xs
xsm
sm
md
lg

เรื่องใหม่..ไทยถล่มพระตะบองยับก่อนคืนเขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#660099>แผนที่จากเว็บไซต์สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 แสดงให้เห็นแผ่นดินราชอาณาจักรสยามถูกฝรั่งเศสเฉือนไปเป็นระยะๆ ในปี 2410 (1) 2431 (2) 2436 (3) 2447 หรือ ร.ศ.112 (4) และ ปี 2450 หรือ ร.ศ.126 (5)</FONT></CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์ -- ก่อนที่ประเทศไทยจะส่งมอบดินแดนพระตะบองในปัจจุบันผ่านฝรั่งเศสไปให้แก่กัมพูชาในปี 2490 นั้น ไทยได้ทำลายดินแดนแห่งนี้เสียหายอย่างหนัก การกระทำเช่นนี้แสดงให้เห็นว่า ฝ่ายไทยไม่ได้ยินดีให้ดินแดนเหล่านี้แก่กัมพูชา

สมเด็จนโรดมสีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ทรงบันทึกเรื่องราวข้างต้นในบันทึกประวัติศาสตร์ส่วนพระองค์ และตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็บไซต์ส่วนพระองค์เมื่อเร็วๆ นี้

อดีตกษัตริย์กัมพูชา ทรงระบุว่า พระตะบองนั้นเปรียบเสมือนแคว้นอัลสาซ-ลอร์เรน (Alsace-Lorraine) ดินแดนอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติของฝรั่งเศสที่ถูกนาซีเยอรมันผนวกเอาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งสงครามสงบลงและเยอรมนีแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงได้ดินแดนดังกล่าวคืน

สมเด็จสีหนุ ยังได้ทรงบันทึกเรื่องราวจากความทรงจำอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับผู้ปกครองจากฝรั่งเศส ดินแดนในประเทศเพื่อนบ้านและการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจการเมืองภายในกัมพูชาของกลุ่มต่างๆ ในช่วงทศวรรษช่วงต่อระหว่างยุคอาณานิคมกับยุคที่กัมพูชาเป็นเอกราช

“ปี 2490 เป็นปีที่ก่อประโยชน์อย่างยิ่งต่อราชอาณาจักร (กัมพูชา) ฝรั่งเศสจะได้รับดินแดนพระตะบองกับดินแดนอื่นๆ จากไทย ซึ่งพวกเขาฉกฉวยเอาไปในปี 2484 (ก่อนที่ฉันจะขึ้นครองราชย์) และคืนให้แก่ฉัน..”

“พวกไทยไม่ได้ดำเนินการเรื่องนี้ด้วยหัวใจที่มีความสุขคืน..(ก่อนหน้านั้น) ฝรั่งเศสต้องมอบดินแดนเหล่านี้ให้แก่ไทยโดนการบีบบังคับของญี่ปุ่น..” สมเด็จสีหนุทรงบันทึกในตอนหนึ่ง
<CENTER><FONT color=#660099> พล.ร.อ.อาร์คจองเลียว ข้าหลวงใหญ่-ผบ.กองทัพฝรั่งเศสในอินโดจีน บีบไทยให้ดินพระตะบองแก่กัมพูชา </FONT></CENTER>
บันทึกระบุว่า ได้มีการเจรจาและเซ็นสัญญาเรื่องการส่งมอบดินแดนพระตะบอง (รวมทั้งเสียมราฐ กับ ศรีโสภณ) กับดินแดนอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่งในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.ฝ่ายกัมพูชา มี นายซอนซานน์ (Son Sann) เป็นผู้แทนอาวุโสของราชอาณาจักรกัมพูชาในการเจรจา

เวลาต่อมา พลเรือเอก จอร์จ เทียร์รี อาร์คจองเลียว (Georges Thierry d'Argenlieu) ข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสแห่งอินโดจีน และผู้บัญชาการกองกำลังอินโดจีนฝรั่งเศส ได้เป็นผู้ไปร่วมพิธีเซ็นสัญญารับมอบดินแดนต่างๆ ในกรุงเทพฯ

“น่าอนาถ.. เมื่อเรื่องนี้ (การส่งมอบดินแดน) จะเริ่มขึ้น กองทัพไทยได้ทำลายโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสะพาน พวกกรุงเทพฯ จะไม่ยอมให้อภัยฉันเป็นอันขาด ในการที่ฉันได้ดินแดนเขมรเหล่านั้นคืน” สมเด็จสีหนุ ทรงระบุในส่วนหนึ่งในบันทึกความทรงจำเรื่องนี้

กรณีเขาพระวิหารก็เช่นเดียวกัน.. หลังจากเกิดกรณีพิพาทเป็นเวลาหลายปี ในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรุงเฮก (เนเธอร์แลนด์) ก็ได้มีคำพิพากษาให้ตกเป็นของ “เจ้าของที่ชอบธรรม” คือ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในปี 2505 ในรัชสมัยของพระองค์

สมเด็จนโรดมสีหนุ เปิดเผยในบันทึกอีกฉบับหนึ่งในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ระบุว่า อดีตกษัตริย์กัมพูชาพระองค์หนึ่งทรงตรอมพระราชหฤทัยจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในเวลาต่อมา เนื่องจากการสูญเสียเขาพระวิหารให้แก่ไทย

อย่างไรก็ตาม บันทึกของสมเด็จสีหนุ มิได้กล่าวถึงความเป็นมาของดินแดนพระตะบอง เสียมราฐ และ ศรีโสภณ ที่ราชอาณาจักรสยาม เคยครอบครองมานานหลายศตวรรษก่อนที่จะถูกฝรั่งเศสบีบบังคับเอาไปผนวกเป็นดินแดนอินโดจีนในยุคล่าอาณานิคม
<CENTER><FONT color=#660099> ภาพจากหนังสือพิมพ์เลอมงด์ (Le Monde) วันที่ 4 ม.ค.2505 สมเด็จสีหนุกษัตริย์แห่งกัมพูชาเสด็จยังปราสาทพระวิหาร ข้าราชบริพารคณะติดตามต้องปีนบันไดขึ้นไปยังองค์ปราสาทบนหน้าผาชัน เพราะทางขึ้นอยู่ฝั่งไทย</FONT></CENTER>
<CENTER><FONT color=#660099>สมเด็จนโรดมสีหนุทรงบันทึกเรื่องราวต่างๆ เป็นตอนๆ แต่กรณีเขาพระวิหารจะถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งที่สุด เช่นเดียวกันกับการได้ดินแดนพระตะบองจากประเทศไทย ซึ่งทั้งหมดเกิดในรัชสมัยของพระองค์ </FONT></CENTER>
ในช่วงเวลาเพียง 40 ปีระหว่างปี 2410-2450 ราชอาณาจักรสยาม ได้สูญเสียดินแดนในปกครองให้ฝรั่งเศสอย่างมหาศาล โดยเริ่มจากดินแดนโพธิสัตว์ในกัมพูชา ดินแดนที่เรียกว่า “หัวพันทั้งห้าทั้งหก” และ ดินแดนที่เป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กับ ราชอาณาจักรกัมพูชาเกือบทั้งหมดในปัจจุบัน ยกเว้นดินแดนที่เป็นประเทศเวียดนามเท่านั้น.

อ่านประวัติศาสตร์การเสียดินแดนของไทยที่นี่

กำลังโหลดความคิดเห็น