองว่าความขัดแย้งกับปาเลสไตน์นั้นเป็นเรื่องสำคัญแต่ก็ไกลตัว กล่าวคือ เป็นปัญหาหนักหน่วงแต่ก็แทบจะไม่กระทบกระเทือนต่อชีวิตประจำวันของเขา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายน้อยกว่าช่วงกระแสสูงเมื่อหกปีก่อนมาก
"คุณรู้ไหมว่ามีคนประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนกี่คน" เขาถามติดตลก "การก่อการร้ายเป็นปัญหาใหญ่ แต่คนขับรถชาวอิสราเอลสร้างปัญหามากยิ่งกว่าเสียอีก"
ฟีสต์ไม่กลุ้มใจเรื่องที่ถกเถียงกันมากเกี่ยวกับการคงอยู่ต่อไปของรัฐยิว และยังหัวเราะเมื่อได้ยินคำถามว่าอิสราเอลจะอยู่รอดต่อไปได้อีกถึง 60 ปีข้างหน้าหรือไม่
"สำหรับพวกเราชาวยิว ที่อยู่ที่ดีที่สุดก็คืออิสราเอล ก็เหมือนกับคนอังกฤษต้องตอบว่าอังกฤษนั่นแหละ" เขาตอบ "แล้วทำไมอิสราเอลถึงไม่ควรจะอยู่ต่อไปอีก 60 ปีล่ะ"
แต่ทั้งๆ ที่ฟีสต์และคนอื่นๆ ต่างแสดงความภาคภูมิใจในตนเอง การเฉลิมฉลองของอิสราเอลซึ่งจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ก็ไม่อาจปิดบังความจริงเกี่ยวกับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเอห์มุด โอลเมิร์ต ซึ่งชาวอิสราเอลจำนวนมากมองว่าทุจริต และบอกว่ารัฐบาลล้มเหลวในเรื่องการปกป้องพลเมือง
ขณะเดียวกัน ความรักชาติของชามาไลก็ทำให้เขามองข้ามทั้งเรื่องของการแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างกลุ่มฮามาสกับกลุ่มฟาตาห์ของประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส และความอึดอัดคับข้องใจซึ่งเพิ่มพูนขึ้น จากการที่ความพยายามในการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นมาอย่างแท้จริงเป็นไปอย่างล่าช้า
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ชีวิตต้องแหว่งวิ่นไปเพราะสงคราม ฟีสต์และชามาไลต่างก็เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะหันหน้ามาเจรจากัน ทั้งสองต่างพร้อมยอมรับการประนีประนอมและยอมรับรัฐปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา
สำหรับชามาไล มันหมายถึงการทิ้งความฝันที่จะกลับไปยังจาฟฟา แต่เขาบอกว่า บางทีมันก็คุ้มค่าเพื่อเห็นแก่หลานเล็กๆ ของเขา ซึ่งเดินเข้ามาในขณะนั้นพอดี
"อิสราเอลอายุ 60 ปีแล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทั้งพวกเขาและพวกเราต่างก็ไม่มีเวลาได้หลับได้นอนอย่างปกติสุข" เขาบอกพลางมุ่นผมของเจ้าหลานตัวน้อย
"เป็น 60 ปีแห่งความรุนแรง และ 60 ปีแห่งความเจ็บปวดด้วย"
สำหรับชาวอิสราเอลอย่างฟีสต์ การฉลองครบรอบ 60 ปีซึ่งกำหนดเริ่มกันตั้งแต่คืนวันนี้(7) เป็นโอกาสเฉลิมฉลองความสำเร็จที่ได้มาอย่างยากเย็นของรัฐยิว และเป็นการชูไวน์แก้วเดียวขึ้นมาดื่ม ก็ได้ฉลองทั้งเรื่องราวแห่งการดิ้นรนเอาชีวิตรอดและทั้งแสดงความรักชาติด้วย
แต่สำหรับชามาไล นี่คือเวลาไว้อาลัยให้กับ "ความหายนะ" ซึ่งชาวปาเลสไตน์ 700,000 คน รวมถึงครอบครัวของเขา ต้องหลบหนีการโจมตีอย่างหนักของยิว ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ในฉนวนกาซาที่ปกครองโดยกลุ่มฮามาส ซึ่งถือข้อห้ามการดื่มสุราตามหลักศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด มิหนำซ้ำการที่กาซาถูกอิสราเอลปิดล้อมอยู่ ก็ยังเป็นอุปสรรคต่อการจัดงานรื่นเริงต่างๆ ด้วย
ในเดือนเมษายน 1948 ชามาไลหลับอยู่ในอ้อมแขนของแม่ขณะกำลังหลบหนีจากบ้านเกิดในเมืองจาฟฟา ซึ่งเคยเป็นเมืองท่าอันจอแจของอาหรับมานานนับศตวรรษ แต่ปัจจุบันเป็นเมืองของชาวคริสต์และเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทลอาวีฟ ชามาไลบอกว่าเขาไม่เคยย่างกรายกลับบ้านเกิดแม้แต่ครั้งเดียว แต่ก็ใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งคงมีโอกาส
"ผมไม่รู้ว่าจะเป็นไปได้ไหม หรือเมื่อไร แต่วันหนึ่งผมจะกลับบ้านของผมที่จาฟฟา" ชามาไลบอก
ส่วนฟีสต์นั้นเกิดหลังชามาไลไม่กี่เดือน ที่อิสราเอล ซึ่งขณะนั้นเป็นประเทศเกิดใหม่ และเป็นสถานที่พักพิงของชาวยิวซึ่งรอดชีวิตจากการสังหารหมู่ของนาซีเยอรมัน
ฟีสต์เป็นบุตรชายของคนงานในฟาร์มชาวเยอรมันซึ่งหนีการตามล่าของนาซีไปอยู่ที่ชุมชนกิบบุตซ์ในปาเลสไตน์ ฟีสต์เห็นว่าจาฟฟาและเมืองอื่นๆ เป็นดินแดนที่แยกออกไม่ได้จากแผ่นดินเกิดของเขา และเขายังเห็นว่าชาวปาเลสไตน์หมดสิทธิในดินแดนดังกล่าวไปหลายทศวรรษแล้ว
"คุณจะกลับมาบอกว่า 'แม่ฉันเคยอยู่ที่นี่เมื่อ 50 ปีก่อน และตอนนี้มันก็เป็นบ้านของฉัน' ไม่ได้ แล้วยังไงล่ะ" ฟีสต์บอก "พวกอาหรับไม่อยากอยู่กับพวกยิว พวกเขาก็เลยจากไป ไม่มีใครไปขับไล่เขาสักหน่อย"
**ผู้อพยพ**
แต่ชามาไลไม่ได้มองเช่นนั้น ตอนที่พ่อแม่กับพี่น้องและตัวเขาหนีออกจากจาฟฟามานั้น พวกเขาคิดว่าจะได้กลับบ้านอีกครั้ง ทุกคนหวังว่าการสู้รบระหว่างยิวกับอาหรับจะสงบลง แต่มันไม่เคยเป็นเช่นนั้น
เมื่อเหตุการณ์ความรุนแรงคร่าชีวิตผู้คนนับพันภายในเวลาไม่กี่เดือนหลังจากที่สหประชาชาติตัดสินใจแบ่งแยกดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและรัฐของอาหรับในปี ค.ศ. 1947 ครอบครัวชามาไลและเพื่อนบ้านก็ต้องอพยพหนีลงไปตามแนวชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงกาซา ซึ่งอยู่นอกเขตที่เป็นของชาวยิว
พวกเขาต้องนอนกันตามชายหาดในระหว่างที่ดิ้นรนหาสถานที่ซึ่งพออาศัยได้ และต่อมาชามาไลก็ได้เข้าเรียนในโรงเรียนสำหรับผู้อพยพของสหประชาชาติ ทุกวันนี้ ชามาไลเปิดกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ของตัวเอง เขาพยายามหลีกเลี่ยงเรื่องการเมืองและความรุนแรงซึ่งส่งผลต่อคนอื่นๆ มากมาย
แต่เขาไม่พอใจชาวอิสราเอลที่ "ขโมย" แผ่นดินของเขาไป และโกรธที่ฟีสต์แนะนำเขาให้เลิกคิดเรื่องที่จะกลับบ้านของเขาที่จาฟฟา
"คนอิสราเอลขับไล่พวกเราออกจากบ้าน แล้วให้คนจากรัสเซียเป็นล้านเข้ามาอยู่แทน" เขาบอก "ไม่มีใครหรอกที่จะทิ้งบ้านไปโดยไม่มีเหตุผล"
อู่ซ่อมรถของชามาไลกำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ และการปิดล้อมของอิสราเอลซึ่งมุ่งโดดเดี่ยวกลุ่มฮามาสมาเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว
ชามาไลเป็นนักธุรกิจที่มีความมุ่งมั่น เขาเคยเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างกาซากับเทลอาวีฟ เพื่อหาอะไหล่รถยนต์ แต่เขาไม่สามารถออกจากกาซาได้อีก หลังการปิดล้อมฉนวนกาซาอย่างเข้มงวดของอิสราเอล "ที่แย่ที่สุดก็คือการขาดเสรีภาพ" เขาบอก
**รถถัง**
ฟีสต์เองก็เป็นช่างซ่อมยานพาหนะเช่นกัน แต่เขาซ่อมรถถัง และเริ่มรับงานจากฝ่ายทหารก่อนที่จะเกิดสงครามในตะวันออกกลางในปี 1967 ซึ่งอิสราเอลได้เข้ายึดครองดินแดนฉนวนกาซาและเขตเวสต์แบงก์ และต่อมาก็ได้เข้าร่วมในการสู้รบกันสี่ครั้ง ขณะที่ลูกชายสามคนของเขาก็เคยผ่านสนามรบกันมาแล้วทั้งนั้น
ปัจจุบันฟีสต์เป็นเจ้าของกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้าในเรโฮวอต เขาไม่ค่อยได้ติดต่อกับชาวปาเลสไตน์ และตลอดชีวิตของเขา เขาเดินทางไปที่กาซาเพียงสี่ครั้งเท่านั้น โดยสามครั้งเป็นการเดินทางไปในฐานะทหาร
ฟีสต์ก็เช่นเดียวกับชาวอิสราเอลจำนวนมากที่มองว่าความขัดแย้งกับปาเลสไตน์นั้นเป็นเรื่องสำคัญแต่ก็ไกลตัว กล่าวคือ เป็นปัญหาหนักหน่วงแต่ก็แทบจะไม่กระทบกระเทือนต่อชีวิตประจำวันของเขา โดยเฉพาะในสถานการณ์ปัจจุบันซึ่งเกิดเหตุระเบิดฆ่าตัวตายน้อยกว่าช่วงกระแสสูงเมื่อหกปีก่อนมาก
"คุณรู้ไหมว่ามีคนประสบอุบัติเหตุบนท้องถนนกี่คน" เขาถามติดตลก "การก่อการร้ายเป็นปัญหาใหญ่ แต่คนขับรถชาวอิสราเอลสร้างปัญหามากยิ่งกว่าเสียอีก"
ฟีสต์ไม่กลุ้มใจเรื่องที่ถกเถียงกันมากเกี่ยวกับการคงอยู่ต่อไปของรัฐยิว และยังหัวเราะเมื่อได้ยินคำถามว่าอิสราเอลจะอยู่รอดต่อไปได้อีกถึง 60 ปีข้างหน้าหรือไม่
"สำหรับพวกเราชาวยิว ที่อยู่ที่ดีที่สุดก็คืออิสราเอล ก็เหมือนกับคนอังกฤษต้องตอบว่าอังกฤษนั่นแหละ" เขาตอบ "แล้วทำไมอิสราเอลถึงไม่ควรจะอยู่ต่อไปอีก 60 ปีล่ะ"
แต่ทั้งๆ ที่ฟีสต์และคนอื่นๆ ต่างแสดงความภาคภูมิใจในตนเอง การเฉลิมฉลองของอิสราเอลซึ่งจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ ก็ไม่อาจปิดบังความจริงเกี่ยวกับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีเอห์มุด โอลเมิร์ต ซึ่งชาวอิสราเอลจำนวนมากมองว่าทุจริต และบอกว่ารัฐบาลล้มเหลวในเรื่องการปกป้องพลเมือง
ขณะเดียวกัน ความรักชาติของชามาไลก็ทำให้เขามองข้ามทั้งเรื่องของการแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างกลุ่มฮามาสกับกลุ่มฟาตาห์ของประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส และความอึดอัดคับข้องใจซึ่งเพิ่มพูนขึ้น จากการที่ความพยายามในการก่อตั้งรัฐปาเลสไตน์ขึ้นมาอย่างแท้จริงเป็นไปอย่างล่าช้า
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ชีวิตต้องแหว่งวิ่นไปเพราะสงคราม ฟีสต์และชามาไลต่างก็เห็นว่าถึงเวลาแล้วที่จะหันหน้ามาเจรจากัน ทั้งสองต่างพร้อมยอมรับการประนีประนอมและยอมรับรัฐปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา
สำหรับชามาไล มันหมายถึงการทิ้งความฝันที่จะกลับไปยังจาฟฟา แต่เขาบอกว่า บางทีมันก็คุ้มค่าเพื่อเห็นแก่หลานเล็กๆ ของเขา ซึ่งเดินเข้ามาในขณะนั้นพอดี
"อิสราเอลอายุ 60 ปีแล้ว ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทั้งพวกเขาและพวกเราต่างก็ไม่มีเวลาได้หลับได้นอนอย่างปกติสุข" เขาบอกพลางมุ่นผมของเจ้าหลานตัวน้อย
"เป็น 60 ปีแห่งความรุนแรง และ 60 ปีแห่งความเจ็บปวดด้วย"